
5 สวัสดิการบริษัทระดับโลกสุดเจ๋งที่คนรุ่นใหม่สนใจ
- 10/11/22
สำหรับคนทำงานแล้ว หนึ่งในสิ่งที่ทำให้พวกเขาตัดสินใจเข้าทำงานที่หนึ่ง นอกจากเนื้องานที่ท้าทายหรือตรงกับความสามารถของเขาแล้ว ก็คือ “สวัสดิการบริษัท” หรือ “Benefits” ที่บริษัทจะให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนรุ่นใหม่ สวัสดิการบริษัทที่ดี ที่ตอบโจทย์ความต้องการและไลฟ์สไตล์ของเขาได้ คือ ปัจจัยอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เขาอยากร่วมงานกับบริษัท
อย่างไรก็ตาม สวัสดิการที่เขาตามหา ไม่ใช่เพียงสวัสดิการพื้นฐานทั่วไปอย่างที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือ HR ของหลาย ๆ บริษัทคุ้นเคย แล้วสวัสดิการที่คนรุ่นใหม่ไฟแรงต้องการ จะมีอะไรบ้าง?
บทความนี้ได้ รวม 5 สวัสดิการสุดเจ๋งจากบริษัทระดับโลกที่คุณรุ่นใหม่สนใจ มาไว้แล้ว
ความสำคัญของสวัสดิการบริษัทในปัจจุบัน
สวัสดิการบริษัท หมายถึง ผลประโยชน์ที่พนักงานบริษัทจะได้รับเพิ่มเติมนอกเหนือจากค่าตอบแทนหรือเงินเดือน เช่น เงินโบนัส ค่าตอบแทนเพิ่มเติม ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เงินสมทบกองทุนเลี้ยงชีพ วันหยุด ฯลฯ ซึ่งสวัสดิการเหล่านี้ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดภาระต่าง ๆ ในการดำรงชีวิตของพนักงานและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของพวกเขาให้ดีขึ้น
ในยุคปัจจุบัน เรื่องของสวัสดิการบริษัท เป็นสิ่งที่คนทำงานให้ความสำคัญอย่างยิ่ง บางบริษัทอาจมีค่าตอบแทนให้น้อยกว่าอีกบริษัท แต่นำเงินส่วนนั้นมาเพิ่มสวัสดิการที่ตอบโจทย์ชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ ก็สามารถดึงดูดให้คนรุ่นใหม่เข้ามาทำงานได้ เพราะคนทำงานจะคำนึงถึงความมั่นคงและสิทธิประโยชน์ที่ได้จากที่ทำงาน ยกตัวอย่างเช่น บริษัทช่วยจ่ายค่ารักษาพยาบาลหรือมีประกันสุขภาพให้ ก็ช่วยให้คนทำงานหมดห่วงเรื่องค่ารักษาพยาบาล บริษัทมีค่าเทรนนิ่ง ค่าฟิตเนสให้ ก็ตอบโจทย์คนที่รักการเรียนรู้และรักสุขภาพ ฯลฯ
ทุกวันนี้ HR ในหลายบริษัทจึงมักนำ “สวัสดิการบริษัท” มาเป็นกลยุทธ์สำคัญเพื่อจูงใจให้กลุ่มคนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมงานด้วย โดยอาจจะแจ้งรายละเอียดสวัสดิการต่าง ๆ ที่น่าจะตอบโจทย์พวกเขาตั้งแต่โพสต์รับสมัครงาน หรือรายละเอียดบนบอร์ดประกาศรับสมัครงาน
สวัสดิการบริษัท มีประโยชน์กับองค์กรอย่างไร
นอกจากสวัสดิการที่ดีจะช่วยจูงใจให้คนที่มีความสามารถอยากเข้ามาร่วมงานกับบริษัทแล้ว สวัสดิการบริษัทยังมีประโยชน์ในเรื่องของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรและดีต่อองค์กรในระยะยาวอีกด้วย
สรุปประโยชน์ของสวัสดิการบริษัทต่อองค์กร ดังนี้
– จูงใจให้คนมาสมัครงาน จากสวัสดิการที่ช่วยลดภาระในชีวิตประจำวันของพวกเขา หรือช่วยส่งเสริมให้พวกเขาสามารถพัฒนาศักยภาพและทักษะต่าง ๆ ได้
– ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร สนับสนุนคุณค่าองค์กร เป็นองค์กรที่เห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ ทำให้เกิดความรู้สึกร่วมและรักองค์กร เพราะองค์กรช่วยสนับสนุนชีวิตของพวกเขา รวมถึงมีส่วนช่วยผลักดันให้พวกเขาเติบโต
– สร้างความพึงพอใจและเพิ่ม Productivity ในการทำงาน จากการที่พนักงานมีภาระที่ต้องกังวลน้อยลง มีสวัสดิการที่เอื้อให้ชีวิตมีความสะดวกสบายมากขึ้น
– รักษาพนักงานและลดอัตราการลาออก สวัสดิการช่วยลดอัตราการเปลี่ยนงาน (Turn Over Rate) หรือลาออกของพนักงานได้ เพราะพนักงานได้รับสวัสดิการที่ตอบโจทย์หรือให้ความมั่นคงในชีวิตกับเขาได้ หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งสวัสดิการอย่าง “โบนัส” หรือ “ค่าตอบแทนพิเศษ” (Incentive) ที่เป็นกำลังใจสำคัญให้พนักงานอยู่กับองค์กรนานขึ้น
5 สวัสดิการบริษัทสุดเจ๋งที่คนรุ่นใหม่สนใจ มีอะไรบ้าง
สวัสดิการบริษัทมีประโยชน์และความสำคัญกับองค์กรมากมายขนาดนี้ แล้วสวัสดิการไหนบ้างล่ะ? ที่จะสามารถดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ หรือที่เรียกว่า “Talents” ให้อยากมาทำงานกับบริษัทของเรา
สวัสดิการพนักงานที่น่าสนใจ ที่บริษัทระดับโลกใช้ดึงดูดคนรุ่นใหม่ พร้อมอ้างอิงจากผลสำรวจสวัสดิการที่ต้องการจากคนทำงานกว่า 7,420 คน สรุปเป็นสวัสดิการ 5 ข้อนี้
1. ระบบการทำงานที่ยืดหยุ่น
สวัสดิการแรกว่าด้วย “ระบบการทำงานที่ยืดหยุ่น” ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องของเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่นเท่านั้น แต่ยังหมายความรวมถึงรูปแบบและวิธีการทำงานด้วย
ตั้งแต่ที่โลกเผชิญกับวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปี 2020 ทำให้แทบทุกประเทศต้องใช้มาตรการ Lockdown ปิดเมือง ห้ามไม่ให้ผู้คนสัญจรหรือเดินทางออกนอกบ้าน รวมไปถึงการออกไปทำงานด้วย ทำให้เกิดรูปแบบการทำงานแบบ Work From Home ที่กลายเป็นความคุ้นชินใหม่ในปัจจุบัน
คนทำงานเริ่มปรับตัวกับการทำงานที่บ้านและทำงานแบบ Remote Working ไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศ และถึงแม้วิกฤตการณ์โรคระบาดจะผ่านพ้นไปแล้ว แต่คนทำงานส่วนมากยังคง “ติดใจ” กับรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น (Felxible) คนทำงานสามารถทำงานจากที่ไหนของมุมโลกก็ได้ สามารถจัดสรรเวลาการทำงานของตัวเองได้ คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์มากกว่ารูปแบบการทำงานที่ต้อง Check-in / Check-out ตอกบัตรเข้าทำงาน
จากที่อธิบายมา สรุปได้ 2 ประเด็นที่คนรุ่นใหม่ต้องได้ ได้แก่
– เวลาทำงานที่ยืดหยุ่น (Flexible hour) สามารถทำงานตอนไหนก็ได้ โดยที่ไม่ต้องแจ้งบอกบริษัท เพียงแต่ยึดความผลลัพธ์หรือความสำเร็จของงานเป็นสำคัญ (Performance Base)
– รูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น เช่น สามารถทำงานจากที่บ้านได้ หรือสามารถทำงานไปด้วยเที่ยวไปด้วยได้ ที่เรียกว่า “Workation”
2. เงินโบนัส
เงินโบนัส คือ เงินค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้กับพนักงานที่แยกออกจากเงินเดือนหรือค่าตอบแทนประจำ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะจ่ายให้ตอนสิ้นปี ตามผลประกอบการของบริษัทหรือตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งเงินโบนัสเป็นสวัสดิการอันดับต้น ๆ ที่คนทำงานมองหา
สอดคล้องกับผลสำรวจจากสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) ที่การจ่ายโบนัส คือ ค่าตอบแทนอันดับ 1 ที่ทำให้พนักงานรู้สึก “หัวใจพองโต” (อันดับที่ 2 และ 3 คือ การจ่ายเบี้ยขยันหรือ Incentive และค่าตอบแทนตามตำแหน่ง)
จากสถิติข้างต้น ทำไมโบนัสถึงเป็นสวัสดิการที่คนทำงานมองหา?
เมื่อมองในมุมของคนทำงานแล้ว “โบนัส” เปรียบเสมือนกำลังใจและถือเป็นรางวัลสำหรับความพากเพียร ความทุ่มเทที่บริษัทจะมอบให้เมื่อสิ้นปี นอกจากนี้ โบนัสที่ได้รับเป็น ‘เงินก้อนใหญ่’ สามารถช่วยพลิกสถานการณ์การเงินให้กับพนักงานได้ ไม่ว่านำไปเก็บออม ลงทุน สะสางหนี้สิน หรือใช้วางแผนการเงินสร้างความมั่นคงต่อไป ฯลฯ แตกต่างจากเงินเดือนหรือรายได้ประจำที่มักจะหมดไปกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รายจ่ายประจำอย่าง ค่าเดินทาง ค่าที่พัก หรือการชำระหนี้สิน
ส่วนในมุมของบริษัท การให้โบนัสกับพนักงานถือเป็นคำขอบคุณจากบริษัทอย่างเป็นรูปธรรมที่ช่วยเป็นกำลังใจให้กับพนักงาน เมื่อพนักงานรู้สึกว่าบริษัทมองเห็นคุณค่า รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรและอยากทุ่มเทให้บริษัท รวมไปถึงช่วยให้พนักงานอยากอยู่กับองค์กรนานขึ้น ลดอัตราการเปลี่ยนงาน (Turn Over Rate) ซึ่งถือเป็นการรักษาบุคลากรในบริษัท หรือ ทำ Employee Retention ไปในตัว
3. การสนับสนุนพนักงาน (Employee Support)
การสนับสนุนพนักงาน หรือ Employee Support ในปัจจุบันมีความสำคัญกับองค์กรสมัยใหม่อย่างมาก เพราะทุกวันนี้ คนทำงานไม่ได้มองหาแค่ความมั่นคงและงานที่ให้ค่าตอบแทนสูงเท่านั้น แต่พวกเขามองหา “ความก้าวหน้า” และการเติบโตในหน้าที่การงาน ซึ่งการสนับสนุนพนักงานที่พวกเขามองหา ก็มีในหลายแง่มุมด้วยกัน
– การสนับสนุนการทำงาน (Working Environment) ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับพวกเขาในการทำงาน การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำงาน เช่น การมีโต๊ะและเก้าอี้ทำงานที่ทำงานสบาย คอมพิวเตอร์ เครื่องมือ และโปรแกรมสำหรับที่ช่วยส่งเสริม Productivity
– การสนับสนุนเรื่องเงิน (Financial Support) การช่วยเหลือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น ค่าเดินทาง ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าไฟฟ้า สำหรับคนที่ทำงานจากที่บ้าน (WFH) หรือทำงานไปพร้อมกับท่องเที่ยว (Workation)
– การสนับสนุนเรื่องการพัฒนาตัวเอง คนทำงานรุ่นใหม่มองเรื่องของความก้าวหน้าในสายงาน (Career Path) และการพัฒนาตัวเองเป็นสำคัญ พวกเขาจะมองหาบริษัทที่มีสวัสดิการที่ช่วยให้พวกเขาพัฒนาทักษะตัวเองได้ เช่น มีงบค่าเรียนหรือค่าเทรนนิง (Training Budget) มีคอร์สอบรมให้เรียนฟรีทั้งออฟไลน์และออนไลน์ หรือมีการแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า หรือที่ปรึกษา ฯลฯ
4. ส่งเสริมสุขภาพและให้ความมั่นคง
สุขภาพที่ดีของพนักงานส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยตรง บริษัทส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพพนักงาน และในมุมของพนักงาน พวกเขาก็ให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพไม่แพ้กัน
เมื่อเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา หากบริษัทมีสวัสดิการที่ช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลของพนักงานได้หรือมีประกันสุขภาพ-ประกันอุบัติเหตุ ก็จะช่วยลดความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้กับพนักงาน สวัสดิการด้านสุขภาพจึงเป็นสวัสดิการอันดับต้น ๆ ที่คนทำงานมองหา ถือเป็นสวัสดิการที่ช่วยสร้างความมั่นคงในชีวิตของพวกเขาได้
และนอกจากเรื่องของประกันและค่ารักษาพยาบาลแล้ว การส่งเสริมสุขภาพทางกายและใจในองค์กรก็เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งทำได้หลากหลายวิธี เช่น
– การส่งเสริมให้ออกกำลังกาย เช่น เข้าใช้ฟิตเนสได้ฟรี ส่งเสริมให้พนักงานชวนกันไปออกกำลังกาย
– การส่งเสริมการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ให้ส่วนลดพิเศษกับร้านอาหารสุขภาพ ส่งเสริมวัฒนธรรมการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ฯลฯ
– การติดตามความรู้สึกและดูแลจิตใจ เช่น มีโปรแกรมติดตามอารมณ์ความรู้สึกในแต่ละวัน มีนักจิตวิทยาที่คอยให้คำปรึกษา ส่งเสริมให้หัวหน้างานสอบถามภาระงานและความกังวล ฯลฯ
– การเสริมสร้างความสัมพันธ์ เช่น ส่งเสริมให้ทำกิจกรรมร่วมกันในองค์กร มีการถามไถ่ความรู้สึกเป็นประจำ ฯลฯ
ทุกวันนี้ การใส่ใจดูแลสุขภาพของพนักงานเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายขึ้น ด้วยการใช้โปรแกรมสุขภาพ (Wellbeing Program) ส่งเสริมและกระตุ้นให้พนักงานดูแลสุขภาพได้ดีขึ้น
ตัวอย่างการ “สะกิด” มอบหมายภารกิจ
ที่ช่วยส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดีจาก SAKID
ยกตัวอย่างเช่น มีแอปพลิเคชัน SAKID Happiness & Health Tool ที่ช่วยติดตามข้อมูลด้านสุขภาพและ “สะกิด” มอบหมายภารกิจส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพให้กับพนักงานแต่ละคน เช่น แข่งขันเดินหมื่นก้าว กรอกข้อมูลอาหารที่กินให้ระบบวิเคราะห์ งดดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ เพื่อรับคอยน์สำหรับแลกรางวัลเป็นส่วนลดซื้อสินค้า ส่วนลดร้านอาหาร ฯลฯ
วิธีการส่งเสริมสุขภาพด้วยระบบการให้รางวัล จะช่วยให้พนักงานรู้สึกว่าการดูแลสุขภาพเป็นเรื่องสนุกและตื่นเต้นเหมือนกับการเล่นเกม
5. ค่าตอบแทนพิเศษ (Incentive) และรางวัล
คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรียกว่า “ค่าตอบแทนตามผลงานและความสามารถ” หากพวกเขาทุ่มเทกับงานมากกว่าปกติ ทำงานล่วงเวลา หรือผลงานของพวกเขาประสบความสำเร็จ พวกเขาควรได้รับค่าตอบแทนหรือรางวัลที่มากกว่าเงินเดือนที่จ่ายตามตกลง
การให้ค่าตอบแทนพิเศษ หรือที่เรียกว่า “Incentive” ถือเป็นอีกแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้พนักงานทุ่มเททำงานให้กับบริษัท ซึ่งพวกเขาก็รู้สึกว่า “แฟร์” (Fair) หากบริษัทสามารถจ่ายให้ได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ แต่นอกเหนือจากความรู้สึกว่าแฟร์แล้ว การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษยังถือเป็นเครื่องหมาย เป็นกำลังใจจากบริษัทที่มองเห็นความทุ่มเทของพนักงานแต่ละคน เป็นการจ่ายค่าตอบแทนให้ตาม Performance ซึ่งมาจากระบบการทำงานที่ยืดหยุ่นและวัดกันที่ผลงานมากกว่าเวลาหรือจำนวนวันที่เข้าทำงาน
ทั้งนี้ นอกจากการให้ค่าตอบแทนพิเศษหรือ Incentive แล้ว บริษัทยังสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานด้วยการให้รางวัลพวกเขาได้อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบัน บริษัทใหญ่ ๆ ในต่างประเทศมักใช้ระบบที่เรียกว่า “Employee Recognition and Rewards” ระบบที่คอยให้รางวัลกับพนักงานแต่ละคนตาม Performance จริง ๆ ของเขา เป็นคะแนนแลกซื้อสินค้า ให้ Gift Card ส่วนลดสินค้าบนแพลตฟอร์มซื้อขาย เช่น Amazon สินค้าแบรนด์ Apple ฯลฯ

ปัจจุบันในต่างประเทศนิยมใช้ระบบ Employee Recognition and Rewards จาก 2 เจ้าใหญ่ ๆ ด้วยกัน ได้แก่ Worktango และ Nectar ที่บริษัททั่วไปสามารถสมัครให้กับพนักงานได้ เซตระบบการให้รางวัลและแลกรางวัลภายในแพลตฟอร์ม โดยที่บริษัทไม่ต้องยุ่งยากจัดการอะไร หรืออย่างในไทยก็มีแอปพลิเคชันดูแลสุขภาพพนักงาน SAKID ที่คอยมอบหมายภารกิจให้พนักงานดูแลสุขภาพตัวเองแล้วมอบคอยน์สำหรับแลกรางวัลให้
การให้ค่าตอบแทนพิเศษหรือให้รางวัล นอกจากจะเป็นแรงจูงใจที่ดีในการทำงานให้กับพนักงานแล้ว ยังเป็นการแสดงออกว่า บริษัท “มองเห็น” ความทุ่มเทและตั้งใจทำงานของพวกเขาด้วย
สรุป
สวัสดิการบริษัทไม่ใช่แค่ธรรมเนียมปฏิบัติหรือเป็นสิ่งที่บริษัทต้องทำให้กับพนักงานตามกฎหมายเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการดูแลเอาใจใส่คนทำงานและการสร้างองค์กร ช่วยทั้งดึงดูดให้คนที่มีความสามารถอยากเข้ามาร่วมงานด้วย ช่วยสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงาน ช่วยส่งเสริมองค์กรให้น่าอยู่และรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรได้ยาวนานขึ้น
บริษัทของคุณสามารถเริ่มสร้างองค์กรที่มีสวัสดิการที่ดีต่อใจพนักงานได้ง่าย ๆ ด้วยแอปพลิเคชัน SAKID นวัตกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี อีกสวัสดิการที่สะท้อนความห่วงใยของบริษัทให้กับทีมงานของคุณ
บทความที่น่าสนใจ

“Burnout” องค์กรควรทำอย่างไรเมื่อพนักงานหมดไฟ
Burnout สำคัญแค่ไหน รู้หรือไม่ว่านี่คือปัญหาที่บริษัททั่วโลกกำลังพบเจอมากขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน เราควรรับมือมันอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

“จัดโต๊ะทำงาน” สร้างสุขในการทำงานง่ายๆ ด้วยความเป็นระเบียบ
เคยไหม? ก่อนเริ่มทำงาน ต้องจัดโต๊ะ จัดห้องให้เรียบร้อยก่อน ไม่งั้นจะรู้สึกหงุดหงิด ไม่มีสมาธิทำงาน ไขประโยชน์ของการจัดโต๊ะทำงาน พร้อมเทคนิคจัดโต๊ะ เคลียร์สมอง!

Workshop How to understand burnout
กิจกรรม Workshop “การจัดการความเครียด”
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 Sakid ได้จัดกิจกรรม Workshop “การจัดการความเครียด” ให้กับบริษัทเอสพี อินเตอร์แมคและการไฟฟ้านครหลวง โดยวิทยากรนักจิตวิทยาองค์กร ครูรักอมยิ้ม คุณอานนท์ ตั้งกิตติทรัพย์ ภายในงานผู้เข้าร่วมได้รับเทคนิคการจัดการความเครียด และการบริหารการทำงานให้มี Work-life balance

Healthy Green Canteen โรงอาหารปลอดภัย อร่อย สะอาด สุขภาพดี
Snack bar สำหรับพนักงาน เป็นสวัสดิการที่ช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์ และ ประสิทธิภาพการทำงานได้ แต่ควรเลือกอาหารที่เหมาะสม เช่น ผลไม้ นม แครกเกอร์ หรือ อาหารที่มีพลังงานน้อย เพื่อช่วยให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีด้วยนั่นเอง

สวัสดิการสุขภาพพนักงาน เรื่องพื้นฐานที่องค์กรต้องใส่ใจ
เพราะปัจจุบันคนรุ่นใหม่ให้คุณค่ากับการดูแลตัวเอง องค์กรหรือบริษัทจึงควรหันมาใส่เรื่องสวัสดิการสุขภาพพนักงานกันมากขึ้น แล้วสวัสดิการสุขภาพไหนบ้างที่คนทำงานมองหา

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในโลก VUCA สำคัญอย่างไร? แนะนำวิธีวางแผนเบื้องต้น
วางแผนพัฒนาทรัพยการมนุษย์อย่างไรให้ได้ผลในโลกของ VUCA ที่ผันผวนและไม่แน่นอน ผ่านการทำความเข้าใจและให้เทคนิคที่เอาไปใช้ต่อได้ไม่ยาก นั่นก็คือ…