
ประเมินผลการทำงานอย่างไร ไม่ให้ลำบากใจ
- 27/09/23
ประเมินผลการทำงานอย่างไร ไม่ให้ลำบากใจ
เมื่อฤดูประเมินมาถึง…บอสหลายคนอาจรู้สึกว่าการต้องวิจารณ์หรือพูดถึงข้อดีข้อเสียต่อหน้าคนๆ นั้นตรงๆ…เป็นเรื่องน่าอึดอัด ส่วนในมุมมองของตัวผู้ถูกประเมินเอง เมื่อต้องมาฟังข้อเสียหรือเรื่องแย่ๆ ของตน…บางคนก็รู้สึกมีอารมณ์ ไม่ว่าจะผิดหวัง เศร้าเสียใจ หรือโกรธ นั่นทำให้พวกเขาพูดจาหรือแสดงท่าทีปกป้องตนเองในแบบต่างๆ แถมไม่ใช่แค่ตอนพูดคุยประเมินกันเท่านั้น หลังจากนั้นบางคนยังอาจแสดงความไม่พอใจหรือต่อต้านองค์กร ตั้งแต่มาทำงานสาย หยุดงาน จนไปถึงแสดงความก้าวร้าว พลอยทำให้องค์กรและผู้ร่วมงานอึดอัดและเสียหายไปด้วย…เป็นเรื่องน่าลำบากใจใช่ไหม
ใคร ๆ ก็อยากเป็นคนที่ถูกรัก
เวอร์จิเนีย ซาเทียร์นักจิตบำบัดได้เขียนไว้ว่า ‘Anyone who is loved, is open to change. – ใครที่รู้สึกว่าถูกรัก ย่อมยอมที่จะเปลี่ยนแปลง’ อย่างนั้นทำไมเราไม่ทำการประเมินให้เป็นการพูดคุยที่องค์กรจะสื่อถึงความใส่ใจ ความเชื่อใจ และความเคารพในตัวพนักงานล่ะ ทำให้เขารู้สึกเป็นส่วนสำคัญขององค์กร ฟังดูง่าย แต่จะเริ่มอย่างไรดี
Feedback อย่างไร ให้ได้ผล
รูปแบบการประเมินที่ยุติธรรมเน้นเป้าหมายและความรับผิดชอบของบทบาทหน้าที่พนักงานเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการสื่อสาร เพราะเป็นบรรทัดฐานที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายรู้ว่าจะไปทางไหน จากนั้นทำให้การประเมินไม่ใช่เรื่องของการตัดสินหรือพิพากษา แต่เป็นขบวนการที่เปิดโอกาสให้ทั้งพนักงานและองค์กรพูดคุยกันเพื่อหาทางร่วมกันในการพัฒนาทั้งตัวพนักงานและองค์กรไปในทางที่ดีขึ้น โดยแนวทางการประเมิน มีดังนี้
1.จัดให้มีการประเมินกันทุกเดือน ทุกสองเดือน หรือทุกสามเดือน (แล้วแต่ขนาดและความสะดวกขององค์กร) เพื่อให้ทั้งฝ่ายองค์กรและพนักงานได้เห็นและแสดงความคิดเห็นเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายจะได้ทราบสถานะอยู่เสมอ
2.ควรจัดบรรยากาศองค์กรให้แต่ละฝ่ายสามารถพูดถึงผลงานของผู้อื่นอย่างชื่นชม และแสดงความเห็นอกเห็นใจฝ่ายต่างๆ ที่ต้องทำงานล่วงเวลาหรือเสียสละในทางใดทางหนึ่ง การสร้างบรรยากาศนี้อาจง่ายขึ้นหากมาจากผู้บริหารในองค์กรหรือฝ่ายบุคคลเป็นผู้เริ่ม อาจเป็นการส่งจดหมายเวียน อีเมล์หรือมีบอร์ดแสดงความชื่นชมในผลงานหรือความเสียสละของพนักงาน
3.การประเมินนั้นอาจมีการสลับให้พนักงานประเมินตนเองด้วย หรือในองค์กรที่มีวุฒิภาวะสูง เป็นไปได้มากที่จะให้พนักงานเป็นฝ่ายประเมินตนเอง เพื่อให้เขาตระหนักรู้ว่าเขาได้ไปในทิศทางเดียวกันกับองค์กรหรือยัง และมีจุดไหนที่เขาสามารถพัฒนาต่อไปได้อีกหรือจุดไหนที่เขาต้องการความช่วยเหลือ จากนั้นองค์กรก็มีหน้าที่สนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อช่วยในการพัฒนาของแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรมเพิ่มเติม การมอบหมายงานที่ท้าทายความสามารถและให้โอกาสกับบุคลากรของตนในด้านต่างๆ
การสร้างบรรยากาศในการเปิดใจก็สำคัญ
การพูดจาในระหว่างประเมินจึงเป็นเรื่องสำคัญ และทั้งสองต้องเข้าใจว่าไม่ควรนำเรื่องที่พูดคุยกันส่วนตัวนี้ไปเปิดเผย ผู้ประเมินจะต้องสื่อถึงความใส่ใจและเชื่อใจในตัวพนักงาน อาจเริ่มต้นด้วยการกล่าวขอบคุณความพยายามต่างๆ ของผู้ถูกประเมินในงานที่เขาทำอยู่ ในการประเมินผู้ประเมินควรเป็นผู้ฟังมากกว่าผู้พูด เข้าใจที่จะถามคำถามเพื่อให้อีกฝ่ายบอกเล่าเรื่องราวและความรู้สึก และคอยจับประเด็นเพื่อสะท้อนหรือสรุปความรู้สึกนึกคิดของผู้ถูกประเมินเพื่อให้เขารู้สึกว่าผู้ประเมินฟังและจดจำเรื่องราวของเขาอยู่ สุดท้ายร่วมกับผู้ถูกประเมินมองหาหนทางที่จะพัฒนาตนเองเพื่อโอกาสของตัวเขาเอง
เราจำเป็นต้องพัฒนาการประเมินให้เป็นขบวนการที่สร้างสรรค์ เป็นพื้นที่ที่องค์กรจะได้ชื่นชมพนักงานและขอบคุณสำหรับการทำงานให้อย่างต่อเนื่อง ใช้การพูดคุยที่เป็นส่วนตัวนี้ให้พนักงานได้บอกเล่าสิ่งที่เขายังอยากจะทำหรือความคับข้องใจที่เกิดขึ้น ทำให้องค์กรสามารถเข้าไปสนับสนุนและช่วยเหลือได้ทันท่วงที ขบวนการที่ชัดเจนจะทำให้พนักงานเข้าใจความจริงใจและความใส่ใจขององค์กร จะนำมาซึ่งพัฒนาการที่ดีของทั้งตัวพนักงานเองและบริษัท หรือหากไม่รู้จะเริ่มสร้างบรรยากาศ positive feedback อย่างไร ก็ให้ Sakid ช่วยจัดกิจกรรม workshop ได้ จากนักจิตวิทยาผู้มากประสบการณ์
บทความที่น่าสนใจ

บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตสมุทรปราการ
บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตสมุทรปราการ
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 Sakid ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดให้กับการไฟฟ้านครหลวง เขตสมุทรปราการ ในกิจกรรม Fun for Fit เพื่อแนะนำการเข้าร่วมโครงการ “MEA เบิร์นเกินร้อย” เปิดศึกการแข่งกันระหว่างทีมเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี ด้วยการส่งภารกิจสุขภาพผ่านแอพสะกิด และลุ้นรับของรางวัลในแต่ละเดือน

[Case Study] ตัวอย่างสวัสดิการพนักงานจากทั่วโลก
เพราะ ‘คนทำงาน’ เป็นสิ่งที่องค์กรควรลงทุนมากที่สุด และการลงทุนนั้นก็คือสวัสดิการที่จะช่วยให้พนักงานมีชีวิตที่ดีได้ ชวนไปสำรวจตัวอย่างสวัสดิการพนักงานจากทั่วโลกกัน

Happinometer เครื่องมือวัดความสุขได้ง่าย ๆ ด้วยตัวคุณเอง
หลายต่อหลายครั้งที่เราทำงานไปเรื่อย ๆ แล้วเกิดความเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว ชวนมาทำแบบประเมินวัดความสุขกับ Happinometer กัน โดยแบบประเมินนี้เหมาะกับคนทำงาน

บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตยานนาวา
กิจกรรม “Healthy Workshop”
เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2566 Sakid ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดให้กับการไฟฟ้านครหลวง เขตยานนาวา ในกิจกรรม Fun for Fit เพื่อแนะนำการเข้าร่วมโครงการ “MEA เบิร์นเกินร้อย” เปิดศึกการแข่งกันระหว่างทีมเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี ด้วยการส่งภารกิจสุขภาพผ่านแอพสะกิด ภายในงานได้รับความสนใจจากพนักงานเป็นจำนวนมาก

จัดการอย่างไร ให้ห่างไกล ความเครียด
หากเราพูดถึงคำว่า “ความเครียด” เรานั้นมักจะนึกถึง และบรรยายความรู้สึกว่าเหมือนถูก “บีบคั้น กดดัน อึดอัด” ทำให้เราใช้ชีวิตได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร โดยที่ความเครียดนั้นจะเป็นภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อเราต้องเจอกับสถานการณ์ที่รับมือได้ยาก หรือถูกกดดันจากปัจจัยภายนอก จนทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ หรือวิตกกังวลขึ้นมาได้

Productivity พื้นฐานของการพัฒนาองค์กรอย่างมีคุณภาพ
ความหมายของ Productivity คืออะไร และแนวทางการเพิ่ม “ผลิตภาพ” ในองค์กร โดยที่ไม่ทำร้ายพนักงาน จากปัจจัยต่าง ๆ ที่บริษัทและพนักงานสามารถช่วยกันสร้างได้