Employee Engagement เทคนิคสานสัมพันธ์ของพนักงานและองค์กร
- 18/08/22
สำหรับในยุคนี้ การมัดใจพนักงานรุ่นใหม่ ๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายเป็นอย่างมากสำหรับ HR และผู้บริหารในองค์กรต่าง ๆ ที่จะทำให้พนักงานที่มีคุณภาพยังคงอยู่กับเราต่อ จึงทำให้มีการคิดค้นเทคนิคและกลยุทธ์ต่าง ๆ ออกมามากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ Employee Engagement อันเป็นเทคนิคที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน จนกลายมาเป็นอีกหนึ่งเทคนิคสำคัญสำหรับองค์กรต่าง ๆ
รู้จักกับ Employee Engagement
ความหมายของ Employee Engagement เทคนิคสำคัญสำหรับองค์กรในยุคนี้
Employee Engagement นั้นสามารถแปลได้ในหลายความหมาย แต่โดยรวมแล้ว มันคือการทำให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมกับองค์กร ทั้งในแง่ความรู้สึกที่อยากจะมีส่วนร่วม, มีความผูกพันกับตัวองค์กร ไปจนถึงการพร้อมที่จะให้ความร่วมมือต่าง ๆ กับองค์กรในทุก ๆ ด้านอย่างเต็มใจ ซึ่งนั่นจะนำมาสู่ความภักดีของพนักงานต่อองค์กรได้ในที่สุด
หัวใจสำคัญของเทคนิคสานสัมพันธ์ของพนักงานและองค์กร
หัวใจสำคัญของ Employee Engagement ที่จะนำความรู้สึกผูกผันต่องานและองค์กรมาสร้างเป็นพฤติกรรมเชิงบวกมีอยู่ 3 อย่างหลัก ๆ นั่นก็คือ
1.การพูด (Say)
เป็นการที่ตัวพนักงานนั้นพูดถึงองค์กร, งาน และเพื่อนร่วมงานของตนในทางบวก
2.การอยู่ (Stay)
เป็นความรู้สึกที่อยากจะอยู่ทำงานให้องค์กรเดิมต่อไป แม้ว่าจะได้รับข้อเสนอจากองค์กรอื่น
3.การพยายามสุดความสามารถ (Strive)
เป็นการทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่ คอยคิดค้นหรือริเริ่มไอเดียใหม่ ๆ ออกมาอยู่เสมอ และพร้อมที่จะทำงานเกินความคาดหวังเพื่อให้งานออกมาประสบความสำเร็จ
5 สิ่งสำคัญ สำหรับพนักงานองค์กรในยุคใหม่
สำหรับพนักงานองค์กรในยุคใหม่ ๆ ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าปัจจัยต่าง ๆ นั้นส่งผลกับการชีวิตทำงานของพวกเขาเป็นอย่างมาก ฉะนั้นแล้ว ผู้บริหารและ HR จึงจำเป็นจะต้องใส่ใจกับปัจจัยเหล่านี้ เพื่อพนักงานนั้นรู้สึกได้รับความสำคัญ จนนำไปสู่ความจงรักภักดีกับองค์กรนั่นเอง
1.Leisure & Family
คือการได้มีเวลาว่างส่วนตัวที่จะทำในสิ่งต่าง ๆ ที่เขาสนใจหรือต้องการ รวมไปถึงการมีเวลาให้ครอบครัวของตนเองอย่างเหมาะสม และมีความสมดุลระหว่างชีวิตของเขาและการทำงานอีกด้วย
2.Wealth
คือการมีรายได้ที่มั่นคงและเหมาะสมกับงานที่ทำอยู่ ซึ่งเหมาะสมกับระดับความสามารถของตัวเขาเอง และไม่น้อยกว่าเป้าที่พนักงานคนนั้น ๆ คาดหวังเอาไว้
3.Corporate Title
คือการได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้นในองค์กรที่เขาทำงานอยู่ และมีโอกาสที่จะก้าวหน้าในสายงานที่ทำอยู่นี้
4.Skill Champion
คือการได้รับโอกาสในการพัฒนาทักษะเฉพาะทางต่าง ๆ ที่เจ้าตัวหวังเอาไว้ จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางนั้น ๆ
5.Belonging
คือการมีสังคมกับเพื่อน ๆ ที่ทำงานด้วย หรือการมีส่วนร่วมเป็นหมู่คณะกับคนในองค์กรที่ทำงานอยู่
6 วิธีสร้าง Employee Engagement ในยุคปัจจุบัน
และด้วยการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ สิ่งหลาย ๆ อย่างในยุคปัจจุบัน เพื่อรับมือกับสถานการณ์ COVID-19 ที่เป็นอยู่ในตอนนี้ การสร้าง Employee Engagement จึงจำเป็นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนในหลาย ๆ ส่วน เพื่อให้สามารถสร้างความผูกพันและจงรักภักดีของพนักงานให้กับตัวองค์กรได้ดังเดิม
1.เชื่อมต่อการสื่อสารผ่านเทคโนโลยี
การนำเทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาใช้ในการทำงาน ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำงานในยุคนี้ที่เน้นการ Work from Home กันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการประชุมผ่านทางโปรแกรม Zoom, Asana และ Slack หรือโปรแกรมอื่น ๆ เนื่องจากการสื่อสารแบบเห็นหน้ากัน จะช่วยทำให้ให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมกันมากยิ่งขึ้น ในสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับการทำงานที่ออฟฟิศ
รวมไปถึง การส่งเสริมให้พนักงานใช้ระบบคลาวด์ในการแชร์ไฟล์ เพื่อทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพในระยะยาว ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้เช่นกัน
2.แสดงให้พนักงานเห็นถึงความใส่ใจ
การอนุญาตให้พนักงานสร้างสมดุลระหว่างการทำงานกับการใช้ชีวิตส่วนตัว ก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่องค์กรควรจะทำ ด้วยการเคารพเวลาส่วนตัวของพวกเขา จากการกำหนดขอบเขตเวลาทำงาน, ปริมาณงานที่ได้รับมอบหมาย และความคาดหวังด้านประสิทธิภาพการทำงานที่เหมาะสม
นอกจากนี้ ควรหาเวลาพูดคุยกับพนักงานเกี่ยวกับเรื่องครอบครัว, งานอดิเรก, ความเครียด และสุขภาพจิตหรืออารมณ์ ตลอดจนภาระงานต่าง ๆ เพื่อช่วยให้พวกเขาหลีกเลี่ยงจากความเครียดและความเบื่อหน่ายได้
3.สอบถามและรับฟังความคิดเห็น
ปัญหาในการทำงานของพนักงานคืออีกหนึ่งสิ่งที่องค์กรสามารถพลาดกันได้ง่าย การจัดทำแบบสอบถามออนไลน์เพื่อสำรวจความคิดเห็น และรับฟังปัญหาจากพนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ
รวมทั้งควรแจ้งให้พนักงานได้ทราบว่าองค์จะดำเนินการ หรือไม่ดำเนินการตามความคิดเห็นของพวกเขาเพราะเหตุใด เพื่อให้พนักงานรับรู้ว่าความคิดเห็นของพวกเขาไม่ถูกมองข้าม และได้รับการพิจารณาด้วยความใส่ใจ เมื่อพนักงานรู้สึกมีคุณค่าก็จะส่งผลให้มีความสุข และอยากมีส่วนร่วมในการทำงานกับองค์กรมากยิ่งขึ้น
4.ชื่นชมความสำเร็จของพนักงาน
ในยุค Work from Home แบบนี้ พนักงานหลายคนทุ่มเททำงานเกินเวลามากกว่าตอนเข้าออฟฟิศ แต่บ่อยครั้งพวกเขาพบว่าผลสำเร็จจากความทุ่มเทเหล่านั้นไม่มีใครมองเห็น
ทางออกหนึ่งที่องค์กรสามารถทำได้ คือ การให้ความสำคัญกับการยกย่องพนักงานที่ทำงานได้ดีแม้ว่าจะอยู่ห่างไกลกัน เช่น การใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ที่พนักงานทุกคนสามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็น และชื่นชมเพื่อนร่วมงานทุกระดับได้แบบเรียลไทม์ เพราะการได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน และผู้จัดการเป็นประจำจะช่วยให้พนักงานมีกำลังใจ และมองเห็นคุณค่าในตนเอง
5.มอบเครื่องมือให้พนักงานพร้อมทำงาน
การจัดเตรียมเครื่องมือและการฝึกอบรมที่จำเป็นต่าง ๆ ให้พนักงานรู้สึกมั่นใจ และมีพลังในการทำงานอย่างเต็มที่ คืออีกหนึ่งกุญแจสำคัญในการปรับปรุงการมีส่วนร่วมและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รวมทั้งเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่บริษัทควรจัดเตรียมให้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานใหม่หรือพนักงานเก่าก็ตาม
ทั้งนี้ เครื่องมือ และสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าว ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ความต้องการด้านฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์เท่านั้น แต่อาจรวมถึงค่าเช่า Co-Working Space สำหรับพนักงานที่มีข้อจำกัดในการทำงานที่บ้านได้ไม่สะดวก หรือแม้แต่การสนับสนุนค่าเรียนคอร์สออนไลน์ต่าง ๆ ที่จะช่วยพัฒนาทักษะให้กับพนักงานได้ดียิ่งขึ้น
6.ให้ความยืดหยุ่นในการทำงาน
ในกรณีของการ Work from Home แม้ว่าบริษัทอาจจำเป็นต้องกำหนดตารางเวลาที่แน่นอนสำหรับการประชุมทีม และทำงานร่วมกัน แต่อย่าลืมเปิดโอกาสให้พนักงานได้วางแผนการทำงานในช่วงเวลาที่เหลืออย่างอิสระด้วย ซึ่งวิธีนี้ นอกจากจะช่วยให้พนักงานสามารถสร้างสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัว และการทำงานได้ดีขึ้นแล้ว ยังได้ลองพัฒนาวิธีการทำงานที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อทำผลงานออกมาให้ดีที่สุดอีกด้วย
สรุป
จะเห็นได้ว่า Employee Engagement นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับองค์กรในยุคใหม่ ๆ ที่ต้องการรักษาพนักงานที่สำคัญของตนเองเอาไว้ ซึ่งจากงานวิจัยของ MIT พบว่าองค์กรที่มี Employee Engagement ที่ดี จะทำให้พนักงานพร้อมสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และจะสร้างความพึงพอใจของลูกค้าให้เพิ่มขึ้นกว่าเดิม 2 เท่า
แต่นอกจาก Employee Engagement ที่ดีจะช่วยทำให้องค์กรเติบโตแล้ว การมีการจัดการดูแลสุขภาพของพนักงานในองค์กรเอง ก็จะช่วยทำให้องค์กรยั่งยืนด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับแอพพลิเคชั่น SAKID ของเรา ที่เป็นนวัตกรรมดูแลสุขภาพพนักงานแบบองค์รวมครอบคลุม 4 มิติ ได้แก่ อาหาร, ออกกำลังกาย, อารมณ์ และสังคม เพื่อตอบโจทย์การดูแลพนักงาน และ การวิเคราะห์ข้อมูลของฝ่ายบุคคล รวมถึงผู้บริหารองค์กร ที่จะช่วยคุณดูแลสุขภาพของพนักงานได้อย่างครบครันในทุกมิติ
บทความที่น่าสนใจ
ออกแบบสวัสดิการพนักงานอย่างไร ให้ได้ใจพนักงาน
เชื่อว่าความต้องการของพนักงานแทบทุกคน จะต้องคาดหวังกับการได้รับผลตอบแทนที่ดี จากความขยันตั้งใจทำงาน โดยเฉพาะการได้รับสวัสดิการที่พึงพอใจ เป็นสิ่งที่ทำให้พนักงานเลือกที่จะทำงานกับบริษัท หรือองค์กรนั้นๆ ต่อไป ดังนั้น การทำงานของแต่ละองค์กร โดยเฉพาะผู้บริหารและ HR จะต้องเลือกวิธีการออกแบบสวัสดิการ ที่ส่งผลดีต่อพนักงาน โดยที่บริษัทไม่ได้เสียผลประโยชน์ไป เรียกว่า Win-Win กันทั้ง 2 ฝ่าย เรามาดูกันว่า ออกแบบสวัสดิการให้พนักงงานอย่างไรดี ถึงจะได้ใจพนักงาน
วิเคราะห์ผลสุขภาพพนักงานได้ทันทีผ่าน SAKID Dashboard
ที่ไหนมีคนอยู่ร่วมกัน ปัญหาความขัดแย้งย่อมเกิดขึ้นที่นั่น และยิ่งคนเยอะเท่าไหร่ ความขัดแย้งยิ่งมีความซับซ้อนหลายระดับ ทั้งแบบเก็บงำเป็นความไม่ชอบส่วนตัว จนถึงการแสดงความก้าวร้าวทางวาจา หรือรังแกอีกฝ่ายในแบบต่างๆ บางครั้งความขัดแย้งระหว่างบุคคลอาจขยายตัวมากขึ้นทำให้คนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมจนเป็นเหตุให้คนในองค์กรต้องแบ่งพรรคแบ่งพวก สร้างบรรยากาศที่ไม่ไว้วางใจกัน และไม่เคารพซึ่งกันและกันในองค์กร เหตุการณ์ต่างๆ ยิ่งเลวร้ายลงเพราะหัวหน้างานอาจยังไม่ทราบเรื่อง
WORKSHOP HAPPY FIT กินอยู่อย่างไร ร่างกายฟิต สุขภาพดี
กิจกรรม HAPPY FIT กินอยู่อย่างไร ร่างกายฟิต สุขภาพดี
วันที่ 22 สิงหาคม 2567 SAKID ได้จัดกิจกรรม HAPPY FIT กินอยู่อย่างไร ร่างกายฟิต สุขภาพดี กับ SAKID ที่บริษัท ทาทาสตีล จำกัด โดยจะมีกิจกรรมการวัดองค์ประกิบร่างกายเพื่อดูสุขภาพโดยรวมของพนักงาน และกิจกรรมWorkshop เกี่ยวกับการเลือกอาหารในชีวิตประจำวันโดยที่พนักงานออฟฟิศสามารถนำไปใช้ได้ การเลือกกินแบบ 2-1-1 เน้นโปรตีนและผัก คาร์โบไฮเดรตในสัดส่วนที่ถูกต้อง เพื่อรักษาการกินที่สมดุลเหมาะกับสภาวะร่างกายของแต่คนให้ร่างกายไม่เจ็บป่วยสร้างสุขภาพดีได้
จัดการความเสี่ยง เริ่มต้นที่สุขภาพพนักงาน
กิจวัตรประจำวันของพนักงานออฟฟิศนอกจากจะนั่งทำงานอย่างยาวนานแล้ว สิ่งหนึ่งที่พบเจอในองค์กรเมื่อตรวจสุขภาพประจำปี นั่นก็คือ ค่าไขมันสะสมสูงอาจจะเพราะว่าการเลือกกินอาหารที่มีไขมันสูง น้ำหวาน ซึ่งอาจจะเข้าใจได้ว่าเกิดจากวัฒนธรรมองค์กรที่ช่วงบ่ายๆ เหนื่อยๆ มีความเครียดในที่ทำงานจนต้องหาน้ำหวาน ขนม มากิน ผนวกกับการนั่งทำงานนานๆ ไม่ขยับตัวจนไม่เกิดการเผาผลาญของร่างกายและนี่คือพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคต่างๆ อย่างเช่น อ้วนลงพุง ไขมันในเลือดสูง ไขมันพอกตับ ไตรกลีเซอไรด์สูง เบาหวาน เป็นต้น
สุขภาพจิตพนักงาน ปัญหาซ่อนเร้นที่ต้องระวัง
เข้าใจปัญหาสุขภาพจิตในองค์กร ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดในที่ทำงาน บริษัทหรือ HR จะมีมาตรการจัดการปัญหาอย่างไร อ่านคำแนะนำและแนวทางส่งเสริมสุขภาพจิต ที่นี่
แข่งขันลดน้ำหนักด้วย SAKID กับโครงการ Lbeauty Fit Challenge
สำหรับกิจกรรม Lbeauty Fit Challenge ที่แข่งขันลดน้ำหนักกับ SAKID application ตลอดระยะเวลา พ.ค. – ก.ค. 67 โดยมีการออกแบบภารกิจสุขภาพทั้งอาหาร และออกกำลังกายให้เหมาะสม พร้อมด้วยโค้ชนักกำหนดอาหารวิชาชีพดูแลเป็นรายบุคคลในการปรับการกิน จนทำให้การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักลดลงถึง 4% และรอบเอวลดลงถึง 6 %