URL Copied!

[Case Study] ตัวอย่างสวัสดิการพนักงานจากทั่วโลก

เชื่อหรือไม่ว่า ‘คนทำงาน’ คือสิ่งที่องค์กรควรลงทุนมากที่สุด ไม่ใช่เพราะจำเป็นต้องจ่ายเพื่อเป็นต้นทุนการผลิต แต่พวกเขาคือ ‘สินทรัพย์’ สำคัญขององค์กร

 

ในอดีตหลายองค์กรอาจมองว่าทุกการจ้างงานเป็นการเสียเงินไปกับต้นทุนโดยที่ไม่ได้มองในมิติของการพัฒนาแรงงาน หรือแม้แต่ความเป็นมนุษย์ของคนทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลง เติบโต และเรียนรู้อยู่เสมอ

 

แต่ปัจจุบันมีแนวคิดของการให้ความสำคัญกับคนทำงานมากขึ้น โดยมองคนทำงานเป็น ‘สินทรัพย์มนุษย์’ (Human Asset) ซึ่งเกิดจากแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่มองว่าทุนไม่ใช่เพียงเม็ดเงิน แต่ยังมีอีกหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นทุนทางธรรมชาติ ทุนทางสังคม รวมไปถึงทุนมนุษย์

 

Lynda Gratton และ Sumantra Ghoshal ได้ให้ความหมายของ “ทุนมนุษย์” ว่าเป็นส่วนผสมของสามสิ่งก็คือ ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ทุนทางสังคม และทุนทางอารมณ์

 

ความสำคัญของทุนมนุษย์คือการเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ที่ไม่สามารถย้านโอนข้อมูลไปให้คนอื่นได้ง่าย ๆ นี่จึงเป็นคุณค่าสำคัญที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพให้และศักยภาพให้องค์กรได้ หากเลือกลงทุนกับทุนมนุษย์นี้ โดยการลงทุนที่ว่าอาจไม่ได้มีแค่เรื่องเงินเท่านั้น เพราะทุนมนุษย์นับเป็นสินทรัพย์ที่ไม่อาจวัดได้ (Intangible Assets) ดังนั้น การออกแบบเพื่อต่อยอดสินทรัพย์นี้จึงจำเป็น เพราะทุนมนุษย์คือการเป็นทุนที่ใช้แล้วไม่มีวันหมด นอกจากนี้ หากยิ่งเราใช้งานยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพยิ่งเพิ่มมูลค่า ทุนมนุษย์ไม่มีค่าเสื่อมแต่กลับพัฒนาเพิ่มขึ้นตามประสบการณ์

 

หนึ่งในการลงทุนกับทุนมนุษย์คือ ‘สวัสดิการ’ ซึ่งเป็นบริการที่องค์กรจะมอบให้คนทำงานได้ เพื่อเสริมศักยภาพและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่พนักงาน และทำให้คนในองค์กรเกิดความผูกพันและยิ่งเห็นคุณค่าในงานที่ทำมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ทั้งองค์กรและคนทำงานได้เติบโตไปด้วยกัน

 

ชวนมาดูสวัสดิการจากพนักงานทั่วโลกว่าพวกเขาได้รับสวัสดิการอะไรกันบ้าง และเราจะหยิบมาใช้อย่างไรดี?

 

สวัสดิการคืออะไร

 

ก่อนอื่น เราอาจต้องมาทำความเข้าใจว่าสวัสดิการคืออะไร โดย ‘สวัสดิการ’ หมายถึง บริการหรือกิจกรรมที่องค์กรจัดหาให้กับพนักงาน เพื่อให้พวกเขาได้รับความสะดวกสบายในการทำงาน และมีความมั่นคงในอาชีพมากขึ้น มีหลักประกันในการดำเนินชีวิต และได้รับประโยชน์ที่นอกเหนือไปจากเงินเดือนที่ได้รับอยู่ประจำ ซึ่งอาจครอบคลุมตั้งแต่สุขภาพ การพัฒนาตนเอง ครอบครัว หรือสภาพจิตใจ สวัสดิการนี่เองจะเป็นตัวช่วยลดปัญหายุ่งยากในชีวิต และทำให้สามารถโฟกัสกับงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

 

ความสำคัญของการให้สวัสดิการ

 

– ช่วยสร้างกำลังใจให้แก่พนักงาน

 

– ทำให้พนักงานมีความสุขและส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ต้องกังวลเรื่องคุณภาพชีวิต

 

– ดึงดูดคนทำงานเก่ง ๆ ให้อยากเข้ามาทำงานในองค์กร 

 

– สร้างภาพลักษณ์องค์กรในด้านที่ดี เอาใจใส่คนทำงาน

 

สวัสดิการในประเทศไทย

 

สำหรับในไทยนั้น ได้มีการกำหนดสวัสดิการไว้ใน 2 รูปแบบ ได้แก่

 

  1. สวัสดิการตามกฎหมาย (Legal Welfare) : เป็นสวัสดิการที่ทุกบริษัทต้องจัดหาให้แก่พนักงาน ได้แก่

 

– น้ำสะอาดสำหรับดื่ม ในจำนวนที่เพียงพอต่อจำนวนคน

 

– ห้องน้ำและห้องส้วมแยกสำหรับลูกจ้างชายและลูกจ้างหญิง และในกรณีที่มีลูกจ้าง ที่เป็นคนพิการ ให้นายจ้างจัดให้มีห้องน้ำและห้องส้วมสำหรับคนพิการแยกไว้โดยเฉพาะ

 

– มีสิ่งจำเป็นในการปฐมพยาบาลและการรักษาพยาบาล

 

  1. สวัสดิการนอกเหนือกฎหมาย (Special Welfare) : เป็นสวัสดิการที่แต่ละองค์กรสามารถออกแบบ จัดสรรได้ด้วยตัวเอง เช่น

 

– โบนัส

 

– เบี้ยขยัน

 

– เงินค่าเดินทาง

 

– การประกันสุขภาพ หรือ ประกันชีวิต

 

– วันหยุดอื่น ๆที่ได้รับค่าจ้าง

 

– ห้องออกกำลังกาย

 

– ค่าอาหาร

 

 

สำรวจ 10 ตัวอย่างสวัสดิการพนักงานที่น่าสนใจจากทั่วโลก

 

1. สวัสดิการในการส่งเสริมการเรียนรู้

 

เพราะความรู้เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บางองค์กรที่เข้าใจด้านทุนมนุษย์จึงมักให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน โดยการมอบสวัสดิการเป็นเงินสำหรับเข้าเรียนคอร์สที่สนใจ โดยไม่ต้องเกี่ยวกับสายงานที่ทำอยู่ก็ได้ หรือบางบริษัทก็มอบสวัสดิการเรียนต่อปริญญาโทหรือปริญญาเอกให้ด้วย เพื่อพัฒนาบุคลากรของเขาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

2. สวัสดิการ Work From Home

 

หลังจากเกิด COVID-19 ก็ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางส่วนของคนไป โดยเฉพาะรูปแบบการทำงาน ที่ทำให้เกิดวิธีการ ‘Work From Home’ ขึ้น ซึ่งมีพนักงานบางส่วนชื่นชอบการ Work From Home และทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อ COVID-19 ค่อย ๆ จางหายไป แต่รูปแบบ Work From Home กลายเป็นความคุ้นชินของหลาย ๆ คน บางบริษัทจึงเริ่มมีนโยบายให้พนักงานเลือกเข้าออฟฟิศหรือทำงานที่บ้านก็ได้มากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวก และให้พนักงานได้เลือกสภาพแวดล้อมที่อยากทำงาน

 

3. สวัสดิการเข้าพบจิตแพทย์

หลายปีมานี้ ปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มสูงขึ้น ถึงขั้นที่ WHO ได้บัญญัติให้การ ‘เบิร์นเอาต์’ เป็นโรคชนิดหนึ่ง หลายองค์กรจึงเริ่มหันมาให้ความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพจิตของพนักงาน เพราะเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่องานในหลายภาคส่วน ทั้งประสิทธิภาพ และความสัมพันธ์ในองค์กร โดยปัจจุบันมีการมอบสวัสดิการเป็นการเบิกค่าใช้จ่ายในการเข้าพบจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดได้  เพื่อช่วยดูแลสุขภาพใจให้กับพนักงานนั่นเอง 

 

4. สวัสดิการประกันสุขภาพ

 

สวัสดิการประกันสุขภาพ นับเป็นสวัสดิการที่แทบทุกบริษัทได้มอบให้แก่พนักงาน เพราะเรื่องสุขภาพกายนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของมนุษย์ โดยบริษัทอาจมอบให้ทั้งในรูปแบบประกันสุขภาพ ประกันกลุ่ม หรือแม้แต่ประกันชีวิต เพื่อสร้างความสบายใจให้แก่คนทำงานว่าในยามที่เจ็บป่วย พวกเขาไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

5. สวัสดิการห้องฟิตเนสฟรีพร้อมโปรแกรมออกกำลังกาย

 

ในยุคสมัยที่คนหันมาใส่ใจสุขภาพและการออกกำลังกายมากขึ้น สวัสดิการห้องฟิตเนสพร้อมโปรแกรมออกกำลังกายจึงเป็นอีกสวัสดิการที่หลายองค์กรทั่วโลกเริ่มมอบให้แก่พนักงาน โดยมีทั้งการสร้างห้องฟิตเนสในออฟฟิศ หรือการทำบัตรสมาชิกฟิตเนสให้ รวมไปถึงการมีโค้ชสุขภาพที่ช่วยออกแบบโปรแกรมออกกำลังกายที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมลดน้ำหนักของพนักงาน โดยบริษัทที่นำร่องไปก่อนแล้วคือบริษัททำรองเท้าที่เรารู้จักกันดีอย่าง Reebok และบริษัทเทคโนโลยีเจ้าใหญ่อย่าง Microsoft

 

 

6. สวัสดิการผ่าตัดแปลงเพศฟรี

 

ความเท่าเทียมทางเพศเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่องค์กรอาจต้องหันมาใส่ใจมากขึ้น โดยบางองค์กรได้เริ่มให้สวัสดิการผ่าตัดแปลงเพศ เพื่อให้กำลังใจและให้คุณค่ากับความหลากหลายทางเพศ และทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยกับชุมชน LGBTQ+

 

7. สวัสดิการนําสัตว์เลี้ยงไปทำงานได้

 

เพราะสภาพแวดล้อมมีผลต่อการทำงาน และสัตว์เลี้ยงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยสร้างบรรยากาศให้ออฟฟิศมีความสุขมากขึ้น หลายบริษัทจึงเริ่มมีสวัสดิการการนำสัตว์เลี้ยงมาทำงานได้ นอกจากจะช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ และสร้างความผ่อนคลายให้คนทำงาน ยังมีงานวิจัยที่บอกว่า ชาว Gen Z 50% นั้นจะเลือกทำงานกับบริษัทที่อนุญาตให้นำสุนัขมาออฟฟิศได้ด้วย โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon ทำไปแล้ว

 

8. สวัสดิการ Menstrual Leave

 

เพราะประจำเดือนเป็นเรื่องใหญ่ของผู้หญิง และประจำเดือนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หลายบริษัทที่เห็นถึงความสำคัญของความเท่าเทียมทางเพศจึงเริ่มมีสวัสดิการลาหยุดสำหรับวันที่ผู้หญิงมีประจำเดือน เพราะหลายคนมักมีอาการที่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดท้อง เวียนหัว หรืออารมณ์ไม่คงที่ ซึ่งเป็นเหมือนการป่วยอย่างหนึ่ง จึงจำเป็นต้องได้รับการพักผ่อน

 

9. สวัสดิการโรงอาหาร

 

เพราะอาหารเป็นเรื่องสำคัญของมนุษย์ การได้รับอาหารที่โภชนาการที่ดี ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจของพนักงาน หลายบริษัทจึงเริ่มมีสวัสดิการโรงอาหาร เพื่อดูแลพนักงานให้ได้กินดี อยู่ดี โดยปัจจุบันมีคอนเซปต์  โรงอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้ใช้บริการ (Healthy Canteen) ที่มาเป็นตัวช่วยองค์กรในการออกแบบเมนูที่อร่อยแต่ยังได้คุณค่าสารอาหารครบถ้วนด้วย

 

10. สวัสดิการโปรแกรมดูแลสุขภาพ

 

แม้ว่าหลายองค์กรจะมีสวัสดิการประกันสุขภาพแล้ว แต่อีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือสวัสดิการโปรแกรมดูแลสุขภาพ ที่จะช่วยออกแบบชีวิตให้พนักงานได้ดูแลตัวเอง และมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น โดยปัจจุบันมีผู้ช่วยออกแบบโปรแกรมสุขภาพเช่น SAKID ที่มีบริการหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างภารกิจสุขภาพรายบุคคล การชวนทำปฏิทินความสุข การเป็นโค้ชสุขภาพพนักงานส่วนตัว หรือแม้แต่การเวิร์กช็อปออนไลน์เกี่ยวกับสุขภาวะต่าง ๆ โดยสวัสดิการโปรแกรมสุขภาพนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้พนักงานเจ็บป่วยทั้งทางกายและใจ และมีประสิทธิภาพในการทำงานได้มากยิ่งขึ้น

 

สรุป

 

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ‘คนทำงาน’ คือสินทรัพย์ที่องค์กรควรลงทุนด้วยมากที่สุด เพราะเป็นสินทรัพย์ที่สามารถพัฒนา ต่อยอด และเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กรได้อีกมหาศาล การดูแลพนักงานจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ โดยเฉพาะการลงทุนกับ ‘สวัสดิการพนักงาน’ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับคนทำงาน และทำให้พวกเขามีประสิทธิภาพและศักยภาพเพิ่มมากขึ้น เพราะไม่ต้องกังวลชีวิตในมิติอื่น ๆ 

 

ซึ่งจากตัวอย่างสวัสดิการที่พูดถึงไปนั้น ก็เป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งจากสวัสดิการพนักงานทั่วโลก ซึ่งอาจทำให้หลาย ๆ องค์กรได้เห็นความเป็นไปได้ใหม่ ๆ และร่วมกันออกแบบสวัสดิการที่เหมาะสมกับองค์กรได้

 

โดยเฉพาะบางสวัสดิการที่มีผู้ช่วยให้จัดการได้ง่ายขึ้น อย่างเช่น สวัสดิการโรงอาหาร  หรือสวัสดิการโปรแกรมดูแลสุขภาพ ที่ล้วนสำคัญต่อการดูแลพนักงาน และเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน ที่หากองค์กรลงทุนไปแล้ว ก็จะมีแต่ได้กับได้ เพราะเมื่อพนักงานมีชีวิตที่ดี องค์กรก็จะได้คนที่พร้อมในการทำงานเพื่อให้เติบโตไปด้วยกัน

บทความที่น่าสนใจ

Workshop ดูแลสุขภาพใจ #workshop3อ #อารมณ์

ดูแลสุขภาพใจพนักงาน ด้วยการให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง การสำรวจตรวจเอง เรื่องจิตวิทยาและอารมณ์ , Workshop การจัดการความเครียด , Health talk Work life balance หรือ Burn out โดยนักจิตวิทยาที่มีประสบการณ์

อ่านต่อ »
Cover-Sakid---Healthy-Green-Canteen-01

Healthy Green Canteen โรงอาหารปลอดภัย อร่อย สะอาด สุขภาพดี

Snack bar สำหรับพนักงาน เป็นสวัสดิการที่ช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์ และ ประสิทธิภาพการทำงานได้ แต่ควรเลือกอาหารที่เหมาะสม เช่น ผลไม้ นม แครกเกอร์ หรือ อาหารที่มีพลังงานน้อย เพื่อช่วยให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีด้วยนั่นเอง

อ่านต่อ »
Cover-ครูรัก-Sakid

Workshop “การจัดการความเครียด”

กิจกรรม Workshop “การจัดการความเครียด”

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 Sakid ได้จัดกิจกรรม Workshop “การจัดการความเครียด”  ให้กับบริษัทเอสพี อินเตอร์แมคและการไฟฟ้านครหลวง  โดยวิทยากรนักจิตวิทยาองค์กร ครูรักอมยิ้ม คุณอานนท์ ตั้งกิตติทรัพย์ ภายในงานผู้เข้าร่วมได้รับเทคนิคการจัดการความเครียด และการบริหารการทำงานให้มี Work-life balance

อ่านต่อ »
แพคเกจตรวจสุขภาพ

“แพคเกจตรวจสุขภาพ” เลือกอย่างไรให้เหมาะสมที่สุด

ขอแนะนำวิธีเลือกแพคเกจตรวจสุขภาพที่เหมาะกับแต่ละคน เพราะหนึ่งในการดูแลร่างกายที่คนมักหลงลืมคือการตรวจสุขภาพประจำปี แนะนำวิธีการเลือก และแพคเกจพนักงาน

อ่านต่อ »
Sakid thumbnail -สวัสดิการทุกบริษัท

สูตรลับสวัสดิการ ทุกบริษัททำได้ เพื่อดึงดูดและรักษาพนักงานคนเก่ง

คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมบริษัทชั้นนำหลายแห่งจึงให้ความสำคัญกับสวัสดิการพนักงานเป็นอย่างมาก? ความจริงก็คือ สวัสดิการที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตโดยรวมขององค์กรอีกด้วย การลงทุนในความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานส่งผลโดยตรงต่อผลกำไรของบริษัท จากการลดต้นทุนด้านสุขภาพ เพิ่มความพึงพอใจในการทำงาน และส่งเสริมความผูกพันของพนักงาน

อ่านต่อ »
ออฟฟิศซินโดรม

เข้าใจ “ออฟฟิศซินโดรม” พร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นที่ทุกคนควรรู้

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร อาการ สาเหตุและพฤติกรรมเสี่ยง วิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิธีป้องกันออฟฟิศซินโดรมเบื้องต้น ที่คนทำงานและบริษัทต้องรู้

อ่านต่อ »