
Work ต่าง Generation (การทำงานร่วมกันของคนต่างวัย)
- 11/11/23
Work ต่าง Generation
เวลาผ่านไป เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จะทำยังไง ให้การทำงานของคนต่าง generation หรือ แต่ละ gen ในบริษัททำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่มีปัญหา สำหรับบริษัทที่เปิดมาอย่างยาวนาน ก็ต้องย่อมมีคนทำงานเกิน 10 ปี ในระดับหัวหน้าและผู้บริหารระดับสูง ในขณะเดียวกันบริษัทก็ต้องรับคนใหม่เข้ามาเพื่อสานต่อการทำงานของบริษัท
ทำไมเราต้องสนใจเรื่อง Gen
ในศตวรรษที่ 21 นี้ เรียกได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์การทำงานของโลก ที่หลายบริษัท มีพนักงานอยู่ร่วมกันถึง 5 Generation เลยทีเดียว แต่ปัญหาที่หลายบริษัทเจอก็คือ การทำงานร่วมกันให้สามารถสอดประสานได้ในแต่ละ Gen เพราะแต่ละ Gen ต่างก็มีแนวคิด และการสื่อสารในการทำงานแตกต่างกัน หากแต่ละ Gen ไม่พยายามสร้างความเข้าใจกัน ก็อาจทำให้การทำงานเกิดการสะดุดได้ หรือบรรยากาศในการทำงานที่ไม่ดี ดังนั้นมาดูกันก่อนว่าแต่ละ Gen มีแนวคิดเป็นอย่างไร
Generation X (Gen X):
-ช่วงเกิด: ประมาณช่วงปี 1965 – 1980
-ลักษณะความคิด: Gen X เต็มไปด้วยความอิสระและความเป็นอิสระ พวกเขาอาจมีทักษะทางเทคโนโลยีและความเป็นอิสระในการทำงาน
-ความต้องการในการทำงาน: Gen X ค่อนข้างรักการทำงานที่มีความเป็นมาตรฐาน เขามองหาความมั่นคงในการงานและมีความสนใจในการพัฒนาทักษะที่จะเสริมสร้างอาชีพของตนเอง
-ลักษณะการสื่อสาร: Gen X มักใช้การสื่อสารโดยตรงและส่วนใหญ่ใช้อีเมลเป็นช่องทางหลักในการสื่อสาร
Generation Y (Millennials):
– ช่วงเกิด: ประมาณช่วงปี 1981 – 1996
-ลักษณะความคิด: Millennials มักมีความคิดเปิดกว้างและรักการเปลี่ยนแปลง พวกเขาสนใจการทำงานที่มีความหมายและการเสริมสร้างทักษะที่มีประสิทธิภาพ
-ความต้องการในการทำงาน: Millennials ค่อนข้างรักการทำงานที่มีความยืดหยุ่นและโอกาสในการเรียนรู้ พวกเขามองหาการทำงานที่สร้างผลกระทบและช่วยให้โลกดีขึ้น
-ลักษณะการสื่อสาร: Millennials มักใช้โซเชียลมีเดียและการสื่อสารออนไลน์ในการสื่อสาร พวกเขาชอบการสื่อสารระหว่างกัน และทำให้งานที่มีการทำงานร่วมกันผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
Generation Z:
-ช่วงเกิด: ประมาณช่วงปี 1997 – 2012
-ลักษณะความคิด: Gen Z เป็น Generation ที่เติบโตขึ้นในยุคดิจิทัลและมีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยี พวกเขามีความรู้สึกต่อการสร้างสิ่งใหม่ ๆ และการเรียนรู้ผ่านการทดลอง
-ความต้องการในการทำงาน: Gen Z มักมองหาโอกาสในการทำงานที่ท้าทายและเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง พวกเขาเน้นความรวดเร็วและการสร้างอะไรใหม่
-ลักษณะการสื่อสาร: Gen Z มักใช้แพลตฟอร์มสื่อสารแบบระหว่างผู้ใช้ เช่น แอปพลิเคชันข้อความและวิดีโอคอล
การเข้าใจความแตกต่างนี้จะช่วยให้สามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในที่ทำงานและสนับสนุน Generation ต่าง ๆ ในการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การให้ความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างทางกายภาพและทัศนคติที่ส่งผลต่อวิธีการทำงานร่วมกันและการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกของบริษัท
การแก้ปัญหาการทำงานระหว่าง Generation
การไม่เข้าใจกันและมีความคิดเห็นที่ต่างกันทำให้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้น ไม่ว่า Gen ไหนย่อมเกิดขึ้นได้ เป็นเรื่องปกติของการทำงานร่วมกัน การพูดคุยไกล่เกลี่ยและสร้างความเข้าใจต่อกัน จะช่วยหลีกเลี่ยงการสร้างความขัดแย้ง
การใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
การใช้ช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมสำหรับแต่ละ Generation เช่น การใช้โซเชียลมีเดียสำหรับ Gen Z, อีเมลหรือการประชุมในสถานที่ทำงานสำหรับ Gen X และ Gen Y หาพื้นที่ออนไลน์หรือออฟไลน์เพื่อให้ใช้สื่อสารและแลกเปลี่ยนความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การสร้างโปรแกรมการฝึกอบรมและพัฒนาที่เหมาะสม
การพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมที่สนับสนุนความรู้และทักษะที่ต้องการในการทำงานร่วมกัน โดยพิจารณาความแตกต่างในรูปแบบการเรียนรู้ของ Generation แต่ละกลุ่ม
การสร้างโอกาสในการทำงานร่วมกัน
การสร้างโอกาสให้ Generation ทุกกลุ่มมีโอกาสทำงานร่วมกันในโครงการหรือกิจกรรมพิเศษ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความร่วมมือ โดยการดึงความสารมารถแต่ละ Gen มาใช้ในงานเพื่อเป้าหมายงานร่วมกัน
การเปิดพื้นที่แสดงความคิดเห็น
เป็นการสร้างบรรยากาศและความรู้ทางด้านความคิด การเปิดใจรับฟังความคิดเห็นและความเข้าใจระหว่าง Generation กันและกัน โดยเพิ่มความเคารพต่อความแตกต่างของกัน ไม่จำเป็นต้องคุยเป็นเรื่องงาน สามารถคุยเรื่องอื่นๆ ที่สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้
การเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ ถ้าเรามองในแง่ดีการที่เขาผ่านประสบการณ์การทำงานมาเกิน 10 ปี เราจะได้เรียนรู้การใช้ชีวิตและข้อผิดพลาดการทำงานจากคนรุ่นก่อนเพื่อให้เราได้พัฒนาและควรระวังในตรงจุดไหน ถ้าใครเคยดูหนังเรื่อง The intern เป็นเรื่องเกี่ยวกับพนักงานวัยเกษียณที่อยู่ว่างและยังอยากหาอะไรทำได้สมัครเข้าไปอยู่โครงการฝึกงานของวัยเกษียณของบริษัทหนึ่งที่ซีอีโอ เป็นคนรุ่นใหม่ เราก็จะได้เห็นการทำงานและสภาพแวดล้อมของบริษัท Gen Y ที่ดูแล้วแตกต่างจากบริษัทที่ก่อตั้งมายังยาวนาน แม้จะมีช่องว่างระหว่าง Gen อย่างชัดเจน แล้วคุณลุงวัยเกษียณจะมาทำงานในบริษัทนี้เป็นยังไง แนะนำให้ลองไปหาดูแล้วเราอาจจะเข้าใจกันและกันมากขึ้น หรือให้ SAKID ช่วยจัด workshop เสริมสร้างความเข้าใจระหว่าง Gen หรือจัดกิจกรรม Team building แบบ online ด้วย SAKID Application
บทความที่น่าสนใจ

กิจกรรม 5ส คืออะไร (เข้าใจง่ายๆ ใน 5 นาที)
กิจกรรม 5ส คือเครื่องมือชั้นเยี่ยมในการจัดระเบียบและทำให้สามารถใช้พื้นที่ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่แท้จริงนั้นกิจกรรม 5ส คืออะไร มาหาคำตอบไปด้วยกัน

WORKSHOP เริ่มต้นดูแลสุขภาพดี เริ่มต้นที่ตัวเรา
กิจกรรม Workshop “เรื่มต้นดูแลสุขภาพดี เริ่มต้นที่ตัวเรา”
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 SAKID ได้จัดกิจกรรม Workshop “เริ่มต้นดูแลสุขภาพดี เริ่มต้นที่ตัวเรา ” โดยนักกำหนดอาหาร มีการทำแบบประเมินตัวเองและเข้าใจสุขภาพตัวเอง เทคนิคการปรับมื้ออาหารให้สุขภาพดีและลดน้ำหนักได้ และมีคลาสแนะนำการออกกำลังกายทำเมื่อไรก็ได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายพัฒนาระบบไหลเวียนเลือด หัวใจ กล้ามเนื้อ ลดอาการoffice syndrome โดยนักวิทยาศาสตร์การกีฬา

สุขภาพจิตพนักงาน ปัญหาซ่อนเร้นที่ต้องระวัง
เข้าใจปัญหาสุขภาพจิตในองค์กร ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดในที่ทำงาน บริษัทหรือ HR จะมีมาตรการจัดการปัญหาอย่างไร อ่านคำแนะนำและแนวทางส่งเสริมสุขภาพจิต ที่นี่

Workshop How to understand burnout
กิจกรรม Workshop “การจัดการความเครียด”
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 Sakid ได้จัดกิจกรรม Workshop “การจัดการความเครียด” ให้กับบริษัทเอสพี อินเตอร์แมคและการไฟฟ้านครหลวง โดยวิทยากรนักจิตวิทยาองค์กร ครูรักอมยิ้ม คุณอานนท์ ตั้งกิตติทรัพย์ ภายในงานผู้เข้าร่วมได้รับเทคนิคการจัดการความเครียด และการบริหารการทำงานให้มี Work-life balance

บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดที่งาน Sports Day การไฟฟ้านครหลวง
บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดที่งาน Sports Day การไฟฟ้านครหลวง
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 Sakid ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดให้กับการไฟฟ้านครหลวงในงาน Sports Day ที่สนามกีฬาจุฬา โดยทีมงานมีแนะนำการเข้าร่วมโครงการ “MEA เบิร์นเกินร้อย” เปิดศึกการแข่งกันระหว่างทีมเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี ด้วยการส่งภารกิจสุขภาพผ่านแอพสะกิด และลุ้นรับของรางวัลในแต่ละเดือน

เก็บออมหรือเพิ่มรายได้ จุดไหนเราควรจะโฟกัส
ในสถานการณ์ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์เมื่อปี 2565 ที่มีจำนวนผู้สูงอายุราวร้อยละ 20-30 และไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 28 ในปี 2574 จึงเป็นส่วนหนึ่งให้คนวัยทำงานเริ่มวางแผนทางการเงิน เพื่อให้พร้อมรับกับวัยเกษียณที่จะมาถึง ซึ่งมีทั้งเก็บออมเงินจากการทำงานในปัจจุบัน หรือเลือกที่จะหาช่องทางเพิ่มรายได้ แล้วแบบไหนที่ควรจะเลือกดี