วัฒนธรรมองค์กร
URL Copied!

การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้ดีขึ้น ด้วยแนวคิดแบบสตาร์ทอัพ

ปัจจัยสำคัญนอกเหนือจากเงินหรือตำแหน่งงาน ที่จะช่วยมัดใจให้พนักงานยังอยู่กับองค์กรต่อไป ก็คือวัฒนธรรมองค์กร เพราะในทุกวันนี้ ปัจจัยในเรื่องของความรู้สึกเองก็ส่งผลกับพนักงานมากยิ่ง ๆ ขึ้น การมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีจึงกลายมาเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างบริษัทให้ยั่งยืน จึงทำให้หลาย ๆ องค์กรนั้นตัดสินใจเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรของตน ไปสู่วัฒนธรรมองค์กรแบบสตาร์ทอัพที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน

 

วัฒนธรรมองค์กรแบบสตาร์ทอัพ คืออะไรกันแน่

 

วัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) นั้นหมายถึง ค่านิยม, ทัศนคติ, มาตรฐาน และ ความเชื่อที่ทุกคนในองค์กรมีร่วมกัน ซึ่งวัฒนธรรมนี้เป็นสิ่งที่สร้างเป้าหมายขององค์กร ทั้งยังเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์ และวิธีที่ทุกคนในองค์กรจะทำงาน ซึ่งการสร้างมันขึ้นมา จึงเป็นหัวใจสำคัญสำหรับความสำเร็จของตัวองค์กรนั่นเอง

 

การทำงานในองค์กร

 

สำหรับวัฒนธรรมองค์กรแบบสตาร์ทอัพนั้น จะมีความแตกต่างกว่าวัฒนธรรมองค์กรแบบทั่วไปอยู่มาก เพราะมันเป็นวัฒนธรรมที่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ มุ่งเน้นไปที่การสะท้อนมันออกมาจากตัวบุคคล และ Passion ของกลุ่มผู้บริหารในองค์กรเป็นหลัก 

 

ซึ่งนี่ไม่ได้หมายความว่าพนักงานจะไม่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร แต่ผู้บริหารภายในองค์กรต่างหาก ที่จะต้องเป็นแรงขับเคลื่อนในการสร้างวัฒนธรรมอย่างแท้จริง โดยเฉพาะในกลุ่มองค์กรแบบสตาร์ทอัพ ที่โครงสร้างองค์กรค่อนข้างที่จะเล็กและแบนกว่าองค์กรทั่ว ๆ ไป จึงทำให้พนักงานในองค์กรมีความใกล้ชิดกับผู้บริหารระดับสูงมากอยู่แล้วนั่นเอง

 

การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรด้วยแนวคิดแบบสตาร์ทอัพ ต้องทำยังไงบ้าง

 

โดยส่วนมากวัฒนธรรมองค์กรแบบสตาร์ทอัพ มักจะให้ความสำคัญในเรื่องของความยืดหยุ่นมากกว่าวัฒนธรรมองค์กรใหญ่ ๆ ที่จะเน้นไปในเรื่องของความเป็นระบบระเบียบที่ชัดเจน ซึ่งสิ่งสำคัญพื้นฐานในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบสตาร์ทอัพ จะเริ่มต้นขึ้นจากการระบุเป้าหมาย, ค่านิยมแบบแผนหลัก รวมไปถึงการสื่อสารให้ทั่วถึงอย่างชัดเจน และเพื่อจะทำให้วัฒนธรรมนี้คงอยู่อย่างยั่งยืน จำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 6 ส่วนดังนี้

 

1. ผู้บริหารจะต้องเป็นแบบอย่าง

 

ผู้บริหารจะต้องใช้การแสดงออกทางพฤติกรรมตามค่านิยมต่าง ๆ ที่ตั้งมั่นเอาไว้มาเป็นตัวผลักดันวัฒนธรรมควบคู่กันไปอย่างเสมอต้นเสมอปลาย เพราะหากไม่ทำเช่นนั้น อาจทำให้พนักงานไม่เชื่อใจในตัวผู้บริหาร และค่านิยมดังกล่าว จนอาจส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมที่ไม่ดีไปแทน เช่น ในเรื่องของการทำสัญญา หรือการเคารพกันตามสายบังคับบัญชา เป็นต้น

 

2. จ้างงานอย่างระมัดระวัง

 

ในการเลือกจ้างพนักงานเข้ามาทำงานภายในองค์กร ไม่ใช่เพียงแค่ประเมินถึงทักษะความสามารถอย่างเดียวเท่านั้น แต่ความเข้ากันได้กับวัฒนธรรมขององค์กรเองก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะการดูค่านิยมพื้นฐานของพวกเขาว่าไปทางเดียวกับองค์กรหรือไม่ รวมไปถึงตัวองค์กรเองก็จะต้องเตรียมตัวที่จะตอบคำถามต่าง ๆ ที่อาจจะออกมาจากปากของผู้สมัครให้รอบด้าน

 

3. การชื่นชมและให้รางวัลพนักงาน

 

สิ่งนี้คือสิ่งที่จะช่วยเพิ่มขวัญและกำลังใจแก่พนักงานภายในองค์กรเป็นอย่างมาก และยังทำให้พนักงานเหล่านี้รู้สึกผูกพันและรักในตัวขององค์กรมากยิ่ง ๆ ขึ้น เพราะไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม มนุษย์ทุกคนนั้นต้องการความรู้สึกที่ว่าตัวเองมีส่วนสำคัญกันทั้งสิ้น รวมไปถึงการที่มีคนเห็นความพยายามในการทำงานของตัวเอง และได้รับการชื่นชมออกมาอย่างจริงใจ ก็จะยิ่งเป็นการสร้างความรู้สึกดี ๆ ให้แก่พวกเขามากกว่าเดิม

 

พนักงาน

 

4. ประเมินวัฒนธรรมองค์กรอย่างสม่ำเสมอ

 

เพราะการปรับรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรมาเป็นแบบสตาร์ทอัพ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและอาจเติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้นแล้ว พนักงานและผู้บริหารภายในองค์กรจะต้องมีทักษะในการปรับตัว หมั่นตรวจเช็คอยู่เสมอว่าวัฒนธรรมองค์กรในปัจจุบันของเรานั้น พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ รวมไปถึงพนักงานเองก็มีการพัฒนาไปเป็นอย่างไรบ้างนั่นเอง 

 

5. กำหนดกรอบคุณค่าที่มุ่งเน้นผลกระทบทางสังคม ไม่ใช่แค่ความสำเร็จทางการเงินเท่านั้น 

 

แม้ความสำเร็จทางการเงินขององค์กรจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่การใส่ใจสังคมเองก็ถือว่าเป็นเรื่องที่องค์กรจำเป็นจะต้องพึงปฎิบัติ และยึดมั่นในการดำเนินงานที่ช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์ขององค์กร เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผู้คน ซึ่งจะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตัวขององค์กรได้เป็นอย่างมาก และส่งผลทำให้วัฒนธรรมขององค์กรนั้นยั่งยืนและมั่นคง

 

6. มีความอดทนในการสร้างผลกำไร

 

“ผลประโยชน์ระยะสั้นนั้นไม่เคยคุ้มค่ากับสิ่งที่ต้องเสียไปในระยะยาว” นี่เป็นปรัชญาที่ Gusto ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการบัญชีเงินเดือนออนไลน์ในสหรัฐอเมริกานั้นยึดมั่น เพราะความรีบร้อนในการเติบโตที่รวดเร็วจนเกินไป จะส่งผลทำให้วัฒนธรรมองค์กรนั้นพังทลายได้โดยง่าย และทำให้พนักงานสูญเสียความเชื่อมั่นในองค์กร จนกลายเป็นเหตุที่ทำให้พวกเขาลาออกจากองค์กรไปในที่สุด ฉะนั้นแล้ว รากฐานที่ยั่งยืนและความอดทนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่เหล่าผู้บริหารจะต้องยึดมั่นเอาไว้เป็นแบบอย่าง

 

ถ้าอยากให้คนรุ่นใหม่สนใจ วัฒนธรรมองค์กรที่ถูกเปลี่ยนควรเป็นเช่นไร

 

การสร้างวัฒนธรรมองค์กร

 

1. งานที่สมดุล ลงตัวกับไลฟ์สไตล์

 

สิ่งสำคัญสำหรับคนรุ่นใหม่ในยุคนี้ คืองานที่ทำแล้วมีความสุข ทำให้เห็นคุณค่าในตัวเอง และยังจะต้องสมดุลกับชีวิตด้านอื่น ๆ ของพวกเขา ซึ่งตัวงานนี้ นอกจากจะต้องมีโอกาสให้พวกเขาได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอแล้ว จะต้องไม่ทำให้ความต้องการในชีวิตด้านอื่น ๆ ของพวกเขามีปัญหา อย่างเช่นชีวิตส่วนตัว, งานอดิเรก หรือครอบครัว เป็นต้น จนกลายเป็นความรู้สึกที่ย่ำแย่ในการทำงานไป

 

2. ทำงานที่ไหนก็ได้

 

ด้วยปัญหาการการจราจรในปัจจุบัน รวมไปถึงสภาพอากาศและโรคระบาดในตอนนี้ ทำให้ความต้องการที่จะออกจากบ้านไปทำงานถึงออฟฟิศลดน้อยลงไปมาก ความต้องการของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน จึงมุ่งเน้นไปที่การทำงานที่ยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพในการทำงานที่เท่าเดิม ผ่านการติดต่อสื่อสารที่ยอดเยี่ยมระหว่างคนในทีม ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน เพื่อให้ได้มีเวลาเหลือสำหรับการพักผ่อนหรือพัฒนาตัวเองเพิ่มเติม จัดการชีวิตของตัวเองให้ลงตัว และมีอิสระในการทำงานที่เพิ่มมากขึ้น

 

3. รับฟังทุกความคิดเห็น

 

สังคมการทำงานที่มีคุณภาพคืออีกหนึ่งสิ่งที่เหล่าคนรุ่นใหม่นั้นตามหา พวกเขาต้องการองค์กรที่มีพื้นที่ให้พนักงานของตนได้คิด และแสดงความเป็นตัวเองออกมา เปิดกว้างในเรื่องของไอเดีย ที่ไม่ว่าจะเป็นใคร, อายุเท่าไหร่, เพศอะไร หรือทำงานตำแหน่งไหน ก็สามารถแสดงความคิดเห็นออกมาได้โดยไม่ถูกขัด ซึ่งตัวของบริษัทหรือองค์กรเองก็พร้อมที่จะรับฟัง และเคารพในความคิดเห็นของทุก ๆ คนเท่ากัน ทั้งยังให้เกียรติทุกคนอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน, เจ้านาย หรือลูกน้อง ทำให้เกิดสังคมการทำงานที่มีคุณภาพออกมา

 

การรับฟังความคิดเห็น

 

4. ให้โอกาสได้ลองผิดลองถูก

 

เพราะความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่มาจากการล้มเหลวนับครั้งไม่ถ้วน คนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน จึงมักมองหาบริษัทที่เปิดโอกาสให้คนทำงานได้สร้างมาเสนอไอเดียใหม่ ๆ กล้าที่จะให้ลองทำงานที่ไม่เคยทำมาก่อน เปิดโอกาสให้ได้ทำโปรเจกต์ที่อยากทำ หรือลองทำงานในตำแหน่งใหม่ ๆ ที่สนใจ เพื่อสร้างความท้าทายใหม่ ๆ ให้กับคนทำงาน และความท้าทายนี้เอง ก็จะช่วยให้คนทำงานมี Passion ในการทำงานอยู่เสมอ

 

5. พร้อมส่งเสริมให้คนทำงานได้พัฒนาทักษะใหม่ ๆ

 

ในปัจจุบัน ทักษะต่าง ๆ เป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่นั้นขวนขวายอยู่ตลอดเวลา บริษัทควรส่งเสริมให้คนทำงานได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ ทั้ง Soft Skills และ Hard Skills ไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งนอกจากการจัดโปรแกรมฝึกทักษะที่จำเป็นให้แก่พนักงานแล้ว ก็ยังควรที่จะเปิดโอกาสให้พนักงานได้เลือกเรียนรู้ในทักษะที่ตนเองสนใจเองด้วย เพื่อให้พวกเขาได้พัฒนาตัวเองไปสู่พื้นที่การทำงานใหม่ ๆ ที่อาจจะใช้แสดงความสามารถได้ดียิ่งขึ้น ๆ ไปอีก

 

สรุป

 

แม้ว่าวัฒนธรรมองค์กรจะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แต่พนักงานก็สามารถรับรู้ได้จากประสบการณ์ทำงาน, การใช้ชีวิตในองค์กรดังกล่าว และความเข้าใจในระบบการทำงานขององค์กร จึงไม่แปลก หากบริษัทที่มีวัฒธรรมองค์กรที่ไม่ดี จะมีอัตราการลาออกของพนักงานที่สูง อันเป็นเหตุของความไม่ยั่งยืนของบริษัท จนสุดท้ายก็กลายเป็นผลร้ายในระยะยาวของพวกเขาเสียแทน

 

ฉะนั้นแล้ว การเข้าใจและรู้จักพนักงานของตนเองก็เป็นสิ่งที่ฝ่ายบริหารจะต้องทำความสนใจ โดยเฉพาะในเรื่องของการดูแลสุขภาพของพนักงาน ซึ่งแอปพลิเคชันอย่าง SAKID ก็ตอบโจทย์ในส่วนนั้นได้อย่างครบครัน ด้วยโค้ชสุขภาพของสะกิด ที่พร้อมให้คำปรึกษาส่วนตัวจาก 3 วิชาชีพ ลดรายจ่ายด้านสุขภาพที่ไม่จำเป็น และยังช่วยในการดูแลพนักงานได้อย่างทั่วถึง

บทความที่น่าสนใจ

work life balance คือ

Work Life Balance คืออะไร ทำไมจึงสำคัญกับการทำงานยุคใหม่

Work Life Balance ไม่ใช่แค่ปัญหาของคนทำงานเท่านั้น เพราะบริษัทเองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน แล้วบริษัทจะจัดการปัญหานี้อย่างไร? เข้าใจผลกระทบพร้อมไอเดียแก้ปัญหา ที่นี่

อ่านต่อ »
Cover yoga-SAKID

WORKSHOP คลาสโยคะ

กิจกรรม  Workshop “คลาสโยคะ”

ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม  2566 – 21 กันยายน 2566  SAKID  ได้จัดกิจกรรม Workshop “คลาสโยคะ ” กันทุกสัปดาห์เป็นสวัสดิการที่เสริมสร้างร่างกายให้แข้งแรง โดยนักวิทยาศาสตร์การกีฬามาเป็นครูสอนโยคะที่จะพาพนักงานบริษัท ROCHE มายืดเหยียดร่างกายให้ผ่อนคลายเมื่อยจากการนั่งทำงานและเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้มีความยืดหยุ่นอีกด้วย

อ่านต่อ »

สร้างสถานที่ทำงานให้ดีต่อใจด้วย Workplace Wellness Program

Workplace Wellness Program นั้นคือสิ่งจัดการกับปัญหาของสุขภาพในที่ทำงานของพนักงาน เพราะสุขภาพไม่ได้มีเพียงร่างกายและจิตใจเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายด้านอยู่ด้วย

อ่านต่อ »

การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้ดีขึ้น ด้วยแนวคิดแบบสตาร์ทอัพ

วัฒนธรรมองค์กรแบบสตาร์ทอัพ ถือเป็นวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จึงไม่แปลกที่ใคร ๆ จะรู้สึกสนใจในสิ่งนี้

อ่านต่อ »
Cover-sakid-sport-day

บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดที่งาน Sports Day การไฟฟ้านครหลวง

บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดที่งาน Sports Day การไฟฟ้านครหลวง

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 Sakid ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดให้กับการไฟฟ้านครหลวงในงาน Sports Day ที่สนามกีฬาจุฬา โดยทีมงานมีแนะนำการเข้าร่วมโครงการ  “MEA เบิร์นเกินร้อย” เปิดศึกการแข่งกันระหว่างทีมเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี ด้วยการส่งภารกิจสุขภาพผ่านแอพสะกิด และลุ้นรับของรางวัลในแต่ละเดือน

อ่านต่อ »
โรคที่เกิดจากการทำงาน

10 โรคจากการทำงาน ที่ HR สามารถช่วยป้องกันได้

เพราะพนักงงานคือคนสำคัญที่องค์กรต้องคอยดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ชวนไปดู 10 โรคที่เกิดจากการทำงาน และวิธีการที่แต่ละองค์กรสามารถป้องกันโรคภัยให้กับพนักงานได้

อ่านต่อ »