
ตรวจสุขภาพประจำปี พนักงาน สร้างกิจกรรม
- 22/09/23
ตรวจสุขภาพประจำปี เป็นหนึ่งในสวัสดิการของพนักงานบริษัท หรือ ในองค์กรต่างๆ ที่ทำการตรวจกันทุกปี หลังจากที่พนักงานได้ผลตรวจสุขภาพรายบุคคลกันไปแล้ว อาจพบว่าบางคนผลออกมาปกติดี บางคนก็ประสบปัญหาสุขภาพตามอายุและพฤติกรรม ไม่ว่าจะทางร่างกายและทางจิตใจ ซึ่งพนักงานแต่ละคนนั้นก็จะมีวิธีการดูแลตัวเองที่แตกต่างกันไป
สำหรับบริษัท และองค์กรต่างๆ นั้น หากพบว่าพนักงานหลายคน มีหรือเจอปัญหาสุขภาพ อาจทำให้มีการ ลาป่วย ลากิจ หรือมาทำงานแบบไม่ได้งานได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน รวมไปถึงต้นทุนแฝงต่างๆ ที่เสียไป นอกจากนี้การที่พนักงานมีความเจ็บป่วยทางกาย ยังส่งผลต่อสุขภาพทางใจ ซึ่งอาจส่งผลต่อสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการทำงาน ปัญหาเหล่านี้จึงตกมาอยู่ที่ แผนกฝ่ายบุคคล ทีม HR หรือในองค์กรอาจมีแผนกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือ SAFETY ที่จำเป็นต้องช่วยบริษัทดูแลและแก้ปัญหา เพื่อให้เพื่อนๆ พนักงานได้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
ดังนั้นหากมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่สามารถช่วยเสริมสร้างความรู้ และให้คำแนะนำเฉพาะรายบุคคลให้กับพนักงาน เพื่อให้การดูแลสุขภาพ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นไปอย่างตรงจุดมากขึ้น จะช่วยให้ที่ม HR สามารถประหยัดเวลาการทำงาน และ ให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจการดูแลตัวเองอย่างถูกต้องเหมาะสม
การสนใจและสนับสนุนสุขภาพพนักงาน
การดูแลเอาใจใส่สุขภาพพนักงานสุขภาพไม่เพียงแต่เป็นเรื่องส่วนตัว แต่ยังมีผลต่อความสำเร็จขององค์กรในระยะยาว การรักษาสุขภาพที่ดีของพนักงานช่วยลดความเสี่ยงในการป่วยหรือลางาน ทำให้มีความสุขและมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ การสนใจสุขภาพของพนักงานยังเป็นการสนับสนุนที่ดีในการรักษาพนักงานที่มีคุณสมบัติและทักษะต่อองค์กร
ปัญหาสุขภาพที่พนักงานอาจไม่รู้ตัว บางครั้งอาจมีความกังวลใจหรือข้อจำกัดในการรักษาสุขภาพในระหว่างการทำงาน ในที่นี้ องค์กรควรให้ความสนใจและสนับสนุนพนักงานในการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่พบ เพื่อให้พนักงานสามารถมีสุขภาพที่ดีและทำงานได้ดีที่สุด
ผลตรวจสุขภาพประจำปี บอกปัญหาสุขภาพพนักงาน
เมื่อเราพูดถึงการรักษาสุขภาพของพนักงานในองค์กร ผลตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งที่ทำให้พนักงานและองค์รู้ว่า พนักงานในบริษัทพบเจอปัญาสุขภาพทางด้านไหนบ้าง เพื่อช่วยดูแลและป้องกันความเสี่ยงโรคต่างๆ ให้พนักงานได้มีสุขภาพที่ดีได้ โดยหลักๆสามารถดูได้จากผลตรวจดังต่อไปนี้
1. ผลตรวจค่าไขมันคลอเรสเตอรอล (Cholesterol)
คลอเลสเตอรอล (Cholesterol) ต้องไม่เกิน 200 mg/dL
ไขมันไม่ดี (LDL-Cholesterol) ต้องไม่เกิน 100 mg/dL
ไขมันดี (HDL-Cholesterol) ผู้หญิงต้องมากกว่า 40 mg/dL ผู้ชายต้องมากกว่า 50 mg/dL
ความเสี่ยงโรคถ้าเกินเกณฑ์
-โรคหลอดเลือดสมอง
-โรคหลอดเลือดหัวใจ
2. ผลตรวจค่าน้ำตาลในเลือด (Blood sugar)
70-100 mg/dL = ปกติ
100 mg/dL = เสี่ยงโรคเบาหวาน
126 mg/dL = เสี่ยงโรคเบาหวานสูง ควรตรวจซ้ำและควรปรึกษาแพทย์
ความเสี่ยงโรคถ้าเกินเกณฑ์
-โรคเบาหวาน
-โรคหลอดเลือดหัวใจ
3. ผลตรวจการทำงานของตับ (Liver Function Test : LFT)
ดูการทำงานของตับว่าปกติไหม โดยวัดค่า SGOT (Serum Glutamic Oxaloacetic Transaminase)
ผู้ชาย 8-46 U/L
ผู้หญิง 7-34 U/L
หาการติดเชื้อไวรัสในตับ โดยวัด SGPT (Serum Glutamate-Pyruvate Transaminase)
ผู้ชายมีค่าต่ำกว่า 30 U/L (หน่วยสากลต่อลิตร)
ผู้หญิงมีค่าต่ำกว่า 19 U/L (หน่วยสากลต่อลิตร)
ถ้ามีค่าสูงกว่าที่กำหนดควรปรึกษาแพทย์
ความเสี่ยงโรคถ้าเกินเกณฑ์
-ไขมันพอกตับ
4. ผลตรวจการทำงานของไต (Blood Urea Nitrogen : BUN)
การตรวจค่า BUN ตรวจวัดค่าไนโตรเจนจากส่วนประกอบของยูเรียว่ามีการรั่วในกระแสเลือดระดับไหน
-ค่าระดับปกติสำหรับผู้ใหญ่จะอยู่ช่วง 10-20 mg/dL
การตรวจค่าครีเอตินิน ดูการทำงานของไตว่ายังขับครีเอตินินออกทางปัสสาวะได้ดีอยู่ไหม
-ค่าปกติสำหรับ ผู้ชาย 0.6-1.2 mg/dL
-ค่าปกติสำหรับ ผู้หญิง 0.5-1.1 mg/dL
ความเสี่ยงโรคถ้าเกินเกณฑ์
-นิ่วในปัสสาวะ
-โรคไตวาย
5.ผลตรวจค่ากรดยูริก (Uric Acid)
ผู้ชายต้องไม่เกิน 5 mg/dL
ผู้หญิงต้องไม่เกิน 8 mg/dL
ความเสี่ยงโรคถ้าเกินเกณฑ์
-โรคเก๊าท์
สำหรับบริษัท หรือองค์กรต่างๆ ที่ตรวจสุขภาพพนักงานแล้วพบว่า ผลตรวจสุขภาพของพนักงานหลายคนเกินเกณฑ์ค่ามาตรฐาน ซึ่งนั่นหมายถึงการมีความเสี่ยงโรคต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น แต่เราในฐานะฝ่ายบุคคล หรือแผนกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่อาจไม่รู้หรือไม่แน่ใจว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป เพื่อให้พนักงานมีสุขภาพที่ดี และผลสุขภาพดีขึ้น
ให้ SAKID ช่วยดูแลส่งเสริมสุขภาพพนักงานของคุณ ด้วยฟีเจอร์ต่างๆ
– ภารกิจสุขภาพรายบุคคล
– การแข่งขันด้านสุขภาพกับเพื่อนในองค์กร
– Workshop สุขภาพจากผู้เชี่ยวชาญ
– โค้ชสุขภาพรายบุคคล
ซึ่งพัฒนาจากผู้เชียวชาญในด้านต่างๆ ที่สนุก เข้าใจง่าย และนำไปปรับใช้ได้จริง
Private Session กับ SAKID
สำหรับบริษัทหรือองค์กร ที่ไม่อยากจัดการแข่งขันสุขภาพ สามารถจัดสวัสดิการเพิ่มเติม ในการให้คำปรึกษาจาก ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อโฟกัสปัญหาสุขภาพเฉพาะบุคคล โดยสามารถให้พนักงานในองค์กรเลือกใช้ได้ เช่น
– นักจิตวิทยา
ให้คำปรึกษารับฟังเรื่องที่กังวลใจ เครียด หาทางออกไม่ได้ ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ไม่ว่าจะเรื่องชีวิตส่วนตัวหรือเรื่องงาน
– นักกำหนดอาหาร
ให้คำปรึกษาด้านการกินอาหารไม่ว่าจะลดน้ำหนัก สร้างกล้ามเนื้อ ปรับพฤติกรรมการกินอาหาร การกินอาหาารเฉพาะโรค
– นักกายภาพบำบัด
ให้คำปรึกษาหาสาเหตุของอาการทางกายภาพ ออฟฟิศซินโดรม แนะนำท่ากายบริหารเฉพาะจุด และปัญหาอื่น ๆ ด้านกายภาพของร่างกาย
– นักวิทยาศาสตร์การกีฬา
ให้คำปรึกษา โค้ช ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับตัวเอง วิ่งมาราธอน สร้างกล้ามเนื้อ
สามารถให้คำปรึกษาออนไลน์ส่วนบุคคล ได้ในทุกที่ทุกเวลา แพคเกจสุดคุ้มใช้งานได้ภายใน 2 ปี
สุขภาพแข็งแรง ทำงานแฮปปี้ เอาเวลาที่ลาป่วยไปทำกิจกรรมสร้างความสุข
ดังนั้น การซัพพอร์ตพนักงาน ในการจัดกิจกรรมแบบกลุ่ม จึงเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพได้ง่าย ใช้เวลาไม่นานมากนัก หากมีเก็บข้อมูลจากทั้งผลตรวจสุขภาพ และความต้องการของพนักงาน และนำมาวางแผนและกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน แน่นอนว่ากิจกรรม และสวัสดิการเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ และช่วยให้พนักงานสุขภาพดีขึ้นตามที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ แต่ถ้าหากคิดไม่ออกว่าจะจัดกิจกรรมอย่างไร หรือหัวข้ออะไรบ้าง สามารถปรึกษาทีมงาน SAKID application เพื่อช่วยวางแผนและดำเนินงานให้องค์กรของคุณได้ เพื่อตอบโจทย์ทั้งพนักงาน ลดเวลาการทำงานของทีมทำงานได้นั่นเอง
บทความที่น่าสนใจ

บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตบางบัวทอง
บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตบางบัวทอง
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2566 Sakid ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดให้กับการไฟฟ้านครหลวง เขตบางบัวทอง ในกิจกรรม Fun for Fit เพื่อแนะนำการเข้าร่วมโครงการ “MEA เบิร์นเกินร้อย” เปิดศึกการแข่งกันระหว่างทีมเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี ด้วยการส่งภารกิจสุขภาพผ่านแอพสะกิด และลุ้นรับของรางวัลในแต่ละเดือน

ทำอย่างไร เมื่อคนในองค์กรเป็น Office syndrome
คุณเป็นอีกคนหนึ่งหรือเปล่าที่ตอนนี้กำลังมีอาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดบ่า ปวดหัว นั่งทำงานสักพักก็รู้สึกตึงเมื่อย หากคุณคิดว่า นี่ไม่ใช่เพราะอายุเพียงอย่างเดียว แต่กำลังบ่งบอกว่าคุณมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็น Office syndrome โรคยอดฮิตที่หลายคนรู้จักแต่คงไม่อยากที่จะสนิทสนม

WORKSHOP คิมบับสุขภาพ
กิจกรรม “Cooking class คิมบับสุขภาพ”
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 SAKID ได้จัดกิจกรรม Workshop “Cooking class คิมบับสุขภาพ” โดยคุณอรนันท์ เสถียรสถิตกุล นักกำหนดอาหารวิชาชีพ และอดีตเจ้าของ D-Diet อาหารสุขภาพสาธิตเมนูอาหารสไตล์เกาหลี “คิมบับ”พร้อมได้เรียนรู้ส่วนประกอบการทำคิมับทางด้านประโยชน์และสารอาหาร รวมทั้งลงมือลองทำคิมบับเมนูสุขภาพด้วยตัวเอง

จัดการอย่างไร ให้ห่างไกล ความเครียด
หากเราพูดถึงคำว่า “ความเครียด” เรานั้นมักจะนึกถึง และบรรยายความรู้สึกว่าเหมือนถูก “บีบคั้น กดดัน อึดอัด” ทำให้เราใช้ชีวิตได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร โดยที่ความเครียดนั้นจะเป็นภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อเราต้องเจอกับสถานการณ์ที่รับมือได้ยาก หรือถูกกดดันจากปัจจัยภายนอก จนทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ หรือวิตกกังวลขึ้นมาได้

โลกยุค VUCA เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว รับมือทางการเงินอย่างไรดี
ในโลกทุกวันนี้ ท่ามกลางความรวดเร็วในกระแสธารของการแข่งขันเพื่อพัฒนาและก้าวข้ามขีดจำกัดต่าง ๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ทดแทนแรงงานมนุษย์ ความก้าวหน้าทางการแพทย์และวิศวกรรมแขนงต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการสำรวจแหล่งทรัพยากรใหม่ ๆ นอกโลกใบนี้ ฯลฯ จึงทำให้เกิดความเป็นไปได้ของโลกในอนาคต ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ซับซ้อนยากเกินจะคาดเดาและคาดการณ์อย่างมั่นใจได้ว่า การใช้ชีวิตในอนาคตของเรานั้นจะเปลี่ยนไปจากปัจจุบันมากแค่ไหน

Workshop ดูแลสุขภาพใจ #workshop3อ #อารมณ์
ดูแลสุขภาพใจพนักงาน ด้วยการให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง การสำรวจตรวจเอง เรื่องจิตวิทยาและอารมณ์ , Workshop การจัดการความเครียด , Health talk Work life balance หรือ Burn out โดยนักจิตวิทยาที่มีประสบการณ์