
Happy Workplace สร้างองค์กรอย่างไรให้เต็มไปด้วยความสุข
- 16/12/22
ช่วงนี้หันไปทางไหนก็ต้องได้ยินใคร ๆ พูดว่ากำลังเบิร์นเอาต์ให้ได้ยินกันบ่อย ๆ แม้แต่องค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ได้ประกาศให้ “ภาวะหมดไฟในการทำงาน” (Burnout Syndrome) เป็นความผิดปกติชนิดหนึ่ง เพื่อสร้างความตระหนักให้คนทั่วไปเห็นความสำคัญมากขึ้น โดยเพิ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา
จากสถานการณ์นี้ภาวะเบิร์นเอาต์จึงไม่ได้เป็นเรื่องเล่น ๆ หรือเป็นเรื่องที่ต้องแก้ที่ตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ขึ้นอยู่กับสังคมและสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะในสถานที่ทำงาน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทำให้เกิดภาวะเบิร์นเอาต์ได้มากที่สุด
หลายออฟฟิศจึงเริ่มมองหาแนวทางปรับเปลี่ยนเพื่อดูแลใจคนทำงานกันมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือการสร้าง “องค์กรแห่งความสุข” (Happy Workplace) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ริเริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2513 จากองค์กรสุขภาพของประเทศแคนาดา
โดยองค์กรแห่งความสุขยึดมั่นในแนวคิดการพัฒนาคนในองค์กรให้มีความสุขผ่านกระบวนการคิด การมอบหมายงาน หรือการร่วมกันออกแบบองค์กรที่ทุกคนมีส่วนร่วม นำไปสู่ความสุขในการทำงาน และก่อให้เกิดศักยภาพในการทำงานตามไปด้วย
องค์กรแห่งความสุขนี้จึงอาจเป็นสิ่งที่มาช่วยตอบโจทย์ให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น และทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยไม่รู้สึกเบิร์นเอาต์ไปเสียก่อน
ความสุขในการทำงานคืออะไร
แต่ก่อนจะไปทำความรู้จักวิธีการสร้างองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) เราอาจจะต้องมาคุยเรื่องความสุขในการทำงานกันเสียก่อน
ความสุขในการทำงาน คือ การที่พนักงานมีความรับรู้ทางอารมณ์ในทางบวกต่อการทำงานที่ตนได้รับมอบหมาย โดยสามารถเกิดขึ้นได้จากสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การได้รับคำชม หรือความรู้สึกปลอดภัยทั้งทางกายและทางใจในการทำงาน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่ความมั่นคง ความก้าวหน้าในการงานของตนเอง
โดยความสุขในการทำงาน จะเกิดขึ้นผ่าน 3 ปัจจัย ได้แก่
1. ความสนุกในการทำงาน (Arousal) หมายถึงการทำงานด้วยความรู้สึกสนุก ไม่กดดันหรือวิตกกังวลใด ๆ เกิดความเต็มใจที่จะทำงาน และมีความคิดด้านบวกกับงานที่ได้รับมอบหมาย
2. ความพอใจในงาน (Pleasure) หมายถึงการทำงานด้วยความรู้สึกสบายใจ ไม่เกิดความทุกข์ หรือไม่ชอบในงานที่ทำ
3. ความอยากในการทำงาน (Self-validation) หมายถึงการทำงานด้วยความกระตือรือร้น เต็มไปด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจอยากทำงานให้ดีและลุล่วง
ทำไมต้องสร้าง Happy Workplace หรือ องค์กรแห่งความสุข
อย่างที่เกริ่นไปข้างต้นว่าภาวะเบิร์นเอาต์กลายเป็นปัญหาสำคัญของคนทำงานในยุคปัจจุบัน ซึ่งภาวะเบิร์นเอาต์นำไปสู่ปัญหาอีกหลากหลายอย่าง ในทางปัจเจกเอง คนทำงานย่อมรู้สึกไม่มีความสุข วิตกกังวล เครียด หรือแม้แต่นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า ในทางองค์กรเองก็จะส่งผลให้ศักยภาพของพนักงานลดลง อาจเกิดการขาด ลา มาสายมากยิ่งขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพของที่ทำงานถดถอย การมีส่วนร่วมของคนในองค์กรก็ลดลง ซึ่งนำไปสู่ผลกระทบอีกหลากหลายอย่าง
ดังนั้น ภาวะเบิร์นเอาต์จึงไม่สามารถแก้ปัญหาได้จากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เป็นการร่วมมือกันสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ส่งเสริมให้คนทำงานได้รับความสุข โดยอาจลองปรับใช้แนวคิด Happy Workplace หรือ องค์กรแห่งความสุข ซึ่งจะช่วยให้คนทำงานรู้สึกดีกับสถานที่ทำงาน ลดการทำงานผิดพลาด หรือการไม่มีส่วนร่วมในการทำงาน และส่งผลให้ทำงานได้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้นด้วยความรู้สึกพึงพอใจ ไม่กดดัน
ความสุขพื้นฐานแปดประการ (Happy 8)
การสร้าง Happy Workplace หรือองค์กรแห่งความสุข อาจลองสำรวจความสุขพื้นฐานแปดประการที่คนทำงานต้องการ เพื่อทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนนโยบายหรือสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับองค์กรต่อไป
ความสุขพื้นฐานแปดประการ ได้แก่
1. Happy Body (สุขภาพดี) การมีสุขภาพดีทั้งทางกายและทางใจจะช่วยลดความกังวล และทำให้คนทำงานมีประสิทธิภาพในการทำงานอย่างเต็ม
2. Happy Heart (น้ำใจงาม) ความมีน้ำใจหรือการใจดีต่อคนรอบข้างจะช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงาน และได้รับความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ
3. Happy Relax (ผ่อนคลาย) เพราะการทำงานหนักเกินไปทำให้เรารู้สึกเหนื่อยล้าได้ง่าย เกิดความเครียดสะสม ความผ่อนคลายจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะทำให้เราได้ลองใช้ชีวิตในแง่มุมอื่น ๆ และเติมเต็มความสุข
4. Happy Brain (หาความรู้) ทุกการเรียนรู้ใหม่ ๆ นำไปสู่การเติบโตและภาคภูมิใจ การหาความรู้จึงช่วยเติมเต็มความสุขได้ และยังส่งผลให้การงานก้าวหน้า เสริมความมั่นคงให้ชีวิตไปพร้อม ๆ กัน
5. Happy Soul (ทางสงบ) การสร้างพื้นที่สงบนิ่งในใจช่วยทำให้ความรู้สึกของเรามั่นคงยิ่งขึ้น รับมือกับปัญหาได้ดี และไม่สั่นไหวกับเรื่องร้าย ๆ หรือความกังวล ซึ่งเป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้ทำงานได้อย่างเป็นสุข
6. Happy Family (ครอบครัวดี) การมีครอบครัวที่ดีส่งผลให้เราได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นกำลังใจให้กัน ส่งต่อความสุขให้กันและกัน และยังทำให้รู้สึกสบายใจกับการมีคนคอยซัพพอร์ต ไม่โดดเดี่ยว นำไปสู่ความมั่นคงทางจิตใจและเป็นสุขในใจ
7. Happy Money (ปลอดหนี้) เพราะเรื่องเงินเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตคนทำงานมากที่สุด การมีเงิน รู้จักเก็บ รู้จักใช้ ไม่มีหนี้ ก็จะทำให้ไม่มีความกังวล และทำให้เกิดความสบายใจ
8. Happy Society (สังคมดี) เพราะสภาพแวดล้อมส่งผลต่อจิตใจของมนุษย์ การมีสังคมแวดล้อมที่ดี เข้าใจกันและกัน และพร้อมช่วยเหลือกันด้วยความจริงใจ ไม่ตัดสิน จะช่วยให้คนในสังคมรู้สึกเป็นสุขไปพร้อมกัน
สัญญาณบ่งบอกว่าองค์กรเป็น Happy Workplace
– คนทำงานมีส่วนร่วมกับองค์กรมากขึ้น คอยให้ความเห็น หรือแสดงไอเดียในการพัฒนาองค์กรให้เติบโต
– ทุกคนทำงานเพื่อเป้าหมายร่วมกัน มีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการทำงานและคาดหวังผลลัพธ์ที่จะทำให้องค์กรได้เติบโตไปพร้อมกับคนทำงานหรือทีม
– งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากมีกำลังใจและมีความรู้สึกสนุกกับการทำงาน
– คนทำงานอยู่กับบริษัทยาวนานขึ้น เพราะมองเห็นความสำคัญขององค์กร และเกิดความรักในองค์กรที่ทำงานอยู่
ปัจจัยที่ทำให้เกิด Happy Workplace
– งานที่ให้ Work-life Balance
– งานที่มีคุณค่าและมีความหมายต่อชีวิต
– การทำให้คนทำงานมีตัวตนในออฟฟิศ
– บรรยากาศการทำงานในทีมที่ดี
– การแสดงความชื่นชมกันและกันอย่างจริงใจ
– การสร้างเส้นทางการเติบโตในองค์กรอย่างชัดเจน
– สวัสดิการที่เหมาะสมกับการทำงาน
10 เทคนิคสร้าง Happy Workplace ให้เป็นจริง
1. ให้รางวัลกับพนักงานที่ทำงานหนัก
2. จัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพกายและใจ เช่น SAKID
3. ส่งเสริมวัฒนธรรมการชื่นชมผลงานและการทำงาน
4. จัดเวิร์กชอป Team Building
5. เปิดให้มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีลำดับขั้นเจ้านายหรือลูกน้อง
6. มีระบบการทำงานที่ยืดหยุ่น กำหนดช่วงเวลาทำงานให้มีการพักเบรกที่เหมาะสม
7. ชวนกันทำปฏิทินความสุข
8. เปิดเพลงคลอเบา ๆ เหมือนนั่งทำงานในคาเฟ่
9. เปิดโอกาสให้พนักงานได้เข้าเวิร์กช็อปหรือเรียนรู้ตามความสนใจ
10. ออกแบบสวัสดิการที่ดีให้กับพนักงาน
สรุป
เพราะการทำงานอย่างไม่มีความสุขย่อมส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทั้งต่อคนทำงานเอง และต่อองค์กร การสร้างองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) จึงเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่เป็นเทรนด์สำคัญในยุคสมัยนี้ โดยความสุขในการทำงานสามารถแบ่งได้เป็นหลากหลายด้าน ซึ่งองค์สามารถชักชวนคนในองค์กรให้มาร่วมออกแบบองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) ของตัวเองได้
มากไปกว่านั้นปัจจุบันยังมีตัวช่วยให้คนทำงานเข้าถึงความสุขได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เช่นหากต้องการเข้าถึง Happy Body ตามความสุขพื้นฐาน 8 ประการ ก็มีแพลตฟอร์มจาก SAKID ที่ช่วยออกแบบโปรแกรมดูแลสุขภาพทั้งองค์กรได้
ตัวอย่างฟีเจอร์น่าสนใจเช่น การบันทึกกิจกรรมประจำวันบนปฎิทินความสุข การรายงานผลสุขภาพรายบุคคล นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์สุขภาพ การกินอาหาร การออกกำลังกายและความสุขส่วนบุคคล พร้อมโค้ชในการดูแล ซึ่งจะทำให้คนทำงานมีความสุขกับสุขภาพกายและใจที่ดีได้เช่นกัน
มาร่วมทำให้ความสุขเติบโตในองค์กรไปด้วยกันนะ
บทความที่น่าสนใจ

WORKSHOP HAPPY FIT กินอยู่อย่างไร ร่างกายฟิต สุขภาพดี
กิจกรรม HAPPY FIT กินอยู่อย่างไร ร่างกายฟิต สุขภาพดี
วันที่ 22 สิงหาคม 2567 SAKID ได้จัดกิจกรรม HAPPY FIT กินอยู่อย่างไร ร่างกายฟิต สุขภาพดี กับ SAKID ที่บริษัท ทาทาสตีล จำกัด โดยจะมีกิจกรรมการวัดองค์ประกิบร่างกายเพื่อดูสุขภาพโดยรวมของพนักงาน และกิจกรรมWorkshop เกี่ยวกับการเลือกอาหารในชีวิตประจำวันโดยที่พนักงานออฟฟิศสามารถนำไปใช้ได้ การเลือกกินแบบ 2-1-1 เน้นโปรตีนและผัก คาร์โบไฮเดรตในสัดส่วนที่ถูกต้อง เพื่อรักษาการกินที่สมดุลเหมาะกับสภาวะร่างกายของแต่คนให้ร่างกายไม่เจ็บป่วยสร้างสุขภาพดีได้

Carbon Credit Claim การเคลมเครดิตคาร์บอน สำหรับองค์กร
การเคลมเครดิตคาร์บอน (Carbon Credit Claim) คือ กระบวนการที่ผู้ประกอบการหรือองค์กรต่าง ๆ ทำเพื่อขอรับเครดิตคาร์บอนจากกิจกรรมหรือโครงการที่มีผลในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หรือสารเคมีเกี่ยวข้องอื่น ๆ จากสภาพแวดล้อม เพื่อขายเครดิตให้กับผู้อื่นที่ต้องการใช้เครดิตคาร์บอนเหล่านั้นเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเอง หรือเพื่อการธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

12 กิจกรรม สร้างทีมเวิร์คที่ออฟฟิศ
คุณเคยรู้สึกว่าบรรยากาศในที่ทำงานห่างเหิน ขาดพลังของการร่วมมือร่วมใจกันหรือไม่? ในโลกธุรกิจยุคใหม่ที่มีการแข่งขันสูง การสร้างทีมงานที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพจึงเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จขององค์กร กิจกรรม Team Building คือเครื่องมือที่จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ความไว้วางใจ ความร่วมมือ และการทำงานเป็นทีมอย่างราบรื่น

Health Activity จัดแบบไหนได้บ้าง?
ในช่วงต้นปีแบบนี้ หลายบริษัทอาจกำลังมองหากิจกรรมที่ทำร่วมกับพนักงาน ซึ่งกิจกรรมก็เป็นได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ขององค์กร หรือความต้องการพนักงาน ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร กิจกรรม CSR เพื่อสังคม กิจกรรมด้านอบรมเพิ่มศักยภาพพนักงาน หรือแม้แต่กิจกรรมที่ช่วยดูแลสุขภาพ หรือ happy workplace ให้แก่พนักงาน ซึ่งขอแนะนำตัวอย่างการจัดกิจกรรมด้าน Health ไว้เป็นไอเดียไปจัดกิจกรรม

Work Life Balance คืออะไร ทำไมจึงสำคัญกับการทำงานยุคใหม่
Work Life Balance ไม่ใช่แค่ปัญหาของคนทำงานเท่านั้น เพราะบริษัทเองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน แล้วบริษัทจะจัดการปัญหานี้อย่างไร? เข้าใจผลกระทบพร้อมไอเดียแก้ปัญหา ที่นี่

Well-being ไม่ใช่แค่ดูแลพนักงาน แต่ขอรับรองมาตรฐานได้ด้วย
ในปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญการดูแลด้าน Well-being หรือสุขภาวะที่ดีของพนักงาน เพราะเล็งเห็นว่าพนักงานเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร ในการดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร หากพนักงานมีความสุขก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน และมีความผูกพันต่อองค์กร แต่ทราบหรือไม่ว่านอกจากนี้ยังสามารถขอรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้องได้หลายมาตรฐาน ซึ่งทำให้มั่นใจว่ากิจกรรมด้าน Well-being ที่จัดให้พนักงานมีความครบถ้วนหรือไม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และหากองค์กรได้รับรางวัลมาตรฐานเหล่านี้ ยังเป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่องค์กร สร้างภาพลักษณ์ต่อผู้เกี่ยวข้องทั้งพนักงาน ลูกค้า และบุคคลภายนอกในการเป็นองค์ที่มีความใส่ใจพนักงาน