
สร้าง empathic leader พนักงานดีใจ
- 23/08/23
มาเป็นบอสใจดีกันไหม
คงได้ยินคำว่า Empathic Leader มากันบ้างแล้วใช่ไหมคะ ผู้นำที่มีความเข้าอกเข้าใจเป็นอย่างไรกันนะ…ยอมรับฟังและเข้าใจลูกน้องอย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่คิดตัดสินลูกน้อง วางใจเป็นกลางแบบนั้นเลยหรือไง แล้วระบบงานล่ะ อีกทั้งตัวเลขต่างๆ ที่ต้องทำให้ตามเป้าบริษัท ความเครียดของบอสก็เยอะกันแล้ว จะมาทำเป็นใจว่างๆ ฟังลูกน้องทั้งวันกันได้อย่างไร
บอสดูเครียดกันจริงๆ แล้วจะมาทำตัวใจดีให้พนักงานดีใจได้อย่างไร ?
แน่นอนว่าบรรยากาศที่ผ่อนคลายในองค์กรจะทำให้พนักงานมีกำลังใจและความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานมากกว่า รวมถึงยอมรับฟังและปฏิบัติตามระบบงานต่างๆ ได้ดีกว่าด้วย แต่การที่พนักงานจะให้ความร่วมมือร่วมใจมากน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำของบอสด้วย
Leadership is a Relationship
อาจจะเคยได้ยินคำว่า ‘Leadership is a Relationship’ ซึ่งบอกว่าลักษณะของผู้นำและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นต่างๆ ในองค์กรเป็นผลต่อเนื่องกันอย่างมีนัยสำคัญ เพราะนโยบายบริษัทตลอดจนไปถึงท่าทางกริยาที่บอสแสดงออกแต่ละวันมีผลต่อองค์กรทั้งนั้นเลยค่ะ อย่างนั้นการจะเป็นบอสใจดีต้องเริ่มที่ตัวบอสก่อนเลย โดยต้องเริ่มเข้าใจว่าตัวเองมีทัศนคติ ความต้องการ การมองคนอื่น การคาดหวังและการหวังผลเป็นอย่างไร ส่วนไหนที่สร้างความตึงเครียดให้องค์กรอย่างไม่จำเป็น และส่วนไหนที่จะทำให้บรรยากาศองค์กรผ่อนคลายลงได้ ข้อดีข้อด้อยเหล่านั้นหากเราเข้าใจ จะทำให้เรารู้จักใช้มันอย่างเหมาะสม
บอสที่ดี รับฟังความเห็นผู้อื่น
พอเริ่มเข้าใจตนเองแล้ว บอสอาจต้องขยับที่จะเริ่มเข้าใจคนอื่นๆ รอบข้างมากขึ้น และวิธีที่ดีที่สุดคือการรับฟัง การรับฟังที่เข้าอกเข้าใจคือการที่เราจะต้องมีสมาธิ รับฟังเรื่องของอีกฝ่ายอย่างเปิดใจ ซึ่งข้อนี้ฟังดูง่าย แต่มันไม่ได้มาง่ายๆ นะคะ เพราะอะไรหรือ…ก็เรามักติดนิสัยตัดสินผู้อื่น สร้างเงื่อนไขในใจโดยบางคนอาจคำนึงถึงผลประโยชน์ฝ่ายตน แถมบางคนลงลึกถึงไม่ชอบบุคลิกภาพ หรือมองคนอื่นในแง่ลบ สิ่งเหล่านี้ทำให้เรื่องที่ฟังดูง่ายนี้เป็นเรื่องยาก มาถึงตรงนี้วุฒิภาวะทางอารมณ์จึงมีส่วนสำคัญมาก
จะเป็นบอสคนก็ต้องลำบากหน่อยนะคะ ไหนจะต้องเก่งเรื่องงานเพื่อสร้างความไว้ใจและมั่นใจให้พนักงานและองค์กรแล้ว ยังจะต้องคอยพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์ของตัวเองไม่ให้ขาดด้วย แต่ของแบบนี้ฝึกกันได้ค่ะ อาจเริ่มที่ลองเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมของพนักงานบ้าง ให้เห็นถึงความยากง่ายในแต่ละระบบงานในองค์กร และเข้าใจความเป็นอยู่ของพนักงานในแต่ละระดับ เข้าใจว่าพนักงานแต่ละคนนั้นสามารถทำงานได้ในระดับไหน แล้วอะไรจะสามารถทำให้เขาไปถึงจุดที่เขาสามารถไปได้
การอยู่แบบเห็นเขาเห็นเราไปด้วยกันแบบนี้ ต้องบอกว่าทั้งบอสและพนักงานต่างก็ต้องอาศัยความเข้าใจซึ่งกันและกัน แต่เชื่อว่าผู้นำที่พร้อมจะทำให้พนักงานมีวันที่ดีๆ เสมอๆ จะสามารถพัฒนาตัวเอง เพื่อที่จะเป็นโอกาสที่ดีให้กับพนักงานของตนและตัวเองได้ค่ะ เอาใจช่วยนะคะ… หรือให้ทาง Sakid ช่วยจัด Health Talk ได้ค่ะ
บทความที่น่าสนใจ

บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตบางเขน
บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตบางเขน
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2566 Sakid ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดให้กับการไฟฟ้านครหลวง เขตบางเขน ในกิจกรรม Fun for Fit เพื่อแนะนำการเข้าร่วมโครงการ “MEA เบิร์นเกินร้อย” เปิดศึกการแข่งกันระหว่างทีมเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี ด้วยการส่งภารกิจสุขภาพผ่านแอพสะกิด และลุ้นรับของรางวัลในแต่ละเดือน

WORKSHOP คลาสโยคะ
กิจกรรม Workshop “คลาสโยคะ”
ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 – 21 กันยายน 2566 SAKID ได้จัดกิจกรรม Workshop “คลาสโยคะ ” กันทุกสัปดาห์เป็นสวัสดิการที่เสริมสร้างร่างกายให้แข้งแรง โดยนักวิทยาศาสตร์การกีฬามาเป็นครูสอนโยคะที่จะพาพนักงานบริษัท ROCHE มายืดเหยียดร่างกายให้ผ่อนคลายเมื่อยจากการนั่งทำงานและเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้มีความยืดหยุ่นอีกด้วย

เพิ่มสุขภาพที่ดีในบริษัทด้วย “กิจกรรมลดน้ำหนักพนักงาน”
แนะนำ 5 แนวทางจัดกิจกรรมพนักงานลดน้ำหนัก ในบริษัท ที่เน้นสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้กับพนักงาน ตัวชี้วัดผลที่น่าใช้ เครื่องมือติดตามผล พร้อมตัวอย่างกิจกรรม

เก็บออมหรือเพิ่มรายได้ จุดไหนเราควรจะโฟกัส
ในสถานการณ์ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์เมื่อปี 2565 ที่มีจำนวนผู้สูงอายุราวร้อยละ 20-30 และไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 28 ในปี 2574 จึงเป็นส่วนหนึ่งให้คนวัยทำงานเริ่มวางแผนทางการเงิน เพื่อให้พร้อมรับกับวัยเกษียณที่จะมาถึง ซึ่งมีทั้งเก็บออมเงินจากการทำงานในปัจจุบัน หรือเลือกที่จะหาช่องทางเพิ่มรายได้ แล้วแบบไหนที่ควรจะเลือกดี

WORKSHOP ONLINE Supermarket tour กับ นักกำหนดอาหาร
กิจกรรม “Supermarket Tour”
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 SAKID ได้จัดกิจกรรม Workshop “Supermarket Tour” ให้กับบริษัทเอสพี อินเตอร์แมค โดย นักกำหนดอาหารได้ให้ทิคการอ่านฉลากแบบง่าย การเลือกซื้อวัตถุดิบ และอาหารสด จากตลาด ร้านค้าทั่วไป และ ร้านสะดวกซื้อ

เข้าใจ “ออฟฟิศซินโดรม” พร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นที่ทุกคนควรรู้
ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร อาการ สาเหตุและพฤติกรรมเสี่ยง วิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิธีป้องกันออฟฟิศซินโดรมเบื้องต้น ที่คนทำงานและบริษัทต้องรู้