สวัสดิการสุขภาพพนักงาน เรื่องพื้นฐานที่องค์กรต้องใส่ใจ
- 29/11/22
หลังผ่านช่วงเวลาของ COVID-19 มา ทำให้คนเริ่มมองเห็นคุณค่าและความหมายของการทำงานที่สมดุล และเริ่มมีแนวคิดรักตัวเองมากกว่าเหนื่อยเพื่อการงานมากขึ้น ความรู้สึกเหล่านี้เกิดเป็นปรากฏการณ์ The Great Resignation หรือการลาออกครั้งใหญ่ เพราะคนทำงานต่างรับรู้ถึงอำนาจในการเลือกงานที่เหมาะกับตัวเอง ดังนั้นองค์กรไหนที่ไม่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์หรือ Work-life Balance ของคนทำงานก็จะกลายเป็นตัวเลือกที่ถูกปฏิเสธมากยิ่งขึ้น
ไลฟ์สไตล์ หรือวิถีการทำงานที่ผู้คนใช้ในการตัดสินร่วมงานด้วย หนึ่งในนั้นก็คือ ‘สวัสดิการ’ โดยเฉพาะสวัสดิการสุขภาพพนักงาน เพราะคนยุคปัจจุบันเริ่มให้ความสำคัญกับสุขภาพของตัวเองรวมไปถึงสุขภาพคนในครอบครัวนั่นเอง
เมื่อเทรนด์การใช้ชีวิตคนทำงานรุ่นใหม่มีมากกว่าเรื่องเงินแต่คือ คุณภาพชีวิต
หลัง ๆ มานี้เราอาจได้ยินคำว่า ‘คุณภาพชีวิต’ หรือ Well-being มากยิ่งขึ้น เพราะคุณภาพชีวิตเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่เริ่มมองหา จากที่ผ่านมาพวกเขาเห็นแต่ปัญหาที่ส่งผลโดยตรงต่อการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน การคมนาคมที่ไม่เอื้อกับการใช้ชีวิต หรือ PM 2.5 คุณภาพชีวิตจึงเป็นสิ่งที่พวกเขามองหา นอกจากเรื่องของการเงินที่ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญ
รายงานจาก Global Talent Trends 2022 ของ LinkedIn เผยให้เห็นว่า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2019 คำว่า ‘คุณภาพชีวิต’ ได้ปรากฏบนประกาศรับสมัครงานของหลาย ๆ บริษัทเพิ่มขึ้นกว่า 147% ในขณะเดียวกัน สำนักข่าว CNBC ได้พูดคุยกับ Jeff Levin-Scherz ผู้นำด้านสุขภาพของ Willis Towers Watson บริษัทให้คำปรึกษาด้านประกันภัยชั้นนำของอเมริกา ซึ่งบอกว่า ปัญหาเรื่องคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะด้านสุขภาพจิต เป็นสิ่งที่นายจ้างคำนึงถึงมากขึ้น จากเทรนด์ที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว
จะเห็นได้ว่าเรื่องคุณภาพชีวิต กลายมาเป็นทิศทางที่ทั้งคนทำงานและผู้นำในองค์กรต่างคำนึงถึงมากยิ่งขึ้น ซึ่งบริษัทไหนที่ต้องการดึงดูดคนทำงานให้เข้ามาร่วมงานด้วย การออกแบบนโยบายที่ให้สวัสดิการเรื่องคุณภาพชีวิตก็เป็นสิ่งที่ต้องเริ่มต้นลงมือทำในตอนนี้
สวัสดิการสุขภาพพนักงานสำคัญยังไง
คุณภาพชีวิตนั้นมีหลากหลายได้ แต่สิ่งที่คนให้ความสนใจมากที่สุดคือคุณภาพชีวิตในด้านสุขภาพกายและใจ ซึ่งการออกแบบสวัสดิการสุขภาพพนักงานนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง
เพราะองค์กรหรือสถานที่ทำงานไม่ใช่เพียงพื้นที่ความสัมพันธ์แบบนายจ้างและลูกจ้างอีกต่อไป แต่เป็นความสัมพันธ์ทางสังคมที่ต่างฝ่ายต่างช่วยเหลือดูแลกัน รวมถึงปัจจุบันลูกจ้างก็มีตัวเลือกมากมายให้เข้าไปร่วมงาน หากองค์กรต้องการรักษาคนทำงานไว้ ก็ควรมีสวัสดิการที่ดูแลคนทำงานได้ และเน้นย้ำการส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
จากการสำรวจของเว็บไซต์ Jobthai ที่สอบถามคนทำงานกว่า 7,420 คน พบว่า 10 สวัสดิการที่ต้องการนั้นได้แก่
1. โบนัส
2. วันหยุด-วันลาตามกฎหมาย
3. ประกันสังคม
4. ประกันสุขภาพ
5. ค่าล่วงเวลา
6 เงินออมพิเศษ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
7. ค่ารักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวของพนักงาน
8. เวลาทำงานที่ยืดหยุ่นได้ (Flexible Hour)
9. ประกันชีวิต
10. เบี้ยขยัน
จะเห็นได้ว่าเป็นสวัสดิการด้านสุขภาพไปแล้ว 4 ข้อ ดังนั้นสวัสดิการสุขภาพพนักงานจึงกลายเป็นสิ่งที่คนทำงานต่างมองหา ซึ่งการสร้างสวัสดิการด้านสุขภาพก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป เพราะปัจจุบันมีแพลตฟอร์มที่พร้อมข่วยดูแลสุขภาพของคนในองค์กรอย่าง SAKID ที่เป็นแอปพลิเคชันช่วยจัดการข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพพนักงานรายบุคคล และให้คำแนะนำภารกิจสุขภาพแก่พนักงาน ซึ่งจะมาเป็นเหมือนผู้ช่วยออกแบบสวัสดิการที่เหมาะสมแก่คนในองค์กรได้ง่ายยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของสวัสดิการสุขภาพพนักงาน
แน่นอนว่าการให้สวัสดิการแก่พนักงานย่อมเป็นผลดีเสมอ โดยเฉพาะสวัสดิการสุขภาพพนักงาน ที่มีข้อดีหลากหลายข้อ ได้แก่
1. เมื่อร่างกายแข็งแรง ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นตามไปด้วย
2. เมื่อพนักงานมีสุขภาพกายและใจที่ดี ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่ดีตามไปด้วย
3. พนักงานรู้สึกสบายใจในการร่วมงาน และพร้อมทุ่มเทให้กับองค์กรที่ดูแลพนักงานเป็นอย่างดี
4. สวัสดิการสุขภาพพนักงานจะช่วยดึงดูให้คนอยากมาร่วมงานมากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อศักยภาพของบริษัทไปพร้อมกัน
สวัสดิการสุขภาพพนักงานควรมีอะไรบ้าง
หลังจากทราบถึงข้อดีผละประโยชน์ของการมีนโยบายสวัสดิการสุขภาพพนักงานแล้ว หลายท่านอาจจะยังไม่แน่ใจว่าจะออกแบบสวัสดิการสุขภาพพนักงานอย่างไรให้ตอบโจทย์คนทำงาน เรามีตัวอย่างมาให้ลองดูกัน
1. ประกันสุขภาพ
เป็นสวัสดิการที่ ‘ต้องมี’ เพราะคนทำงานเริ่มมองหาความปลอดภัยและมั่นคงในชีวิตมากขึ้น ประกันสุขภาพจึงเป็นสวัสดิการแรก ๆ ที่พวกเขามองหาเสมอ
2. ประกันชีวิต
ปัจจุบันหลายบริษัทให้สวัสดิการที่ไปไกลกว่าแค่ประกันสุขภาพหรือประกันสังคม นั่นก็คือการมอบประกันชีวิตให้กับคนทำงาน ซึ่งเป็นอีกสวัสดิการที่สำคัญไม่แพ้กัน
3. วันลาป่วย วันลาคลอดที่สมเหตุสมผล และมี Parental Benefit
แม้ว่าทุกบริษัทจะมีวันลาป่วย หรือลาคลอดตามกฎหมายกำหนด แต่บางบริษัทให้ความสำคัญกับสิ่งนี้มากยิ่งขึ้น โดยออกแบบทั้งการลาป่วยแบบไม่ต้องยื่นใบรับรองแพทย์ หรือแม้แต่การป่วยทางจิตใจก็นับเป็นกาลาป่วยได้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงวันลาคลอดที่ให้ความสำคัญกับครอบครัวของคนในองค์กร ที่อาจมีสวัสดิการให้กับฝั่งคุณพ่อในการลาหยุดเพื่อช่วยดูแลเลี้ยงลูกพร้อมภรรยาด้วย
4. ค่าดูแลหรือไปพบจิตแพทย์
การดูแลสุขภาพใจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญ บริษัทเองก็อาจจปรับตัวด้วยการมีสวัสดิการในการพบจิตแพทย์ เพราะปัจจุบันสภาพจิตใจที่ย่ำแย่ลงส่วนหนึ่งอาจเริ่มต้นมาจากการทำงาน ทั้งเบิร์นเอ้าต์ ซึมเศร้า หรือภาวะวิตกกังวล สวัสดิการนี้จึงเริ่มที่นิยมมากขึ้นในองค์กรคนรุ่นใหม่ โดยอาจจะเลือกปรึกษานักจิตวิทยาตามโปรแกรมของ Eatwellconcept ก็ได้เช่นกัน โดยมีโปรแกรมให้เลือกหลากหลายระดับตั้งแต่คนที่เพิ่งประสบปัญหา ไปจนถึงมีอาการเรื้อรัง
5. ตรวจสุขภาพประจำปี การฉีดวัคซีนประจำปี
นอกจากประกันสุขภาพ ประกันสังคม และประกันชีวิตแล้ว สวัสดิการตรวจาสุขภาพประจำปี และการฉีดวัคซีนประจำปี ก็เป็นอีกหนึ่งสวัสดิการที่น่าสนใจ และช่วยดึงดูดให้คนอยากร่วมงานกับองค์กรได้ เพราะหมายความองค์กรนั้นพร้อมดูแลสุขภาพของทุกคนทั้งในยามปกติและป่วยไข้นั่นเอง
6. อาหารกลางวันที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
ไปไกลกว่านั้น องค์กรรุ่นใหม่บางองค์กรเริ่มมีสวัสดิการอาหารกลางวันที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการผ่านคอนเซ็ปต์ โรงอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้ใช้บริการ (Healthy Canteen) ที่คิดค้นเมนูอร่อยแต่ยังได้สารอาหารและคุณค่าที่ดีต่อสุขภาพ
โดยมีผลการศึกษาพบว่าการทำโรงอาหารเพื่อสุขภาพทำให้ได้รับปริมาณใยอาหารเพิ่มสูงขึ้น 40% และรับพลังงานอาหารส่วนเกินลดลง 21% นอกจากนี้ยังสามารถลดโซเดียมลงได้เฉลี่ย 260 mg มากไปกว่านั้นคือการได้เลือกอาหารตามใจพนักงาน ซึ่งจะทำให้คนทำงานมีสุขภาพกายและใจที่ดีไปพร้อม ๆ กัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในองค์กรที่ดียิ่งขึ้นไปด้วย
7. ค่ารักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวของพนักงาน
สวัสดิการนี้อาจเป็นที่คุ้นเคยกับคนทำงานราชการ แต่ปัจจุบันหลายองค์กรเอกชนเริ่มให้ความสำคํยกับสุขภาพของคนในครอบครัวพนักงานด้วย เพื่อให้เห็นว่าทุกคนต่างเป็นครอบครัวเดียวกันที่ต้องช่วยกันดูแล จึงได้เร่ิมมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลสำหรับคนในครอบครัว ซึ่งเป็นสวัสดิการที่ดึงดูดคนทำงานได้อย่างมาก
8. โปรแกรมดูแลสุขภาพพนักงาน เช่น SAKID
ปัจจุบันมีแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อดูแลสุขภาพพนักงานโดยเฉพาะ ซึ่งดูแลสุขภาพของพนักงานอย่าครอบคลุมไม่ว่าจะทางกายหรือทางใจ ตั้งแต่มิติด้านร่างกาย โภชนาการ สภาพจิตใจ และความสัมพันธ์ ซึ่งตอบโจทย์กับบริษัทที่ต้องการผู้ช่วยในการคอยดูแลสุขภาพพนักงาน แถมยังคอยเป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพให้รายบุคคล ซึ่งทำให้คนทำงานรู้สึกได้รับการดูแลอย่างใส่ใจจากคนในองค์กรจริง ๆ
สรุป
ปฏิเสธไม่ได้ว่า COVID-19 ได้เปลี่ยนวิถีการทำงานของผู้คนไปมาก คนทำงานเร่ิมให้ความสำคัญกับคุณค่าของตัวเองหันมารักและดูแลตัวเองมากยิ่งขึ้น และองค์กรไหนที่เห็นคุณค่าแบบเดียวกัน ก็มักจะดึงดูดให้คนอย่างร่วมงานไปด้วย โดยเฉพาะองค์กรที่มอบสวัสดิการสุขภาพให้กับพนักงาน เพราะเทรนด์การดูแลตัวเองนั้นกลายเป็น New Normal อย่างแท้จริง
ซึ่งการออกแบบสวัสดิการสุขภาพพนักงานก็ไม่ได้เป็นเรื่องยุ่งยากอีกต่อไป เพราะปัจจุบันมีตัวช่วยเช่น SAKID แพลตฟอร์มที่ช่วยวิเคราะห์และดูแลสุขภาพพนักงานรายบุคคลที่ใส่ใจกันเหมือนคนในครอบครัว โดย SAKID มีโปรแกรมหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น รายงานผลสุขภาพรายบุคคล บันทึกกิจกรรมประจำวันบนปฎิทินความสุข ภารกิจสะกิดสุขภาพพร้อมเคล็ดลับรายบุคคล โค้ชดูแลสุขภาพส่วนตัว หรือโปรแกรมออกกำลังกายจากนักวิทยาศาสตร์การกีฬา และอีกมากมาย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการมอบสวัสดิการสุขภาพพนักงานได้อย่างครบถ้วนนั่นเอง
บทความที่น่าสนใจ
จัดคลาสออกกำลังกายอย่างไรให้โดนใจคนที่ทำงาน
เมื่อคนใช้เวลากว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในที่ทำงานจดจ่ออยู่กับการทำงาน เวลาพักน้อย การจะขยับตัวเพิ่มกิจกรรมทางกายระหว่างวันก็เป็นไปได้ยากเพราะไม่อาจละจากงานตรงหน้าได้ ด้วยปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น การจะออกกำลังกายให้ได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำขององค์การอนามัยโลกยิ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของพนักงานและเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
WORKSHOP MEA Fatty model
กิจกรรม MEA Fatty model
วันที่ 18 มิถุนายน 2567 SAKID ได้จัดกิจกรรม MEA Fatty model สำหรับผู้ที่มีปัญาไขมันในเลือดสูงและน้ำหนักเกินเกณฑ์ โดยที่ทีมนักกำหนดอาหารวิชาชีพ เข้ามาจัดกิจกรรมโดยแบ่งเป็น 4 ฐานที่เชื่อมโยงกับการลดไขมัน คือ ฐานน้ำตาล ที่จะมีเกมให้เล่นและแฝงความรู้เรื่องการเลือกเครื่องดื่มปริมาณน้ำตาลแผงที่อยู่ในอาหาร ฐานไขมัน จะมีเกมให้คิดว่าอาหารอันไหนที่ไขมันมากสุดและน้อยสุดโดยที่จะสอนเรื่องการเลือกใช้น้ำมันประกอบอาหาร ฐานโปรตีนการเลือกกินอาหารส่วนของเนื้อสัตว์ และฐานโซเดียม ที่จะมาให้ความรู้เรื่องอาหารที่กินอยู่ในชีวิตประจำวันว่ามีโซเดียมประมาณเท่าไร และการเลือกกินอย่างถูกต้องให้สมดุลเพื่อที่จะให้ลดไขมันลงได้
WORKSHOP HAPPY FIT กินอยู่อย่างไร ร่างกายฟิต สุขภาพดี
กิจกรรม HAPPY FIT กินอยู่อย่างไร ร่างกายฟิต สุขภาพดี
วันที่ 22 สิงหาคม 2567 SAKID ได้จัดกิจกรรม HAPPY FIT กินอยู่อย่างไร ร่างกายฟิต สุขภาพดี กับ SAKID ที่บริษัท ทาทาสตีล จำกัด โดยจะมีกิจกรรมการวัดองค์ประกิบร่างกายเพื่อดูสุขภาพโดยรวมของพนักงาน และกิจกรรมWorkshop เกี่ยวกับการเลือกอาหารในชีวิตประจำวันโดยที่พนักงานออฟฟิศสามารถนำไปใช้ได้ การเลือกกินแบบ 2-1-1 เน้นโปรตีนและผัก คาร์โบไฮเดรตในสัดส่วนที่ถูกต้อง เพื่อรักษาการกินที่สมดุลเหมาะกับสภาวะร่างกายของแต่คนให้ร่างกายไม่เจ็บป่วยสร้างสุขภาพดีได้
บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตสมุทรปราการ
บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตสมุทรปราการ
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 Sakid ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดให้กับการไฟฟ้านครหลวง เขตสมุทรปราการ ในกิจกรรม Fun for Fit เพื่อแนะนำการเข้าร่วมโครงการ “MEA เบิร์นเกินร้อย” เปิดศึกการแข่งกันระหว่างทีมเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี ด้วยการส่งภารกิจสุขภาพผ่านแอพสะกิด และลุ้นรับของรางวัลในแต่ละเดือน
WORKSHOP เริ่มต้นสุขภาพดี กับ SAKID
กิจกรรม Workshop “คลาสโยคะ”
ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 – 21 กันยายน 2566 SAKID ได้จัดกิจกรรม Workshop “คลาสโยคะ ” กันทุกสัปดาห์เป็นสวัสดิการที่เสริมสร้างร่างกายให้แข้งแรง โดยนักวิทยาศาสตร์การกีฬามาเป็นครูสอนโยคะที่จะพาพนักงานบริษัท ROCHE มายืดเหยียดร่างกายให้ผ่อนคลายเมื่อยจากการนั่งทำงานและเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้มีความยืดหยุ่นอีกด้วย
10 โรคจากการทำงาน ที่ HR สามารถช่วยป้องกันได้
เพราะพนักงงานคือคนสำคัญที่องค์กรต้องคอยดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ชวนไปดู 10 โรคที่เกิดจากการทำงาน และวิธีการที่แต่ละองค์กรสามารถป้องกันโรคภัยให้กับพนักงานได้