
โรงอาหารสุขภาพดี ทำอย่างไรให้ได้ผล สำหรับพนักงานบริษัทหรือโรงงาน
- 28/03/25
พนักงานมาทำงานอยู่กับบริษัทตั้งแต่เช้ายันเย็น แน่นอนว่าอาหารการกินส่วนใหญ่ก็มาจากโรงอาหารทั้งข้าวเช้า เที่ยง และมื้อว่าง เนื่องจากบริษัทที่มีโรงอาหารจะไม่ค่อยอยู่ในพื้นที่ในเมืองหรือชุมชน ดังนั้นโรงอาหารจึงเป็นแหล่งอาหารหลักของพนักงาน ซึ่งโรงอาหารสามารถสะท้อนพฤติกรรมการกินอาหารของพนักงานได้อย่างดีจากผลตรวจสุขภาพ ฉะนั้นมาเริ่มต้นดูแลสุขภาพพนักงานที่โรงอาหารกันเถอะ
เกณฑ์สุขาภิบาลอาหาร 2561
ก่อนอื่นเลยเรามารู้จักเกณฑ์สุขาภิบาลอาหาร 2561ที่เป็นมาตรฐานที่กรมอนามัยกำหนดขึ้นเพื่อควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารในโรงอาหาร ร้านค้า และสถานประกอบการด้านอาหารหากโรงอาหารผ่านเกณฑ์สุขาภิบาล 2561 หมายความว่า มีมาตรฐานความสะอาด ปลอดภัย และถูกสุขอนามัย ลดความเสี่ยงของโรคที่เกิดจากอาหาร และช่วยให้พนักงานได้รับอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ โดยมี 5 หลักเกณฑ์สำคัญดังนี้
1.สถานที่และสภาพแวดล้อม
• โรงอาหารต้องสะอาด ถูกสุขลักษณะ อากาศถ่ายเทดี
• มีที่เก็บวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่เหมาะสม ป้องกันสัตว์พาหะนำโรค
• แยกโซนปรุงอาหาร วางจำหน่าย และที่ล้างจานให้ชัดเจน
2.วัตถุดิบและการจัดเก็บอาหาร
• ใช้วัตถุดิบที่ปลอดภัย ไม่มีสารปนเปื้อน และมีแหล่งที่มาชัดเจน
• แยกเก็บอาหารดิบและอาหารปรุงสุก ป้องกันการปนเปื้อน
• ควบคุมอุณหภูมิของอาหาร เช่น อาหารร้อนต้องเก็บไว้ที่ ≥60°C อาหารเย็นที่ ≤5°C
3.การปรุงและการจัดเตรียมอาหาร
• ใช้วิธีปรุงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ เช่น ปรุงสุกทั่วถึง หลีกเลี่ยงไขมันทรานส์
• หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะที่เป็นอันตราย เช่น โฟมหรือพลาสติกที่ไม่ทนความร้อน
• มีการตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ใช้ในการปรุงอาหาร
4.ภาชนะและอุปกรณ์
• ทำความสะอาดอุปกรณ์และภาชนะสม่ำเสมอ
• แยกอุปกรณ์สำหรับอาหารดิบและอาหารปรุงสุก
• มีภาชนะเก็บขยะมิดชิดและทิ้งขยะอย่างถูกวิธี
5.สุขอนามัยของผู้สัมผัสอาหาร
• ผู้ประกอบอาหารต้องแต่งกายสะอาด ใส่ผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผม และหน้ากากอนามัย
• ล้างมือให้สะอาดก่อนปรุงอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
• ผ่านการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหาร และตรวจสุขภาพประจำปี

การสนับสนุนในการทำโรงอาหารให้มีอาหารสุขภาพมากขึ้น
เริ่มต้นด้วยสำรวจความต้องการของพนักงาน
ทำแบบสอบถามหรือสัมภาษณ์พนักงานว่าอยากได้อาหารสุขภาพประเภทใด เช่น
• เมนูแคลอรีต่ำ
• อาหารที่มีไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย
• อาหารมังสวิรัติ/วีแกน
• ตัวเลือกอาหารที่เหมาะกับคนแพ้อาหาร
เริ่มปรับให้โรงอาหารมีทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพขึ้น
• เพิ่มตัวเลือกอาหารสุขภาพ ในเมนูประจำวัน (เช่น ข้าวกล้องแทนข้าวขาว, โปรตีนจากพืช)
• สามารถขอลด น้ำมัน น้ำตาล และเกลือ ในอาหารตามสั่งได้
• มี สัญลักษณ์สุขภาพ ติดบนเมนู เพื่อให้พนักงานเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ง่ายขึ้น
• สนับสนุนให้มีสลัดบาร์หรือผลไม้ ราคาพิเศษ
บริษัทอาจช่วยลดราคาหรือให้สวัสดิการ
• ลดราคาหรือให้คูปองส่วนลด สำหรับเมนูสุขภาพ
• สนับสนุนเงินช่วยเหลือร้านค้าในโรงอาหาร ให้ขายอาหารสุขภาพในราคาที่เข้าถึงได้
• จัดให้มีสะสมแต้ม เช่น กินอาหารสุขภาพครบ 10 มื้อ รับฟรี 1 มื้อ หรือรางวัลอื่นๆ
จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
เพื่อให้พนักงานสนใจอาหารสุขภาพมากขึ้น บริษัทสามารถจัดกิจกรรมเกี่ยวกับโภชนาการได้
• เชิญนักนักกำหนดอาหาร โภชนาการมาให้คำแนะนำเรื่องอาหารเพื่อลดความเสี่ยงโรคNCDs
• จัดเวิร์คช็อป “ทำอาหารสุขภาพง่ายๆ” หรือ Health talk กินยังไงให้มีความสุขและสุขภาพดี
• การแข่งขันส่งภารกิจอาหารผ่านSAKID App “กินอาหารสุขภาพ 28 วัน” พร้อมรับของรางวัล
ข้อดีของการให้พนักงานได้รับอาหารสุขภาพไม่ได้เป็นแค่สวัสดิการ แต่ยังช่วยให้บริษัทได้รับผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
สุขภาพพนักงานดีขึ้น → ลดอัตราการลาป่วยและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
พนักงานมีพลังงานและสมาธิที่ดีขึ้น → ลดความเหนื่อยล้าและอาการง่วงหลังมื้ออาหาร
เสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร → ทำให้บริษัทดูแลพนักงานอย่างแท้จริง สร้าง Employer Branding ที่ดี
ลดค่ารักษาพยาบาลและประกันสุขภาพ → ถ้าพนักงานสุขภาพดี บริษัทอาจลดภาระค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้
เริ่มต้นสุขภาพดีด้วยการกินอาหารที่ดีจากโรงอาหาร ทางบริษัทที่สนใจสามารถปรึกษากับทาง SAKID ในการช่วยดูแล Healthy Canteen ในการเป็นที่ปรึกษาโดยทีมนักกำหนดอาหารวิชาชีพ อาจจะลองเพิ่มเมนูสุขภาพ 3-5 รายการใน 1-2 เดือน แล้วเก็บฟีดแบค หรือจัดกิจกรรมสุขภาพทั้งWorkshop และ เล่นส่งภารกิจสุขภาพผ่าน SAKID App ได้ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สุขภาพดีกันได้ทั้งบริษัท ขอทดลองใช้แอพฟรีได้ 7วัน
แหล่งอ้างอิง
กรมอนามัย. (2561). กฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561. กระทรวงสาธารณสุข. เข้าถึงได้จาก https://multimedia.anamai.moph.go.th/infographics/จำหน่ายอาหาร2561
บทความที่น่าสนใจ

จัดคลาสออกกำลังกายอย่างไรให้โดนใจคนที่ทำงาน
เมื่อคนใช้เวลากว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในที่ทำงานจดจ่ออยู่กับการทำงาน เวลาพักน้อย การจะขยับตัวเพิ่มกิจกรรมทางกายระหว่างวันก็เป็นไปได้ยากเพราะไม่อาจละจากงานตรงหน้าได้ ด้วยปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น การจะออกกำลังกายให้ได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำขององค์การอนามัยโลกยิ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของพนักงานและเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

มารู้จัก Healthy Organization องค์กรสุขภาพดี
จากการสำรวจสุขภาพของประชากรไทยครั้งที่ 6 ซึ่งดำเนินการในปี 2562-2563 ซึ่งประเด็นในการสำรวจครอบคลุมในเรื่องพฤติกรรมสุขภาพ ภาวะโรคที่สามารถตรวจวัดพื้นฐาน ได้แก่ การวัดสัดส่วนร่างกาย ความดันโลหิต และการตรวจวัดน้ำตาล และไขมันในเลือด เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้งในวัยทำงาน และผู้สูงอาย พบว่า ปัญหาอันดับต้นของสังคมในขณะนี้คือ โรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะภาวะอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงซึ่งมีผลต่ออุบัติการณ์โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มีสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น เกิดภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการดูแลรักษา ในขณะที่ความสามารถในการทำงานก็ด้อยลงตามสภาพร่างกายส่งผลเสียเป็นวงกว้างทั้งแก่ตัวพนักงาน และองค์กร ดังนั้นมาตรการป้องกันและลดภาระโรคเหล่านี้จึงเป็นประเด็นสำคัญมาก

“จัดโต๊ะทำงาน” สร้างสุขในการทำงานง่ายๆ ด้วยความเป็นระเบียบ
เคยไหม? ก่อนเริ่มทำงาน ต้องจัดโต๊ะ จัดห้องให้เรียบร้อยก่อน ไม่งั้นจะรู้สึกหงุดหงิด ไม่มีสมาธิทำงาน ไขประโยชน์ของการจัดโต๊ะทำงาน พร้อมเทคนิคจัดโต๊ะ เคลียร์สมอง!

Cooking class สลัดโรลเพื่อสุขภาพ
Cooking class สลัดโรลเพื่อสุขภาพ
วันที่ 21 มีนาคม 2568 SAKIDได้จัดกิจกรรม Cooking Class ให้กับพนักงานบริษัทภิรัช โดยนักกำหนดอาหารจะมาให้ความรู้ Health talk สุขภาพอาหารการกินอาหารสำหรับชาวออฟฟิศสั้นๆ ก่อนเริ่มสอนทำอาหาร สลัดโรล จะเริ่มจากการให้ความรู้เรื่องสารอาหารต่างๆ ที่อยู่ในเมนูหัวใจหลักการทำอาหารเพื่อสุขภาพ การมีแหล่งโปรตีนที่ดี ผักและสมุนไพรต่างๆเพื่อเพิ่มรสชาติในการกินสลัดโรล โดยเมนูจะเป็นสลัดโรลทูน่าและเต้าหู้ ที่สามารถหาซื้อและเตรียมได้อย่างง่ายและเร็วทำกินเองได้ที่บ้านหรือจะทำใส่กล่องมากินเป็นข้าวเช้าก็ได้

Employee Assistance Program ยุคใหม่ช่วยอะไรคุณได้บ้าง
Employee Assistance Program คือเครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่วนรายล้อมตัวพนักงาน ช่วยทำให้ปัญหาต่าง ๆ ของเขาดีขึ้น แต่ดียังไง มาดูกัน

WORKSHOP Healthy Canteen
กิจกรรม “อบรม พ่อครัว แม่ครัว ให้ทำอาหารสุขภาพมากขึ้น”
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 SAKID ได้จัดกิจกรรม Workshop “อบรม พ่อครัว แม่ครัว ให้ทำอาหารสุขภาพมากขึ้น”