URL Copied!

Performance Management คืออะไร ทำไมองค์กรควรให้ความสำคัญ

ในปัจจุบัน การวัดผลการปฏิบัติงาน หรือ Performance Measurement อาจไม่เพียงพออีกต่อไป โดยเฉพาะกับองค์กรที่มีขนาดใหญ่ทั้งหลายที่การสื่อสารต่าง ๆ จากฝ่ายบริหารไม่ได้ครอบคลุมไปในทุกภาคส่วน การสร้างระบบที่สามารถทำหน้าที่ควบคุม หรือชี้แนะให้พนักงานทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น หรือนั่นก็คือ Performance Management นั่นเอง

 

Performance Management คืออะไร

 

การบริหารผลการปฏิบัติงาน หรือ Performance Management คือ เครื่องมือสำหรับการวางแผนร่วมกันภายในทีมเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานของพวกเขา รวมถึงเป็นการกำหนดเป้าหมาย, การวัดผล และความคาดหวังเกี่ยวกับมาตรฐานในการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของทีมหรือองค์กร

 

Performance Management ที่ดี ควรมีอะไรบ้าง

 

 

1. การตั้งเป้าหมาย (Goal Setting)

 

เป็นการตกลงและวางจุดประสงค์ภายในระยะเวลาที่กำหนดกันเอาไว้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยจะสามารถวัดได้ด้วยเกณฑ์ที่กำหนดร่วมกัน ซึ่งพนักงานแต่ละคนจะมีเป้าหมายที่เหมือนหรือต่างกันก็ได้ แต่ควรจะต้องสอดคล้องไปกับเป้าหมายของทีมและบริษัท

 

ตัวอย่างรูปแบบของเป้าหมายที่มักพบเห็นได้บ่อยในองค์กรต่าง ๆ

 

– Job Description Goals : เป้าหมายตามหน้าที่, ขอบเขตหลัก และตำแหน่งของพนักงาน

 

– Project Goals : เป้าหมายที่ตั้งขึ้นตามแต่ละโปรเจค ซึ่งอาจเปลี่ยนไปในทุก ๆ ไตรมาส, ครึ่งปี หรือหนึ่งปี

 

– Behavioral Goals : เป้าหมายที่ตั้งขึ้นเกี่ยวกับพฤติกรรม หรือวิธีการที่จะทำให้เป้าหมายสำเร็จผล โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับเป้าหมายที่ต้องการความต่อเนื่องในระยะยาว เช่น การสร้างวัฒนธรรมในองค์กร เป็นต้น

 

– Stretch Goals : เป้าหมายที่ตั้งขึ้นเพื่อให้เกิดความท้าทายต่อตัวพนักงานเอง เป็นการขยายความรับผิดชอบ, เพิ่มเติมความรู้, ทักษะ และความชำนาญ ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร

 

2. การวัดความคืบหน้าของการปฏิบัติงาน (Performance Monitoring)

 

เป็นการวัดความคืบหน้าและผลลัพธ์เป็นระยะ ๆ อย่างสม่ำเสมอหลังจากที่ตั้งเป้าหมายเรียบร้อยแล้ว ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญเป็นอย่างมากในการทบทวนถึงเป้าหมาย และวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายในระยะยาว

 

ตัวอย่างหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการวัดความคืบหน้าของการปฏิบัติงาน

 

– การให้ Feedback อย่างมีประสิทธิภาพและสม่ำเสมอ เพื่อให้พนักงานรู้ถึงสิ่งที่ทำได้ดี และสิ่งที่ยังสามารถพัฒนาขึ้นไปได้อีก รวมถึงความคาดหวังของหัวหน้างานว่า อยากให้พัฒนาไปอย่างไร

 

– การทำ Coaching กับพนักงาน หรือการทำ OJT (On-the-Job Training) เพื่อสอนงานในส่วนที่พนักงานยังมีประสบการณ์น้อย หรือยังทำได้ไม่ดีนัก

 

– การพิจารณาและทบทวนถึงความเป็นไปได้ของเป้าหมาย รวมถึงทรัพยากรที่ต้องใช้ในการดำเนินงานอย่างเหมาะสม

 

3. การทบทวนผลการปฏิบัติงาน (Performance Review)

 

เป็นการตรวจวัดผลลัพธ์ของเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ตามระยะเวลาที่กำหนด องค์กรอาจกำหนดความถี่ของการประชุม Performance Review หรือ Appraisal Meeting ทุก ๆ เดือน, ไตรมาส, ครึ่งปี หรือหนึ่งปี ตามแต่ความเหมาะสมของแต่ละธุรกิจ

 

ซึ่งนอกจากจะช่วยให้หัวหน้างานตรวจสอบประสิทธิภาพในการทำงาน และผลลัพธ์ของพนักงานแต่ละคนได้แล้ว ขั้นตอนนี้ยังสามารถสะท้อนจุดแข็งและจุดอ่อนของพนักงานแต่ละคน เพื่อวางแผนในการพัฒนาได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย

 

ตัวอย่างหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการทบทวนผลการปฏิบัติงาน

 

– การรับฟังอย่างเปิดใจ (Active Listening) เปิดโอกาสให้พนักงานพูดและอธิบายถึงผลลัพธ์ของเป้าหมาย รวมถึงสอบถามถึงอุปสรรคในระหว่างการปฏิบัติงาน

 

– การให้ Feedback อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสิ่งที่หัวหน้างานสังเกตเห็นว่า เป็นจุดแข็งของพนักงาน และความคาดหวังอย่างละเอียด ถึงสิ่งที่อยากจะให้พนักงานพัฒนา หรือทำให้ดียิ่งขึ้น โดยอาจเสนอเป็นการฝึกอบรมถึงหัวข้อที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต

 

– วางแผนถึงการพัฒนาและขจัดอุปสรรคให้ได้มากที่สุด โดยการตกลงร่วมกันถึงวิธีการในการปฏิบัติในอนาคตให้ดียิ่งขึ้น และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 

 

ความแตกต่างระหว่าง Performance Measurement และ Performance Management คือ

 

การบริหารผลการปฏิบัติงาน หรือ Performance Management คือแนวคิดที่ค่อนข้างใหม่ในหมู่ HR และผู้บริหาร จึงมักเกิดคำถามขึ้นมาว่า Performance Measurement (การวัดผลการปฏิบัติงาน) ที่เป็นแนวคิดเดิมนั้น มีความแตกต่างจาก Performance Management (การบริหารผลการปฏิบัติงาน) อย่างไรกันแน่ เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น จึงจะเทียบกันเป็นตาราง ดังนี้

Performance Measurement (การวัดผลการปฏิบัติงาน) Performance Management (การบริหารผลการปฏิบัติงาน)
1.ไม่มีการกำหนดเป้าหมายในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน
1.กำหนดเป้าหมายการปฏิบัติงาน ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายขององค์กรอย่างชัดเจน
2.เป็นกระบวนการประเมินผลงานที่มองจากปัจจุบันย้อนไปสู่อดีต เน้นหาข้อบกพร่องมากกว่าข้อดี
2.เป็นกระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงานที่มองไปใน อนาคต เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานของ พนักงานให้บรรลุเป้าหมาย
3.เป็นระบบที่พนักงานปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาฝ่ายเดียว
3.เป็นการร่วมมือกันปฏิบัติงาน
4.บทบาทของผู้บังคับบัญชาจะทำหน้าที่เป็นเหมือน "ผู้พิพากษา"
4.บทบาทของผู้บังคับบัญชาจะทำหน้าที่เป็นเหมือน "ผู้ฝึกสอน"
5.การประเมินผลการปฏิบัติงานในภาคปฏิบัติจะทำเป็นครั้งคราว
5.การบริหารผลการปฏิบัติงานจะกระทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
6.การประเมินผลการปฏิบัติงานจะก่อให้เกิดบรรยากาศที่เครียดเกิดข้อโต้แย้ง ไม่ส่งเสริมบรรยากาศการทำงานเป็นทีม
6.การบริหารผลการปฏิบัติงานจะสร้างบรรยากาศแห่งความร่วมมือ การมีส่วนร่วม ส่งเสริมบรรยากาศการทำงานเป็นทีม
7.นำผลลัพท์จากการประเมินผลการปฏิบัติงานไปประยุกต์ใช้เฉพาะกิจกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์
7.การบริหารผลการปฏิบัติงานมีประโยชน์ต่อการบริหารองค์กรหลายหลาก กว้างขวาง เช่นการบริหารกลยุทธ์การสร้างค่านิยม และวัฒนธรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น

 

ทำไมองค์กรยุคใหม่ ควรให้ความสำคัญกับ Performance Management

 

 

สาเหตุที่องค์กรยุคใหม่ ควรให้ความสำคัญกับ Performance Management คือ นั่นเป็นเพราะว่า การบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) อย่างครบวงจรในทุกปัจจัยนั้นจะนำไปสู่ผลปฏิบัติงานของพนักงานภายในองค์กรที่ดี ทั้งต่อองค์กรในระยะสั้น และระยะยาว เช่น

 

– การวางแผนปฏิบัติงานให้ตรงกับทิศทางที่ถูกกำหนดมาโดยฝ่ายบริหาร

 

– การติดตามผลและแก้ไขในข้อผิดพลาด หรือจุดติดขัดต่าง ๆ

 

– การประเมินผลงานและพัฒนาตัวผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กร

 

– การวัดความสำเร็จของตัวผลงานเทียบกับเป้าหมายที่วางไว้

 

– การมอบรางวัล ค่าตอบแทนต่าง ๆ หลังจากที่ผ่านการประเมินผล

 

สรุป

 

 

Performance Management นอกจากจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถบริหารผลการปฏิบัติงานได้อย่างใกล้ชิด และมีความต่อเนื่องแล้ว ยังจะช่วยให้ผู้บริหารมีความมั่นใจได้มากขึ้นว่า การปฎิบัติการทั้งหมดของพนักงานภายในองค์กรจะเป็นไปตามแนวทางที่วางไว้อย่างถูกต้อง และได้ตัวเลขตามที่ต้องการ หรือผลอย่างที่ได้วางแผนเอาไว้ 

 

แน่นอนว่าผลการปฏิบัติงานของพนักงานจะดีได้ ก็จำเป็นที่จะต้องมีการดูแลสุขภาพที่ดีควบคู่กันไป แอปพลิเคชัน SAKID ที่เป็นนวัตกรรมดูแลสุขภาพพนักงานแบบองค์รวมครอบคลุม 4 มิติ ได้แก่ อาหาร, ออกกำลังกาย, อารมณ์ และสังคม จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ที่จะช่วยทำให้การดูแลพนักงาน และการวิเคราะห์ของฝ่ายบุคคลนั้นมีประสิทธิภาพต่อการบริหารมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกขั้น

บทความที่น่าสนใจ

WORKSHOP การทานอาหารอย่างเหมาะสมสำหรับผู้ที่มีปัญหาไขมันในเลือด

กิจกรรม  “การทานอาหารอย่างเหมาะสมสำหรับผู้ที่มีปัญหาไขมันในเลือด”

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2566  SAKID  ได้จัดกิจกรรม Workshop  “การทานอาหารอย่างเหมาะสมสำหรับผู้ที่มีปัญหาไขมันในเลือด” โดยนักกำหนดอาหารที่ให้ความรู้และความเข้าใจเรื่องอาหารที่ควรกินและไม่ควรกิน การเลือกอาหารและปรับพฤติกรรมการกินให้เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีปัญหาไขมันในเลือด

อ่านต่อ »
our workshop success-Fatty Model-SAKID

แข่งขันลดน้ำหนักด้วย SAKID กับโครงการ MEA Fatty Model

จบไปแล้วสำหรับกิจกรรม MEA Fatty Model ที่แข่งขันลดน้ำหนักกับ SAKID application ตลอดระยะเวลา เม.ย. – ส.ค. 67 โดยคัดเลือกจากผู้ที่มีความเสี่ยงสูงคือดัชนีมวลกาย ≥25 kg/m2 มีการออกแบบภารกิจสุขภาพทั้งลดไขมัน เพิ่มผักใย และออกกำลังกายให้เหมาะสม พร้อมด้วยโค้ชนักกำหนดอาหารวิชาชีพดูแลเป็นรายบุคคลในการปรับการกิน จนทำให้การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก มวลไขมัน และไขมันในช่องท้องลดลง เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

อ่านต่อ »

Workshop การเงิน มีเงินเก็บยันเกษียณ

เริ่มต้นดูแลสุขภาพการเงินให้กับพนักงาน ด้วยการให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ในเรื่องการเงิน ทั้งเรื่องภาษี การแบ่งเงินเก็บออม การลงทุน การซื้อประกันให้เหมาะสมกับตัวเอง และการวางแผนเกษียณอย่างมีคุณภาพ กับนักการเงินผู้ที่มีประสบการณ์ ที่อยากให้คุณวางแผนใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยไม่ต้องห่วงเรื่องเงิน

อ่านต่อ »
Cover-sakid-เขตราษฎร์บูรณะ

บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตราษฎร์บูรณะ

บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตเขตราษฎร์บูรณะ

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 Sakid ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดให้กับการไฟฟ้านครหลวง เขตเขตราษฎร์บูรณะ ในกิจกรรม Fun for Fit เพื่อแนะนำการเข้าร่วมโครงการ  “MEA เบิร์นเกินร้อย” เปิดศึกการแข่งกันระหว่างทีมเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี ด้วยการส่งภารกิจสุขภาพผ่านแอพสะกิด และลุ้นรับของรางวัลในแต่ละเดือน

อ่านต่อ »
ส่งเสริมสุขภาพพนักงาน

เทคนิคส่งเสริมสุขภาพพนักงานที่ทุกบริษัทควรรู้

แนะนำโมเดลการจัดโครงการ ส่งเสริมสุขภาพพนักงาน 4 ขั้นตอน แนะนำไอเดียจัดกิจกรรม กิจกรรมลดน้ำหนัก ส่งเสริมสุขภาพ [แนะนำเครื่องมือช่วยจัดโครงการ]

อ่านต่อ »
Hycrid Working-SAKID-thumbnail

Hybrid Working โอกาส ความท้าทาย สำหรับองค์กร

หลายปีที่ผ่านมาหลายคนอาจจะได้ยินหรือกำลังมองหางานที่ไม่ต้องเข้าออฟฟิศแต่งานบางประเภทก็ยังจำเป็นที่จะต้องเข้ามาออฟฟิศอยู่ การทำงานแบบ Hybrid Working  เป็นการทำงานคนละครึ่งทางที่เริ่มมีความนิยมมากขึ้นในหลายบริษัทและยังมีการดึงดูดพนักงานในการตัดสินใจร่วมทำงานกับบริษัทอีกด้วย ในยุคที่เทคโนโลยีและการสื่อสารพัฒนาอย่างก้าวกระโดด แนวคิดเกี่ยวกับการทำงานก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก หนึ่งในรูปแบบการทำงานที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบันคือ Hybrid Working Model หรือ รูปแบบการทำงานแบบไฮบริด ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างการทำงานในสำนักงานและการทำงานจากระยะไกล (Remote Work) – แนวทางนี้ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ยังตอบสนองความต้องการของพนักงานในด้านความยืดหยุ่นและสมดุลชีวิตส่วนตัวอีกด้วย

อ่านต่อ »