Employee Assistant
URL Copied!

Employee Assistance Program ยุคใหม่ช่วยอะไรคุณได้บ้าง

Employee Assistance Program ถูกสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานที่ว่า “ปัญหาส่วนตัวของพนักงาน มักส่งผลกระทบต่อการทำงาน” และเมื่อพนักงานมีปัญหาส่วนตัว มักไม่ค่อยปรึกษาหัวหน้าหรือหน่วยงาน HR แต่เลือกที่จะไม่ปรึกษาใคร จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ก่อให้เกิดผลเสียทั้งกับงานและชีวิตส่วนตัว และบางครั้ง อาจถึงขั้นวิกฤตเลยก็เป็นได้นั่นเอง

 

รูปแบบ Employee Assistance Program ในปัจจุบัน

 

Employee Assistance Program นั้นมุ่งเน้นในความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งไม่ได้หมายถึงเพียงสภาพแวดล้อมที่เขาอยู่อาศัยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่นั่นยังรวมไปถึงสภาพจิตใจของพวกเขาที่มีในชีวิตประจำวัน ที่เป็นอีกส่วนสำคัญสำหรับการทำงาน ฉะนั้น การแก้ปัญหาทางด้านความเครียดจากชีวิตส่วนตัวหรือการทำงาน, การรับมืออารมรณ์ทางลบของพนักงาน รวมไปถึงสุขภาพจิตโดยรวมของพวกเขา และการสร้างความยืดหยุ่นในการใช้ชีวิต จึงเป็นสิ่งที่ EAP มุ่งหวังอยากให้เป็น

 

โดยในปัจจุบัน EAP มีการพัฒนาไปเป็นอย่างมาก ทำให้มีการครอบคลุมไปในหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถจัดรูปแบบคร่าว ๆ ได้ 8 รูปแบบ ดังนี้

 

1. โปรแกรมดูแลสุขภาพพนักงาน

 

ปัจจัยหลักของสุขภาพพนักงานนั้น คงหลีกหนีไม่พ้นเกี่ยวกับเรื่องอาหารการกินและสุขภาพร่างกาย EAP รูปแบบนี้ จึงเป็นการเข้ามาดูแลและคอยช่วยเหลือในส่วนดังกล่าว ด้วยโปรแกรมสุขภาพที่จะเข้ามาช่วยในการออกกำลังกาย และอาหารการกินตามหลักโภชนาการที่มีประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อให้พนักงานนั้นมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงในระยะยาวนั่นเอง

 

2. การปรับปรุงความสัมพันธ์ส่วนตัวของพนักงาน

 

พนักงาน เครียด

 

มีหลายครั้ง ที่ความสัมพันธ์ส่วนตัวของพนักงานนั้นมีปัญหาเกิดขึ้น ทั้งเรื่องของชีวิตคู่, ครอบครัว หรือแม้กระทั่งเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างาน จนส่งผลกระทบกับงานที่ทำอยู่ได้เป็นอย่างมาก EAP รูปแบบนี้จึงเป็นการเข้าไปช่วยแก้ไข และให้คำปรึกษากับพนักงานที่เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้น เพื่อให้พวกเขาได้ปรับปรุงความสัมพันธ์ส่วนตัวของตัวเองให้ดียิ่งขึ้นไปกว่าเดิม

 

3. การจัดการกับความท้าทายในสถานที่ทำงาน

 

เป็นปกติที่การทำงานมักจะเกิดความท้าทายต่าง ๆ กับพนักงานขึ้นเป็นปกติ ทั้งความท้าทายในแง่ที่ดี รวมไปถึงความท้าทายในแง่ที่ไม่ดี ซึ่งการจัดการกับมันก็เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่ใช่พนักงานทุกคนที่สามารถรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นนี้ได้ จนก่อไปสู่ปัญหาความเครียด และสมดุลของชีวิตที่พังทลาย อันเป็นเหตุให้ประสิทธิภาพการทำงานนั้นลดลงไปได้

 

4. ลดปัญหาการติดสิ่งเสพติดต่าง ๆ

 

สิ่งเสพติด เรียกได้ว่าเป็นปัญหาเรื้อรังที่อาจเกิดขึ้นได้กับในพนักงานของทุก ๆ องค์กร ทั้งการติดยาเสพติด, การติดการพนัน และแอลกอฮอล์หรือยาสูบ ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และกลายเป็นปัญหาใหญ่กับทั้งตัวพนักงานและองค์กร การเข้าไปช่วยบรรเทาและทำให้หายขาดจึงเป็นสิ่งที่ EAP รูปแบบนี้จะเข้าไปจัดการ

 

5. ให้ข้อมูลการดูแลเด็กและผู้สูงอายุ

 

ในบางครั้งสำหรับพนักงานที่มีครอบครัว และไม่มีเวลาในการดูแลคนที่บ้านของตัวเอง อาจจะมีสาเหตุมาจากเวลาไม่เพียงพอ หรือเสาหลักของบ้านทำงานด้วยกันทั้งคู่ การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลคนเหล่านั้น ด้วยการให้ข้อมูลการดูแลเด็กและผู้สูงอายุแบบครอบคลุมนั่นเอง

 

6. การให้คำแนะนำทางกฎหมาย

 

พนักงาน ปรึกษา

 

ข้อกฎหมายหลาย ๆ อย่างที่จำเป็น มักเป็นเรื่องยากสำหรับพนักงานหลายคนที่ไม่เคยศึกษา ทั้งในเรื่องของการแต่งงาน, หย่าร้าง หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การให้คำปรึกษาเรื่องราวเหล่านี้ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งในการให้การดูแลของ EAP ที่จะเข้าไปช่วยพนักงานเหล่านั้น และชี้ถึงข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่พนักงานนำมาปรึกษา

 

7. ปรับปรุงแนวทางการเงินของพนักงาน

 

ความผิดพลาดในการบริหารการเงินของพนักงานถือเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย แทบจะทุก ๆ ในองค์กรเลยก็ว่าได้ บริการ EAP หลาย ๆ แห่งจึงได้มีการจัดตั้งการให้บริการส่วนนี้ขึ้นโดยเฉพาะเช่นกัน ทั้งในเรื่องของการบริหารหนี้, การล้มลาย รวมไปถึงการเงินหลังเกษียณอายุ เพื่อให้พนักงานได้ปรับปรุง, ป้องกัน และเตรียมพร้อมสำหรับการจัดการการเงินของตัวเองไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต

 

8. การสนับสนุนการโยกย้ายภายในประเทศ

 

บางครั้ง การย้ายสถานที่ทำงานหรือย้ายที่อยู่ก็สร้างความเครียดให้กับพนักงานเป็นอย่างมาก เพราะการปรับตัวเข้ากับสถานที่ใหม่ ๆ นั้นเป็นเรื่องที่ยากเสมอ ทั้งสำหรับตัวของพนักงานเอง และครอบครัวของพนักงาน จึงจำเป็นจะต้องมีการให้คำปรึกษาในด้านนี้โดยเฉพาะขึ้นมา ทั้งในเรื่องของการประเมินสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง, ความเครียดจากการย้าย, การปรับตัวใหม่ รวมไปถึงการสนับสนุนครอบครัวของพนักงาน และข้อมูลโรงเรียนสำหรับเด็ก

 

สัญญาณอันตรายของพนักงานที่อาจจะจำเป็นต้องใช้ Employee Assistance Program

 

พนักงานภายในองค์กรมักจะมีปัญหาที่ไม่ทราบว่าตัวเองจำเป็นจะต้องใช้ EAP หรือไม่ เนื่องจากเป็นปัญหาของตัวเองที่มองเห็นได้ยาก และในบางคนเองก็ไม่ยอมรับว่าเกิดขึ้นจริง ซึ่งสำหรับหัวหน้างานแล้ว อาจจะจำเป็นต้องสังเกตุอยู่บ่อยครั้ง หรือหากใครที่ไม่มั่นใจว่าตนเองจำเป็นต้องพึ่ง EAP หรือไม่ ก็สามารถดูเกณฑ์ต่าง ๆ ได้ดังนี้

 

-เริ่มมีการขาดงานหรือทำงานอย่างเชื่องช้า

 

-ประสิทธิภาพหรือผลผลิตลดลง

 

-มีอาการสับสนหรือความจำไม่ดี

 

-ภาวะอารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (ภาวะซึมเศร้า, ความวิตกกังวล)

 

-โมโหหรือหงุดหงิดมากเกินไป

 

พนักงาน มีปัญหา

 

-การเปลี่ยนแปลงในลักษณะทางกายภาพ, น้ำหนัก และสุขอนามัย

 

-รายงานความเครียดส่วนบุคคล

 

-มีอารมณ์อ่อนไหว หรือร้องไห้บ่อย

 

-มีการใช้สารเสพติดกับตัวเอง

 

ซึ่งข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของพนักงานเหล่านี้ ถือว่าเป็นข้อมูลที่จำเป็นในการประเมินว่าต้องการใช้ Employee Assistance Program หรือไม่ การมีแอปพลิเคชันที่เข้ามาช่วยซัพพอร์ตข้อมูลสุขภาพอย่าง SAKID จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม และช่วยลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับทรัพยากรบุคคลอันมีค่าขององค์กรลงไปได้อีกด้วย

 

อะไรคือปัญหาที่พนักงานแทบไม่ใช้ Employee Assistance Program

 

1. พนักงานไม่รู้ว่า EAP คืออะไร

 

อุตสาหกรรมส่วนใหญ่มักมีศัพท์แสงอยู่มากมายในทรัพยากรบุคคล หรือ HR ด้วยเหตุนี้ พนักงานจำนวนมากจึงไม่เข้าใจอย่างแท้จริงว่า EAP นั้นเกี่ยวกับอะไรกันแน่ ซึ่งเป็นผลเสียต่อตนเองในยามที่จำเป้นที่จะต้องใช้งาน 

 

โดยในปัจจุบัน EAP มักจะจัดการกับปัญหาที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงภาวะซึมเศร้า, ความเครียด, การใช้ยาเสพติด, ปัญหาด้านความสัมพันธ์, ปัญหาทางด้านอาชีพ, สุขภาพ และความสมบูรณ์ในชีวิต รวมไปถึงความกังวลด้านการเงิน, กฎหมาย และการดูแลครอบครัว โดยเฉพาะกับเด็กและผู้สูงอายุ

 

Sarah Dowzell ผู้ร่วมก่อตั้ง NaturalHR ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีด้านทรัพยากรบุคคล ที่ก่อนหน้านี้เคยทำงานด้านทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรจำนวนมาก กล่าวว่า ในหลาย ๆ องค์กรนั้นมีสถิติรายไตรมาสจากผู้ให้บริการ EAP ที่แสดงให้เห็นว่าแทบไม่มีการใช้บริการ “ในเวลานั้นความรู้สึกจากทีมทรัพยากรบุคคล คือเราสามารถทำอะไรได้มากกว่านี้ เพื่อสื่อสารว่า EAP คืออะไร และปัญหาประเภทใดบ้างที่สามารถรองรับได้ผ่านบริการ เพื่อให้พวกเขามั่นใจว่าพนักงานที่มารับบริการจะได้ผลที่ดีขึ้น และเป็นความลับ”

 

2. EAP นั้นยากที่จะนำมาสื่อสารให้เข้าใจโดยทั่วกัน

 

แม้ว่า EAP จะให้ความช่วยเหลือที่เป็นประโยชน์มากมาย แต่ข้อมูลทั้งหมดนั้นก็ยากที่จะนำมาดำเนินการต่อ ภาระจึงมักจะตกอยู่กับผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคล ในการสื่อสารคุณสมบัติต่าง ๆ ของโปรแกรม EAP ให้พนักงานภายในองค์กรนั้นเข้าใจ

 

บริษัท International Employee Assistance Professionals Association (EAPA) ตั้งข้อสังเกตว่า องค์กรขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง มักมีแนวโน้มที่จะมีอัตราการมีส่วนร่วมที่ดีกว่า (แม้ว่าพวกเขาจะปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง) อาจเป็นเพราะช่องทางการสื่อสารมีประสิทธิภาพมากกว่าก็เป็นได้ 

 

3. พนักงานกลัวที่จะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

 

แม้ว่าบริการ EAP จะเป็นความลับ แต่พนักงานหลาย ๆ คนเองก็กังวลว่าข้อมูลของตนเองอาจจะรั่วไหลไปยังฝ่ายบริหารได้อยู่ดี ซึ่งในความเป็นจริง อัตราการมีส่วนร่วม EAP มักจะดีขึ้นในองค์กรที่จัดการข้อมูลได้ดีและมีความน่าเชื่อถือ

 

แต่ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม พนักงานควรจะทราบว่าข้อมูลของพวกเขาที่เปิดเผยต่อมืออาชีพ EAP จะถูกเปิดเผยต่อหัวหน้างานของพวกเขา ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าของข้อมูลเท่านั้น โดยปกติ พนักงานจะต้องลงนามในคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร เกี่ยวกับข้อมูลที่อาจถูกปล่อยออกมาและให้ใครทราบได้บ้าง 

 

ซึ่งกรณีเหล่านี้เป็นสิ่งที่หาได้ยากและมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ปัญหานั้นอาจส่งผลโดยตรงต่อการจ้างงานของพนักงานคนดังกล่าว เช่น คนที่ต่อสู้กับโรคพิษสุราเรื้อรัง และใช้เครื่องจักรกลหนักในการทำงาน เช่นนั้นแล้ว นายจ้างของคุณจึงจะไม่ได้รับแจ้งด้วยซ้ำ ว่าคุณใช้บริการ EAP อยู่ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม

 

4. ปัญหาอาจดูเล็กเกินไป

 

EAP ไม่ได้มีไว้สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเสพติด หรือผู้มีปัญหาความเจ็บป่วยทางจิตเท่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถช่วยพนักงานที่ต้องการความสมดุลในชีวิต หรือช่วยในการควบคุมโภชนาการในชีวิตของตัวเองอีกด้วย ซึ่ง HR สามารถเพิ่มอัตราการมีส่วนร่วมของ EAP ได้ด้วยการเตือนพนักงานว่ามีบริการดังกล่าวอยู่และสามารถใช้งานได้ฟรีนั่นเอง 

 

และอาจจะรวมไปถึงการพูดคุยถามไถ่เกี่ยวกับสารทุกข์สุขดิบต่าง ๆ ทั้งในเรื่องเกี่ยวกับที่ทำงานและชีวิตส่วนตัวของพวกเขาเพื่อเป็นการให้พวกเขาได้ฉุกคิด และไตร่ตรองปัญหาของตัวเองว่าจำเป็นจะต้องพึ่งพาการใช้ EAP แล้วหรือยัง

 

Employee Assistance Program ในต่างประเทศที่น่าสนใจในปัจจุบัน

 

พนักงาน

1. LifeWorks

 

เป็นโปรแกรมช่วยเหลือพนักงานระดับแนวหน้า ที่เน้นการรับรู้ และสร้างแรงจูงใจให้พนักงานใช้แพลตฟอร์มของตน พวกเขาเสนอแอปพลิเคชันที่ช่วยให้ทีมสามารถขอคำปรึกษา และให้คำแนะนำการใช้ชีวิตได้โดยไม่ระบุชื่อ ผ่านเครือข่ายโซเชียลส่วนตัวของพวกเขา ซึ่งช่วยให้สามารถรับรู้ความสำเร็จร่วมกันได้ และตัวของ LifeWorks เองยังให้การสนับสนุนด้านสุขภาพทางการเงิน และสวัสดิการทางการเงินแก่พนักงานอีกด้วย

 

2. CoprCare

 

เป็นโครงการช่วยเหลือพนักงานให้กับบริษัทต่าง ๆ ทั่วประเทศ รูปแบบของพวกเขาจะเป็นการช่วยให้เข้าถึงการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญผ่านเครือข่ายผู้ดูแล ซึ่งบริการของพวกเขานี้จะรวมถึงการเสนอนักบำบัดระดับปริญญาโท ตลอด 24 ชั่วโมง และ ตลอด 7 วันต่อสัปดาห์ และยังมีบริการแปลภาษาในการให้คำปรึกษาอีกด้วย

 

3. BHS

 

เป็นการให้การดูแลแบบองค์รวม ผ่านโปรแกรมช่วยเหลือพนักงานแบบออนไลน์ ที่จัดการกับความท้าทายของพนักงานผ่านการให้คำปรึกษา และให้การวิเคราะห์เกี่ยวกับการใช้โปรแกรม แพทย์ระดับปริญญาโทของพวกเขา มีทักษะในการดูแลความต้องการของพนักงานแต่ละคนได้เป็นอย่างดี และแต่ละกรณีที่พวกเขาจัดการ จะถูกติดตามตั้งแต่ต้นจนจบโดยผู้จัดการแต่ละราย ซึ่งพนักงานสามารถเข้าถึงเซสชั่นแบบเห็นหน้ากัน และเซสชั่นโทรศัพท์กับแพทย์ได้ไม่จำกัด

 

4. Modern Health

 

EAP ของที่นี่จะแบ่งความรุนแรงของสุขภาพจิตออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ สีแดง, สีส้ม และสีเขียว ซึ่งพวกเขาให้ทรัพยากรสำหรับพนักงานที่อยู่ในแต่ละประเภทแตกต่างกัน โดยการวิเคราะห์เชิงลึกจะช่วยให้หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลของพวกเขา เข้าใจสุขภาพจิตของพนักงานในบริษัทได้ดีขึ้น ซึ่งเซสชันกลุ่มแบบสดจะช่วยให้พนักงานเชื่อมต่อและรักษาร่วมกัน โดยมีนักบำบัดจากทั่วทุกมุมโลกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายผู้ให้บริการของตน

 

สรุป

 

นอกจาก Employee Assistance Program จะเป็นโปรแกรมที่ช่วยพนักงานภายในองค์กร ให้สามารถแก้ไขปัญหาส่วนตัวและจัดการสิ่งต่าง ๆ ของตนตามความต้องการแล้ว ตัวโปรแกรมเองก็มีการรักษาความลับเพื่อช่วยให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยในการขอคำปรึกษา และสามารถมุ่งเน้นความสนใจไปที่การแก้ปัญหาได้โดยไม่ต้องหวาดระแวงว่าคนรอบตัวอาจจะทราบได้

 

โดยคุณสามารถอ่านเรื่องราวของ Employee Assistance Program เพิ่มเติมได้ที่บทความ EAP คือ ? และหากคุณสนใจโปรแกรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้คนทำงานในองค์กร สามารถเข้าดูได้ที่บริการของเรา เรายินดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งในองค์กรของคุณเติบโตขึ้น

บทความที่น่าสนใจ

Cover-Sakid-Ws อาหารและหลักโภชนาการ

WORKSHOP อาหารและหลักโภชนาการในการดูแลตัวเอง

กิจกรรม  Workshop “อาหารและหลักโภชนาการในการดูแลตัวเอง”

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม  2566 SAKID  ได้จัดกิจกรรม Workshop “อาหารและหลักโภชนาการในการดูแลตัวเอง” โดยนักกำหนดอาหารที่ให้ความรู้และความเข้าใจเรื่องการดูแลด้านอาหารการปรับใช้กับตัวเอง การอ่านผลเลือดเข้าใจแบบง่ายว่าเราต้องปรับพฤติกรรมด้านไหน รวมทริคสุขภาพดีด้วยการปรับมื้อนี้ให้สุขภาพมากขึ้น การตั้งเป้าหมาย Smart Goal ทำให้ได้จริง

อ่านต่อ »
WS-แยกไม่ยาก-SAKID

WORKSHOP แยกไม่ยาก

กิจกรรม  “จัดสวนขวด Terrarium”

เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 SAKID  ได้จัดกิจกรรม Workshop “จัดสวนขวด Terrarium”  ให้กับบริษัทเอสพี อินเตอร์แมค โดย Green Terra Station ภายในงานผู้เข้าร่วมได้จัดสวนขวดด้วยตนเอง ได้ทั้งความสนุก และความผ่อนคลาย พร้อมทั้งรับสวนขวดตามแบบฉบับของตนเองกลับไปอีกด้วย  

อ่านต่อ »

แจกแจง “กิจกรรม 5 ส มีอะไรบ้าง” เพื่อการทำงานในองค์กรที่ดียิ่งขึ้น

เพราะสภาพแวดล้อมในที่ทำงานก็เป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มศักยภาพของคนในองค์กร ยิ่งสภาพแวดล้อมดี คนทำงานก็สุขภาพดีไปด้วย ลองหันมาใช้แนวคิด 5 ส. กัน

อ่านต่อ »

โลกยุค VUCA เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว รับมือทางการเงินอย่างไรดี

ในโลกทุกวันนี้ ท่ามกลางความรวดเร็วในกระแสธารของการแข่งขันเพื่อพัฒนาและก้าวข้ามขีดจำกัดต่าง ๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ทดแทนแรงงานมนุษย์ ความก้าวหน้าทางการแพทย์และวิศวกรรมแขนงต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการสำรวจแหล่งทรัพยากรใหม่ ๆ นอกโลกใบนี้ ฯลฯ จึงทำให้เกิดความเป็นไปได้ของโลกในอนาคต ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ซับซ้อนยากเกินจะคาดเดาและคาดการณ์อย่างมั่นใจได้ว่า การใช้ชีวิตในอนาคตของเรานั้นจะเปลี่ยนไปจากปัจจุบันมากแค่ไหน

อ่านต่อ »
Smart Office

[เคล็ดลับ] สร้าง Smart Office ที่ดีเพื่อองค์กรของคุณ

ในยุคหลังโควิด เกิดการปรับตัวขององค์กรมากมาย หนึ่งในนั้นคือการปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็น Smart Office ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้คนทำงานมากขึ้น แนะนำเคล็ดลับ

อ่านต่อ »
Sakid thumbnail -carbon credit

Carbon Credit Claim การเคลมเครดิตคาร์บอน สำหรับองค์กร

การเคลมเครดิตคาร์บอน (Carbon Credit Claim) คือ กระบวนการที่ผู้ประกอบการหรือองค์กรต่าง ๆ ทำเพื่อขอรับเครดิตคาร์บอนจากกิจกรรมหรือโครงการที่มีผลในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หรือสารเคมีเกี่ยวข้องอื่น ๆ จากสภาพแวดล้อม เพื่อขายเครดิตให้กับผู้อื่นที่ต้องการใช้เครดิตคาร์บอนเหล่านั้นเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเอง หรือเพื่อการธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

อ่านต่อ »