Workation คืออะไร จะเลือกที่เที่ยวพร้อมกับทำงานอย่างไรดี
- 16/01/23
การทำงานในทุกวันนี้ ไม่จำเป็นจะต้องเข้าออฟฟิศเพียงเท่านั้น แต่เรายังสามารถออกแบบรูปแบบการทำงานที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ได้มากขึ้น ซึ่งไม่นานมานี้ รูปแบบการทำงานอย่างที่เรียกว่า “Workation” หรือ แนวคิดการทำงานแบบ “เที่ยวได้ ทำงานด้วย” ถือว่าเป็นเทรนด์การทำงานที่มาแรงสุด ๆ โดยเฉพาะหลังจากที่โลกผ่านวิกฤตโควิด-19 มา
ความจำเป็นที่ต้อง Work From Home ในช่วงล็อกดาวน์ ทำให้คนทำงานในหลาย ๆ อาชีพ โดยเฉพาะเหล่าพนักงานออฟฟิศเริ่มคุ้นเคยกับระบบการทำงานทางไกลและจากที่ใดก็ได้ และหลาย ๆ บริษัทเองก็เริ่มนำแนวคิด “Workation” มาใช้ในองค์กรเพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานได้สร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต ให้พวกเขาได้ออกแบบไลฟ์สไตล์และเลือกสถานที่ทำงานด้วยตัวเอง
ชวนมาทำความเข้าใจแนวคิดการทำงานในรูปแบบ Workation พร้อมกับแนะนำแนวทางในการเริ่มต้น Workation สำหรับคนทำงานและองค์กรที่อยากลองใช้แนวคิดนี้กัน
Workation คือ
Workation มาจากคำสองคำ ได้แก่ “Work” + “Vacation” หมายถึง การทำงานไปด้วยและหยุดพักผ่อนไปด้วยในเวลาเดียวกัน รูปแบบการทำงานภายใต้แนวคิดแบบนี้ ไม่จำเป็นว่าพนักงานหรือคนทำงานต้องนั่งทำงานในออฟฟิศหรือสถานที่ทำงานที่กำหนดไว้เท่านั้น พวกเขาสามารถทำงานจากที่ไหนของมุมโลกก็ได้
Workation จะเป็นการทำงานนอกออฟฟิศหรือสถานที่ทำงาน เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศการทำงานที่ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลายมากกว่า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ (Efficiency & Productivity) การทำงาน เพราะคนทำงานสามารถเลือกอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แปลกใหม่ได้ตลอด
ทั้งนี้ การทำงานแบบ Workation จะแตกต่างจากการทำงานผ่านระบบออนไลน์หรือการ WFH ธรรมดาเพราะจะมุ่งหาความรื่นรมย์ในการใช้ชีวิตแบบการท่องเที่ยวมากกว่า อาจหมายถึงการออกเดินทางไปพักและทำงานในสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ ๆ ที่ได้เปิดหูเปิดตา เช่น ทะเล ภูเขา เมืองท่องเที่ยวต่าง ๆ ฯลฯ และด้วยรูปแบบการทำงานนี้ ยังทำให้เกิดกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า “Digital Nomad” หรือคนทำงานที่อพยพใช้ชีวิตตามที่ต่าง ๆ ไม่ยึดติดกับพื้นที่ โดยทำงานผ่านอินเทอร์เน็ตและแพลตฟอร์มดิจิทัล
ทำไมเทรนด์ Workation ถึงมาแรงในปัจจุบัน
ปฏิเสธไม่ได้ว่า Workation ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากวัฒนธรรมการทำงานที่เปลี่ยนไปตั้งแต่ช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 ที่มีมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้คนทำงานจำเป็นต้อง Work From Home และเริ่มคุ้นเคยกับวิถีการทำงานนอกออฟฟิศและรูปแบบการทำงานที่มีความยืดหยุ่น
สถานการณ์ล็อกดาวน์ปิดประเทศ ทำให้คนทำงานต้องการการพักผ่อนและออกเดินทาง ซึ่งสอดคล้องไปกับเทรนด์ความต้องการทำงานในรูปแบบ Workation มีข้อมูลที่น่าสนใจจากเว็บไซต์ Booking.com ที่สำรวจความคิดเห็นผู้คนกว่า 20,000 คน จาก 28 ประเทศ เมื่อปี 2021 ได้แก่
– มีคนไทยถึง 6 ใน 10 ที่สนใจการท่องเที่ยวไป ทำงานไป หรือ “Workation”
– 69% พร้อมเดินทางไปต่างประเทศทันทีเมื่อเปิดพรมแดนประเทศ
– การทำงานทางไกล (Remote Working) จะกลายเป็นเทรนด์การทำงานที่จะมาแรง
ขอบคุณข้อมูลจาก BLT Bangkok
ในปี 2022 เราจึงเริ่มเห็นและคุ้นเคยกับคนที่ทำงานทางไกล ทำงานจากที่บ้าน หรือทำงานแบบ Workation ตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ มากขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีวิจัยว่า การทำงานในรูปแบบนี้ ให้ประสิทธิภาพมากกว่า การทำงานในสภาพแวดล้อมเดิม ๆ หรือการเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศหรือสถานที่ทำงานหลักเท่านั้น โดย the Centre for Economics and Business Research (CEBR) ได้ทำสำรวจเกี่ยวกับการทำงานในรูปแบบทางไกลหรือ Remote Working ได้ข้อสรุปว่า การทำงานจากที่ใดก็ได้ (Work From Anywhere) ช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของคนทำงานดีขึ้น
– 70% บอกว่า การทำงานจากที่ใดก็ได้ช่วยลดความเครียดและความกังวลเกี่ยวกับการหยุดงาน
– 74% เชื่อว่าการทำงานรูปแบบทางไกลช่วยเพิ่มสมดุลการใช้ชีวิตหรือ Work-life Balance
– 66% บอกว่า มีสมาธิในการทำงานมากขึ้น
ในวิจัยสำรวจชุดเดียวกัน สอบถามเพิ่มเติมถึงความต้องการของผู้ตอบแบบสำรวจ ก็พบเทรนด์ที่น่าสนใจว่า 90% ของคนทำงาน (อายุ 16 – 55 ปี) ต้องการการทำงานจากที่ไหนก็ได้ และอีกกว่า 69% ของกลุ่มสำรวจที่ไม่ได้ทำงาน ก็คิดเห็นและต้องการการทำงานจากที่ใดก็ได้เช่นเดียวกัน
รูปแบบการทำงานแบบ Remote Working หรือ Workation จึงเป็นเทรนด์การทำงานที่องค์กรและบริษัทไม่ควรมองข้ามให้ความสนใจ
ข้อดี-ข้อเสียสำหรับการ Workation
เทรนด์การทำงานแบบเที่ยวไป ทำงานไป ก็ดูจะมีข้อดีมากมาย ที่สามารถตอบโจทย์คนทำงานรุ่นใหม่ได้ แต่เรามาดูข้อดี-ข้อเสีย ให้รอบด้านมากขึ้นอีกนิดเพื่อเข้าใจรูปแบบการทำงานแบบนี้มากขึ้น
ข้อดีของ Workation
– พนักงานได้ทำงานไปพร้อมกับการใช้ท่องเที่ยว ใช้ชีวิตในแบบที่ต้องการ
– พนักงานสามารถจัดสรรเวลาการทำงานของตัวเองได้อย่างอิสระ
– ลดสภาวะการเครียดและความกังวลจากการทำงาน
– คนทำงานได้เห็นมุมมองใหม่ ๆ ในการทำงาน ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
– องค์การสามารถจัด Workation ให้ทีมไปทำงานด้วยกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในทีมได้
– ช่วยสร้างแรงบันดาลใจและเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้คนทำงาน
– ช่วยเป็นโอกาสให้คนทำงานได้ทำความรู้จักคนใหม่ ๆ หรือ Networking กับกลุ่มคนที่ Workation เหมือนกัน
ข้อเสียของ Workation
– พนักงานที่ Workation มีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งค่าที่พักและค่าเดินทาง
– สถานที่ Workation อาจไม่เหมาะกับการทำงาน ส่งผลให้ประสิทธิภาพและผลิตภาพ (Productivity) การทำงานลดลง
– หากบริษัทไม่วางระบบหรือนโยบายการทำงานที่ดี อาจเกิดปัญหาการทำงาน การสื่อสาร และการร่วมงานกันในองค์กร
อยากจัด Workation ในองค์กร จะเตรียมตัวอย่างไร
สำหรับองค์กรหรือบริษัทที่เห็นความสำคัญของ Workation หรือต้องการทดลอง ก็มีคำแนะนำสำหรับการวางรูปแบบการทำงานแบบใหม่ ดังนี้
นโยบายการทำงานทางไกล
วางระบบการทำงานทางไกลให้ชัดเจน ซึ่งในหลาย ๆ องค์กรที่เคยปรับรูปแบบการทำงานเป็น Work From Home มาแล้ว อาจนำข้อตกลงหรือแนวปฏิบัติในตอนนั้นมาใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็น
– วางระบบการทำงานที่แน่นอน งานทุกชิ้นควรมีแผนงานที่ชัดเจน พร้อมกับแนวทางในการกระจายภาระงาน
– การกำหนดเวลาทำงาน การนัดหมาย การประชุม
– กำหนดวิธีการและแนวทางปฏิบัติในการติดตามงาน ส่งงาน รีวิวงาน ลำดับขั้นในการตรวจอนุมัติ
– ประเมินประสิทธิภาพการทำงานจากผลลัพธ์มากกว่าระยะเวลาการเข้า/ทำงาน (Performance-based Assessment)
Vacation vs Workation
เมื่อการทำงานมาอยู่ในรูปแบบ Workation แล้ว แน่นอนว่า สำหรับการทำงานในองค์กรหรือบริษัท ต้องเกิดความสับสนระหว่าง “Vacation” (วันลาหยุดพักผ่อน) กับ Workation
เป็นเรื่องที่องค์กรและพนักงานควรจะต้องตกลงให้เข้าใจตรงกันว่า เมื่อทำงานแบบ Workation สวัสดิการวันหยุดลาพักผ่อนจะต้องเป็นอย่างไร เพราะทั้งสองอย่างนี้ ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน Workation ที่เพิ่มเข้ามา บริษัทจะลดวันหยุดพักผ่อนหรือไม่ เป็นอีกประเด็นสำคัญที่ต้องสร้างความเข้าใจ เพื่อเลี่ยงความสับสน
การกำหนดเป้าหมายและแผนงาน
การทำงานในรูปแบบ Workation ส่วนใหญ่แล้ว แต่ละคนจะทำงานกันจากคนละสถานที่ จึงไม่สามารถหันหรือเดินไปพูดคุยสื่อสารกันได้โดยตรง การกำหนดเป้าหมาย แผนงาน และการมอบหมายงานพร้อมความคาดหวังที่ชัดเจนจะช่วยให้คนทำงานแต่ละคน เข้าใจหน้าที่ และทำงานได้ตรงกับความคาดหวังของบริษัทได้
เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่จะใช้
เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือแพลตฟอร์มที่ใช้ในการทำงานมีความสำคัญขึ้นมาก เมื่อ Workation เพราะคนทำงานทำงานจากคนละที่ เครื่องมืออย่าง Communication Tools และ Collaboration Tools เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องตกลงว่า จะใช้อะไรในการสื่อสารและจัดการงาน ซึ่งในปัจจุบันก็มีโปรแกรม/ซอฟต์แวร์สำหรับการทำงานทางไกลและ WFH มากมาย เช่น Asana, Trello, Google Sheet, Zoom, Microsoft Team ฯลฯ
สวัสดิการพนักงานระหว่าง Workation
แม้ว่า Workation คนทำงานจะไม่ต้องเข้าออฟฟิศ พวกเขาก็ยังสมควรได้รับการดูแลและสวัสดิการพื้นฐานต่าง ๆ จากบริษัทอยู่ เช่น วันลาหยุดพักผ่อน วันลาป่วย สิทธิประกันสังคม ประกันสุขภาพ และสวัสดิการอื่น ๆ ที่สนับสนุนให้การใช้ชีวิตและการทำงานของพวกเขาราบรื่นขึ้น
นอกจากนี้ แม้จะ Workation 100% เรื่องของ ‘สวัสดิการ’ ก็ยังเป็นสิ่งที่พนักงานมองหา
สวัสดิการที่ช่วยส่งเสริมให้พวกเขาเรียนรู้และพัฒนาทักษะ สวัสดิการที่ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการเดินทางและการทำงาน เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าอินเทอร์เน็ต ฯลฯ และสวัสดิการสุขภาพที่ช่วยส่งเสริมให้คนทำงานมีสุขภาพที่ดี
สำหรับบริษัทที่มีมาตรการ Work From Home, Remote Working หรือ Workation อยู่ บริการและแอปพลิเคชันอย่าง SAKID ถือเป็นสวัสดิการด้านสุขภาพที่บริษัทสามารถใช้ดูแลพนักงานได้ แม้ว่าพวกเขาจะอยู่ใกล้ ด้วยฟีเจอร์ที่คอย ‘สะกิด’ ให้พนักงานดูแลตัวเอง ใส่ใจการออกกำลังกายและการบริโภคมากขึ้น รวมไปถึงสวัสดิการที่คนรุ่นใหม่มองหา คือ การที่มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำทั้งนักควบคุมอาหาร นักวิทยาศาสตร์การกีฬา และนักจิตวิทยาให้พวกเขาปรึกษาเรื่องต่าง ๆ ก็รวมอยู่ใน SAKID แอปเดียว
เลือกสถานที่ Workation แบบไหนดี ให้ได้ทั้งทำงานและท่องเที่ยว
สำหรับบริษัทไหนที่ตัดสินใจว่า อยากจะลองให้พนักงาน Workation กันดูบ้าง หรืออยากจะลองจัดทริปเที่ยวไปทำงานไปกันยกทีม เป็นอีกไอเดียสำหรับการคิดหรือเริ่มต้นทำโปรเจกต์ใหม่ ๆ มีคำแนะนำในการเลือกสถานที่ที่ทั้งทำงานและเที่ยวในเวลาเดียวกัน ดังนี้
– เลือกประเภทที่พักที่เหมาะกับการทำงาน เช่น หอพัก โรงแรม โฮสเตล ฯลฯ ต้องคำนึงว่า ถ้าเป็นกระท่อมขนาดกะทัดรัดจะมีพื้นที่ทำงานได้สะดวกหรือไม่ ถ้าเป็นโฮมสเตย์จะมีสมาธิหรือเปล่า สถานที่ทำงานมีเสียงหรือสิ่งรบกวนระหว่างวันหรือไม่ พร้อมคำนึงถึงจำนวนสมาชิกในทีม
– เลือกพักในที่พักที่เป็น Workation-friendly แน่นอนว่า สถานที่ที่ไปพักจะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานและมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงานให้กับเรา เช่น มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง มีโต๊ะ/มุมสำหรับจัดโต๊ะทำงาน มีไฟฟ้าสำรอง ถ้ามีโปรเจกเตอร์นำเสนองานด้วยก็ยิ่งดี ส่วนเรื่องของบรรยากาศก็ต้องเงียบสงบ ใกล้แหล่งของกิน ทิวทัศน์สวยงาม
– เลือกที่พักที่คุ้นเคยหรือเคยไปมาแล้ว เพื่อให้มั่นใจว่าทำงานได้ ลดความกังวล และประหยัดพลังงานในการปรับตัวมากกับสถานที่ลง
ประเทศไทยเป็นอีกจุดหมายสำคัญของ Digital Nomad และคนที่ทำงานแบบ Workation ทั่วโลก โดยจังหวัดที่เป็นจุดหมายสำคัญส่วนใหญ่จะเป็นจังหวัดที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกและการคมนาคมดี รวมไปถึง มีสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อน ยกตัวอย่างเช่น
– เชียงใหม่ ที่มีทั้งสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คาเฟ่ สถานบันเทิง และมีการคมนาคมที่สะดวกสบาย ทั้งขนโดยสาร รถไฟ เครื่องบิน
– ภูเก็ต อีกจุดหมายของคนที่อยากทำงานและเที่ยวไปด้วย จังหวัดภูเก็ตมีทั้งที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมเฉพาะตัวที่โดดเด่น อีกทั้งเป็นจังหวัดที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เหมาะกับการทำงาน มีที่พักหลากสไตล์ให้เลือก
– พังงา จังหวัดทางใต้ที่อุดมไปด้วยธรรมชาติ ทั้งทะเล ภูเขา ป่า น้ำตก และหมู่เกาะที่สวยงามรายล้อม เป็นอีกทางเลือกสำหรับ Workation สำหรับสายลุย
– เกาะพงัน เกาะสมุย และเกาะเต่า จุดหมายสำหรับคนที่ชื่นชอบกิจกรรมทางน้ำและไลฟ์สไตล์บนชายหาด ทำงานริมทะเล พร้อมนั่งจิบเครื่องดื่ม ซึ่งทุกวันนี้ บนเกาะก็มีอินเทอร์เน็ตและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ดึงดูดให้คนทำงานทั่วโลกเดินทางมา Workation กันบนเกาะเหล่านี้
สรุป
Workation เป็นรูปแบบการทำงานที่รวมการพักผ่อนและท่องเที่ยวเข้าไว้ด้วยกัน ตั้งแต่วิกฤติการณ์โควิด-19 เป็นต้นมา รูปแบบการทำงานแบบนี้ก็เป็นเทรนด์การทำงานที่คำทำงานให้ความสนใจเป็นอย่างมาก องค์กรหรือบริษัทจึงไม่ควรมองข้ามพิจารณาปรับตัวองค์กรให้สอดคล้อง
ในมุมขององค์กร แน่นอนว่า การนโยบาย Workation ยังเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและยังต้องหาวิธีการตกลงรูปแบบกับคนทำงานต่อไป หวังว่า บทความนี้จะช่วยให้องค์กรของคุณมีแนวทางในการวางแผน Workation ให้เกิดขึ้นจริงได้
บทความที่น่าสนใจ
เริ่มต้นดูแลสุขภาพพนักงาน ทำอะไรได้บ้าง ฉบับงบน้อย
ท่ามกลางภารกิจอันล้นหลาม หลายครั้งที่ “เหนื่อย เครียด หมดไฟ” กลายเป็นสัญญาณเตือนสุขภาพกายใจที่ถูกมองข้าม บทความนี้เราจะสำรวจ 10 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ใช้งานได้จริงและไม่แพง ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นและปลุกพลังให้คุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำอย่างไร เมื่อคนในองค์กรไขมันเกาะตับ
ในปัจจุบัน พนักงานในองค์กรหลายแห่งต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการทำงานหนักและการใช้ชีวิตที่ไม่สมดุล ในยุคที่การทำงานเต็มไปด้วยความเครียดและความเร่งรีบ ปัญหาสุขภาพของพนักงานจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ และหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยคือ “ไขมันเกาะตับ” ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานและคุณภาพชีวิตของบุคลากรได้อย่างมาก
Performance Management คืออะไร ทำไมองค์กรควรให้ความสำคัญ
Performance Management หรือ การบริหารผลการปฏิบัติงาน คือระบบที่สามารถทำหน้าที่ควบคุม หรือชี้แนะให้พนักงานทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง
รวม 5 หลักการปรับ “ท่านั่งทํางานที่ถูกต้อง” ลดออฟฟิศซินโดรม
ท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง ต้องนั่งยังไง? นั่งแบบไหนให้ไกลออฟฟิศซินโดรม? แนะนำ 5 หลักการที่ต้องปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง พร้อมวิธีเลือกเก้าอี้และโต๊ะถูกหลัก Ergonomics
WORKSHOP ONLINE HIIT ทำน้อยได้มาก
กิจกรรม “HIIT ทำน้อยได้มาก” ฉบับคนไม่มีเวลา
เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2566 SAKID ได้จัดกิจกรรม Workshop “HIIT ทำน้อยได้มาก” ให้กับบริษัทเอสพี อินเตอร์แมค โดยผู้เข้าร่วม Workshop Online จะได้รู้เรื่องการใช้พลังงานของร่างกายส่วนต่างๆ และท่าออกกำลังกายที่ทำได้ โดยไม่ต้องใช้เวลาเยอะในการออกกำลังกาย
Employee Engagement เทคนิคสานสัมพันธ์ของพนักงานและองค์กร
การสานสัมพันธ์ของพนักงานและองค์กร ถือเป็นโจทย์ที่น่าขบคิดอีกหนึ่งอย่างสำหรับ HR และผู้บริหารภายในองค์กร Employee Engagement จึงเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในจุดนี้