จัดการอย่างไรเมื่อเกิดความขัดแย้งในองค์กร
- 01/09/23
เมื่อความขัดแย้งเกิดขึ้นภายใน
ที่ไหนมีคนอยู่ร่วมกัน ปัญหาความขัดแย้งย่อมเกิดขึ้นที่นั่น และยิ่งคนเยอะเท่าไหร่ ความขัดแย้งยิ่งมีความซับซ้อนหลายระดับ ทั้งแบบเก็บงำเป็นความไม่ชอบส่วนตัว จนถึงการแสดงความก้าวร้าวทางวาจา หรือรังแกอีกฝ่ายในแบบต่างๆ บางครั้งความขัดแย้งระหว่างบุคคลอาจขยายตัวมากขึ้นทำให้คนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมจนเป็นเหตุให้คนในองค์กรต้องแบ่งพรรคแบ่งพวก สร้างบรรยากาศที่ไม่ไว้วางใจกัน และไม่เคารพซึ่งกันและกันในองค์กร เหตุการณ์ต่างๆ ยิ่งเลวร้ายลงเพราะหัวหน้างานอาจยังไม่ทราบเรื่องหรือไม่รู้ว่าใครจะเป็นคนกลางหรือคนไกล่เกลี่ย… แล้วจะจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างไรกันดี
ถ้าเรารู้ว่าทุกที่ต้องมีความขัดแย้งเกิดขึ้นอยู่แล้ว…ไม่ว่าจะมากน้อย อย่างนั้นเราควรวางแผนตั้งรับกับความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในองค์กรของเราสักนิดก่อน…ดีไหม เพื่อทำให้ทุกฝ่ายมองความขัดแย้งเกิดขึ้นเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขได้ โดยเฉพาะถ้าร่วมแรงร่วมใจกัน
การสื่อสารถึงกัน
ลำดับแรกที่เราพอจะทำได้…คือการจัดองค์กรให้มีการสื่อสารแบบเปิดเผย ให้ทุกคนและทุกฝ่ายสามารถสื่อสารถึงกันอย่างเคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพื่อให้การพูดถึงความขัดแย้งที่มีอยู่ในองค์กรเป็นเรื่องง่าย และถูกสื่อสารออกมาตั้งแต่เริ่มมีการไม่เห็นด้วยกับอีกฝ่ายหนึ่ง นอกจากนั้นเราสามารถทำให้การพูดโต้ตอบในหน้าที่การงานเป็นเรื่องของความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ ไม่ใช่เรื่องที่จะก่อให้เกิดความไม่ชอบส่วนบุคคล หรือแบ่งฝักแบ่งฝ่าย
ฟังแล้ว…นี่เหมือนจะเป็นงานยากของทั้งหัวหน้างานและฝ่ายบุคคล อย่างนั้นอีกหนึ่งทางออกคือควรให้แต่ละบุคคลช่วยออกความเห็นถึงวิธีที่จะทำให้พนักงานสื่อสารและเข้าใจความคิดของกันและกันอย่างเปิดเผย (หลังจากได้รับการบอกกล่าวถึงวัตถุประสงค์อย่างชัดแจ้ง) วิธีนี้จะทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการช่วยออกแบบระบบที่จะสื่อสารถึงกันได้ โดยอาจมีการตั้งกฎของการสื่อสารที่เหมาะสมขึ้น และขอให้ทุกคนเคารพในกฎนั้น นอกจากนี้อาจจะต้องมีการฝึกอบรมหรือเวิร์คชอปให้แต่ละฝ่ายยอมรับความคิดต่างได้ และมองความคิดต่างเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในผู้คนที่อยู่ร่วมกัน และบางครั้งการที่เรายอมรับและสามารถทำงานกับผู้คนที่ไม่คิดเหมือนกับเรา นั่นอาจเป็นความท้าทายที่สามารถทำให้เราพัฒนาตัวเองได้ ซึ่งจะช่วยในความสัมพันธ์ไม่เฉพาะที่ทำงาน แต่รวมถึงบริบทอื่นๆ ด้วยอย่างครอบครัวหรือเพื่อนบ้าน
การรับฟังและไกล่เกลี่ย
ส่วนในกรณีที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นจริงๆ ในแต่ละฝ่ายหรือในระดับใดระดับหนึ่ง ทางองค์กรอาจต้องคิดถึงบุคคลที่สามารถเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ย เพราะในหลายสถานการณ์ของความขัดแย้งต้องการคนกลางที่ไม่มีผลประโยชน์กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจริงๆ เพื่อให้มารับฟังฝ่ายต่างๆ ที่ขัดแย้งกันอย่างจริงใจ ซึ่งจะเป็นการหาประเด็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งให้ได้อย่างถูกต้อง รวมถึงรวมรวมความคิดและความต้องการของแต่ละฝ่าย เพื่อเสนอทางออกที่สร้างสรรค์และเป็นที่ยอมรับของแต่ละฝ่ายภายในองค์กร
ดังนั้นการแก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์กร อาจเป็นงานที่ต้องทำทั้งก่อนเกิดปัญหาโดยการสร้างการสื่อสารในองค์กรที่ชัดเจนและเคารพสิทธิ์ซึ่งกันและกัน และเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นจริง ควรจะจัดการอย่างเป็นกลางเพื่อไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรู้สึกว่ามีการเข้าข้างอีกฝ่าย และทำให้รู้สึกว่าการเรียกร้องหรือความต้องการของเขาไม่ได้รับฟังด้วยความจริงใจ หรือให้ทาง Sakid ช่วยจัด Health Talk ให้แก่พนักงานได้
บทความที่น่าสนใจ
Work from Home เทรนด์การทำงานยุคใหม่ที่ทุกบริษัทต้องรู้
บริษัทจะจัดนโยบาย Work From Home อย่างไร? แนะนำวิธีปรับใช้ WFH ในองค์กร ข้อดี-ข้อเสียของการ WFH สวัสดิการที่บริษัทควรมี เมื่อพนักงานไม่ได้มาทำงานที่ออฟฟิศ
Healthy Green Canteen โรงอาหารปลอดภัย อร่อย สะอาด สุขภาพดี
Snack bar สำหรับพนักงาน เป็นสวัสดิการที่ช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์ และ ประสิทธิภาพการทำงานได้ แต่ควรเลือกอาหารที่เหมาะสม เช่น ผลไม้ นม แครกเกอร์ หรือ อาหารที่มีพลังงานน้อย เพื่อช่วยให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีด้วยนั่นเอง
15 วิธีสังเกตภาวะหมดไฟภายในองค์กร (Burnout Syndrome)
ทุกวันนี้รูปแบบการทำงานที่รวดเร็วและแข่งขันกันสูง ทำให้พนักงานในองค์กรเกิดภาวะหมดไฟเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ลักษณะของภาวะหมดไฟอย่างความเหนื่อยหน่ายเรื้อรัง ความรู้สึกด้านชา เป็นสิ่งที่คอยบั่นทอนและลดประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งอาจส่งผลร้ายแรงต่อทั้งพนักงานและองค์กร
CSR กับ SAKID พนักงานได้ออกกำลังกายและช่วยเหลือสังคมได้ด้วย
การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้กับพนักงานโดยการนำ CSR มารวมกันด้วย เป็นหนึ่งในไอเดียในการทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพพนักงานในบริษัทและยังมีกิจกรรมในการทำสิ่งที่มีประโยชน์คืนสู่สังคมอีกด้วย เป็นกิจกรรมที่ได้ประโยชน์เป็นอย่างมากนอกจากสุขภาพพนักงานดีขึ้นด้วยกิจกรรมส่งเสริม Productivity และยังมีกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสังคม
8 ทริคดื่มน้ำให้ครบ 8 แก้ว
การดื่มน้ำเป็นสิ่งที่หลายคนมักมองข้าม ทั้งๆ ที่น้ำคือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำถึง 60% การดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวันไม่เพียงแค่ช่วยให้ทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น สมอง หัวใจ และกล้ามเนื้อ ทำงานได้อย่างปกติ แต่ยังช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น ผิวฉ่ำ ปากชุ่มชื้นตลอดทั้งวัน ในทางกลับกัน หากเราดื่มน้ำน้อยเกินไป อาจส่งผลให้ท้องผูก ปวดหัว สมองทำงานช้าลง เหนื่อยล้า โฟกัสกับการทำงานได้ลดลง ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
จัดคลาสออกกำลังกายอย่างไรให้โดนใจคนที่ทำงาน
เมื่อคนใช้เวลากว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในที่ทำงานจดจ่ออยู่กับการทำงาน เวลาพักน้อย การจะขยับตัวเพิ่มกิจกรรมทางกายระหว่างวันก็เป็นไปได้ยากเพราะไม่อาจละจากงานตรงหน้าได้ ด้วยปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น การจะออกกำลังกายให้ได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำขององค์การอนามัยโลกยิ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของพนักงานและเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)