
Well Being คืออะไร สร้างสุขให้พนักงานด้วยคุณภาพชีวิตที่ดี
- 23/09/22
ตั้งแต่สถานการณ์ COVID-19 เริ่มต้นขึ้น ปัญหาการทำงานของพนักงานในปัจจุบันก็เริ่มเด่นชัดขึ้นให้เห็นภายในองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องปรับตัวกับภาวะวิกฤตดังกล่าว ทั้งชีวิตส่วนตัวของพวกเขา และการงานที่ทำอยู่ Well Being จึงถูกยกขึ้นมาให้กลายเป็นประเด็นสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง ที่องค์กรจะต้องหาทางออกให้กับพนักงานของตน จากสถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน
Well Being คืออะไร ? หนทางสร้างความสุข ที่ไม่ใช่เพียงแค่สุขภาพร่างกายอีกต่อไป
Well Being คือ “สุขภาวะ” ซึ่งหากแปลในด้านความหมายการใช้งาน จะแปลได้ว่าการมีสุขภาวะที่ดีในทุก ๆ ด้านของมนุษย์ ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงสุขภาวะด้านต่าง ๆ ของพนักงานภายในองค์กรที่ต้องทำงานร่วมกัน เพราะความเครียดจากการทำงานนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นได้แค่จากการที่ต้องทำงานร่วมกันกับผู้อื่น แต่ยังเป็นทั้งสภาพแวดล้อมที่ทำงาน, สุขภาพร่างกายของเขา, หน้าที่การงานของตัวเอง และการใช้จ่ายเงินของตน
ซึ่ง Well Being นี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ “ควรมี” ในองค์กรต่าง ๆ เพราะในงานวิจัยที่ต่างประเทศได้ระบุเอาไว้ว่า เหตุผลจากการลาและขาดงานที่เกิดจากความเครียดในการทำงานนั้น มีสูงถึง 57% ในประเทศอังกฤษ และสูงถึง 83% ในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงเป็นสิ่งที่ฝ่ายบริหารขององค์กรต่าง ๆ จำเป็นจะต้องหันมาสนใจ
ปัจจัยของ Well Being หนทางสร้างความสุข ที่ไม่ใช่เพียงแค่สุขภาพร่างกายอีกต่อไป
สุขภาวะทางกาย (Physical Well Being)
Physical Well Being คือ สิ่งที่ไม่ได้หมายถึงเพียงสุขภาพร่างกายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง “พลังชีวิต” ที่มากพอที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหลือในชีวิตประจำวันได้อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย
สุขภาวะทางหน้าที่การงาน (Career Well Being)
Career Well Being คือ การรับรู้ถึงคุณค่าในงานที่ตนเองนั้นทำอยู่ ชัดเจนว่าสิ่งทำนั้นทำอะไร และทำไปเพื่ออะไร รวมไปถึงการมีใจรักในการทำงานที่ตนกำลังทำอยู่ด้วย
สุขภาวะทางการเงิน (Financial Well Being)
Financial Well Being คือ สุขภาวะทางการเงินที่ไม่ได้หมายถึงการมีรายได้ที่มาก แต่เป็นความมั่นคงต่อรายได้ในระยะยาว และการมีเงินเพียงพอกับรายจ่ายโดยไม่สร้างความเครียดให้กับตนนั่นเอง
สุขภาวะทางสังคม (Social Well Being)
Social Well Being คือ การที่ได้ร่วมงานกับเพื่อนร่วมงานที่ไว้วางใจกันได้ และมีทัศนคติที่ดี ที่ไม่ทำให้ต้องมานั่งระแวง หรือประสาทเสียใส่กัน
สุขภาวะทางสภาพแวดล้อม (Community Well Being)
Community Well Being คือ พื้นที่ทำงานที่ปลอดโปร่ง, ไม่แออัด, ถ่ายเทอากาศได้สะดวก รวมไปถึงส่งเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จัดว่าเป็นสุขภาวะทางสภาพแวดล้อมทั้งสิ้น
4 หลักการบริหารและสรรค์สร้าง Well Being ภายในองค์กร
หลักการสำคัญในการพัฒนา Well Being ในองค์กรนั้น หลัก ๆ มี 4 หลักการด้วยกัน ที่สามารถนำไปปรับไปใช้กับองค์กรต่าง ๆ โดยทั้ง 4 หลักการนี้มีจุดประสงค์ร่วมกันคือ เพื่อให้องค์กรสามารถจัดสรรทรัพยากรอันมีค่า ที่เรียกว่าสุขภาพของพนักงานได้อย่างดีขึ้น โดยมีดังนี้
1. Encourage individuality
ช่วยพนักงานออกแบบโปรแกรมสุขภาวะของตัวเอง ให้เขาได้เลือกทัศนคติ หรือพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม และมีความหมายกับตัวเขาในการนำไปปรับใช้ ซึ่งความยืดหยุ่นถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมจากพนักงานให้เกิดขึ้นจริงเป็นอย่างมาก
2. Inclusive teams are essential to success
มอบอำนาจให้กับพนักงานด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมของการมีส่วนร่วม, การเป็นส่วนหนึ่ง รวมไปถึงการสร้างทีมที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และทำพฤติกรรมสุขภาพร่วมกัน ซึ่งจะช่วยทำให้พฤติกรรมเหล่านั้นกลายเป็นนิสัยได้ง่ายขึ้น และยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเองภายในทีมอีกด้วย
3. Show that wellbeing matters
ให้ Well Being เป็นมากกว่าคำพูด โดยการให้ความสำคัญกับมันในฐานะผลประโยชน์ทางธุรกิจ การที่จะสร้างสุขภาวะให้ประสบความสำเร็จได้ องค์กรต้องเห็นตรงกันตั้งแต่บนสุดลงมา ถึงประโยชน์ของสุขภาวะพนักงานในฐานะทรัพยากรขององค์กร
4. Up the engagement
ให้เทคโนโลยีมีส่วนช่วยส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ จะเป็นตัวช่วยให้การเพิ่มความสำเร็จกับพฤติกรรมเหล่านี้ เพราะเทคโนโลยีจะทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ที่ชัดเจน ให้ทุกคนเห็นได้ว่ามีการสนับสนุน Well Being อยู่ แม้เทคโนโลยีจะไม่ใช่ปัจจัยหลัก แต่มันมีส่วนช่วยในการสร้างความเป็นเจ้าของ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างพนักงานในหัวข้อด้านสุขภาพ
กลยุทธ์ 3 ขั้นตอนในการสร้างวัฒนธรรมที่ช่วยส่งเสริม Well Being ในองค์กร
การจะสร้าง Well Being ขึ้นมาในองค์กรได้นั้น จำเป็นจะต้อง “เริ่มจากคน” เป็นหลัก โดยใช้กลยุทธ์ 3 ขั้นตอนนี้ ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริม Well Being จากภายในขึ้นมา ได้แก่
1. อบรมผู้บริหารและผู้จัดการ
โดยอบรมตั้งแต่ระดับสูงไปจนระดับล่าง ในเรื่องของการพัฒนา EQ หรือ ความฉลาดทางอารมณ์ ให้พัฒนาลูกน้องในเชิงการสร้างแรงจูงใจ การชื่นชม ไม่ใช่การจ้องจับผิด และมีความไว้วางใจมากพอที่จะให้อิสระในการทำงาน ทำให้พนักงานรู้สึกถึงความสามารถตนเองมากขึ้น และมีความรู้สึกของการควบคุมสิ่งที่ตนเองทำ
2. ความยืดหยุ่นในการทำงาน
พนักงานหลายคนเป็นพ่อแม่ที่ต้องเลี้ยงดูลูก หรือ มีพ่อแม่ที่ต้องเลี้ยงดู หรืออาจมีภาวะบางอย่างที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ และไม่อาจทำงานตามเงื่อนไขเวลาได้อย่างสะดวกสบายนัก ซึ่งเทคโนโลยีนั้นได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้คนสามารถทำงานได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น
องค์กรเองก็ควรปรับตัวให้ความยืดหยุ่นเหล่านี้เช่นกัน ซึ่งนี่ก็ไม่ได้หมายความถึงการปล่อยปะละเลยพนักงานคนอื่น แต่ใจความหลักก็คือการให้อิสระเพียงพอ ที่พนักงานไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องการอยู่กับหน้าจอคอมตลอดเวลา และในเวลาที่จำกัดเท่านั้น
3. ข้อตกลงร่วมเรื่องการสื่อสาร
นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้นได้บ่อย โดยเฉพาะกับการตอบอีเมลล์ หรือ สื่อสารนอกเวลางาน การที่เราไม่ได้กำหนดเวลาในการตอบอีเมลล์นั้น อาจทำให้เกิดภาวะหมดไฟกับพนักงานภายในองค์กรได้ โดยให้ความรู้สึกถึงความจำเป็นต้องอยู่หน้างาน หรือ ไม่สามารถแบ่งเวลาส่วนตัวออกมาจากเวลางานได้นั่นเอง
การที่หัวหน้า หรือ ผู้บริหารออกแบบนโยบายการทำงานที่มีเวลาที่ควรตอบอีเมลล์ กับเวลาที่ไม่จำเป็นต้องตอบนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และองค์กรหลาย ๆ แห่งเองก็มักจะละเลยกระบวนการเหล่านี้ ซึ่งหากองค์กรสร้างข้อตกลงที่ชัดเจนแล้ว พนักงานก็จะสามารถแบ่งเวลาพักผ่อนได้ดียิ่งขึ้น และลดความเครียดจากการทำงานลงได้ด้วย
สรุป
ด้วยภาวะ COVID-19 ที่มีในปัจจุบัน ทำให้ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า การนำ Well Being หรือสุขภาวะนั้นเข้ามาใช้ภายในองค์กรนั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพราะสำหรับพนักงานอันเป็นทรัพยากรที่สำคัญขององค์กร สุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจนั้นมีผลเป็นอย่างมากกับประสิทธิภาพการทำงานของพวกเขา จึงเป็นอีกหนึ่งการปฏิรูปวัฒนธรรมองค์กรที่เรียกได้ว่าคุ้มค่า และเป็นประโยชน์ในระยะยาวให้แก่ตัวองค์กรเป็นอย่างมาก
เช่นเดียวกันกับแอปพลิเคชัน SAKID ที่เป็นนวัตกรรมดูแลสุขภาพพนักงานแบบองค์รวมครอบคลุม 4 มิติ ที่ช่วยทำให้ทุกภาคส่วนขององค์กรใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้นด้วยระบบสะกิดแก๊ง พร้อมการวิเคราะห์ผลสุขภาพรายบุคคล บนพื้นฐานข้อมูลงานวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงยังสามารถเรียกดูได้ทุกเมื่อจากการจัดเก็บที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์
บทความที่น่าสนใจ

“Burnout” องค์กรควรทำอย่างไรเมื่อพนักงานหมดไฟ
Burnout สำคัญแค่ไหน รู้หรือไม่ว่านี่คือปัญหาที่บริษัททั่วโลกกำลังพบเจอมากขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน เราควรรับมือมันอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

WORKSHOP คิมบับสุขภาพ
กิจกรรม “Cooking class คิมบับสุขภาพ”
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 SAKID ได้จัดกิจกรรม Workshop “Cooking class คิมบับสุขภาพ” โดยคุณอรนันท์ เสถียรสถิตกุล นักกำหนดอาหารวิชาชีพ และอดีตเจ้าของ D-Diet อาหารสุขภาพสาธิตเมนูอาหารสไตล์เกาหลี “คิมบับ”พร้อมได้เรียนรู้ส่วนประกอบการทำคิมับทางด้านประโยชน์และสารอาหาร รวมทั้งลงมือลองทำคิมบับเมนูสุขภาพด้วยตัวเอง

10 โรคจากการทำงาน ที่ HR สามารถช่วยป้องกันได้
เพราะพนักงงานคือคนสำคัญที่องค์กรต้องคอยดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ชวนไปดู 10 โรคที่เกิดจากการทำงาน และวิธีการที่แต่ละองค์กรสามารถป้องกันโรคภัยให้กับพนักงานได้

ประเมินผลการทำงานอย่างไร ไม่ให้ลำบากใจ
ประเมินผลการทำงานอย่างไร ไม่ให้ลำบากใจ
เมื่อฤดูประเมินมาถึง…บอสหลายคนอาจรู้สึกว่าการต้องวิจารณ์หรือพูดถึงข้อดีข้อเสียต่อหน้าคนๆ นั้นตรงๆ…เป็นเรื่องน่าอึดอัด ส่วนในมุมมองของตัวผู้ถูกประเมินเอง เมื่อต้องมาฟังข้อเสียหรือเรื่องแย่ๆ ของตน…บางคนก็รู้สึกมีอารมณ์ ไม่ว่าจะผิดหวัง เศร้าเสียใจ หรือโกรธ นั่นทำให้พวกเขาพูดจาหรือแสดงท่าทีปกป้องตนเองในแบบต่างๆ แถมไม่ใช่แค่ตอนพูดคุยประเมินกันเท่านั้น หลังจากนั้นบางคนยังอาจแสดงความไม่พอใจหรือต่อต้านองค์กร ตั้งแต่มาทำงานสาย หยุดงาน จนไปถึงแสดงความก้าวร้าว พลอยทำให้องค์กรและผู้ร่วมงานอึดอัดและเสียหายไปด้วย…เป็นเรื่องน่าลำบากใจใช่ไหม

วิเคราะห์ผลสุขภาพพนักงานได้ทันทีผ่าน SAKID Dashboard
ที่ไหนมีคนอยู่ร่วมกัน ปัญหาความขัดแย้งย่อมเกิดขึ้นที่นั่น และยิ่งคนเยอะเท่าไหร่ ความขัดแย้งยิ่งมีความซับซ้อนหลายระดับ ทั้งแบบเก็บงำเป็นความไม่ชอบส่วนตัว จนถึงการแสดงความก้าวร้าวทางวาจา หรือรังแกอีกฝ่ายในแบบต่างๆ บางครั้งความขัดแย้งระหว่างบุคคลอาจขยายตัวมากขึ้นทำให้คนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมจนเป็นเหตุให้คนในองค์กรต้องแบ่งพรรคแบ่งพวก สร้างบรรยากาศที่ไม่ไว้วางใจกัน และไม่เคารพซึ่งกันและกันในองค์กร เหตุการณ์ต่างๆ ยิ่งเลวร้ายลงเพราะหัวหน้างานอาจยังไม่ทราบเรื่อง

Employee Assistance Program ยุคใหม่ช่วยอะไรคุณได้บ้าง
Employee Assistance Program คือเครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่วนรายล้อมตัวพนักงาน ช่วยทำให้ปัญหาต่าง ๆ ของเขาดีขึ้น แต่ดียังไง มาดูกัน