
10 โรคจากการทำงาน ที่ HR สามารถช่วยป้องกันได้
- 25/01/23
ในโลกการทำงานปัจจุบัน แม้จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย มีเทคโนโลยีที่คอยสนับสนุนให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วขึ้น แต่เหรียญอีกด้านก็นำมาซึ่งความคาดหวังและความกดดันต่อปริมาณงานและประสิทธิภาพในการทำงาน จนหลายๆ คนเลือกโหมงานหนัก และเกิดความเครียดเพิ่มมากขึ้น
โดยสิ่งที่เกิดขึ้นจากความกดดันและโหมทำงานหนักคืออิริยาบถและวิธีการทำงานที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นท่านั่งที่ผิดหลัก การนั่งทำงานนานเกินไป การจ้องจอคอมมากเกินไป การนั่งทำงานและทานอาหาร น้ำตาลเพื่อเพิ่มพลัง การอั้นปัสสาวะเพื่อทำงานต่อให้เสร็จ ความเครียดจากงานที่ต้องเจอซ้ำๆ การทานอาหารไม่ตรงเวลา นี่คือพฤติกรรมที่เหล่าพนักงานไม่ได้อยากให้เกิดขึ้น แต่เพราะต้องทำงานให้ตรงตามเป้าหมาย จึงเป็นสิ่งที่พวกเขาหลีกเลี่ยงไม่ได้
ข้อมูลจากระบบรายงาน HDC ในปี พ.ศ.2563 พบว่าประชากรวัยทำงานนั้นมีภาวะอ้วนสูงขึ้น และยังมีโอกาสเกิดโรคที่ไม่ได้เป็นโรคติดต่อ เช่นเบาหวาน ภาวะความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็ง รวมไปถึงมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทางตา ภาวะไตวายเรื้อรัง โรคเครียดจากการทำงาน ซึ่งโรคดังกล่าวมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี
นอกจากนี้ จากสถิติอัตราค่ารักษาพยาบาลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสถิติการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับพนักงานในหลายๆ องค์กร ยังสะท้อนว่าองค์กรต้องสูญเสียงบประมาณค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากจากการเจ็บป่วยในกลุ่มโรคเบื้องต้น ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่มีแต่เสียไป และส่งผลกระทบทั้งชีวิตความเป็นอยู่ของคนในองค์กร และประสิทธิภาพในการทำงานระยะยาว
หลายองค์จึงควรระวังกับการ “ทำงานให้สุด แล้วหยุดที่ ICU” เพราะการโหมหนักย่อมไม่เกิดผลดีกับใคร และองค์กรสามารถออกแบบนโยบายเพื่อป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นจากการทำงานได้ โดยในบทความนี้จะชวนมาทำความเข้าใจและสิ่งที่องค์กรสามารถทำได้เพื่อป้องกัน10 โรคที่เกิดจากการทำงาน ซึ่งเป็นโรคยอดฮิตที่ไม่ควรมองข้าม
1. โรคออฟฟิศซินโดรม
โรคออฟฟิศซินโดรมคืออะไร
ปัจจุบันหลายคนน่าจะคุ้นหูกันดีกับออฟฟิศซินโดรมไม่น้อย ออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) เนื่องจากใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน ซึ่งจะทำให้เกิดกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามคอ หลัง บ่า ไหล่ แขน หรือข้อมือ ซึ่งหากทิ้งไว้นาน จะรักษาได้ยากขึ้นและกลายเป็นการปวดเรื้อรัง
พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรค
เนื่องจากออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ พฤติกรรมที่ทำให้หลายคนเกิดโรคจึงเป็นการนั่งท่าเดิมนานๆ ไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ หรือลุกเดินไปไหนมาไหน ซึ่งส่งผลต่อความเกร็งและทำให้กล้ามเนื้ออักเสบในที่สุด
ข้อสังเกตอาการ
– เกิดการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน
– มีอาการปวดวิงเวียนศีรษะเรื้อรัง
– ปวดหลัง
– มีอาการปวดหรือเกิดเหน็บชาบริเวณขาลงมา
– ตาล้าพร่ามัว
– มีอาการมือชา นิ้วล็อก และปวดข้อมือ
องค์กรช่วยออกแบบวิธีป้องกันได้อย่างไร
– ออกแบบสถานที่ทำงานให้เหมาะสม ด้วยการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับโต๊ะหรือเก้าอี้ Ergonomics
– ให้บริการห้องออกกำลังกาย หรือจัดโปรแกรมออกกำลังกายที่เหมาะสมให้แก่พนักงาน
– จัดมุมพักผ่อนให้พนักงานสามารถลุกและขยับร่างกายได้ อาจเสริมบริการนวดตัว หรือเก้าอี้นวด เพื่อทำให้กล้ามเนื้อไม่เกร็งจากการทำงาน
2. โรคไมเกรน
โรคไมเกรนคืออะไร
ไมเกรน อีกหนึ่งโรคยอดฮิตที่เรามักได้ยินจากคนทำงาน โดยเป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรังที่มักจะปวดศีรษะแบบตุบๆ ซึ่งอาจเป็นข้างเดียว หรือสองข้างก็ได้ ไมเกรนมักจะเกิดขึ้นในยามที่คนทำงานรู้สึกเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังใช้ร่างกายหนักเกินไป
พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรค
วิถีชีวิตที่ส่งผลกับการเกิดโรคไมเกรนคือการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ กินอาหารไม่ตรงเวลา มีความเครียดสูงบ่อยครั้ง รวมไปถึงคนที่ชอบทานกาแฟหรือชาที่มีคาเฟอีนสูงมากเกินไป ก็ส่งผลให้เกิดไมเกรนได้ทั้งสิ้น
ข้อสังเกตอาการ
– มักปวดหัวข้างเดียวเป็นประจำ โดยอาจเป็นข้างซ้ายหรือข้างขวาสลับกัน (แต่บางคนก็มักปวดทั้งสองข้าง)
– ลักษณะการปวดจะเป็นจังหวะเหมือนเส้นเลือดกำลังดัน หรือที่คุ้นชินกับคำว่าปวดหัวตุบๆ
– อาการปวดหัวมักเกิดบริเวณบริเวณขมับ อาจปวดร้าวมาถึงกระบอกตาและท้ายทอย
– อาการปวดจะค่อนข้างเรื้อรัง เกิดขึ้นเป็นเวลานานหลายชั่วโมง หรือทั้งวัน
– ในกรณีที่เป็นไมเกรนเรื้อรังและรุนแรง จะกระทบไปถึงวิถีชีวิต ไม่สามารถนั่ง เดิน หรือขึ้น-ลงบันไดได้ แต่อาการจะดีขึ้นหากได้นอนนิ่งๆ ในห้องที่เงียบสงบ และเย็นสบาย ไม่มีแสงรบกวน
– บางคนอาจเจออาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ตาไม่สู้แสง ทนเสียงดังไม่ได้ เป็นต้น
องค์กรช่วยออกแบบวิธีป้องกันได้อย่างไร
– จัดตารางเวลาทำงานให้เหมาะสม คอยเช็กความรู้สึกและสถานการณ์ที่จะช่วยให้พนักงานไม่กดดันและต้องทำงานหนักเกินไป
– มีการติดตามและวิเคราะห์สุขภาพพนักงานอยู่เสมอ โดยอาจใช้ผ่านแอปพลิเคชัน เช่น SAKID
– จัดสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้มีแสงสว่างที่พอดี มีบรรยากาศที่ไม่ตึงเครียดเกินไป
3. โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คืออะไร
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ยังเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมเช่น การกลั้นปัสสาวะ และการทำความสะอาดทวารหนักก่อนทำความสะอาดอวัยวะเพศ ซึ่งส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่ายขึ้น
พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรค
สำหรับพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คือการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานติดต่อกัน รวมไปถึงการทำความสะอาดทวารหนักก่อนทำความสะอาดอวัยวะเพศ การใช้ยาปฏิชีวนะสวนล้างทำความสะอาดช่องคลอด รวมไปถึงการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
ข้อสังเกตอาการ
– ปัสสาวะกะปริบกะปรอยบ่อยครั้ง
– ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะสีขุ่น หรืออาจมีเลือดปนมากับปัสสาวะ
– รู้สึกถ่ายปัสสาวะไม่สุด
องค์กรช่วยออกแบบวิธีป้องกันได้อย่างไร
– ออกแบบสถานที่ทำงานให้เข้าถึงห้องน้ำได้ง่าย และมีความสะอาด
– ไม่กดดันพนักงานให้ต้องนั่งทำงานอยู่กับที่ แต่สร้างความสบายใจให้สามารถมีอิสระในการลุกไปเข้าห้องน้ำ
– จัดเตรียมน้ำสะอาดให้พนักงาน
– มอบสวัสดิการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อให้พนักงานสามารถตรวจเช็กโรคได้ทันเวลา
4. โรค CVS (Computer Vision Syndrome)
โรค CVS คืออะไร
โรค CVS (Computer Vision Syndrome) เป็นกลุ่มอาการทางตาที่เกิดจากการใช้สายตากับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หากใช้อย่างต่อเนื่องจะยิ่งส่งผลกระทบร้ายแรง โดยผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน จะมีอาการ CVS เกิดขึ้นได้เกือบ 90 %
พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรค
สำหรับคนทำงานออฟฟิศที่ต้องจ้องจอคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการอ่านเอกสารที่มีตัวอักษรเล็กๆ เป็นเวลานานเป็นพฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดโรค CVS ได้ นอกจากนี้สภาพแวดล้อมยังส่งผลต่อการเกิดโรค ไม่ว่าจะเป็นการอยู่ในสถานที่ที่แสงสว่างไม่เพียงพอ การจัดวางโต๊ะทำงานที่ทำให้มองจอในระยะที่ไม่เหมาะสม รวมไปถึงท่านั่งทำงานด้วยเช่นกัน
ข้อสังเกตอาการ
– ปวดเมื่อยตา ปวดกระบอกตา
– ตาแห้ง แสบตา เคืองตา
– ตาพร่ามัว โฟกัสได้ช้าลง
– ตาสู้แสงไม่ได้ ไม่สามารถมองแสงจ้าได้
– มีอาการปวดศีรษะ บางครั้งอาจมีอาการปวดหลัง ไหล่ หรือต้นคอร่วมด้วย
องค์กรช่วยออกแบบวิธีป้องกันได้อย่างไร
– ออกแบบการวางโต๊ะทำงานและเก้าอี้ ให้เหมาะสมกับการทำงาน
– สร้างสภาพแวดล้อมที่มีแสงสว่างอย่างเพียงพอ มีต้นไม้ในออฟฟิศเพื่อให้พนักงานสามารถพักผ่อนสายตาได้
– มีการแจ้งเตือนหรือสะกิดให้พนักงานได้พักสายตาจากจอคอมหรืองานที่ทำ อาจเป็นการใช้แอปพลิเคชันในการอำนวยความสะดวก
5. โรคเครียด
โรคเครียดคืออะไร
โรคเครียด (Adjustment Disorder) หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ ภาวะการปรับตัวผิดปกติ เป็นโรคที่เกิดจากการพบเจอภาวะกดดันมากเกินไป จนไม่สามารถปรับตัวได้ ส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมานในการดำเนินชีวิต และการทำงาน โดยจะมีอาการนานไม่เกิน 6 เดือน และเป็นกลุ่มโรคทางจิตเวชที่สามารถรักษาให้หายได้
พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรค
โรคเครียดเป็นโรคที่เกิดเผชิญจากปัจจัยทั้งภายใน เช่น โรคประจำตัว สารเคมีในสมองที่ไม่สมดุล พัฒนาการตามวัย และปัจจัยภายนอกเช่น การทะเลาะเบาะแว้ง ความกดดันจากที่ทำงาน การสูญเสีย สุขภาพที่เจ็บป่วยเป็นเวลานาน การเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดโรคเครียดได้ หากพบเจอซ้ำๆ
ข้อสังเกตอาการ
– เห็นภาพเหตุการณ์ร้ายแรงซ้ำๆ ฝันร้าย
– อารมณ์ขุ่นมัว ทุกข์ใจ ไม่ร่าเริงแจ่มใส
– เกิดความหลงลืมมึนงง รู้สึกว่าเวลาเดินช้าลง
– หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม
– นอนหลับยาก
– ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
องค์กรช่วยออกแบบวิธีป้องกันได้อย่างไร
– ออกแบบสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้มีความผ่อนคลาย มีสีสัน หรือเพิ่มต้นไม้และของตกแต่งเพื่อให้มีพื้นที่พักผ่อนใจ
– ติดตามและถามไถ่สภาพจิตใจของพนักงาน โดยอาจทำงานผ่าน HR หรือใช้แอปพลิเคชันช่วยบันทึกกิจกรรมประจำวันบนปฏิทินความสุข ที่จะทำให้ได้เห็นความรู้สึกของพนักงาน
– ออกแบบสวัสดิการที่เหมาะสม เพื่อให้พนักงานไม่ต้องกังวลถึงคุณภาพชีวิตที่ดี
– ให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการออกแบบวิถีการทำงานที่เหมาะสมกับแต่ละคน
6. โรคหัวใจ
โรคหัวใจคืออะไร
โรคหัวใจ (Heart Disease) คือโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับการทำงานของหัวใจ โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไป เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ และอื่นๆ
พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรค
โรคหัวใจเกิดได้จากหลากหลายพฤติกรรม ทั้งพันธุกรรม หรือวิถีชีวิตเช่น การกินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง การไม่ได้ออกกำลังกาย การอยู่กับจอคอมตลอดเวลาจนไม่ค่อยได้ขยับตัว รวมไปถึงความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจเช่นกัน นอกจากนี้ยังเกิดจากการสูบบุหรี่หนัก หรือดื่มแอลกอฮอล์มากจนเกินไป
ข้อสังเกตอาการ
– เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง
– หายใจเข้าลำบาก
– เจ็บหน้าอกหรือแน่นบริเวณกลางอก
– หายใจหอบ บางครั้งอาจเกิดขึ้นยามที่นอนหลับแล้ว
– เป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ
– ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
– ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำ
องค์กรช่วยออกแบบวิธีป้องกันได้อย่างไร
– ให้บริการห้องออกกำลังกาย หรือจัดโปรแกรมออกกำลังกายที่เหมาะสมให้แก่พนักงาน
– มอบสวัสดิการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อให้พนักงานสามารถตรวจเช็กโรคได้ทันเวลา
– มอบสวัสดิการโรงอาหารที่คำนวณโภชนาการให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
7. โรคอ้วน
โรคอ้วนคืออะไร
โรคอ้วน คือโรคที่เกิดจากการมีปริมาณไขมันในร่างกายที่มากเกินไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคและปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิต
พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรค
สำหรับคนที่ชอบรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด หรือทานอาหารที่มีความหวานมากเกินไป เช่น ชานมต่างๆ อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้มาก และหากรับประทานโดยไม่ได้ออกกำลังกาย ยิ่งทำให้ร่างกายสะสมไขมันไว้ และก่อให้เกิดโรคอ้วนที่เป็นต้นเหตุของโรคอื่นๆ ที่ตามมา
ข้อสังเกตอาการ
– ดัชนีมวลกายหรือ BMI สูงถึง 30
– มีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต
– มีอาการปวดหลัง ข้อเข่าเสื่อม
องค์กรช่วยออกแบบวิธีป้องกันได้อย่างไร
– ให้บริการห้องออกกำลังกาย หรือจัดโปรแกรมออกกำลังกายที่เหมาะสมให้แก่พนักงาน
– มอบสวัสดิการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อให้พนักงานสามารถตรวจเช็กโรคได้ทันเวลา
– มอบสวัสดิการโรงอาหารที่คำนวณโภชนาการให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
– มีการติดตามพฤติกรรมสุขภาพพนักงานผ่านแบบสอบถาม หรือแอปพลิเคชัน เช่น SAKID ที่ช่วยเป็นโค้ชในการดูแลสุขภาพได้
8. โรคกรดไหลย้อน
โรคกรดไหลย้อนคืออะไร
โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease : GERD ) คือโรคที่เกิดจากภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก รวมไปถึงอาการขย้อน หรือคลื่นไส้ที่อาจส่งผลต่อวิถีชีวิต
พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรค
พฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดโรคกรดไหลย้อน ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น การกินอาหารไม่ตรงเวลา การกินอาหารแล้วเอนตัวนอนทันที รวมไปถึงการทานอาหารมากเกินไปติดต่อกันหลายครั้ง นอกจากนี้คนที่สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลมหรือแอลกอฮอล์ ก็มีโอกาสเป็นโรคกรดไหลย้อนได้ รวมไปถึงคนที่มีความเครียดสูงก็ส่งผลต่อการเป็นโรคกรดไหลย้อนเช่นกัน
ข้อสังเกตอาการ
– มีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก หลังรับประทานอาหารมื้อใหญ่
– มีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก
– ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร
– เจ็บหน้าอก รู้สึกจุกคล้ายมีอะไรติดหรือขวางอยู่บริเวณคอ
– หืดหอบ ไอแห้ง เสียงแหบ เจ็บคอ
องค์กรช่วยออกแบบวิธีป้องกันได้อย่างไร
– ให้บริการห้องออกกำลังกาย หรือจัดโปรแกรมออกกำลังกายที่เหมาะสมให้แก่พนักงาน
– มอบสวัสดิการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อให้พนักงานสามารถตรวจเช็กโรคได้ทันเวลา
– มอบสวัสดิการโรงอาหารที่คำนวณโภชนาการให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
– ออกแบบสภาพแวดล้อมให้ได้มีพื้นที่เดินย่อยอาหารก่อนกลับไปนั่งทำงาน หลังทานอาหารกลางวันเสร็จ
9. โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานคืออะไร
โรคเบาหวาน (Diabetes) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินซูลิน (Insulin) ซึ่งร่างกายของเราจำเป็นต้องพึ่งพาอินซูลินในการนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย แต่เมื่อเกิดความผิดปกติกับฮอร์โมนชนิดนี้ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ทำให้มีปริมาณน้ำตาลค้างในเลือดมากกว่าปกติ
พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรค
ส่วนใหญ่แล้วโรคเบาหวานเกิดจากพฤติกรรมที่มักละเลยการออกกำลังกาย การทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ ทานหวานเกินไป รวมไปถึงความเครียดก็ส่งผลต่อการเป็นโรคเบาหวานเช่นกัน นอกจากนี้เบาหวานยังเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ส่งต่อกับในครอบครัวได้
ข้อสังเกตอาการ
– ปัสสาวะบ่อย ตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน
– หิวน้ำบ่อย
– หิวบ่อย รับประทานจุ แต่น้ำหนักลด
– ผิวแห้ง
– เป็นแผลแล้วหายยาก
– ตาพร่ามัว
– ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า
องค์กรช่วยออกแบบวิธีป้องกันได้อย่างไร
– ให้บริการห้องออกกำลังกาย หรือจัดโปรแกรมออกกำลังกายที่เหมาะสมให้แก่พนักงาน
– มอบสวัสดิการด้านสุขภาพ เช่น ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อให้พนักงานสามารถตรวจเช็กโรคได้ทันเวลา
– มอบสวัสดิการโรงอาหารที่คำนวณโภชนาการให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
– อำนวยความสะดวกในการช่วยวิเคราะห์สุขภาพ การกินอาหาร การออกกำลังกายและความสุขส่วนบุคคล ผ่านแอปพลิเคชัน SAKID
10. ต้อหิน ตาพร่ามัว
โรคต้อหิน ตาพร่ามัวคืออะไร
โรคต้อหิน คือ โรคที่เกิดจากความไม่สมดุลระหว่างการใช้สายตา และปริมาณเม็ดเลือดแดงที่เข้ามาเลี้ยงเซลล์ประสาทภายในลูกตาทำให้เซลล์ประสาทตาได้รับเลือดมาหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ จนส่งผลให้เซลล์ค่อยๆ ตายลง และการมองเห็นค่อยๆ ย่ำแย่ลงจนอาจตาบอดได้ในที่สุด
พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรค
สำหรับคนทำงานที่ทักจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต้อหิน ตาพร่ามัวได้มากกว่าคนอื่น นอกจากนี้ในบุคคลที่ต้องทำงานกับที่ที่มีแสงสว่างจ้าเกินไปตลอดเวลาก็มีความเสี่ยงเช่นกัน รวมไปถึงพฤติกรรมเช่น ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ จนทำให้ร่างกายขาดวิตามินบำรุงสายตา
ข้อสังเกตอาการ
– ตาพร่า ตามัว เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เห็นภาพเบลอซ้อน หรือตามืดบอดชั่วขณะหนึ่ง
– เห็นจุดแสง ดำ-ขาว เต็มไปหมด เมื่อมองไปกลางแดด ตาสู้แสงไม่ได้
– ปวดในเบ้าตาลึกๆ และปวดศีรษะข้างเดียวคล้ายไมเกรน
– ตรวจพบว่าสายตาสั้นขึ้นมาทันที และค่าสายตาขึ้นๆ ลงๆ
– สังเกตพื้นที่ต่างระดับ เวลาก้าวเดิน หรือเวลาขึ้นลงบันไดได้ยากลำบากขึ้น
– เห็นสีจืดจางลง เห็นตัวหนังสือเลือนรางขึ้น
– มองในที่มืดแย่ลง
องค์กรช่วยออกแบบวิธีป้องกันได้อย่างไร
– ออกแบบสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้มีแสงสว่างที่ดีพอดีและเพียงพอต่อการทำงาน
– จัดสรรเวลาทำงานให้พนักงานได้มีเวลาพักและละสายตาจากจอคอมพิวเตอร์
– มอบสวัสดิการตรวจสุขภาพประจำปีที่ครอบคลุมกับการตรวจสุขภาพสายตา
– มอบสวัสดิการโรงอาหารที่คำนวณโภชนาการให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
สรุป
เพราะ ‘คนทำงาน’ นับเป็นทรัพยาการและสินทรัพย์ที่มีคุณค่าแก่องค์กรอย่างสูงสุด การดูแลให้พนักงานได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพแข็งแรง และห่างไกลโรค นอกจากจะเป็นการช่วยดูแลกันและกัน ยังเป็นการรักษาประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรด้วยเช่นกัน
10 โรคที่เกิดจากการทำงานเหล่านี้ จึงเป็นภัยเงียบที่องค์กรต้องช่วยกันดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยอาจเลือกผู้ช่วยในการวิเคราะห์และเป็นโค้ชในการดูแลสุขภาพ เช่นแอปพลิเคชัน SAKID ที่มีทั้งโปรแกรมดูแลสุขภาพพนักงาน รายงานวิเคราะห์และติดตามผล รวมไปถึงการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพกายและใจ ที่จะเป็นการดูแลพนักงานได้อย่างรอบด้านและครอบคลุมในแอปฯ เดียว
บทความที่น่าสนใจ

7 เคล็ดลับง่าย ๆ เพิ่ม Productivity ให้ปัง ทั้งเรื่องงานและชีวิตส่วนตัว
คุณเคยรู้สึกไหมว่า ทำไมเพื่อนร่วมงานบางคนถึงได้ดูเก่งและประสบความสำเร็จในทุก ๆ ด้าน ทั้งเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว แถมยังมีเวลาไปเที่ยว ไปช็อปปิ้ง ไปสังสรรค์กับเพื่อน ๆ ได้อีก คุณอยากรู้ไหมว่าพวกเขามีเคล็ดลับอะไรในการเพิ่ม Productivity ให้ชีวิตปังขนาดนั้น?

WORKSHOP BURN OUT
กิจกรรม “ภาวะหมดไฟ กับสิ่งต่างๆ”
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 SAKID ได้จัดกิจกรรม Workshop “Burn Out” ให้กับธนาคาร UOB โดยนักจิตวิทยา ผู้เข้าฟังจะได้ทำการสำรวจตัวเองว่าอาการนี้เรียกว่า หมดไฟ หรือเปล่า และสามารถจัดการกับความรู้สึกได้อย่างไร การจัดการความเครียดจากการทำงานเพื่อไม่ให้กระทบกับสุขภาพใจ

WORKSHOP เริ่มต้นสุขภาพดี กับ SAKID
กิจกรรม Workshop “คลาสโยคะ”
ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 – 21 กันยายน 2566 SAKID ได้จัดกิจกรรม Workshop “คลาสโยคะ ” กันทุกสัปดาห์เป็นสวัสดิการที่เสริมสร้างร่างกายให้แข้งแรง โดยนักวิทยาศาสตร์การกีฬามาเป็นครูสอนโยคะที่จะพาพนักงานบริษัท ROCHE มายืดเหยียดร่างกายให้ผ่อนคลายเมื่อยจากการนั่งทำงานและเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้มีความยืดหยุ่นอีกด้วย

แข่งขันลดน้ำหนักด้วย SAKID กับโครงการ Lbeauty Fit Challenge
สำหรับกิจกรรม Lbeauty Fit Challenge ที่แข่งขันลดน้ำหนักกับ SAKID application ตลอดระยะเวลา พ.ค. – ก.ค. 67 โดยมีการออกแบบภารกิจสุขภาพทั้งอาหาร และออกกำลังกายให้เหมาะสม พร้อมด้วยโค้ชนักกำหนดอาหารวิชาชีพดูแลเป็นรายบุคคลในการปรับการกิน จนทำให้การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักลดลงถึง 4% และรอบเอวลดลงถึง 6 %

How to วางงบจัดกิจกรรม บริษัท องค์กร ให้คุ้มค่าและได้ผลลัพธ์สุดปัง
ในปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญการดูแลด้าน Well-being หรือสุขภาวะที่ดีของพนักงาน เพราะเล็งเห็นว่าพนักงานเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร ในการดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร หากพนักงานมีความสุขก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน และมีความผูกพันต่อองค์กร แต่ทราบหรือไม่ว่านอกจากนี้ยังสามารถขอรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้องได้หลายมาตรฐาน ซึ่งทำให้มั่นใจว่ากิจกรรมด้าน Well-being ที่จัดให้พนักงานมีความครบถ้วนหรือไม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และหากองค์กรได้รับรางวัลมาตรฐานเหล่านี้ ยังเป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่องค์กร สร้างภาพลักษณ์ต่อผู้เกี่ยวข้องทั้งพนักงาน ลูกค้า และบุคคลภายนอกในการเป็นองค์ที่มีความใส่ใจพนักงาน

WORKSHOP ดูแลสุขภาพการกิน กับ SAKID
กิจกรรม ดูแลสุขภาพการกิน กับ SAKID
วันที่ 9 พฤษภาคม 2567 SAKID ได้จัดกิจกรรม ดูแลสุขภาพการกิน กับ SAKID ที่สำนักงาน AOT โดยได้ไปออกบูธให้เล่นเกมทายแคลอรี่ในอาหารพร้อมแจกสายวัดรอบเอวน้องสะกิด และได้ให้คำแนะนำด้านโภชนาการส่วนบุคคล โดยการให้ความรู้ในการเลือกกินอาหารในแต่ละมื้อและการจัดสมดุลการกินให้เหมาะสมกับร่างกายตัวเอง