Sakid -หมด Passion ในการทำงาน
URL Copied!

เมื่อพนักงานสูญเสีย Passion ในงาน: วิธีจุดประกายแรงบันดาลใจในที่ทำงานอีกครั้ง

Passion คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรในบริบทขององค์กร

SAKID-MOTIVATE

 

นิยามของ Passion

 

           โดยทั่วไปหมายถึงแรงผลักดันอย่างแรงกล้าที่ทำให้เรามุ่งมั่นและเต็มใจอุทิศตนให้กับกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งอย่างต่อเนื่องและทำอย่างเต็มกำลังความสามารถ (Vallerand, 2015) โดย  Passion ในการทำงาน (Work passion) คือ สภาวะทางจิตใจที่บุคคลรู้สึกกระตือรือร้น ยินดี และเต็มใจที่จะอุทิศเวลา พลังกาย พลังใจ ให้กับการทำงาน จนรู้สึกว่างานเป็นส่วนหนึ่งที่มีคุณค่าในชีวิต (Vallerand et al., 2003) และในทางจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การแบ่ง passion ออกเป็น 2 ประเภท คือ harmonious passion และ obsessive passion

          Harmonious passion คือ passion ในเชิงบวกที่เกิดจากแรงจูงใจภายใน ส่งผลให้เรามีความสุขและพึงพอใจเมื่อได้ทำในสิ่งที่รัก รู้สึกว่างานนั้นมีความหมายและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ในทางตรงข้าม Obsessive passion เป็น passion ที่เกิดจากแรงกดดันภายนอก ทำให้รู้สึกว่าต้องทำงานนั้นๆให้สำเร็จ ไม่เช่นนั้นแล้วจะรู้สึกผิด โดยอาจมองข้ามเวลาส่วนตัวและความสมดุลในชีวิต ซึ่งนำไปสู่ความเครียด ภาวะหมดไฟในการทำงาน (burnout) และทำให้ไม่มีความสุขในระยะยาวได้ (Vallerand, 2015)

สาเหตุที่ทำให้พนักงานสูญเสีย Passion ในการทำงาน


         การสูญเสีย passion ในการทำงานของพนักงานมีสาเหตุได้หลากหลาย ตั้งแต่การไม่ชอบงานที่ทำอยู่ รู้สึกว่างานไม่ท้าทายหรือน่าเบื่อจำเจ การมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชา ไปจนถึงความรู้สึกว่าไม่ได้รับการชื่นชม ยอมรับ หรือไม่ได้รับการตอบแทนที่เหมาะสมกับความทุ่มเทพยายาม (Dall, 2023)

 

         นอกจากนี้ การขาดสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวกับการทำงาน ความรู้สึกอึดอัดหรือไร้อิสระในที่ทำงาน รวมถึงความรู้สึกว่างานที่ทำขาดคุณค่าหรือไม่เห็นผลกระทบเชิงบวกต่อองค์กรและสังคม ก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้พนักงานหมดใจและเบื่อหน่ายกับงานที่ทำได้เช่นกัน (Dall, 2023)

อาการที่บ่งบอกว่าพนักงานกำลังหมด Passion ในงาน


เมื่อพนักงานเริ่มสูญเสีย passion ในการทำงาน มักจะสังเกตได้จากอาการต่างๆ เช่น

 

• ขาดแรงจูงใจในการทำงาน

 

• ทำงานไปวันๆแบบไร้ชีวิตชีวา

 

• มีอาการเหนื่อยล้า หงุดหงิด

 

• เบื่อหน่ายในงานบ่อยครั้ง

 

• คุณภาพของงานเริ่มลดลง ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆหายไป

 

• อัตราการขาดงานหรือมาทำงานสายเพิ่มขึ้น

 

 •รวมถึงไม่ค่อยอยากเข้าร่วมกิจกรรมหรือการสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงาน (Kuligowski, 2021)

 

            องค์กรจึงควรให้ความสำคัญและหาทางแก้ไขเมื่อสังเกตเห็นสัญญาณเหล่านี้ เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานหมดไฟในการทำงานในที่สุด

กลยุทธ์ในการสร้าง Passion ในการทำงานให้กับพนักงาน

 

SAKID-พนักงาน Happy


          ในการสร้างหรือรักษา passion ในการทำงานของพนักงาน สิ่งสำคัญคือการคัดเลือกพนักงานให้เหมาะสมกับลักษณะงาน โดยคำนึงถึงความสนใจและจุดแข็งของแต่ละคน องค์กรควรมีการกำหนดเป้าหมายและความคาดหวังที่ชัดเจน ร่วมกับการให้ feedback ที่สร้างสรรค์ ให้อิสระและโอกาสพนักงานได้คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจ และรับผิดชอบงานในแบบฉบับของตน (Burton, 2019) 

 

          Passion ยังสามารถสร้างขึ้นด้วยการสนับสนุนให้พนักงานได้พัฒนาทักษะและเติบโตในสายอาชีพ การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ในองค์กร การสื่อสารถึงวิสัยทัศน์และคุณค่าหลักขององค์กรเพื่อสร้างความผูกพันของพนักงานต่อเป้าหมายใหญ่ รวมถึงการให้รางวัล การยอมรับ และผลตอบแทนที่คู่ควรเมื่อพนักงานทำผลงานดี ก็ล้วนเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยจุดประกายให้เกิด passion ในการทำงาน (Burton, 2019; Dewar, 2022)

 

          นอกจากนี้ องค์กรควรให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงาน ผ่านกิจกรรมสานสัมพันธ์ต่างๆ เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการทำงานที่อบอุ่นและเป็นหนึ่งเดียว ขณะเดียวกัน ก็ต้องคำนึงถึงสมดุลชีวิตของพนักงานด้วย ไม่กดดันจนเกินไป ส่งเสริมให้มีเวลาพักผ่อนและทำกิจกรรม ได้ใช้ชีวิตในส่วนอื่นๆ นอกเหนือจากงาน เพื่อป้องกันความเครียดสะสมที่นำไปสู่ภาวะหมดไฟในที่สุด (Dewar, 2022)

       

         สรุปแล้ว ความเข้าใจถึงความสำคัญและปัจจัยที่ส่งผลต่อ passion ในการทำงานของพนักงาน ทั้งในแง่บวกและลบ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรในยุคปัจจุบัน เพื่อที่จะสามารถบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลได้อย่างเหมาะสม สร้างแรงจูงใจและความผูกพันให้พนักงานทุ่มเททำงานอย่างมีความสุข และป้องกันปัญหาที่อาจบั่นทอนประสิทธิภาพองค์กร จากพนักงานที่หมด passion ในงานได้อย่างทันท่วงที หรือเริ่มต้นป้องกันได้โดยจัดกิจกรรม Workshop เช่น ทำอย่างไรในวันที่หมด passion เพื่อช่วยให้พนักงานรู้ตัวตน และจัดการได้เบื้องต้น ส่วนถ้าหากต้องการคำแนะนำเชิงลึกเป็นรายบุคคล สามารถจัดนักจิตวิทยาให้คำปรึกษาได้ เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการปรึกษา SAKID

 

References:

-Burton, J. (2019, December 12). The key to passionate, productive employees: Meaningful work. https://www.psychologytoday.com/us/blog/hide-and-seek/201912/the-key-passionate-productive-employees-meaningful-work

-Dall, C. (2023, January 10). What to do when you’re not passionate about your work anymore. BetterUp. https://www.betterup.com/blog/passionate-about-work

-Dewar, G. (2022, December 4). What makes employees feel passionate about their jobs? The key role of managerial support. Parenting Science. https://parentingscience.com/passionate-employees/

-Kuligowski, K. (2021, July 15). 8 signs an employee has lost passion. Business News Daily. https://www.businessnewsdaily.com/15904-employee-passion-loss-signs.html

-Vallerand, R. J., Blanchard, C., Mageau, G. A., Koestner, R., Ratelle, C., Léonard, M., Gagné, M., & Marsolais, J. (2003). Les passions de l’ame: on obsessive and harmonious passion. Journal of Personality and Social Psychology, 85(4), 756–767. https://doi.org/10.1037/0022-3514.85.4.756

-Vallerand, R.J. (2015). The psychology of passion: A dualistic model. Oxford University Press.

บทความที่น่าสนใจ

_เก็บออม-หรือเพิ่มรายได้-จุดไหนเราควรจะโฟกัส-SAKID

เก็บออมหรือเพิ่มรายได้ จุดไหนเราควรจะโฟกัส

 ในสถานการณ์ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์เมื่อปี 2565 ที่มีจำนวนผู้สูงอายุราวร้อยละ 20-30 และไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 28 ในปี 2574 จึงเป็นส่วนหนึ่งให้คนวัยทำงานเริ่มวางแผนทางการเงิน เพื่อให้พร้อมรับกับวัยเกษียณที่จะมาถึง ซึ่งมีทั้งเก็บออมเงินจากการทำงานในปัจจุบัน หรือเลือกที่จะหาช่องทางเพิ่มรายได้ แล้วแบบไหนที่ควรจะเลือกดี

อ่านต่อ »
Sakid -Csr พนักงานออกกำลังกาย

CSR กับ SAKID พนักงานได้ออกกำลังกายและช่วยเหลือสังคมได้ด้วย

  การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้กับพนักงานโดยการนำ CSR มารวมกันด้วย เป็นหนึ่งในไอเดียในการทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพพนักงานในบริษัทและยังมีกิจกรรมในการทำสิ่งที่มีประโยชน์คืนสู่สังคมอีกด้วย เป็นกิจกรรมที่ได้ประโยชน์เป็นอย่างมากนอกจากสุขภาพพนักงานดีขึ้นด้วยกิจกรรมส่งเสริม Productivity และยังมีกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสังคม

อ่านต่อ »
Employee Assistance Program ช่วยคุณได้อย่างไร

Employee Assistance Program ยุคใหม่ช่วยอะไรคุณได้บ้าง

Employee Assistance Program คือเครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่วนรายล้อมตัวพนักงาน ช่วยทำให้ปัญหาต่าง ๆ ของเขาดีขึ้น แต่ดียังไง มาดูกัน

อ่านต่อ »
สร้าง-empathic-leader-พนักงานดีใจ-SAKID

สร้าง empathic leader พนักงานดีใจ

คงได้ยินคำว่า Empathic Leader มากันบ้างแล้วใช่ไหมคะ  ผู้นำที่มีความเข้าอกเข้าใจเป็นอย่างไรกันนะ…ยอมรับฟังและเข้าใจลูกน้องอย่างไม่มีเงื่อนไข  ไม่คิดตัดสินลูกน้อง  วางใจเป็นกลางแบบนั้นเลยหรือไง  แล้วระบบงานล่ะ  อีกทั้งตัวเลขต่างๆ ที่ต้องทำให้ตามเป้าบริษัท  ความเครียดของบอสก็เยอะกันแล้ว  จะมาทำเป็นใจว่างๆ ฟังลูกน้องทั้งวันกันได้อย่างไร

อ่านต่อ »
5 วิธีเพิ่มก้าว-Sakid thumbnail

5 วิธีเพิ่มก้าวสำหรับพนักงานออฟฟิศ

สำหรับชาวออฟฟิศที่นั่งทำงานนาน ๆ อยู่แต่กับหน้าจอคอมทำงานไม่ว่าด้วยเหตุผลตารางงานที่แน่นหรือทำงานจนเพลินจนไม่ลุกไปไหน พนักงานจำนวนมากมักจะใช้เวลาส่วนใหญ่ของวันในการนั่งทำงานโดยไม่ลุกเดินหรือยืดเส้นยืดสายอย่างเพียงพอ พฤติกรรมเหล่านี้อาจดูเป็นเรื่องปกติในสังคมปัจจุบัน แต่แท้จริงแล้วกลับสร้างผลกระทบทางสุขภาพอย่างเงียบๆทำให้เกิดผลที่ตามมาทั้งออฟฟิศซินโดม และการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะต่างๆในร่างกาย

อ่านต่อ »
Sakid thumbnail-หมด Passion ในการทำงาน

เมื่อพนักงานสูญเสีย Passion ในงาน: วิธีจุดประกายแรงบันดาลใจในที่ทำงานอีกครั้ง

โดยทั่วไปหมายถึงแรงผลักดันอย่างแรงกล้าที่ทำให้เรามุ่งมั่นและเต็มใจอุทิศตนให้กับกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งอย่างต่อเนื่องและทำอย่างเต็มกำลังความสามารถ (Vallerand, 2015) โดย  Passion ในการทำงาน (Work passion) คือ สภาวะทางจิตใจที่บุคคลรู้สึกกระตือรือร้น ยินดี และเต็มใจที่จะอุทิศเวลา พลังกาย พลังใจ ให้กับการทำงาน จนรู้สึกว่างานเป็นส่วนหนึ่งที่มีคุณค่าในชีวิต (Vallerand et al., 2003) และในทางจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การแบ่ง passion ออกเป็น 2 ประเภท คือ harmonious passion และ obsessive passion

อ่านต่อ »