
EAP คือ ? รู้จักกับเครื่องมือสำคัญในการช่วยเหลือสุขภาพใจพนักงานให้ดียิ่งขึ้น
- 13/09/22
อิทธิพลจากความเครียดนั้นสร้างภาระให้แก่สุขภาพจิตของพนักงานเป็นอย่างมาก ทั้งความเครียดจากในที่ทำงาน และความเครียดจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ จนกลายเป็นบ่อเกิดของประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง การมีเครื่องที่สามารถช่วยเหลือสุขภาพจิตให้กับพนักงานได้อย่าง EAP จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้บริหารต้องตระหนัก แต่ EAP คืออะไรกันล่ะ ? เรามาหาคำตอบกัน
ทำความรู้จักกับ EAP โปรแกรมช่วยเหลือพนักงานที่สำคัญยิ่งในยุคปัจจุบัน
Employee Assistance Program หรือ EAP คือ โปรแกรมให้คำปรึกษาแก่พนักงาน ที่ออกแบบมาเพื่อการดูแลด้านสุขภาพจิตใจแก่พนักงานภายในองค์กร โดยใช้นักจิตวิทยาให้คำปรึกษามืออาชีพมาคอยกำกับดูแล ตัวโปรแกรมนี้มีหลายรูปแบบ ที่ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมตามความต้องการขององค์กร หรือบริษัทแต่ละแห่ง ซึ่งในแต่ละรูปแบบนั้นจะมีบริการทั้งภายในและภายนอกบริษัท ขึ้นอยู่กับผู้ใช้บริการว่าอยากจะเลือกใช้แบบใด
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ EAP คืออะไรบ้าง
จะใช้ EAP เมื่อใด
ควรใช้ EAP ตั้งแต่ต้น เพราะองค์กรนั้น ไม่ควรปล่อยให้ความเป็นไปได้ในการแก้ไขความขัดแย้งในระยะแรกหลุดมือไป ซึ่งจะช่วยลดสถานการณ์ที่ตึงเครียดของพนักงาน และเพิ่มประสิทธิภาพกับความพึงพอใจให้กับพวกเขาได้ ในขณะเดียวกัน ต้นทุนการดําเนินงานอย่างต้นทุนการหยุดทํางาน ฯลฯ ก็จะลดลงไปด้วย
เพราะ EAP มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันสุขภาพ และเริ่มต้นการจัดการก่อนที่จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ความต้องการหรือปัญหาที่มากเกินไปนําไปสู่ความเครียดทางจิตใจ และทําให้เกิดต้นทุนการหยุดทํางานสําหรับองค์กร
นอกจากนั้น EAP ยังมีประสิทธิภาพในวิกฤติ และกรณีเฉียบพลัน ซึ่งจะช่วยทำให้พนักงานได้รับการสนับสนุนอย่างรวดเร็ว และบรรเทาได้อย่างทันท่วงที
EAP ช่วยใครได้บ้าง
EAP จะเข้ามาช่วยดูแลในด้านสุขภาพจิตใจให้แก่พนักงานในองค์กร ทั้งยังมีการส่งเสริมแนวคิดเชิงป้องกันและยกระดับสภาพการทำงานของพวกเขา รวมไปถึงสร้างความพึงพอใจให้แก่พนักงานในระยะยาว ซึ่งจะช่วยปรับคุณภาพการทำงานให้เหมาะสม และลดอัตราการขาดงานลงได้อีกด้วย
ใครสามารถใช้ EAP ได้บ้าง
ทุก ๆ คนสามารถใช้งาน EAP ได้ไม่ว่าจะเป็นใครในองค์กร เพื่อส่งเสริมสุขภาพในสถานที่ทํางาน และการขอคำแนะนำเองก็ยังเป็นความลับที่นอกจากตัวพนักงานแล้ว ก็จะไม่มีใครทราบเรื่อง แม้ว่าจะเป็นหัวหน้างานก็ตาม
EAP เป็นความลับแค่ไหน
เนื่องจากหัวหน้างานไม่ทราบว่าพนักงานมาปรึกษาหรือไม่ และปรึกษาในหัวข้อใด EAP จึงได้รับการยอมรับว่ามีการรักษาความลับให้แก่พนักงานที่มาปรึกษาได้เป็นอย่างดี และการรายงานผลการดําเนินงานจะเป็นแค่ข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรเห็นภาพรวมของมาตรการที่ใช้ และสามารถระบุพื้นที่ที่มีปัญหาภายในองค์กรได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
ลักษณะการให้บริการของ EAP ณ ปัจจุบัน
1. Internal EAP
คือ ลักษณะของบริการ EAP ที่จัดตั้งขึ้นโดยองค์กร ผู้ให้บริการจะเป็นพนักงานประจำขององค์กรที่จ้างมาทำหน้าที่ดังกล่าวเป็นการเฉพาะ ซึ่งการจัดตั้งหน่วยงานหรือแผนกที่ให้บริการ EAP ขึ้นมาในองค์กรเองในลักษณะนี้ นิยมทำในองค์กรขนาดใหญ่ หรือองค์กรที่มีลักษณะเป็นเครือข่ายธุรกิจ ที่มีพนักงานภายในองค์กรเป็นจำนวนมาก หรือองค์กรของภาครัฐ
ข้อเสียของการจัดบริการ EAP ในรูปแบบนี้คือมีความยุ่งยาก และมักมีค่าใช้จ่ายตั้งต้นที่สูง เนื่องจากต้องจ้างพนักงานประจำที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยามาให้บริการ แต่มีข้อดี คือ ผู้ให้บริการก็มักจะมีความเข้าอกเข้าใจคนทำงานได้อย่างดี เนื่องจากเป็นพนักงานภายในองค์กรเช่นเดียวกัน
ทำให้จะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อทำในองค์กรที่มีพนักงานจำนวนมาก รวมถึงมีการเก็บข้อมูลการใช้บริการที่ครบถ้วนไม่สูญหาย และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดี เนื่องจากรู้ปัญหาสภาพภายในองค์กรเป็นอย่างดี
และสำหรับองค์กรที่มีสหภาพแรงงาน บางครั้งการจัดบริการ EAP จะเป็นโครงการร่วมระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายสหภาพ เพื่อหวังให้เป็นความร่วมใจกันระหว่างทั้งสองฝ่าย และเพื่อให้ทางสหภาพช่วยกระตุ้นให้คนทำงานที่มีปัญหามาเข้าใช้บริการ EAP อีกด้วย
2. External EAP
เป็นบริการ EAP อีกรูปแบบหนึ่งที่พบได้ทั่วไป คือ จะเป็นการให้บริการโดยผู้ให้บริการจากภายนอก (Outsourcing service provider) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยา และส่วนใหญ่เป็นผู้ให้บริการเอกชน โดยอาจจะอยู่ในรูปแบบผู้เชี่ยวชาญอิสระ บริษัท หรือสถานพยาบาลก็ได้
ผู้ให้บริการจะเข้ามาให้คำปรึกษาภายในองค์กรหรือภายนอกองค์กร หรือให้คำปรึกษาผ่านทางโทรศัพท์เป็นครั้ง ๆ ไป ยังรวมไปถึงการให้บริการแบบออนไลน์ ทั้งในแบบแอปพลิเคชัน, เว็บไซต์ หรือช่องทางการติดต่อทางออนไลน์อื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้จะสามารถให้การบริการกับองค์กรหลาย ๆ แห่งร่วมกันได้ ทำให้มีแนวโน้มที่ค่าใช้จ่ายในการจัดบริการจะถูกลงกว่าการจัดตั้งบริการ EAP ขึ้นมาเองภายในตัวองค์กร
บริการ EAP ที่มีรูปแบบเป็นผู้ให้บริการจากภายนอกนี้ จึงเหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีงบประมาณไม่มากนัก หรือองค์กรขนาดใหญ่ที่ไม่อยากรับภาระ หรือไม่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการหน่วยงานทางด้านสุขภาพ และจิตวิทยา
ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการรับบริการแบบผู้ให้บริการจากภายนอก คือ หากไม่พอใจสามารถเปลี่ยนผู้ให้บริการได้ง่าย เนื่องจากมักเป็นการทำสัญญาระหว่างองค์กรกับผู้ให้บริการในระยะสั้น เช่น ต่อสัญญารายปี หรือทุก 2-3 ปี นั่นเอง
ถ้าต้องการนำ EAP ไปใช้ในองค์กร จะต้องทำยังไงบ้าง
1. ตั้งคณะกรรมการ EAP
องค์กรจะต้องทำการจัดตั้งคณะกรรมการ EAP ขึ้นมา เพื่อทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ EAP ตั้งแต่ EAP คืออะไร จุดประสงค์ของการนำ EAP เข้ามาใช้ภายในองค์กร, ข้อมูลของผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง, ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการนำ EAP เข้ามาใช้ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน
2. กำหนดรูปแบบ EAP ที่เหมาะสมสำหรับองค์กร
หลังจากที่คณะกรรมการ EAP ศึกษาเกี่ยวกับตัวโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการ EAP จะต้องกำหนดรูปแบบของ EAP ที่จะนำมาใช้ในองค์กรของตน ตามความเหมาะสมกับวัฒนธรรมภายในองค์กร
3. สร้างนโยบาย EAP
เมื่อกำหนดรูปแบบของ EAP เสร็จสิ้น ก็จำเป็นที่จะต้องสร้างนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ EAP ให้กับพนักงานอย่างครอบคลุม เพื่อที่จะไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังจากการที่ตัวนโยบายเหล่านั้นไม่รองรับ
4. จ้างผู้รับเหมาหรือผู้เชี่ยวชาญ EAP
การหาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโปรแกรม EAP ถือเป็นเรื่องสำคัญหลังจากที่วางโครงสร้างต่าง ๆ เบื้องต้นเสร็จสิ้น จำเป็นจะต้องพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัยว่าผู้เชี่ยวชาญหรือ Outsource ที่จะเลือกมาใช้บริการนั้นเหมาะสมกับรูปแบบ EAP ที่องค์กรต้องการหรือไม่อย่างไร
5. ประกาศ EAP ให้กับพนักงานภายในองค์กร
หลังจากที่เตรียมการทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว จำเป็นจะต้องประกาศเกี่ยวกับ EAP ให้กับพนักงานทุกคนในองค์กรได้รับทราบ เพื่อที่จะให้พนักงานเหล่านั้นเข้าใจเกี่ยวกับความจำเป็นของ EAP และเข้าร่วมโปรแกรมดังกล่าวที่ทางอค์กรจัดทำขึ้น
6. เทรน HR เกี่ยวกับ EAP
เนื่องจากไม่ใช่พนักงานทุกคนที่จะรู้ว่าตนเองจำเป็นจะต้องใช้ EAP หรือไม่ HR จึงจำเป็นจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการกระตุ้นพวกเขาเหล่านั้นให้เข้าใจถึงความจำเป็นและความสำคัญของโปรแกรมดังกล่าว ฉะนั้น การเทรนด์ให้ HR เข้าใจและมองเห็นว่าใครที่จำเป็นจะต้องใช้ EAP จึงเป็นเรื่องสำคัญ
7. ตรวจสอบความคืบหน้าของผลลัพธ์การใช้ EAP ในองค์กรอย่างต่อเนื่อง
เมื่อเริ่มใช้งาน EAP ฝ่ายบริหารและ HR จำเป็นจะต้องติดตามผลัพธ์ของพนักงานหลังเริ่มใช้ EAP เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูแนวโน้มประสิทธิภาพการทำงาน และผลผลิตที่เปลี่ยนไปหลังจากใช้งาน EAP กับพนักงานภายในองค์กร
สรุป
ปัญหาสุขภาพจิตของพนักงาน คืออีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารในองค์กรไม่ควรมองข้าม เพราะมันคือปัญหาหลักที่จะทำให้ผลผลิตขององค์กรลดประสิทธิภาพลง การนำ EAP เข้ามาใช้ภายในองค์กรจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งจำเป็นที่จะช่วยป้องกันสิ่งเหล่านั้นไปได้ในอีกหนึ่งทาง เพราะ EAP คือ เครื่องมือสำคัญในการช่วยเหลือสุขภาพจิตพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ
เหมือนกับแอปพลิเคชัน SAKID ของเรา ที่เป็นนวัตกรรมดูแลสุขภาพพนักงานแบบองค์รวมครอบคลุม 4 มิติ ได้แก่ อาหาร, ออกกำลังกาย, อารมณ์ และสังคม ที่ครบครันทุกส่วนสำคัญสำหรับดูแลพนักงานในองค์กร ซึ่งช่วยลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับพนักงาน ที่เป็นหนึ่งในส่วนสำคัญขององค์กรได้เป็นอย่างอย่างมากนั่นเอง
บทความที่น่าสนใจ

Workshop สายโรงงาน
Workshop สายโรงงาน พนักงานโรงงานมีข้อจำกัดหลายๆอย่างในการปฎิบัติหน้าที่ การให้ความรู้ที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญเป็นสิ่งสำคัญในการนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานได้

บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตคลองเตย
กิจกรรม “Healthy Workshop”
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 Sakid ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดให้กับการไฟฟ้านครหลวง เขตคลองเตย ในกิจกรรม Fun for Fit เพื่อแนะนำการเข้าร่วมโครงการ “MEA เบิร์นเกินร้อย” เปิดศึกการแข่งกันระหว่างทีมเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี ด้วยการส่งภารกิจสุขภาพผ่านแอพสะกิด ภายในงานได้รับความสนใจจากพนักงานเป็นจำนวนมาก

EAP คือ ? รู้จักกับเครื่องมือสำคัญในการช่วยเหลือสุขภาพใจพนักงานให้ดียิ่งขึ้น
ปัญหาสุขภาพจิตของพนักงานเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่องค์กรไม่ควรมองข้าม เครื่องมือสำหรับช่วยเหลือในปัญหาสุขภาพจิตอย่าง EAP จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะมีไว้ในองค์กร

เพิ่มสุขภาพที่ดีในบริษัทด้วย “กิจกรรมลดน้ำหนักพนักงาน”
แนะนำ 5 แนวทางจัดกิจกรรมพนักงานลดน้ำหนัก ในบริษัท ที่เน้นสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้กับพนักงาน ตัวชี้วัดผลที่น่าใช้ เครื่องมือติดตามผล พร้อมตัวอย่างกิจกรรม

บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตบางเขน
บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตบางเขน
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2566 Sakid ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดให้กับการไฟฟ้านครหลวง เขตบางเขน ในกิจกรรม Fun for Fit เพื่อแนะนำการเข้าร่วมโครงการ “MEA เบิร์นเกินร้อย” เปิดศึกการแข่งกันระหว่างทีมเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี ด้วยการส่งภารกิจสุขภาพผ่านแอพสะกิด และลุ้นรับของรางวัลในแต่ละเดือน

WORKSHOP คิมบับสุขภาพ
กิจกรรม “Cooking class คิมบับสุขภาพ”
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 SAKID ได้จัดกิจกรรม Workshop “Cooking class คิมบับสุขภาพ” โดยคุณอรนันท์ เสถียรสถิตกุล นักกำหนดอาหารวิชาชีพ และอดีตเจ้าของ D-Diet อาหารสุขภาพสาธิตเมนูอาหารสไตล์เกาหลี “คิมบับ”พร้อมได้เรียนรู้ส่วนประกอบการทำคิมับทางด้านประโยชน์และสารอาหาร รวมทั้งลงมือลองทำคิมบับเมนูสุขภาพด้วยตัวเอง