
แพลตฟอร์ม สื่อสารพูดคุยในบริษัทที่น่าสนใจ
- 13/11/24
การแยกเรื่องงานออกกจากความเป็นส่วนตัวเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจำให้เรารู้จัก Work Life Balance เวลาได้เป็นอย่างดี ในการใช้แพลตฟอร์มที่มีความเป็นส่วนตัวมาทำงาน สั่งงาน ตามงาน อาจจะไม่เหมาะสักเท่าไรในบริษัท ส่วนลูกค้าถ้าจะทำให้ติดต่อง่ายอาจจะใช้เป็นช่องทางLine officialของบริษัทในการพูดคุยกับลูกค้าได้ มีเวลาทำการที่ชัดเจนโดยไม่ใช้ไลน์ส่วนตัวในการพูดคุย
4 แพลตฟอร์ม สื่อสารภายในอย่างเป็นระบบ
นอกจากอีเมลที่มีความสำคัญในการทำงานแล้ว ยังมีแพลตฟอร์มซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานอย่างเป็นระบบและมีฟีเจอร์ที่ช่วยให้การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
1.Microsoft Teams
Microsoft Teams เหมาะสำหรับองค์กรทุกขนาด โดยเฉพาะองค์กรที่มีการใช้งาน Microsoft 365 เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อและใช้ร่วมกับบริการ Microsoft ได้อย่างลื่นไหล
เหมาะสำหรับ
• บริษัทที่ต้องใช้เครื่องมือ Microsoft เช่น Word, Excel, PowerPoint
• มีระบบแชทในการทำงานร่วมกันภายในทีมและระหว่างแผนก
• การประชุมออนไลน์รองรับการประชุมทางวิดีโอพร้อมฟีเจอร์การบันทึก และการแชร์ไฟล์ผ่าน OneDrive
• จัดการงานและการแชร์เอกสารผ่าน SharePoint ซึ่งช่วยให้ทีมสามารถเข้าถึงเอกสารร่วมกันได้อย่างง่ายดาย
ข้อจำกัด
• อินเทอร์เฟซอาจดูซับซ้อนและไม่เป็นมิตรกับผู้ใช้ใหม่
• ต้องใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมาก
• เวอร์ชันฟรีมีข้อจำกัดเรื่องฟีเจอร์
2. Slack
Slack เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมมากในการสื่อสารทีม โดยเฉพาะองค์กรที่มีทีมขนาดเล็กถึงกลางหรือทีมที่ต้องการความยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการสนทนา
เหมาะสำหรับ
• การสื่อสารภายในทีมอย่างไม่เป็นทางการ
• การสร้างช่องทางสนทนาแยกตามโปรเจกต์
• การใช้งานร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ (เช่น Trello, Google Drive)
• เหมาะสำหรับสตาร์ทอัพและองค์กรที่เน้นการทำงานแบบ Remote
ข้อจำกัด
• มีข้อจำกัดสำหรับเวอร์ชั่นฟรี (การค้นหาข้อความได้ไม่เกิน 10,000 ข้อความ)
• ราคาแพลนที่สูงหากต้องการใช้ฟีเจอร์เต็มรูปแบบ
• อาจทำให้เกิดการแยกกลุ่มย่อยมากเกินไปจนหาข้อมูลยาก
3. Zoom
Zoom โดดเด่นในเรื่องการประชุมออนไลน์ เหมาะสำหรับการประชุมขนาดใหญ่และการจัดงานสัมมนาออนไลน์ โดยเน้นที่คุณภาพของเสียงและวิดีโอ
เหมาะสำหรับ
• การจัดประชุมทีม การสัมมนาออนไลน์ หรือการอบรมทางไกล
• การจัดงานประชุมขนาดใหญ่ เช่น การประชุมลูกค้า หรือการประชุมทั่วองค์กร
• การใช้งานในองค์กรหรือทีมที่ต้องการการประชุมบ่อยครั้ง
• Breakout Rooms ช่วยให้การประชุมขนาดใหญ่สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเพื่ออภิปรายได้
ข้อจำกัด
• ระบบแชทใน Zoom ไม่เหมาะสำหรับการสนทนาแบบทีมระยะยาว
• เวอร์ชันฟรีจำกัดเวลาประชุมไว้ที่ 40 นาทีสำหรับการประชุมกลุ่ม
• ไม่มีการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันอื่น ๆ มากมายเท่า Slack หรือ Teams
4. Google Chat
Google Chat เหมาะสำหรับทีมที่ใช้งาน Google Workspace (เดิมคือ G Suite) ซึ่งเชื่อมต่อกับเครื่องมือของ Google ได้อย่างสมบูรณ์ เช่น Google Docs, Google Drive, และ Google Calendar
เหมาะสำหรับ
• ใช้ร่วมกับ Google Workspace (Google Docs, Google Sheets, Google Calendar) อย่างเป็นประจำ
• การสื่อสารระหว่างทีมที่ต้องการระบบจัดการเอกสารร่วมกันที่ง่าย
• มีระบบการสนทนาแบบกลุ่มหรือแยกหัวข้อเฉพาะในห้องแชท
• สามารถแชร์ไฟล์จาก Google Drive ได้อย่างสะดวก
• สำหรับองค์กรที่ต้องการการทำงานที่เชื่อมต่อกับระบบ Google
ข้อจำกัด
• ฟีเจอร์และความสามารถไม่หลากหลายเท่า Slack หรือ Teams
• มักรวมอยู่ในแพ็กเกจ Google Workspace ต้องใช้ร่วมกับ Google Workspace อย่างเต็มรูปแบบเพื่อใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
• การค้นหาข้อมูลเก่าอาจไม่สะดวกนัก
การเลือกแพลตฟอร์มให้เหมาะสมกับบริษัทขึ้นอยู่กับ?
1.วิเคราะห์ลักษณะงานและขนาดทีม
• ทีมเล็ก (สตาร์ทอัพหรือธุรกิจขนาดเล็ก): เน้นการสื่อสารที่รวดเร็วและยืดหยุ่น เช่น Slack เพราะใช้งานง่ายและปรับเปลี่ยนตามลักษณะงานได้
• ทีมขนาดกลางถึงใหญ่: เลือกแพลตฟอร์มที่รองรับการทำงานในระดับองค์กร เช่น Microsoft Teams หรือ Google Chat ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับเครื่องมือจัดการไฟล์และมีฟีเจอร์ครบครัน
2.ลักษณะการสื่อสาร
• ต้องการการสื่อสารแบบเรียลไทม์: แพลตฟอร์มอย่าง Slack หรือ Microsoft Teams จะเหมาะสม เพราะรองรับการแชทและการประชุมวิดีโอที่มีประสิทธิภาพ
• เน้นการประชุมวิดีโอหรือสัมมนาออนไลน์: Zoom เหมาะสมสำหรับการประชุมขนาดใหญ่และการจัดสัมมนาออนไลน์ ด้วยคุณภาพเสียงและวิดีโอที่สูง
3.เครื่องมือที่บริษัทใช้อยู่แล้ว
• บริษัทที่ใช้ Microsoft Office: เลือก Microsoft Teams ซึ่งเชื่อมโยงกับ Office 365 ได้ดีและมีฟีเจอร์ครบถ้วนสำหรับการทำงานร่วมกับแอป Microsoft
• บริษัทที่ใช้ Google Workspace: เลือก Google Chat หรือ Google Meet เพื่อประสานการทำงานกับ Google Docs, Sheets และ Drive ได้อย่างไร้รอยต่อ
4.งบประมาณ
• แพลนฟรี: เหมาะสำหรับทีมเล็กที่มีงบจำกัด เช่น Slack (Free) หรือ Microsoft Teams (Free) ซึ่งมีข้อจำกัดบางอย่างแต่ยังคงใช้งานได้ดี
• แพลนเสียเงิน: หากองค์กรมีความต้องการที่สูงขึ้น เช่น การเก็บประวัติแชทยาวนาน, ฟีเจอร์การประชุมที่ไม่มีข้อจำกัดเวลา การสมัครใช้บริการแพลนเสียเงินอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เช่น Slack (Paid), Zoom (Pro), หรือ Microsoft Teams(Paid)
การเลือกใช้แพลตฟอร์มที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการสื่อสารในองค์กรได้อย่างมาก และยังแบ่งเวลาการทำงานที่สามารถรักษาความสมดุลความเป็นส่วนตัวได้ ส่วนบริษัทไหนที่กำลังมองหากิจกรรมส่งเริมสุขภาพพนักงาน ไม่ว่าด้านร่างกายหรือจิตใจ สามารถดูหน้าเว็บ SAKID ได้ ทางเรามี Workshop จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะและมี สวัสดิการ Consult นักจิตวิทยา นักกำหนดอาหาร และนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่จะมาคอยดูแลสุขภาพพนักงาน
บทความที่น่าสนใจ

“กิจกรรม csr” การทำเพื่อสังคมที่สร้างประโยชน์ได้มากกว่าที่คุณคิด
กิจกรรม CSR คืออะไร ทำไมองค์กรใหญ่ ๆ ถึงต้องทำ? ประเภทของกิจกรรม CSR และตัวอย่างกิจกรรมจากธุรกิจชั้นนำ [แนะนำแนวทางจัดกิจกรรม CSR]

7 วิธีดูแลสุขภาพจิตใจพนักงาน เพื่อสร้างความสุขและประสิทธิภาพในการทำงาน
ในโลกของการทำงานยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยความเครียดและความกดดัน ปัญหาสุขภาพจิตใจของพนักงานกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกองค์กรต้องให้ความสนใจ จากการสำรวจของ WHO พบว่ากว่า 264 ล้านคนทั่วโลกต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้า และอีกกว่า 284 ล้านคนมีความวิตกกังวลผิดปกติ ซึ่งนอกจากจะส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตพนักงานแล้ว ยังบั่นทอนประสิทธิภาพการทำงานไปด้วย (World Health Organization, 2022) และนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพจิตมีหลายรูปแบบ ได้แก่ ภาวะเครียดเรื้อรัง ความวิตกกังวล ภาวะหมดไฟ โรคซึมเศร้า โดยปัญหาสุขภาพจิตเหล่านี้มีสาเหตุได้หลากหลายด้าน ทั้งจากลักษณะงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน การบริหารจัดการ รวมถึงปัญหาส่วนตัว (Pfeffer, 2018)

บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตมีนบุรี
บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตมีนบุรี
เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2566 Sakid ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดให้กับการไฟฟ้านครหลวง เขตมีนบุรี ในกิจกรรม Fun for Fit เพื่อแนะนำการเข้าร่วมโครงการ “MEA เบิร์นเกินร้อย” เปิดศึกการแข่งกันระหว่างทีมเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี ด้วยการส่งภารกิจสุขภาพผ่านแอพสะกิด และลุ้นรับของรางวัลในแต่ละเดือน

ประเมินผลการทำงานอย่างไร ไม่ให้ลำบากใจ
ประเมินผลการทำงานอย่างไร ไม่ให้ลำบากใจ
เมื่อฤดูประเมินมาถึง…บอสหลายคนอาจรู้สึกว่าการต้องวิจารณ์หรือพูดถึงข้อดีข้อเสียต่อหน้าคนๆ นั้นตรงๆ…เป็นเรื่องน่าอึดอัด ส่วนในมุมมองของตัวผู้ถูกประเมินเอง เมื่อต้องมาฟังข้อเสียหรือเรื่องแย่ๆ ของตน…บางคนก็รู้สึกมีอารมณ์ ไม่ว่าจะผิดหวัง เศร้าเสียใจ หรือโกรธ นั่นทำให้พวกเขาพูดจาหรือแสดงท่าทีปกป้องตนเองในแบบต่างๆ แถมไม่ใช่แค่ตอนพูดคุยประเมินกันเท่านั้น หลังจากนั้นบางคนยังอาจแสดงความไม่พอใจหรือต่อต้านองค์กร ตั้งแต่มาทำงานสาย หยุดงาน จนไปถึงแสดงความก้าวร้าว พลอยทำให้องค์กรและผู้ร่วมงานอึดอัดและเสียหายไปด้วย…เป็นเรื่องน่าลำบากใจใช่ไหม

Hybrid Working โอกาส ความท้าทาย สำหรับองค์กร
หลายปีที่ผ่านมาหลายคนอาจจะได้ยินหรือกำลังมองหางานที่ไม่ต้องเข้าออฟฟิศแต่งานบางประเภทก็ยังจำเป็นที่จะต้องเข้ามาออฟฟิศอยู่ การทำงานแบบ Hybrid Working เป็นการทำงานคนละครึ่งทางที่เริ่มมีความนิยมมากขึ้นในหลายบริษัทและยังมีการดึงดูดพนักงานในการตัดสินใจร่วมทำงานกับบริษัทอีกด้วย ในยุคที่เทคโนโลยีและการสื่อสารพัฒนาอย่างก้าวกระโดด แนวคิดเกี่ยวกับการทำงานก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก หนึ่งในรูปแบบการทำงานที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบันคือ Hybrid Working Model หรือ รูปแบบการทำงานแบบไฮบริด ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างการทำงานในสำนักงานและการทำงานจากระยะไกล (Remote Work) – แนวทางนี้ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ยังตอบสนองความต้องการของพนักงานในด้านความยืดหยุ่นและสมดุลชีวิตส่วนตัวอีกด้วย

Well-Being กลยุทธ์สร้างสุขภาวะที่ดีให้กับพนักงาน
ทุกธุรกิจ ทุกองค์กร มีการจัดการคนทำงานในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ถ้าวันนี้ลองสังเกตดูว่า พนักงานของเรา ยังมีความสุขในการทำงานหรือไม่ การทำงานของแต่ละคนมีประสิทธิภาพที่ตอบโจทย์องค์กรมากแค่ไหน และคุณภาพชีวิตของพนักงานดีขึ้นทุกด้านรึเปล่า หากผู้นำหรือผู้บริหารสามารถมองจุดนี้ได้ ธุรกิจก็จะสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน