จัดการความเสี่ยง เริ่มต้นที่สุขภาพพนักงาน
- 22/01/24
กิจวัตรประจำวันของพนักงานออฟฟิศนอกจากจะนั่งทำงานอย่างยาวนานแล้ว สิ่งหนึ่งที่พบเจอในองค์กรเมื่อตรวจสุขภาพประจำปี นั่นก็คือ ค่าไขมันสะสมสูงอาจจะเพราะว่าการเลือกกินอาหารที่มีไขมันสูง น้ำหวาน ซึ่งอาจจะเข้าใจได้ว่าเกิดจากวัฒนธรรมองค์กรที่ช่วงบ่ายๆ เหนื่อยๆ มีความเครียดในที่ทำงานจนต้องหาน้ำหวาน ขนม มากิน ผนวกกับการนั่งทำงานนานๆ ไม่ขยับตัวจนไม่เกิดการเผาผลาญของร่างกายและนี่คือพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคต่างๆ อย่างเช่น อ้วนลงพุง ไขมันในเลือดสูง ไขมันพอกตับ ไตรกลีเซอไรด์สูง เบาหวาน เป็นต้น
การรวบรวมข้อมูลทั้งด้านสุขภาพและความคิดเห็นในองค์กรเป็นสิ่งสำคัญในการจัดหาแนวทางการแก้ปัญหาและส่งเสริมนโยบายด้านต่างๆ การให้ความสำคัญด้านสุขภาพพนักงานถ้าที่ทำงานแฮปปี้งานก็จะออกมาดีด้วย การรวบรวมข้อมูลผลตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อมาดูว่าสุขภาพพนักงานส่วนใหญ่มีผลแบบไหนสามารถสะท้อนการเป็นอยู่การทำงานของบริษัทได้ การทำแบบสอบถามความคิดเห็นโดยไม่เปิดเผยชื่อ เพื่อนำมาปรับเปลี่ยนแก้ไขให้ดีขึ้น ข้อมูลที่ได้ทั้งหมดสามารถมาประเมินผลรูปแบบสุขภาพการทำงานได้ โดยการแบ่งกลุ่มความเสี่ยงโรค แบ่งจากค่า BMI เกินเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์ หรือแบ่งกลุ่มตามเป้าหมายและความสนใจ
การเริ่มต้นดูแลสุขภาพพนักงาน
แน่นอนว่าตัวพนักงานเองก็เป็นตัวหลักที่สำคัญเหมือนกันในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่ทว่าบริษัทหรือองค์กรช่วยสนับสนุนให้พนักงานสุขภาพแข็งแรงผลักดันอีกแรงหนึ่งด้วยจะมีแนวโน้มที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ด้วยการสร้างองค์กรที่มี Health and Wellness ให้สุขภาพและสภาพแวดล้อมที่ทำงานที่ดีได้
1.แนะนำพนักงาน เริ่มต้นด้วยการให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมและโรคแบบกลุ่มWorkshop เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของสุขภาพและมีแรงจูงใจและความเข้าใจในการสนับสนุนพนักงานด้วยกันในรูปแบบการขับเคลื่อนเป็นกลุ่ม
2.ตรวจสุขภาพประจำปี เป็นสวัสดิการที่ดีที่ต้องมีทุกปีเพราะผลตรวจสุขภาพนี้สามารถบอกได้ถึงสุขภาพร่างกายของพนักงาน การตรวจสุขภาพช่วยในการระบุคนที่มีความเสี่ยงล่วงหน้าและช่วยให้สามารถแก้ปัญหาสุขภาพได้แต่เนิ่นก่อนลดความเสี่ยงการเกิดโรค สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาที่เสียไปกับโรงพยาบาลได้
3.การส่งเสริมเลือกกินอาหาร อาจจะด้วยหลายๆอย่างที่ไม่เอื้ออำนวยทั้งร้านอาหารและเวลา การให้ความรู้ ความเข้าใจทางโภชนาการ, จัดคลาสการทำอาหารสุขภาพ, และมีมุมของว่างกาแฟหรือโซนนั่งกินข้าวหรือตู้ขายของอัตโนมัติของที่ทำงานมีตัวเลือกอาหารที่เหมาะสม หรืออาจจะจัดผลไม้ฟรีแช่ตู้เย็นไว้ที่มุมเบรคของที่ทำงาน
4.จัดกิจกรรมส่งเสริมทางร่างกาย ยืดเหยียดกันก่อนประชุม การจัดเวลาผ่อนคลายในที่ทำงานลุกเดินเข้าห้องน้ำ คลาสการออกกำลังกายในที่ทำงาน คลาสโยคะ หรือส่งเสริมการใช้บันไดแทนการใช้ลิฟท์ จัดการแข่งเก็บสะสมก้าวเดิน อาจจะหารางวัลสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเป็นแรงกระตุ้น
5.การจัดการความเครียด ไม่ว่าจะมีเรื่องที่บ้านหรือที่ทำงานความเครียดเป็นตัวหลักที่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงและยังทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานติดลบอีกด้วย การจัดกลุ่มพูดคุยที่ไม่ใช่เรื่องงาน การรับฟังปัญหาและร่วมหาทางออกร่วมกัน หรือมีกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย การที่ให้พนักงานรู้จักการจัดการความเครียด โดยมีนักจิตวิทยามาให้ความรู้ Workshop หรือปรึกษานักจิตวิทยาฟรีไว้เป็นสวัสดิการในการช่วยแก้ปัญหาของพนักงาน
6.การกำหนดนโยบาย พิจารณาดำเนินการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ส่งเสริมสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่สุขภาพดี เช่น มุมกาแฟของว่างเพื่อสุขภาพและกิจกรรมทางร่างกายหรือกำหนดเวลาที่ยืดเหยียดเพื่อเพิ่มสมดุลระหว่างชีวิตและงาน
7.การร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่สามารถให้คำปรึกษาหรือบริการให้พนักงานในสถานที่หรือจากระยะไกลสำหรับบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพเดิม ๆ เพื่อช่วยหาทางออกให้กับพนักงาน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นกระบวนการที่ต้องทำต่อเนื่อง สิ่งสำคัญคือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนและส่งเสริมให้พนักงานมีแนวคิดและการตัดสินใจที่ดีในการดูแลสุขภาพ นอกจากนี้สามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอย่าง SAKID ที่สามารถออกแบบและวางโครงสร้างการจัดกิจกรรมและซัพพอร์ตด้านสุขภาพให้เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะขององค์กรและพนักงานของคุณได้
บทความที่น่าสนใจ
เมื่อ ‘น้อยกว่า’ กลายเป็น ‘มากกว่า’: 4 วันทำงานกับผลลัพธ์ที่เหนือความคาดหมาย
คุณรู้สึกว่าการทำงานวันละ 8 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ ทำให้คุณหมดแรงและขาดแรงบันดาลใจในการทำงานหรือไม่? คุณไม่ได้เป็นคนเดียวที่รู้สึกเช่นนี้ เพราะงานวิจัยล่าสุดชี้ว่า การทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์อาจเป็นคำตอบที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และยังช่วยสร้างสมดุลที่ดีระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวให้พนักงานมีความสุขมากยิ่งขึ้น
แข่งขันลดน้ำหนักด้วย SAKID กับโครงการ Lbeauty Fit Challenge
สำหรับกิจกรรม Lbeauty Fit Challenge ที่แข่งขันลดน้ำหนักกับ SAKID application ตลอดระยะเวลา พ.ค. – ก.ค. 67 โดยมีการออกแบบภารกิจสุขภาพทั้งอาหาร และออกกำลังกายให้เหมาะสม พร้อมด้วยโค้ชนักกำหนดอาหารวิชาชีพดูแลเป็นรายบุคคลในการปรับการกิน จนทำให้การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักลดลงถึง 4% และรอบเอวลดลงถึง 6 %
Workation คืออะไร จะเลือกที่เที่ยวพร้อมกับทำงานอย่างไรดี
Workation ต้องทำอย่างไรบ้าง? แนะนำทิปสำหรับคนทำงาน HR และองค์กร พร้อมข้อดี-ข้อเสียของ Workation จะเลือกสถานที่ Workation ที่ไหนดี ได้ทั้งเที่ยวและทำงาน
องค์กรแห่งความสุข ฉบับคนทำงาน: 10 เคล็ดลับสร้างสถานที่ทำงานแห่งความสุข
คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมบางองค์กรถึงประสบความสำเร็จอย่างสูง ในขณะที่บางองค์กรกลับล้มเหลว คำตอบอยู่ที่ความสุขของพนักงาน งานวิจัยมากมายชี้ให้เห็นว่าพนักงานที่มีความสุขนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นสำหรับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ความคิดสร้างสรรค์ที่มากขึ้น อัตราการลาออกที่ลดลง และการให้บริการลูกค้าที่ดีขึ้น
จัดคลาสออกกำลังกายอย่างไรให้โดนใจคนที่ทำงาน
เมื่อคนใช้เวลากว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในที่ทำงานจดจ่ออยู่กับการทำงาน เวลาพักน้อย การจะขยับตัวเพิ่มกิจกรรมทางกายระหว่างวันก็เป็นไปได้ยากเพราะไม่อาจละจากงานตรงหน้าได้ ด้วยปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น การจะออกกำลังกายให้ได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำขององค์การอนามัยโลกยิ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของพนักงานและเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
Workshop สายโรงงาน
Workshop สายโรงงาน พนักงานโรงงานมีข้อจำกัดหลายๆอย่างในการปฎิบัติหน้าที่ การให้ความรู้ที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญเป็นสิ่งสำคัญในการนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานได้