
Well being the future hr trends
- 10/01/24
การให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงานไม่ใช่แค่เทรนด์ที่ผ่านไปเท่านั้น แต่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างมากขึ้นในมุมมองของธุรกิจและสังคมต่อบทบาทของการทำงานและความสำคัญของสวัสดิการของพนักงาน ปัจจัยหลายอย่างมีส่วนทำให้การเน้นเรื่องสุขภาพและสภาพสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ดีเพิ่มมากขึ้น
Well Being
คือ “สุขภาวะ” ซึ่งหากแปลในด้านความหมายการใช้งาน จะแปลได้ว่าการมีสุขภาวะที่ดีในทุก ๆ ด้านของมนุษย์ ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงสุขภาวะด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการงาน ด้านสุขภาพกาย หรือด้านสุขภาพใจ ของพนักงานภายในองค์กรที่ต้องทำงานร่วมกัน
ยุคที่ให้ความสำคัญกับชีวิต
ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังมีแนวโน้มที่จะให้การทำงานปรับเปลี่ยนและให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ อนาคตของการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR) คาดว่าจะได้รับอิทธิพลจากแนวโน้มต่างๆ ที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน เนื่องจากองค์กรตระหนักถึงความสำคัญของพนักงานที่มีสุขภาพดี ซึ่งจะส่งผลให้ทำงานได้อย่างมีความสุข และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังทำให้พนักงานอยากทำงานที่องค์กรต่อเนื่อง ทำให้ไม่เสียบุคลากรที่มีคุณภาพไป จึงมีส่วนร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลนำกลยุทธ์และแนวทางใหม่ๆ มาใช้ ต่อไปนี้เป็นแนวโน้มด้านทรัพยากรบุคคลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
Happy life happy health
การสนับสนุนสุขภาพทางองค์กร
ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ทำงานสิ่งแวดล้อม ล้วนเป็นปัจจัยในการกระทบสุขภาพพนักงาน การมีที่พักผ่อนในที่ทำงาน การดูแลเอาใจใส่พนักงานเรื่องอาหาร น้ำดื่มสะอาด สุขอนามัยในที่ทำงาน สวัสดิการอื่นๆ ที่นอกเหนือจากประกันสังคม เช่น ตรวจสุขภาพประจำปี ประกันสุขภาพแบบกลุ่ม มุมอาหารว่างสุขภาพ มุมพักผ่อน วันหยุดพักร้อน วันหยุดลาคลอด เงินสนับสนุนกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพ เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นายจ้างจึงต้องตระหนักถึงผลประโยชน์ทางการเงินของการลงทุนในมาตรการป้องกันและโปรแกรมด้านสุขภาพ การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานสามารถนำไปสู่การลดต้นทุนการรักษาพยาบาลในระยะยาวได้
การสนับสนุนด้านสุขภาพจิต
การลงทุนกับการสนับสนุนด้านสุขภาพจิต เป็นสิ่งที่บริษัทควรมีให้ เพราะด้วยเนื้อหางานบางสาย และการทำงานหนักจนไม่มีชีวิตส่วนตัว ทำให้เกิดภาวะเครียด วิตกกังวล หรือรุนแรงถึงภาวะหมดไฟ และภาวะซึมเศร้า การทำงานเจอผู้คน มีโอกาสทำให้เกิด Toxic Workplace และความเครียดสะสมในตัวพนักงานได้ ถ้ามีการให้เข้าถึงบริการให้คำปรึกษานักจิตวิทยา หรือ Workshop นักจิตวิทยาจะการช่วยเหลือทางด้านจิตใจ อารมณ์และความคิดพนักงานได้ โดยข้อมูลที่พนักงานรับบริการปรึกษานักจิตวิทยาควรจัดเก็บเป็นความลับ
Work life balance
การจัดการระหว่างชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัวไม่ส่งผลกระทบในแง่ลบต่อกันและกัน เพราะการทำงานหนักมากเกินไปจนเสียสมดุล ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมไปถึง ไม่มีเวลาในการดูแลตัวเองและจัดการเรื่องอื่น ๆ ในชีวิต โดยข้อมูลจาก ACAS (The Advisory, Conciliation and Arbitration Service) ระบุว่า ภาวะขาด Work Life Balance เป็นสาเหตุให้พนักงานลางาน และส่งผลให้ประสิทธิภาพและ Productivity ในการทำงานลดลง บริษัทที่สามารถจัดการเรื่องเวลาได้ดีจะสามารถทำให้พนักงานแฮปปี้ได้
การสนับสนุนสุขภาพการเงิน
นอกเหนือจากเงินเดือน การสนับสนุนค่าเดินทาง ค่าทำงานล่วงเวลา(OT) การมีเงินสำรองบริษัทช่วยเหลือทางการเงินสำหรับกรณีฉุกเฉิน, เช่น ค่ารักษาพยาบาล, ค่าจัดการงานศพ เป็นต้น การจัด Workshop ให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับ การลดหย่อนและจ่ายภาษี การจัดทำงบประมาณ การออม โอกาสในการลงทุน และการวางแผนเกษียณ ซึ่งจะทำให้พนักงานบริหารเรื่องการเงินส่วนบุคคลได้ดีขึ้น เมื่อสุขภาพการเงินดี ก็ไม่เครียด มาทำงานได้อย่างมีความสุข
ความท้าทายในการเปลี่ยนแปลง
การเน้นเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีในสถานที่ทำงานไม่ได้เป็นเพียงกระแสนิยมเท่านั้น แต่เป็นการปรับเปลี่ยนตามโลกที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด ซึ่งนายจ้างต้องตระหนักถึงคุณค่าของการให้ความสำคัญด้านสุขภาพและความสุขของพนักงาน ซึ่งสอดคล้องกับค่านิยมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและความคาดหวังสำหรับการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบและมีความเห็นอกเห็นใจ
การบริหารแบบองค์รวม
การบริหารองค์กรที่มีการร่วมมือและปฏิบัติงานร่วมกันของทุกฝ่ายทุกระดับในองค์กร เพื่อทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการและเป็นระบบที่มุ่งเน้นการทำงานทั้งหมดขององค์กร การบริหารแบบองค์รวมช่วยให้องค์กรมีความยืดหยุ่นและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการดูแลความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ การเงิน และสังคม ในสภาวะที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทำให้สามารถครอบคุมจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การทำงานออนไลน์และกฎบริษัทที่ยืดหยุ่นมากขึ้น
ฝ่ายทรัพยากรบุคคลมีแนวโน้มที่จะต้องปรับตัวเพื่อรองรับการจัดการการทำงานที่ยืดหยุ่น การสนับสนุนพนักงานที่อยู่ห่างไกลด้วยทรัพยากรและเครื่องมือไม่ว่าจะเป็นระบบโปรแกรมในการทำงาน ที่ไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศ การให้ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน และการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
การพัฒนาทักษะและเรียนรู้
การเรียนรู้ไม่ได้ยากอีกต่อไปในทุกวันนี้ ที่มีเปิดสอนทั้งคอร์สออนไลน์ได้ใบรับรอง การสอบใบอนุญาตต่างๆ และอบรมจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสายงานต่างๆ การแลกเปลี่ยนข้อมูลเหมือนการอัพเดทบริษัทให้ตามทันเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ถ้านายจ้างมองเห็นถึงทักษะที่จำเป็นในการทำงานในอนาคตที่จะสามารถมาต่อยอดงานบริษัทได้ การให้โอกาสพนักงานยกระดับทักษะ การเพิ่มทักษะใหม่ที่พนักงานต้องการ การสนับสนุนจากบริษัททำให้พนักงานได้มีการพัฒนาทักษะและการเติบโตทางอาชีพ
การยอมรับความหลากหลาย
การให้ความเคารพและเปิดกว้างทางความคิดที่มีความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการไม่แบ่งแยกทางเพศ ชาติ ศาสนา หรืออายุการทำงาน ทำให้ทุกคนได้รับการยอมรับ และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร บริษัทควรเริ่มสร้างนโยบายและแนวปฏิบัติที่ครอบคลุมเพื่อสนับสนุนพนักงานทุกคน
การรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)
นอกจากจะรับผิดชอบต่อบริษัทแล้ว การรับผิดชอบต่อสังคมเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ กิจกรรมที่บริษัทหรือองค์กรจัดขึ้นภายใต้แนวคิดในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สามารถจัดกิจกรรมได้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เป็นกิจกรรมทำประโยชน์ให้กับสังคมที่หมายถึงผู้บริโภคที่สนับสนุนธุรกิจและทรัพยากรต่าง ๆ ที่ธุรกิจได้ใช้
สิ่งสำคัญคือแนวโน้มเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปตามอุตสาหกรรมและภูมิภาค และองค์กรต่างๆ จะต้องปรับแต่งกลยุทธ์ด้านทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับบริบทเฉพาะและข้อมูลของพนักงาน นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอาจส่งผลให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ ต่อไป
สำหรับบริษัทหรือองค์กรไหน ที่ไม่รู้ว่าอยากจะสร้างนโยบายทางด้านสุขภาพแบบไหน SAKID สามารถช่วยคุณได้ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพสำหรับองค์กร ที่จะมาช่วยออกแบบโปรแกรมดูแลสุขภาพพนักงานโดยวิเคราะห์จากข้อมูลสุขภาพพนักงานและวัฒนธรรม ความคิดเห็น ทั้งด้าน อาหาร ออกกำลังกาย สุขภาพกาย และสุขภาพจิต โดยผู้เชี่ยวชาญ นักกำหนดอาหาร นักวิทยาศาสตร์การกีฬา นักจิตวิทยา และ นักกายภาพ
ที่มา
World Health Organization. (2022). Burnout syndrome. In <i>International Classification of Diseases (11th Revision)</i>. https://www.who.int/news/item/28-05-2019-burn-out-an-occupational-phenomenon-international-classification-of-diseases
Bakker, A. B., Demerouti, S., & Sanz-Vergara, M. (2014). Work engagement: A conceptual review. The Journal of Positive Psychology, 9(1), 89-105. (Published in 2014)
Cullen, P. A. (2005). A new perspective on work-family balance and burnout. Journal of Occupational and Organizational Psychology, 78(4), 497-516. (Published in 2005)
Leiter, M. P. (2009). Preventing burnout: Current strategies and future directions. In R. A. Karasek, & T. Theorell (Eds.), Handbook of work and health (pp. 621-644). New York: Springer. (Published in 2009)
Schaufeli, W. B., Leiter, M. P., & Bakker, A. B. (2008). Work engagement: A conceptual and empirical review. European Journal of Work and Organizational Psychology, 17(2), 167-215. (Published in 2008)
Maslach, C., Schaufeli, W. B., & Leiter, M. P. (2001). Job burnout: A theoretical model. In C. L. Cooper, P. A. Day, & R. E. Burke (Eds.), Organizational stress and health (pp. 89-100). Chichester, UK: Wiley. (Published in 2001)
Schaufeli, W. B., & Bakker, A. B. (2001). Burnout: A review of 25 years of research and theory. Current Directions in Psychological Science, 10(4), 113-117. (Published in 2001)
Leiter, M. P., & Maslach, C. (2005). Prevention of work-related stress, burnout, and health problems: A new approach. Journal of Occupational Health Psychology, 10(3), 3-40. (Published in 2005)
บทความที่น่าสนใจ

Workshop การเงิน มีเงินเก็บยันเกษียณ
เริ่มต้นดูแลสุขภาพการเงินให้กับพนักงาน ด้วยการให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ในเรื่องการเงิน ทั้งเรื่องภาษี การแบ่งเงินเก็บออม การลงทุน การซื้อประกันให้เหมาะสมกับตัวเอง และการวางแผนเกษียณอย่างมีคุณภาพ กับนักการเงินผู้ที่มีประสบการณ์ ที่อยากให้คุณวางแผนใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยไม่ต้องห่วงเรื่องเงิน

สุขภาพจิตพนักงาน ปัญหาซ่อนเร้นที่ต้องระวัง
เข้าใจปัญหาสุขภาพจิตในองค์กร ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดในที่ทำงาน บริษัทหรือ HR จะมีมาตรการจัดการปัญหาอย่างไร อ่านคำแนะนำและแนวทางส่งเสริมสุขภาพจิต ที่นี่

WORKSHOP Happy Heart
กิจกรรม “กินอยู่อย่างไร ให้ห่างไกลโรคหัวใจ”
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 SAKID ได้จัดกิจกรรม Workshop Online “กินอยู่อย่างไร ให้ห่างไกลโรคหัวใจ” ให้กับบริษัทTACC โดยนักกำหนดอาหารจะพาสำรวจตัวเองและความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหัวใจ และการปรับพฤติกรรมการเลือกอาหารให้สอดคล้องกับโรคหัวใจ

จัดคลาสออกกำลังกายอย่างไรให้โดนใจคนที่ทำงาน
เมื่อคนใช้เวลากว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในที่ทำงานจดจ่ออยู่กับการทำงาน เวลาพักน้อย การจะขยับตัวเพิ่มกิจกรรมทางกายระหว่างวันก็เป็นไปได้ยากเพราะไม่อาจละจากงานตรงหน้าได้ ด้วยปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น การจะออกกำลังกายให้ได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำขององค์การอนามัยโลกยิ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของพนักงานและเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

เพิ่มสุขภาพที่ดีในบริษัทด้วย “กิจกรรมลดน้ำหนักพนักงาน”
แนะนำ 5 แนวทางจัดกิจกรรมพนักงานลดน้ำหนัก ในบริษัท ที่เน้นสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้กับพนักงาน ตัวชี้วัดผลที่น่าใช้ เครื่องมือติดตามผล พร้อมตัวอย่างกิจกรรม

Health Activity จัดแบบไหนได้บ้าง?
ในช่วงต้นปีแบบนี้ หลายบริษัทอาจกำลังมองหากิจกรรมที่ทำร่วมกับพนักงาน ซึ่งกิจกรรมก็เป็นได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ขององค์กร หรือความต้องการพนักงาน ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร กิจกรรม CSR เพื่อสังคม กิจกรรมด้านอบรมเพิ่มศักยภาพพนักงาน หรือแม้แต่กิจกรรมที่ช่วยดูแลสุขภาพ หรือ happy workplace ให้แก่พนักงาน ซึ่งขอแนะนำตัวอย่างการจัดกิจกรรมด้าน Health ไว้เป็นไอเดียไปจัดกิจกรรม