
สร้างสถานที่ทำงานให้ดีต่อใจด้วย Workplace Wellness Program
- 19/09/22
สุขภาพของพนักงาน คืออีกหนึ่งส่วนที่ส่งผลต่อกำลังการผลิตขององค์กรอย่างมหาศาล ทั้งในด้านของสุขภาพร่างกายอันเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด และสุขภาพของจิตใจที่เป็นส่วนภายใน การดูแลสิ่งเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารและ HR ไม่ควรมองข้าม ฉะนั้น จึงควรรู้จัก Workplace Wellness Program ที่เป็นที่หนึ่งตัวแปรสำคัญในการดูแลสุขภาพของพนักงานภายในองค์กรว่าคืออะไรกันแน่
Workplace Wellness Program โปรแกรมสุขภาพที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของพนักงาน
Workplace Wellness Program หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า โปรแกรมสุขภาพในที่ทำงาน เป็นโปรแกรมที่มุ่งเน้นในการรักษาสุขภาพด้านต่าง ๆ ของพนักงานภายในองค์กร ซึ่งมีส่วนสำคัญในกลยุทธ์การพัฒนาองค์กรเพื่อหนุนธุรกิจของตนให้ยั่งยืน และขับเคลื่อนให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวนั้น มุ่งเน้นไปที่สุขภาพของพนักงานอย่างรอบด้าน ไม่ใช่เพียงแค่สุขภาพทางด้านร่างกายเท่านั้น แต่สุขภาพทางจิตใจเองก็เป็นสิ่งที่สำคัญ รวมไปถึงสุขภาพด้านอื่น ๆ ของพนักงานอย่างครอบคลุม เพราะชีวิตส่วนใหญ่ของพวกเขาในแต่ละสัปดาห์จะอยู่กับงานที่ทำภายในองค์กร จึงไม่แปลกที่จะเกิดปัญหากับสุขภาพในด้านต่าง ๆ นั่นเอง
โครงสร้าง 8 มิติของ Workplace Wellness Program
1.Emotional Wellness (สุขภาพทางด้านอารมณ์)
เป็นการเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจัดการกับความเครียดที่มีของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.Physical Wellness (สุขภาพทางด้านร่างกาย)
เป็นการรักษาสุขภาพร่างกา ยและมองหาการดูแลสุขภาพร่างกายที่จำเป็นต่อตน
3.Spiritual Wellness (สุขภาพทางด้านจิตใจ)
เป็นการพัฒนาที่ช่วยให้ตนเองสามารถมองหาความหมายและจุดมุ่งหมายของชีวิต
4.Intellectual Wellness (สุขภาพทางด้านสติปัญญา)
เป็นการเปิดรับกับความคิดใหม่ ๆ และการขยายองค์ความรู้ของตนอย่างต่อเนื่อง
5.Social Wellness (สุขภาพทางด้านสังคม)
เป็นการมีบทบาททางสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ และกระทำด้วยความรู้สึกสะดวกใจ รวมถึงการสร้างเครือข่ายสนับสนุนตนเอง
6.Environmental Wellness (สุขภาพทางด้านสิ่งแวดล้อม)
เป็นการมีสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ดี ปลอดโปร่ง และเป็นมิตรต่อตนเองทั้งในแง่ร่างกายและจิตใจ
7.Financial Wellness (สุขภาพทางด้านการเงิน)
เป็นการมีสุขภาพทางการเงินที่ดี ด้วยการวางแผน และบริหารการเงินที่มีประสิทธิภาพ ให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสอดคล้องกับที่ตนเองต้องการอย่างพอเหมาะ
8.Occupation Wellness (สุขภาพทางด้านอาชีพ)
เป็นการมีความสุขในอาชีพการทำงาน ด้วยการมีความเข้มแข็งทางจิตใจ สามารถบริหารอารมณ์ ความเครียดตัวเอง และดูแลอารมณ์คนรอบตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของ Workplace Wellness Program ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กรได้
การทำ Workplace Wellness Program ในแง่หนึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมากสำหรับหลาย ๆ องค์กร เพราะบางครั้ง อาจจะจำเป็นต้องมีการปรับวัฒนธรรมขององค์กร ให้สอดคล้องกับโปรแกรมสุขภาพในที่ทำงานที่ต้องการจะใช้ แต่มันก็เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว เพื่อพัฒนาองค์กรของเราให้ยั่งยืนยิ่ง ๆ ขึ้นไป ซึ่งประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนนั้นเลยก็คือ
1.ช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านสุขภาพของพนักงานภายในองค์กรลงได้
2.ช่วยลดอัตราการขาดงานเนื่องจากการเจ็บป่วยของพนักงาน ทั้งที่เกิดจากในการทำงาน และชีวิตประจำวันของเขา
3.เพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพของพนักงานในการผลิตตัวงานให้กับองค์กร
4.ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการชดเชยพนักงานจากการบาดเจ็บ และพิการที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุในการทำงานที่อาจเกิดขึ้น
5.เพิ่มความผูกพันและภักดี (Employee Loyalty and Engagement) ให้กับองค์กรที่ตนเองทำงานอยู่
6.เพิ่มความสุขในการทำงานของพนักงานในองค์กรให้มากยิ่งขึ้น
อยากทำ Workplace Wellness Program ควรจะวางแผนอย่างไรดี ?
หากองค์กรจะต้องการทำ Workplace Wellness Program แล้ว จำเป็นจะต้องมีการวางแผนให้ดีเสียก่อนที่จะลงมือทำ จึงจะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อวางแผนการทำงาน ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
1.ประเมินสุขภาพภายในองค์กร จากข้อมูลผลการตรวจสุขภาพ, การขาดงานหยุดงานเนื่องจากการเจ็บป่วย และสิ่งแวดล้อมภายในที่ทำงานที่อาจมีผลต่อสุขภาพ
2.ออกแบบขอบเขตและเป้าหมายของโปรแกรมสุขภาพในที่ทำงานภายในองค์กร
3.จัดทำงบประมาณ และแผนการดำเนินงานสร้างโปรแกรมสุขภาพในที่ทำงาน
4.จัดกิจกรรมและวางแผนสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานที่สามารถปรับปรุงสุขภาพให้ดีขึ้น
5.ทำการสื่อสาร และติดตามวัดผล สร้างจนเกิดเป็นวัฒนธรรมสุขภาพภายในองค์กร
ตัวอย่างของ Workplace Wellness Program ที่ยอดนิยมทั้งในและต่างประเทศ
1.โรงอาหารเพื่อสุขภาพของพนักงาน
เป็นโปรแกรมสุขภาพในที่ทำงานที่เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่สามารถให้บริการโรงอาหารภายในสถานที่ทำงานได้ การดูแลสุขภาพโดยการจัดโปรแกรมโรงอาหารเพื่อสุขภาพ ที่มีการตรวจสอบ และ ดูแลคุณภาพของอาหารที่ผลิตจากแม่ครัวที่ผ่านการอบรมโดยตรงจากนักกำหนดอาหาร จะทำให้พนักงานได้รับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการและมีคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วน
2.ศูนย์ออกกำลังกายสำหรับพนักงาน
เป็นโปรแกรมสุขภาพในที่ทำงานที่เรียกได้ว่าเก่าแก่ที่สุดอันหนึ่ง มันคือการสร้างพื้นที่สำหรับการออกกำลังกายให้แก่พนักงาน เพื่อให้พวกเขาได้ดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้แข็งแรง ซึ่งบางครั้ง อาจจะเป็นการทำสัญญาสถานออกกำลังกายบางแห่ง เพื่อให้พนักงานภายในองค์กรได้เข้าไปใช้บริการก็ได้เช่นเดียวกัน แต่หากทำไม่ได้ ก็สามารถที่จะจัดเป็นกิจกรรมเล็ก ๆ ที่สอนเกี่ยวกับวิธีการขยับร่างกาย รวมถึงการเพิ่มกิจกรรมในที่ทำงาน จากนักกายภาพบำบัดและนักวิทยาศาสตร์การกีฬาที่จ้างมาช่วยดูแลพนักงานของตน
3.โครงการเลิกบุหรี่
เป็นโปรแกรมสุขภาพที่มุ่งเน้นในการรักษาและบำบัดสุขภาพร่างกายและการเงินของพนักงาน เนื่องจากบุหรี่นั้นก่อให้เกิดปัญหากับสุขภาพอย่างเรื้อรัง รวมไปถึงในผู้ที่สูบจนติด และกลายเป็นปัญหาทางด้านการเงิน ซึ่งโครงการนี้จะเป็นการให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแลรักษา และบำบัดพนักงานที่มีปัญหาเหล่านั้น ทั้งนี้ การเข้าร่วมโครงการดังกล่าว จำเป็นจะต้องเป็นโดยการสมัครใจของพนักงานคนนั้น ๆ
4.การขนส่งสาธารณะ
เป็นโปรแกรมสุขภาพที่มุ่งเน้นในการช่วยอำนวยความสะดวกในการมาทำงานของพนักงาน เพราะการเดินทางที่ยากลำบากนั้นจะส่งผลกับสุขภาพจิตของพนักงานได้เป็นอย่างมาก การเข้าไปซัพพอร์ตตรงนี้โดยการมีรถรับส่งขององค์กร หรือช่วยในค่าเดินทางที่สามารถทำให้พวกเขาสามารถเดินทางมาทำงานได้เร็ว, สะดวก และง่ายขึ้นจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เหมาะสม
5.อาหารกลางวันและของว่างเพื่อสุขภาพ (Healthy Break)
เป็นโปรแกรมสุขภาพที่มุ่งเน้นในการรักษาสุขภาพร่างกายของพนักงานภายในองค์กรจากอาหารการกิน โดยการจัดการมื้อเที่ยงและของว่างระหว่างการประชุม เพื่อสุขภาพให้กับพนักงานของตนเอง เพราะบางครั้ง พนักงานบางคนที่ต้องการดูแลรักษาสุขภาพเอง ก็ใช่ว่าจะมีเวลามาจัดการเตรียมมื้ออาหารเหล่านั้น โครงการนี้จึงจะเข้ามาดูแลในส่วนนี้ให้กับพวกเขา
6.Employee Assistance Program (EAP)
เป็นโปรแกรมสุขภาพที่มุ่งเน้นในการรักษาสุขภาพจิตใจของพนักงานภายในองค์กรจากปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต ด้วยการใช้นักจิตวิทยาให้คำปรึกษามืออาชีพมาคอยกำกับดูแล ให้แก่พนักงานที่ต้องการแก้ปัญหาของตน โดยไม่เปิดเผยข้อมูลของพวกเขา ซึ่งโครงการดังกล่าวเอง ในปัจจุบันก็เริ่มเป็นที่นิยมในหลาย ๆ องค์กรแล้วเช่นกัน
สรุป
Workplace Wellness Program หรือโปรแกรมสุขภาพในที่ทำงาน เป็นการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ระยะยาวที่จะสร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับองค์กร ซึ่งการดูแลทั้งสุขภาพกายและใจของพนักงานให้ดีนั้น ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จ จึงเป็นอีกหนึ่งโจทย์ที่ผู้บริหารจำเป็นจะต้องนำไปขบคิดให้ถี่ถ้วนนั่นเอง
ซึ่งการที่มีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาคอยดูแลแอปพลิเคชัน SAKID ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเราคือนวัตกรรมดูแลสุขภาพพนักงานแบบองค์รวมครอบคลุม 4 มิติ ได้แก่ อาหาร, ออกกำลังกาย, อารมณ์ และสังคม ที่จะช่วยซัพพอร์ตองค์กรด้วยโปรแกรมที่ออกแบบจากความเชี่ยวชาญของนักกำหนดอาหาร นักวิทยาศาสตร์การกีฬา และ นักจิตวิทยา สามารถดูแลสุขภาพของพนักงานอย่างครบครัน และครอบคลุมในทุก ๆ ส่วน เพื่อสุขภาพที่ยั่งยืนของพนักงานทุกคนในองค์กร
บทความที่น่าสนใจ

Health Activity จัดแบบไหนได้บ้าง?
ในช่วงต้นปีแบบนี้ หลายบริษัทอาจกำลังมองหากิจกรรมที่ทำร่วมกับพนักงาน ซึ่งกิจกรรมก็เป็นได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ขององค์กร หรือความต้องการพนักงาน ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร กิจกรรม CSR เพื่อสังคม กิจกรรมด้านอบรมเพิ่มศักยภาพพนักงาน หรือแม้แต่กิจกรรมที่ช่วยดูแลสุขภาพ หรือ happy workplace ให้แก่พนักงาน ซึ่งขอแนะนำตัวอย่างการจัดกิจกรรมด้าน Health ไว้เป็นไอเดียไปจัดกิจกรรม

บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดที่งาน Sports Day การไฟฟ้านครหลวง
บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดที่งาน Sports Day การไฟฟ้านครหลวง
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 Sakid ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดให้กับการไฟฟ้านครหลวงในงาน Sports Day ที่สนามกีฬาจุฬา โดยทีมงานมีแนะนำการเข้าร่วมโครงการ “MEA เบิร์นเกินร้อย” เปิดศึกการแข่งกันระหว่างทีมเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี ด้วยการส่งภารกิจสุขภาพผ่านแอพสะกิด และลุ้นรับของรางวัลในแต่ละเดือน

วิธีการคิดเชิงบวก Positive Thinking ในที่ทำงาน
การคิดในเชิงบวกการทำงานกับคนหลากหลายในสภาพแวดล้อมการทำงานที่เต็มไปด้วยความท้าทายและแรงกดดัน แนวคิดเชิงบวกเป็นที่สำคัญสำหรับอารมณ์และจิตใจที่ช่วยให้เรารับมือกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การมองโลกในแง่ดีไม่เพียงแต่ช่วยลดความเครียด แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กรอีกด้วย

Snack Bar จัดอย่างไรให้พนักงานสุขภาพดี
Snack bar สำหรับพนักงาน เป็นสวัสดิการที่ช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์ และ ประสิทธิภาพการทำงานได้ แต่ควรเลือกอาหารที่เหมาะสม เช่น ผลไม้ นม แครกเกอร์ หรือ อาหารที่มีพลังงานน้อย เพื่อช่วยให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีด้วยนั่นเอง

Workshop การเงิน มีเงินเก็บยันเกษียณ
เริ่มต้นดูแลสุขภาพการเงินให้กับพนักงาน ด้วยการให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ในเรื่องการเงิน ทั้งเรื่องภาษี การแบ่งเงินเก็บออม การลงทุน การซื้อประกันให้เหมาะสมกับตัวเอง และการวางแผนเกษียณอย่างมีคุณภาพ กับนักการเงินผู้ที่มีประสบการณ์ ที่อยากให้คุณวางแผนใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยไม่ต้องห่วงเรื่องเงิน

Workshop สายออฟฟิศ
Workshop สายพนักงานออฟฟิศ ที่นั่งทำงานหน้าคอมนานๆ ไม่ลุกไปไหนย่อมมีผลต่อสุขภาพแน่นอน การเสริมความรู้ด้านสุขภาพจากผู้เชี่ยวชาญเป็นกลุ่มเป็นสิ่งที่จำเป็นแก่พนักงานเพื่อที่จะได้มีสุขภาพแข็งแรง