PDCA ตัวช่วยพัฒนาองค์กร
- 17/01/24
เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อองค์กรอย่างมาก ที่มีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนา ช่วยให้มีกระบวนการการจัดการที่มีประสิทธิภาพและดำเนินการภายในองค์กรอย่างเป็นระบบ
PDCA (Plan-Do-Check-Act)
หรือชื่ออื่น ๆ เช่น Deming Cycle, Deming Wheel, Plan-Do-Study-Act (PDSA) เป็นกระบวนการที่ถูกพัฒนาโดยวิศวกรและนักวิชาการคุณภาพชื่อดังชาวอเมริกัน วิลเลียม เดมิง (William Edwards Deming) ซึ่งเป็นนักวิชาการทางสถิติและคุณภาพที่มีผลงานทางวิชาการที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพและการบริหาร
PDCA มีขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอนดังนี้
1.Plan (วางแผน) กำหนดเป้าหมายและวางแผนการดำเนินงาน เพื่อทำให้ผลลัพธ์ตรงตามเป้าหมาย
ก่อนจะแก้ไขปัญหาใด ๆ การวางแผนเป็นเรื่องสำคัญ ขั้นตอนแรกจึงเป็นเรื่องของการวางแผนนั่นเอง ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องคิดอย่างรอบคอบ วางแผนอย่างครอบคลุมตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการจนสิ้นสุด เช่น ปัญหาคืออะไร ใครเป็นคนรับผิดชอบ จะค้นหาข้อมูลและทดลองแก้ไขอย่างไร ไปจนถึงใช้ตัวชี้วัดใดในการประเมินผล จนกระทั่งปลายทางของขั้นตอนนี้ต้องออกมาเป็นแผนการดำเนินงานหรือ Action Plan ให้ได้
2.Do (ดำเนินการ) ทำตามแผนที่กำหนด เพื่อทดสอบและดำเนินการตามขั้นตอนที่วางไว้
หลังจากวางแผนอย่างรัดกุม ต่อมาจึงเป็นการลงมือทำ โดยอาจเริ่มต้นจากการดำเนินการกับทีมนำร่อง ในโปร-เจกต์เล็ก ๆ ก่อน เพื่อป้องกันความผิดพลาดหรือความเสียหาย และเมื่อลงมือทำก็จะต้องทำตามแผนดำเนินการอย่างรอบคอบ คอยสังเกตความเปลี่ยนแปลง หรือปัญหาใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ
3. Check (ตรวจสอบ) ตรวจสอบผลลัพธ์ และเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่วางไว้ เพื่อพบความไม่เป็นไปตามแผนหรือความผิดพลาด เมื่อปฏิบัติตามแผนมาเรื่อย ๆ ระหว่างทางการทำตามแผน จะต้องมีการตรวจสอบปัญหา หรือผลกระทบอย่างละเอียด สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามตัวชี้วัดหรือไม่ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด
4.Act (ปรับปรุง) กระทำเพื่อปรับปรุงกระบวนการ แก้ไขข้อผิดพลาด และนำเสนอการปรับปรุง หลังจากปฏิบัติตามแผนและตรวจสอบอย่างรัดกุม จนไม่พบปัญหาใด ๆ แล้ว จึงจะไปต่อกับขั้นปฏิบัติให้เป็นแบบแผนหรือเป็นนโยบาย โดยนำแผนนั้นมาประยุกต์ใช้กับคนส่วนใหญ่ในองค์กร อาจจะผ่านการอบรม อีเมล์แจ้งข่าว หรือการประชุมใหญ่ โดยขั้นตอนนี้ต้องการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อให้นโยบายได้ประสิทธิภาพจนเห็นการเปลี่ยนแปลง
สำหรับบริษัทหรือองค์กรที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มแก้ปัญหาหรือการกำหนดเป้าหมายทำตามแผนแล้วได้ผลไหมตัวแผนแนวคิด PDCA จะช่วยให้เห็นทิศทางที่ชัดเจนขึ้น มีการปรับปรุงและพัฒนาต่อไปได้เรื่อย ๆ
PDCA เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการจัดการและพัฒนาทุกระดับในองค์กร
-การใช้ PDCA ช่วยให้องค์กรมีการจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
-ลดความผิดพลาด, และสร้างโอกาสในการพัฒนาและปรับปรุงต่อไป
-วิธีนี้เป็นไปได้ในทุกภาคส่วนขององค์กรไม่ว่าจะเป็นการผลิต, บริการ, หรือกระบวนการทางบริหาร
การใช้ PDCA ในด้านสุขภาพ
บางครั้งทางบริษัทหรือองค์กรไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน การลองทำแผนPDCA สามารถช่วยให้เราเข้าใจในการจัดกิจกรรมให้ตรงจุดมากขึ้น ซึ่งได้มีการนำเอามาใช้เพื่อพัฒนาและดูแลสุขภาพของบุคคลหรือกลุ่มคน โดยตัวอย่างการใช้ PDCA ในด้านสุขภาพมีดังนี้
Plan (วางแผน)
– เป้าหมายสุขภาพ กำหนดเป้าหมายทางสุขภาพ เช่น ลดน้ำหนัก, ปรับท่าทางในการทำกิจกรรมทางกาย, หรือเพิ่มการกินผักผลไม้
– วางแผน วางแผนการทำกิจกรรมทางกายเช่น การเก็บสะสมก้าวเดินโดยใช้แอพ, นำกายบริหารยืดเหยียดร่างกายก่อนเข้างาน ,การตั้งเป้าหมายการกินผลไม้ 1 กำปั้นหลังอาหารเที่ยง
Do (ดำเนินการ)
– การดำเนินการตามแผน ทำตามแผนที่วางไว้ เช่น เริ่มเก็บสะสมก้าวเดินต่อวันโดยใช้แอพ ,การออกกำลังกาย, การปฏิบัติตามการกินอาหารที่วางไว้
Check (ตรวจสอบ)
–ติดตามและวัดผลลัพธ์ วัดผลการทำตามแผน เช่น ดูก้าวเดินสะสมในรายอาทิตย์หรือรายเดือน การชั่งน้ำหนัก, การวัดการทำกิจกรรมทางกาย, หรือการตรวจสอบสุขภาพทั่วไป เป็นต้น ฟังความคิดเห็นพนักงานเพิ่มเติมเพื่อนำมาพัฒนา
Act (ปรับปรุง)
– การปรับปรุง ปรับแผนตามผลลัพธ์ที่ได้ โดยเพิ่มหรือลดกิจกรรม, ปรับเป้าหมายการรับประทานอาหาร, ปรับการยืดหยุ่นเวลาเข้างานให้สอดคล้องกับเวลาออกกำลังกาย, เก็บรวบรวมความคิดเห็นพนักงานเพื่อแก้ปัญหาว่าผลลัพธ์ที่ได้เกิดจากตรงไหนบ้าง
– การติดตามและวัดผลลัพธ์ใหม่ วัดผลลัพธ์หลังการปรับปรุง เพื่อดูว่ามีการพัฒนาหรือไม่ ถ้าทำแล้วได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจแล้วสามารถทำต่อไปได้ แต่ถ้ายังไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้อาจจะต้องกลับมาดูปัญหาและปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นไปอีก
ตัวอย่างนี้อธิบายถึงการใช้ PDCA ในด้านสุขภาพของบุคคล หากมีการตั้งเป้าหมายในด้านสุขภาพ, การวางแผนการทำกิจกรรม, การดำเนินการ, การตรวจสอบผลลัพธ์, และการปรับปรุงตามผลลัพธ์ที่ได้ จะช่วยให้บุคคลหรือกลุ่มคนบรรลุเป้าหมายทางสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เห็นแบบนี้แล้วการจัดกิจกรรมสุขภาพก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากอีกต่อไป หรือจะให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอย่าง SAKID ช่วยออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับองค์กรคุณได้ โดยมีนักกำหนดอาหาร นักวิทยาศาสตร์การกีฬา นักจิตวิทยา นักกายภาพ ที่จะมาช่วยดูให้ครบทุกด้านตอบโจทย์ปัญหาเฉพาะสุขภาพพนักงาน
บทความที่น่าสนใจ
Workshop สร้างสรรค์ กิจกรรมสนุก ผ่อนคลาย
เริ่มต้นคลายเครียดจากการทำงาน มาผ่อนคลาย สนุก สร้างสรรค์ และพนักกงานมีส่วนร่วมทำWorkshopไปด้วยกัน กับกิจกรรม Workshop ทำอาหารสุขภาพ ที่ง่ายทำได้เองที่บ้าน สอนจัดสวนขวดตั้งบนโต๊ะทำงานเพิ่มพื้นที่สีเขียว ทำเทียนหอมกลิ่นที่ชอบไว้จุดที่บ้าน ฯลฯ มาแต่ตัวและรับของที่ตัวเองทำกลับบ้านได้ด้วย
เก็บออมหรือเพิ่มรายได้ จุดไหนเราควรจะโฟกัส
ในสถานการณ์ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์เมื่อปี 2565 ที่มีจำนวนผู้สูงอายุราวร้อยละ 20-30 และไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 28 ในปี 2574 จึงเป็นส่วนหนึ่งให้คนวัยทำงานเริ่มวางแผนทางการเงิน เพื่อให้พร้อมรับกับวัยเกษียณที่จะมาถึง ซึ่งมีทั้งเก็บออมเงินจากการทำงานในปัจจุบัน หรือเลือกที่จะหาช่องทางเพิ่มรายได้ แล้วแบบไหนที่ควรจะเลือกดี
ประเมินผลการทำงานอย่างไร ไม่ให้ลำบากใจ
ประเมินผลการทำงานอย่างไร ไม่ให้ลำบากใจ
เมื่อฤดูประเมินมาถึง…บอสหลายคนอาจรู้สึกว่าการต้องวิจารณ์หรือพูดถึงข้อดีข้อเสียต่อหน้าคนๆ นั้นตรงๆ…เป็นเรื่องน่าอึดอัด ส่วนในมุมมองของตัวผู้ถูกประเมินเอง เมื่อต้องมาฟังข้อเสียหรือเรื่องแย่ๆ ของตน…บางคนก็รู้สึกมีอารมณ์ ไม่ว่าจะผิดหวัง เศร้าเสียใจ หรือโกรธ นั่นทำให้พวกเขาพูดจาหรือแสดงท่าทีปกป้องตนเองในแบบต่างๆ แถมไม่ใช่แค่ตอนพูดคุยประเมินกันเท่านั้น หลังจากนั้นบางคนยังอาจแสดงความไม่พอใจหรือต่อต้านองค์กร ตั้งแต่มาทำงานสาย หยุดงาน จนไปถึงแสดงความก้าวร้าว พลอยทำให้องค์กรและผู้ร่วมงานอึดอัดและเสียหายไปด้วย…เป็นเรื่องน่าลำบากใจใช่ไหม
“Burnout” องค์กรควรทำอย่างไรเมื่อพนักงานหมดไฟ
Burnout สำคัญแค่ไหน รู้หรือไม่ว่านี่คือปัญหาที่บริษัททั่วโลกกำลังพบเจอมากขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน เราควรรับมือมันอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
How to วางงบจัดกิจกรรม บริษัท องค์กร ให้คุ้มค่าและได้ผลลัพธ์สุดปัง
ในปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญการดูแลด้าน Well-being หรือสุขภาวะที่ดีของพนักงาน เพราะเล็งเห็นว่าพนักงานเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร ในการดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร หากพนักงานมีความสุขก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน และมีความผูกพันต่อองค์กร แต่ทราบหรือไม่ว่านอกจากนี้ยังสามารถขอรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้องได้หลายมาตรฐาน ซึ่งทำให้มั่นใจว่ากิจกรรมด้าน Well-being ที่จัดให้พนักงานมีความครบถ้วนหรือไม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และหากองค์กรได้รับรางวัลมาตรฐานเหล่านี้ ยังเป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่องค์กร สร้างภาพลักษณ์ต่อผู้เกี่ยวข้องทั้งพนักงาน ลูกค้า และบุคคลภายนอกในการเป็นองค์ที่มีความใส่ใจพนักงาน
Workshop สายโรงงาน
Workshop สายโรงงาน พนักงานโรงงานมีข้อจำกัดหลายๆอย่างในการปฎิบัติหน้าที่ การให้ความรู้ที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญเป็นสิ่งสำคัญในการนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานได้