Burnout
URL Copied!

“Burnout” องค์กรควรทำอย่างไรเมื่อพนักงานหมดไฟ

Burnout หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน กลายเป็นหนึ่งในภัยเงียบใหม่ที่หลายบริษัทต้องพบเจอ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งในส่วนของสุขภาพกายและสุขภาพจิตระยะยาว โดยส่วนมากมักเกิดความเครียดเรื้อรัง ความซ้ำซากของเนื้องาน ไปจนถึงความสัมพันธ์กับผู้คนในองค์กร

 

อาการหมดไฟนี้ไม่เพียงส่งผลแค่ในส่วนของตัวพนักงานเท่านั้น แต่อาจกระทบไปยังภาพรวมของบริษัทได้ ทำให้แผนกทรัพยากรมนุษย์ (HR) มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาเบื้องต้นสำหรับพนักงานเหล่านี้ อาการ Burnout สามารถสังเกตได้อย่างไรบ้าง องค์กรควรมีบทบาทอย่างไรเมื่อพนักงานเกิดหมดไฟ บทความนี้มีคำตอบให้คุณ

 

Burnout ภัยเงียบขององค์กรที่ทุกคนควรรู้จัก

 

Burnout ไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับวัยทำงาน แต่ภาวะหมดไฟนี้ถูกพูดถึงมาเนิ่นนานเมื่อเหล่าพนักงานมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามากระทบจนทำให้ประสิทธิภาพการทำงานน้อยลง คล้ายกับเปลวไฟที่หมดพลัง

 

ผลสำรวจจาก Asana ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจัดการงานชื่อดังที่วิจัยพนักงาน 10,000 คนจากทั่วโลกในปี 2021 พบว่า 70% ของคนเหล่านั้นมีอาการ Burnout จากการทำงาน โดยมีสัดส่วนของผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

 

ผลสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของอาการ Burnout จาก Deloitte ระบุว่าผู้คนที่มีอาการ Burnout ราว 36% มีขวัญกำลังใจในการทำงานที่ลดลง 30% ต้องการมีส่วนร่วมกับงานที่ทำอยู่ให้น้อยลง และ 57% ของผู้ที่ตอบแบบสอบถาม ระบุชัดว่าต้องการลาออกเพื่อแสวงหาสถานที่ทำงานที่มีคุณภาพต่อชีวิตมากยิ่งขึ้น

 

จากตัวเลขทั้งหมด จึงชัดเจนว่าอาการ Burnout หรือ หมดไฟ ได้กลายเป็นภัยเงียบที่ HR ต้องพึงระวัง ไม่ใช่แค่การสังเกตเพื่อนร่วมงาน พี่น้องในทีม แต่รวมถึงการสังเกตตัวเอง ดูแลสุขภาพจิตตัวเองให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งอาการ Burnout ที่สามารถพบได้ทั่วไปมีดังนี้

 

 

การ Burnout 3 ประเภทที่พบได้ทั่วไป

 

1. Overload Burnout

 

ภาวะ Overload Burnout หรืออาการหมดไฟจากการแบกรับทุกสิ่งทุกอย่างมากจนเกินไป เป็นหนึ่งในภาวะที่พบได้มากที่สุดสำหรับผู้ที่ทำงานหนักมากจนเกินไป และงานดังกล่าวส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ จนท้ายที่สุดก็แปรเปลี่ยนเป็นอาการหมดไฟนั่นเอง

 

Overload Burnout นั้นส่งผลกระทบต่อบริษัทมากกว่าที่คุณคิด เพราะโดยส่วนมากอาการดังกล่าวอาจเกิดกับพนักงานที่ขยัน มีความรับผิดชอบสูง รวมถึงมีบทบาทสำคัญในบริษัท ซึ่งแน่นอนว่าหากตัวพนักงานเกิดอาการดังกล่าว ย่อมส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพงาน ไปจนถึงขวัญกำลังใจของคนในทีม จึงควรมีการระมัดระวังในการบริหารจัดการงาน ไม่ให้งานไปกระจุกที่ใครคนใดคนหนึ่งมากเกินไป รวมถึงเว้นช่องว่าง สร้างความยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับการทำงานยุคใหม่เป็นสำคัญ

 

2. Under-Challenged Burnout

 

ภาวะหมดไฟเพราะสิ่งต่าง ๆ หมดความท้าทาย หรือ Under-Challenged Burnout มักเกิดจากพนักงานที่พบว่างานของตัวเองมีความซ้ำซากจำเจ ไม่มีความท้าทาย จนสูญเสียเป้าหมายและ “ไฟ” ในการทำงานไปหมดสิ้น

 

หากเกิดภาวะดังกล่าวย่อมแสดงว่าภายในองค์กรของเราอาจมีการมอบหมายงานที่ไม่ตรงตามตำแหน่ง มีงานที่ง่ายเกินไป ทางฝ่าย HR อาจสนับสนุนด้วยการเพิ่มโอกาส หรือมอบหมายหน้าที่ใหม่ ๆ ให้พนักงานคนนั้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดไฟในการทำงาน หรือความต้องการในการค้นหาสิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น

 

 

3. Neglect Burnout

 

ภาวะดังกล่าวสามารถแปลได้ตรงตัวคือ “การหมดไฟเพราะถูกละเลย (Neglect)” จากสถานที่ทำงาน มักเกิดกับพนักงานที่ขาดคำแนะนำ และความช่วยเหลือจากคนในทีม จนทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ต้องการ หรือตรงตามเป้าหมาย และท้ายสุดแล้วก็กลายเป็นความชินชาและหมดไฟในที่สุด 

 

หากเกิดอาการ Burnout ประเภทนี้ ย่อมชัดเจนว่าการประสานงาน หรือการพูดคุยภายในทีมอาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ควรมีการสนับสนุน รวมถึงการสร้างกำลังใจให้พนักงานมากขึ้น เพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

 

โดยเพื่อนร่วมงาน ฝ่าย HR ไปจนถึงผู้บริหาร สามารถเรียนรู้การสังเกตการ Burnout ของคนรอบข้างได้จากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

 

การสังเกตอาการ Burnout เบื้องต้น

 

1. ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

 

การทำงานของพนักงานคนดังกล่าวมีประสิทธิภาพลดลง อาจเป็นการเสร็จไม่ทันเวลา ความผิดพลาดที่เยอะขึ้น หรือการสื่อสารที่น้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยนี้คือปัจจัยแรกที่สามารถสังเกตได้ชัดเจนว่าคน ๆ นั้นอาจมีอาการ Burnout อยู่

 

2. มีอารมณ์หรือการแสดงออกที่ผิดจากเดิม

 

จากความร่าเริงกลายเป็นความเศร้าหมอง จากคนตื่นเต้นกลายเป็นคนเศร้าซึม อารมณ์และการแสดงออกในการทำงานเป็นสิ่งที่บางครั้งฝ่าย HR และ เพื่อนร่วมงานสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า ไม่ว่าจะผ่านการสนทนาหรือการทำงานก็ตาม หากพนักงานใหม่ไฟแรงเริ่มเกิดอาการเฉื่อยชา หรือมีความหงุดหงิดออกมาในการทำงาน ก็มีโอกาสที่อาการหมดไฟเริ่มมาเยือนแล้วเช่นกัน

 

3. มีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน

 

เนื่องจากอาการหมดไฟนั้นมักมีอารมณ์และความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคนที่หมดไฟอาจก่อให้เกิดปัญหากับเพื่อนร่วมงานสูง ไม่ว่าจะจากการหุนหันพลันแล่น การทำงานไม่ตรงตามเป้าหมาย หรือแม้แต่การตอบคำถามที่ไม่เข้าหูกัน จนกลายเป็นความเกลียดชังและการกระทบกระทั่งในที่ทำงานที่ไม่ควรเป็น

 

 

4. ไม่สามารถบริหารจัดการเวลาได้เท่าเดิม

 

ขึ้นชื่อว่าอาการหมดไฟย่อมทำให้การทำงานไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ และก่อให้เกิดการบริหารจัดการเวลาได้ไม่ดีเพียงพอ ดังนั้นหากพนักงานที่มีความเคร่งครัด ส่งงานตรงเวลาเสมอเริ่มมีอาการส่งงานเลท ประชุมสาย หรือจัดการตัวเองไม่ได้ โดยไม่มีปัจจัยอื่น ๆ มาเกี่ยวข้อง อาจอนุมานเบื้องต้นได้ว่าเกี่ยวกับอาการ Burnout 

 

5. โทษคนอื่นเกี่ยวกับงานเสมอ ๆ

 

ปัจจัยหลายสิ่งหลายอย่างภายใต้อาการ Burnout นั้นส่งผลต่อสภาพจิตใจ อาจแปรเปลี่ยนพนักงานที่มีความซื่อตรง ขยัน ให้กลายเป็นคนโมโหร้าย หาเรื่องโทษคนอื่นโดยไม่สนใจสิ่งที่เกี่ยวกับตนเอง ทางฝั่ง HR อาจนำจุดนี้มาประกอบการพิจารณาว่าบุคคลดังกล่าวมีอาการ Burnout หรือไม่ หรือมีภาวะใดที่อาจส่งผลต่อทีมในอนาคต

 

5 ข้อดังกล่าวเป็นเพียงการสังเกตอาการ “เบื้องต้น” เท่านั้น เนื่องจากอาการ Burnout มีหลายประเภท มีความซับซ้อน รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องก็มีมากมาย และอาจเป็นอาการที่เกิดจากหลาย ๆ สิ่งรวมกัน ดังนั้นผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องควรมีการสังเกต หรือทำการพูดคุยให้ชัดเจนถึงสิ่งที่เกิดขึ้น รวมถึงแนวทางการแก้ไข เพื่อการจัดการปัญหาที่มีประสิทธิภาพที่สุด

 

องค์กรควรทำอย่างไรเมื่อพบว่าพนักงาน Burnout

 

วิธีการรับมือปัญหาเกี่ยวกับ Burnout นั้นมีหลากหลายรูปแบบ แม้ว่าการแก้ไขนั้นจะต้องใช้พนักงานที่ประสบปัญหาเป็นศูนย์กลาง แต่ตัวคนในบริษัท ฝ่ายบุคคล ไปจนถึงผู้บริหารก็สามารถมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาระยะยาวได้

 

1. ช่วยบริหารจัดการปริมาณงานเบื้องต้น

 

เนื่องจากผู้ที่มีภาวะ Burnout อาจเกิดจากการบริหารจัดการเวลางานด้วยตนเองไม่ได้ดีพอ ดังนั้นจึงช่วยสร้างช่องว่างให้คน ๆ นั้นสามารถฟื้นฟูสุขภาพกายและใจของตนเองได้ รวมถึงสังเกตว่าหากปริมาณงานหนักเกินไปจริง ๆ จนเข้าสู่ Overload Burnout อาจใช้การรับพนักงานในตำแหน่งนั้น ๆ มาเพิ่มเติมเพื่อช่วยแบ่งเบาความหนักในงาน

 

2. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับมุมมองการทำงาน

 

การทำความเข้าใจบทบาทและมุมมองในการทำงานของพนักงาน เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้การทำงานต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้น ฝ่ายบุคคลควรมีบทบาทในการให้คำปรึกษาเบื้องต้น เกี่ยวกับการทำงานในภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อการปรับทัศนคติให้เหมาะสมกับการทำงาน ไม่ตึงหรือหย่อนจนเกินไปที่อาจทำให้เกิดผลกระทบในระยะยาวได้

 

 

3.สนับสนุนการสื่อสารภายในทีมให้มากขึ้น

 

สิ่งที่ช่วยให้การทำงานของผู้ที่ Burnout นั้นกลับมามีประสิทธิภาพมากขึ้นย่อมมีการสื่อสารเป็นส่วนประกอบ การให้พนักงานผู้นั้นมีการพบปะผู้คนมากขึ้น พูดคุยสิ่งต่าง ๆ นอกจากงาน ไปจนถึงสร้างสายสัมพันธ์กับคนในองค์กร จะเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้อาการหมดไฟนั้นค่อย ๆ เจือจางลง และการทำงานมีคุณภาพยิ่งขึ้น

 

4. เพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน

 

ความกดดัน ภาระงานที่จำเจ ไปจนถึงงานที่ไม่ท้าทาย เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเป็นอาการ Burnout ตามที่ระบุไปข้างต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าว สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยการเปิดช่องว่างให้มีการเปลี่ยนแปลง เช่น เปิดโอกาสให้พนักงานทำงานจากที่ไหนก็ได้ สร้างโอกาสให้พนักงานสามารถทำสิ่งใหม่ ๆ นำเสนอแนวคิดของตัวเองเพื่อต่อยอดเป็นงานต่าง ๆ จะช่วยให้อาการ Burnout นั้นดีมากขึ้น

 

สรุป

 

สภาวะ Burnout นั้นเกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นงานที่หนักเกินไป ความไม่ท้าทายในงาน ไปจนถึงการสื่อสารที่อาจไม่เพียงพอภายในทีม ดังนั้นการดูแลสภาพกายและใจของพนักงานให้สมบูรณ์พร้อม จึงเป็นสิ่งที่ฝ่ายบุคคลต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก 

 

ซึ่งการเก็บข้อมูลสุขภาพของพนักงานด้วยแอพพลิเคชั่นเอง ก็ถือว่าเป็นทางเลือกใหม่ในยุคปัจจุบัน โดย SAKID เป็นนวัตกรรมดูแลสุขภาพพนักงานแบบองค์รวมที่น่าสนใจที่จะนำไปใช้งานภายในองค์กร เพื่อช่วยดูแลพนักงานของพวกคุณให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในอีกระดับ โดยมีบริการแยกย่อยออกไป ที่สามารถสนับสนุนบุคลากรในองค์กรได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น บริการภารกิจสุขภาพรายบุคคล ที่คัดสรรภารกิจการบริหารร่างกายเพื่อสุขภาพของแต่ละคนโดยเฉพาะ บริการปฏิทินความสุข เครื่องมือสำหรับบันทึกความสุข และการบรรเทาความเครียดต่าง ๆ ของพนักงาน  

       

ทั้งยังมีบริการโค้ชสุขภาพพนักงานส่วนตัว  เพื่อให้พนักงานพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพกับโค้ชประจำตัว กับนักกำหนดอาหาร นักวิทยาศาสตร์การกีฬา และนักจิตวิทยา ที่ช่วยลดอาการ Burnout ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม และในท้ายที่สุดนี้คือ บริการเวิร์คช็อปออนไลน์ ซึ่งเป็นคลาสสำหรับดูแลสุขภาพกาย และใจของพนักงานในองค์กรด้วยระบบออนไลน์ ที่สามารถเข้ามาเรียนได้โดยง่าย 

 

โดยทีมงานของเราในการทำงานมีประสบการณ์การทำงานมามากกว่า 10 ปี และผ่านประสบการณ์การทำงานกับองค์กรมามากกว่า 200 องค์กร ด้วยศักยภาพที่จะช่วยดูแลร่างกายและจิตใจของพนักงานให้ดียิ่งขึ้น จึงมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพพนักงาน ทำให้สามารถเข้าถึงผู้รับบริการได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยคุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมต่าง ๆ ได้ที่บริการของ SAKID และติดต่อเข้ามาได้ผ่านทางเว็บไซต์ของเรา หากสนใจจะใช้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

Cover-sakid-เขตราษฎร์บูรณะ

บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตราษฎร์บูรณะ

บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตเขตราษฎร์บูรณะ

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 Sakid ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดให้กับการไฟฟ้านครหลวง เขตเขตราษฎร์บูรณะ ในกิจกรรม Fun for Fit เพื่อแนะนำการเข้าร่วมโครงการ  “MEA เบิร์นเกินร้อย” เปิดศึกการแข่งกันระหว่างทีมเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี ด้วยการส่งภารกิจสุขภาพผ่านแอพสะกิด และลุ้นรับของรางวัลในแต่ละเดือน

อ่านต่อ »

บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ

บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 Sakid ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดให้กับการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ ในกิจกรรม Fun for Fit เพื่อแนะนำการเข้าร่วมโครงการ  “MEA เบิร์นเกินร้อย” เปิดศึกการแข่งกันระหว่างทีมเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี ด้วยการส่งภารกิจสุขภาพผ่านแอพสะกิด และลุ้นรับของรางวัลในแต่ละเดือน

อ่านต่อ »

แจกแจง “กิจกรรม 5 ส มีอะไรบ้าง” เพื่อการทำงานในองค์กรที่ดียิ่งขึ้น

เพราะสภาพแวดล้อมในที่ทำงานก็เป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มศักยภาพของคนในองค์กร ยิ่งสภาพแวดล้อมดี คนทำงานก็สุขภาพดีไปด้วย ลองหันมาใช้แนวคิด 5 ส. กัน

อ่านต่อ »
Cover-sakid-บางเขน

บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตบางเขน

บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตบางเขน

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2566 Sakid ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดให้กับการไฟฟ้านครหลวง เขตบางเขน ในกิจกรรม Fun for Fit เพื่อแนะนำการเข้าร่วมโครงการ  “MEA เบิร์นเกินร้อย” เปิดศึกการแข่งกันระหว่างทีมเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี ด้วยการส่งภารกิจสุขภาพผ่านแอพสะกิด และลุ้นรับของรางวัลในแต่ละเดือน

อ่านต่อ »
คลาสออกกำลังกาย-SAKID

คลาสออกกำลังกายหลังเลิกงาน

หลังจากที่ทำงานมาอย่างยาวนานและเต็มไปด้วยความเครียด การหาเวลาให้ตัวเองด้วยการออกกำลังกายอาจจะเป็นเรื่องยาก ระหว่างที่รอช่วงเลยเวลารถติดหรือผู้คนจำนวนมากในเวลาเร่งด่วนช่วงเย็น  “คลาสออกกำลังกายหลังเลิกงาน” เป็น1ในตัวเลือกที่กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มคนทำงานที่ต้องการดูแลสุขภาพและผ่อนคลายจากความวุ่นวายในชีวิตประจำวันซึ่งสามารถกำหนดเวลาได้ชัดเจนและเป็นกิจวัตรประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นโยคะที่สงบผ่อนคลาย คลาสเต้นสนุกสนาน หรือการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอที่ช่วยเผาผลาญแคลอรี คลาสเหล่านี้มีตัวเลือกมากมายที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ นอกจากจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกายแล้ว ยังเพิ่มพลังงานและสร้างสมดุลให้กับชีวิตได้อย่างดี

อ่านต่อ »
MEA-Fatty model-SAKID

WORKSHOP MEA Fatty model

กิจกรรม MEA Fatty model

วันที่ 18 มิถุนายน  2567 SAKID  ได้จัดกิจกรรม MEA Fatty model สำหรับผู้ที่มีปัญาไขมันในเลือดสูงและน้ำหนักเกินเกณฑ์ โดยที่ทีมนักกำหนดอาหารวิชาชีพ เข้ามาจัดกิจกรรมโดยแบ่งเป็น 4 ฐานที่เชื่อมโยงกับการลดไขมัน คือ ฐานน้ำตาล ที่จะมีเกมให้เล่นและแฝงความรู้เรื่องการเลือกเครื่องดื่มปริมาณน้ำตาลแผงที่อยู่ในอาหาร ฐานไขมัน จะมีเกมให้คิดว่าอาหารอันไหนที่ไขมันมากสุดและน้อยสุดโดยที่จะสอนเรื่องการเลือกใช้น้ำมันประกอบอาหาร ฐานโปรตีนการเลือกกินอาหารส่วนของเนื้อสัตว์ และฐานโซเดียม ที่จะมาให้ความรู้เรื่องอาหารที่กินอยู่ในชีวิตประจำวันว่ามีโซเดียมประมาณเท่าไร และการเลือกกินอย่างถูกต้องให้สมดุลเพื่อที่จะให้ลดไขมันลงได้

อ่านต่อ »