
สุขภาพจิตพนักงาน ปัญหาซ่อนเร้นที่ต้องระวัง
- 24/01/23
วิถีการทำงานของพนักงานในยุคนี้ มีหลากหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดสะสมและปัญหาสุขภาพจิตต่าง ๆ มากมาย ซึ่งปัญหาสุขภาพจิตพนักงานที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบทั้งต่อชีวิตส่วนตัวของพนักงานและชีวิตการทำงาน เป็นปัญหาซ่อนเร้นที่ในฐานะองค์กรหรือสถานที่ทำงานเองก็ไม่ควรมองข้าม
เมื่อทรัพยากรมนุษย์คือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการทำงาน และในฐานะของกลุ่มคนที่ทำร่วมกันทำงานแล้ว องค์กรจะมีบทบาทช่วยเหลือพนักงานอย่างไรได้บ้าง มาทำความเข้าใจปัญหาและวิธีจัดการในบทความนี้
สุขภาพจิตพนักงาน ปัญหาที่ถูกละเลยมานาน
ปัญหาสุขภาพจิตเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคล เป็นเรื่องของความรู้สึกและไม่ได้มีบาดแผลหรืออาการทางร่างกายที่แสดงออกโดยชัดเจน ด้วยเหตุนี้ ปัญหาสุขภาพจิตพนักงานจึงมักถูกมองข้ามไป
อย่างไรก็ตาม จากสถิติที่ผ่านมา มีคนทำงานมากถึง 1 ใน 5 ที่ประสบปัญหาสุขภาพจิต และมีมากถึง 1 ใน 20 คนของคนวัยทำงานที่ต้องประสบกับปัญหาสุขภาพจิตขั้นรุนแรง ทั้งภาวะซึมเศร้า ภาวะอารมณ์สองขั้ว (Biporlar Disorder) ภาวะวิตกกังวล (Anxiety Disorders) ภาวะย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder) ภาวะหมดไฟ (Burnout) และอื่น ๆ นอกจากนี้ บริษัทประกันยังระบุว่า ความเสี่ยงทางอารมณ์หรือจิตใจเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายอันดับต้น ๆ ของแผนการรักษาพยาบาลที่บริษัทหรือนายจ้างจัดหาให้
แน่นอนว่า ปัญหาสุขภาพจิตที่พนักงานประสบส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของพนักงาน ทั้งนี้ ในมุมของธุรกิจหรือบริษัท สุขภาพจิตของพนักงานที่ย่ำแย่ก็ยังเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการลางาน การเปลี่ยนงาน และยังทำให้ผลิตภาพหรือ Productivity ของบริษัทลดต่ำลง
ปัญหาสุขภาพจิตที่ซ่อนเร้นในการทำงาน
ปัญหาสุขภาพจิตพนักงานที่อาจเกิดขึ้นในที่ทำงาน
ขอบคุณภาพจาก championhealth.co.uk
ความเหนื่อยและความเครียดจากการทำงานสามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตต่าง ๆ ตามมา โดยสำรวจในปี 2022 พบข้อมูลที่น่าสนใจ ได้แก่
– 58% ของคนทำงานประสบกับภาวะวิตกกังวลอ่อน ๆ โดย 1 ใน 4 ได้รับการวินิจฉัยทางคลินิกว่ามีภาวะวิตกกังวล (Symtoms of anxiety)
– 52% ของคนทำงานประสบกับภาวะซึมเศร้าหรือ Depression เล็กน้อย โดยกว่า 1 ใน 5 ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะซึมเศร้า (Symptoms of depression)
– 67% ของลูกค้ามีภาวะเครียดระดับปานกลางถึงเครียดจัด จากภาระงานที่หนักเกินไปและความเครียดในที่ทำงาน
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาสุขภาพจิตพนักงานอย่าง ภาวะหมดไฟหรือเบิร์นเอาต์ ที่เป็นอีกปัญหาสุขภาพจิตที่มีต้นตอสาเหตุจากสถานที่ทำงาน
ปัจจัยในที่ทำงานที่อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตพนักงาน
สำหรับปัจจัยในที่ทำงานที่อาจส่งผลให้พนักงานเกิดปัญหาสุขภาพจิตต่าง ๆ ได้นั้น องค์การอนามัยโรค (WHO) ก็ได้ระบุปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น…
– ภาระงานที่หนักหนาเกินไป (Workloads)
– การขาดอำนาจในการจัดการงานอย่างอิสระ
– ระยะเวลาการทำงานที่ยาวนานเกินไป โดยที่ไม่มีการหยุดพัก
– ขอบเขตงานที่ไม่ชัดเจน
– การเหยียดเพศ เหยียดความสามารถ เหยียดเชื้อชาติ สถานบันการศึกษา
– ความรุนแรงทั้งจากการคุกคาม การข่มขู่ การรังแก
– ความรู้สึกโดดเดี่ยว แปลกแยกจากทีม
เมื่อสุขภาพจิตของพนักงานดีพร้อม ประโยชน์จะตกที่ทุกคน
เมื่อพนักงานมีสุขภาพจิตที่ดี พนักงานก็ย่อมมีแรงใจและแรงกายในการดูแลตัวเอง รวมไปถึงมีจิตใจที่พร้อมสำหรับการทำงาน ช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานและการผลิตให้กับองค์กรอย่างไม่ต้องสงสัย
– เพิ่มผลิตภาพหรือ Productivity ในการทำงานให้กับบริษัท
– ลดอัตราการเปลี่ยนงานหรือลาออก รักษาพนักงานเดิมได้นานขึ้น
– ลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง จากการขาดงาน การหาพนักงานใหม่
และเพื่อให้องค์กรตระหนักถึงผลกระทบของปัญหาสุขภาพจิตพนักงาน WHO ก็ได้ทำสำรวจและประเมินปัญหาสุขภาพจิตเป็นมูลค่า นั่นคือ ภาวะซึมเศร้าและภาวะวิตกกังวลของพนักงานทำให้ Productivity การทำงานลดลงเป็นมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ จากงานวิจัยเดียวกันก็ประเมินได้ว่า ทุก ๆ 1 ดอลลาร์สหรัฐที่องค์กรใช้กับการจัดการปัญหาสุขภาพจิตพนักงาน ช่วยให้ได้กำไรกลับมา 4 ดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อขยับแว่นมามองในระดับองค์กรแต่ละองค์กรแล้ว การส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพจิตที่ได้ ไม่ว่าอย่างไรก็ส่งผลดีต่อองค์กร แล้วบริษัทหรือองค์กรจะนโยบายเพื่อสนับสนุนสุขภาพจิตของพนักงานได้อย่างไรบ้าง?
บริษัทและองค์กรจะช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตพนักงานได้อย่างไร
จุดเริ่มต้นการส่งเสริมสุขภาพจิตพนักงานอย่างง่าย ๆ และเริ่มได้ทันทีผ่านการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร โดยเฉพาะในบทบาทของเจ้าของกิจการ หัวหน้างาน การทักทายและสอบถามเรื่องราวความเป็นไปในชีวิต หมั่นสังเกตและถามไถ่สารทุกข์สุกดิบของพนักงานก็จะช่วยลดความตึงเครียด และเป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานกล้าที่จะปรึกษาปัญหามากขึ้น
สำหรับแนวทางในการจัดการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีในที่ทำงานอย่างจริงจัง ก็มีแนวทางมาฝาก 5 แนวทางเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ได้แก่
1. เข้าใจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพจิตในองค์กร
เชื่อว่า ฝ่ายบุคคลหรือองค์กรใดก็ตามที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ คงตระหนักความสำคัญของปัญหาสุขภาพจิตพนักงานกันเบื้องต้นอยู่แล้ว ทั้งนี้ หากต้องการสำรวจภาวะสุขภาพจิตภายในองค์กร อาจเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการใช้แบบประเมินความเครียด (ST-5) หรือคำถามประเมินความเครียด 5 ประการ ได้แก่
1. มีปัญหาการนอน นอนไม่หลับหรือนอนมาก
2. มีสมาธิน้อยลง
3. หงุดหงิด / กระวนกระวาย / ว้าวุ่นใจ
4. รู้สึกเบื่อ / เซ็ง
5. ไม่อยากพบปะผู้คน
หรือหากใช้โปรแกรมผู้ช่วย Employee Assistance Program (EAP) ที่เป็นแอปพลิเคชันคอยสอบถามอารมณ์ความรู้สึกของพนักงานในแต่ละวัน เพื่อประเมินความเครียดและปัญหาสุขภาพจิต พร้อมแจ้งเตือนปัญหาให้กับฝ่ายบุคคลหรือองค์กร
2. มีสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิต
ทางที่บริษัทหรือองค์กรจะจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตได้โดยตรง ก็คือ การออกนโยบายและสวัสดิการสุขภาพที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตของพนักงานอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งสามารถทำได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพที่ครอบคลุมการรักษาสุขภาพจิต เงินช่วยค่ารักษาพยาบาล มีนักจิตวิทยาให้พนักงานปรึกษา มีโปรแกรมผู้ช่วยพนักงานที่ส่งเสริมสุขภาวะกายและใจ หรือจัดมุมพักผ่อน/มุมเล่นเกมคลายเครียดในออฟฟิศ
3. ใช้โปรแกรมผู้ช่วย Employee Assistance Program (EAP)
SAKID โปรแกรมผู้ช่วยพนักงาน ช่วยดูแลสุขภาพพนักงานอย่างครบองค์
ฟังก์ชันหลัก ๆ ของ SAKID โปรแกรมผู้ช่วยพนักงานหรือ Employee Assistance Program (EAP) คือ การนำมาดูแลสุขภาวะกายและใจของพนักงาน ส่งเสริมให้พนักงานมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น
– การสอบถามอารมณ์ความรู้สึกในแต่ละวัน
– การ “สะกิด” ให้พนักงานออกกำลังกาย ลุกขึ้นไปดื่มน้ำ มอบหมายภารกิจให้เดิน ฯลฯ
– ช่วยประเมินความเสี่ยงสุขภาพด้านต่าง ๆ รายงานออกมาเป็น Report ให้องค์เห็นปัญหาอย่างชัดเจน
– มีฟีเจอร์ที่เชื่อมต่อกับนักจิตวิทยา นักควบคุมอาหาร และนักวิทยาศาสตร์การกีฬาให้พนักงานปรึกษา
ดูฟีเจอร์ของ SAKID ทั้งหมด ที่นี่
4. ส่งเสริมวัฒนธรรมการสื่อสารที่ตรงไปตรงมา
หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้คนทำงานมีความเครียดจนอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตต่าง ๆ คือ ความรู้สึกโดดเดี่ยว รู้สึกว่าต้องรับผิดชอบหรือเผชิญปัญหาอยู่คนเดียว
วิธีการจัดการกับปัญหาในข้อนี้ คือ “การสื่อสาร” องค์กรหรือหัวหน้างานควรหมั่นสอบถามความเป็นไปของงาน สอบถามถึงปัญหาและเสนอทางช่วยเหลือ หรือในปัจจุบัน บริษัท Startup หลายแหล่ง มักจัดเซสชันประชุมสั้น ๆ ที่เรียกว่า “Check-in” ขึ้นเพื่อพูดคุย สอบถามความเป็นไปต่าง ๆ ในทุก ๆ วันหรือสัปดาห์ละครั้ง หรือจัดเซสชันรับฟีดแบก-ปรึกษาปัญหาเดือนละครั้ง เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการสื่อสาร
5. ส่งเสริมการดูแลสุขภาพกายและใจ
บริษัทหรือองค์กรสามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพแบบครบองค์ให้กับพนักงานได้ง่าย ๆ เริ่มจากกิจกรรมที่จัดได้เรื่อย ๆ ในออฟฟิศเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศหรือสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร เช่น Company Dinner ปาร์ตี้เล็ก ๆ ทุกวันศุกร์ หรือกิจกรรมออกกำลังกาย/ทำกิจกรรมสนุก ๆ ประจำเดือน
เกมภารกิจสะกิดสุขภาพส่วนตัวจาก SAKID นับจำนวนก้าวเดิน
หรือจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น
– กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต เช่น อบรมสอนการหายใจ-การทำสมาธิ อบรมวิธีรับมือและจัดการอารมณ์ในชีวิตประจำวัน
– กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกาย เช่น กิจกรรมลดน้ำหนัก กิจกรรมออกกำลังกาย กิจกรรมพักเบรกยืดเหยียดร่างกาย
– มอบหมายภารกิจดูแลสุขภาพที่เน้นการสร้างพฤติกรรมจาก SAKID เช่น เกมภารกิจสะกิดสุขภาพส่วนตัว แข่งขันกับเพื่อนในทีมด้วย สะกิดแก๊ง เกมภารกิจปรับการทานอาหารเฉพาะบุคคล กิจกรรมสะสมคะแนนความสุขในทุกวัน ฯลฯ
สรุป
เรื่องของสุขภาพจิตก็ไม่ได้มีความสำคัญน้อยไปกว่าเรื่องของสุขภาพกาย ในฐานะองค์กรหรือบริษัทเองก็ไม่ควรมองข้ามการส่งเสริมและสวัสดิการที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้กับพนักงาน ซึ่งในบทความนี้ ได้แชร์แนวทางสำหรับองค์กรไว้ ไม่ว่าจะเป็นการตระหนักถึงปัญหา สวัสดิการที่เกี่ยวข้อง โปรแกรมและไอเดียจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตพนักงานต่าง ๆ
หวังว่า บทความนี้หรือ SAKID จะสามารถช่วยให้คุณสามารถส่งเสริมสุขภาพกายและใจของพนักงานให้ดีขึ้นได้
บทความที่น่าสนใจ

เมื่อพนักงานสูญเสีย Passion ในงาน: วิธีจุดประกายแรงบันดาลใจในที่ทำงานอีกครั้ง
โดยทั่วไปหมายถึงแรงผลักดันอย่างแรงกล้าที่ทำให้เรามุ่งมั่นและเต็มใจอุทิศตนให้กับกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งอย่างต่อเนื่องและทำอย่างเต็มกำลังความสามารถ (Vallerand, 2015) โดย Passion ในการทำงาน (Work passion) คือ สภาวะทางจิตใจที่บุคคลรู้สึกกระตือรือร้น ยินดี และเต็มใจที่จะอุทิศเวลา พลังกาย พลังใจ ให้กับการทำงาน จนรู้สึกว่างานเป็นส่วนหนึ่งที่มีคุณค่าในชีวิต (Vallerand et al., 2003) และในทางจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การแบ่ง passion ออกเป็น 2 ประเภท คือ harmonious passion และ obsessive passion

บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตราษฎร์บูรณะ
บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตเขตราษฎร์บูรณะ
เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 Sakid ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดให้กับการไฟฟ้านครหลวง เขตเขตราษฎร์บูรณะ ในกิจกรรม Fun for Fit เพื่อแนะนำการเข้าร่วมโครงการ “MEA เบิร์นเกินร้อย” เปิดศึกการแข่งกันระหว่างทีมเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี ด้วยการส่งภารกิจสุขภาพผ่านแอพสะกิด และลุ้นรับของรางวัลในแต่ละเดือน

WORKSHOP Healthy Canteen
กิจกรรม “อบรม พ่อครัว แม่ครัว ให้ทำอาหารสุขภาพมากขึ้น”
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 SAKID ได้จัดกิจกรรม Workshop “อบรม พ่อครัว แม่ครัว ให้ทำอาหารสุขภาพมากขึ้น”

7 เคล็ดลับง่าย ๆ เพิ่ม Productivity ให้ปัง ทั้งเรื่องงานและชีวิตส่วนตัว
คุณเคยรู้สึกไหมว่า ทำไมเพื่อนร่วมงานบางคนถึงได้ดูเก่งและประสบความสำเร็จในทุก ๆ ด้าน ทั้งเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว แถมยังมีเวลาไปเที่ยว ไปช็อปปิ้ง ไปสังสรรค์กับเพื่อน ๆ ได้อีก คุณอยากรู้ไหมว่าพวกเขามีเคล็ดลับอะไรในการเพิ่ม Productivity ให้ชีวิตปังขนาดนั้น?

HRIS คืออะไร ทำไมถึงจำเป็นกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
HRIS คืออุปกรณ์สำคัญในการช่วยทำให้ HR สามารถทำงานได้อย่างสะดวกขึ้น เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้สามารถตรวจเช็คข้อมูลพนักงานได้อย่างง่ายดาย แต่มันคืออะไรกันล่ะ

8 ทริคดื่มน้ำให้ครบ 8 แก้ว
การดื่มน้ำเป็นสิ่งที่หลายคนมักมองข้าม ทั้งๆ ที่น้ำคือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำถึง 60% การดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวันไม่เพียงแค่ช่วยให้ทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น สมอง หัวใจ และกล้ามเนื้อ ทำงานได้อย่างปกติ แต่ยังช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น ผิวฉ่ำ ปากชุ่มชื้นตลอดทั้งวัน ในทางกลับกัน หากเราดื่มน้ำน้อยเกินไป อาจส่งผลให้ท้องผูก ปวดหัว สมองทำงานช้าลง เหนื่อยล้า โฟกัสกับการทำงานได้ลดลง ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง