
“ดูแลสุขภาพพนักงาน” การสร้างสุขเบื้องต้นที่คุณไม่ควรมองข้าม
- 18/11/22
การดูแลสุขภาพพนักงานถือเป็นหัวใจของการบริหารองค์กรเลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อพนักงานมีสุขภาพที่ดี มีกำลังใจที่พร้อม พวกเขาก็สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้บรรยากาศการทำงานเต็มไปด้วยพลัง ในทางตรงกันข้าม หากพนักงานสุขภาพย่ำแย่ รู้สึกเหนื่อยล้าอยู่ตลอด พวกเขาก็คงไม่มีแรงที่จะมุ่งมั่นและทำงานให้สำเร็จลุล่วงได้ดี
สุขภาพกายและสุขภาพใจของพนักงานจึงเป็นสิ่งที่บริษัทและองค์กรไม่ควรมองข้าม และควรยึดถือเป็นหนึ่งในหน้าที่ที่บริษัทจะดูแลสุขภาพของพวกเขา
การดูแลสุขภาพพนักงาน สำคัญอย่างไร
การเอาใจใส่ในด้านสุขภาพพนักงานมีประโยชน์ทั้งต่อตัวพนักงานที่จะมีสุขภาพกายและใจที่ดี และทั้งต่อตัวบริษัทเองก็ได้ประโยชน์จากการที่พนักงานที่กำลังที่จะทำงานอย่างเต็มความสามารถ ช่วยเพิ่ม Productivity ให้กับบริษัท และลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากการลาป่วย ลาออก หรือค่ารักษาพยาบาล
ลดการลางานและอัตราการลาออก
พนักงานมีร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง พร้อมสำหรับการทำงาน เพราะห่างไกลจากโรคภัย ปัญหาสุขภาพจิตจากความเครียด และจากพฤติกรรมที่ส่งผลเสียกับสุขภาพ ซึ่งบริษัทสามารถส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมที่ดีผ่านวัฒนธรรมการทำงานที่เป็นมิตรและสวัสดิการด้านสุขภาพได้
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือ Productivity
เมื่อบริษัทดูแลสุขภาพพนักงาน ช่วยส่งเสริมให้เขามีทัศนคติและพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ พวกเขาก็จะมีกำลังใจและกำลังกายที่พร้อมสำหรับการทำงานและพร้อมเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ จากงาน
เป็นองค์กรที่น่าร่วมงานด้วย
ลองนึกดูว่า บริษัทที่เต็มไปด้วยคนสุขภาพดีและอารมณ์ดี บริษัทแบบไหนจะน่าอยู่ขนาดไหน
หากบริษัทสามารถส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีได้ นอกจากจะช่วยลดอัตราการลาออก ทำให้พนักงานอยู่กับบริษัทนานขึ้น (Employee Retention) ก็ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรให้คนภายนอกและคนที่มีศักยภาพ (Talents) อยากร่วมงานด้วย
แล้วบริษัทจะดูแลสุขภาพพนักงานได้อย่างไรบ้าง?
1. ส่งเสริมการดูแลสุขภาพพนักงาน
ส่งเสริมให้พนักงานดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง ผ่านการสร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมสุขภาพและการสะกิด (Nudging) ให้พนักงานมีพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ เช่น
– ชักชวนให้ไปออกกำลังกายหลังเลิกงานหรือในวันหยุดด้วยกัน เช่น ออกไปวิ่งที่สวน ไปฟิตเนส ชวนไปปีนหน้าผาจำลอง ฯลฯ นอกจากจะได้สุขภาพกายที่ดีแล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์กันในองค์กรอีกด้วย
– ชักชวนและส่งเสริมให้กินอาหารสุขภาพ เช่น กินอาหารคลีนทุก ๆ วันอังคาร หรือบริษัทอาจตกลงดีลส่วนลดร้านอาหารสุขภาพเป็นหนึ่งในสวัสดิการพนักงาน
– ใช้โปรแกรมสุขภาพ (Health Program) เพื่อช่วย “สะกิด” ให้พนักงานแต่ละคนดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีขึ้น จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเล็ก ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว เช่น แอปพลิเคชัน SAKID ที่คอยมอบภารกิจดูแลสุขภาพ เช่น สะกิดให้เดิน 10,000 ก้าว สอบถามมื้ออาหารที่กินเพื่อให้กับการตระหนักร งดกินจุบจิบ งดดื่มแอลกอฮอล์
2. มีสวัสดิการด้านสุขภาพ
สวัสดิการบริษัทที่ดีก็สามารถช่วยส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น
– ให้สวัสดิการวันหยุดที่เหมาะสม ช่วยให้พนักงานได้มีเวลาพักผ่อนจากภาระหน้าที่ การงาน และยังได้มีเวลาไปดูแลตัวเองเพิ่มขึ้น ทำงานอดิเรกที่รัก หรือได้ผ่อนคลายจิตใจจากความเครียด
– มีประกันสุขภาพและค่ารักษาพยาบาล หากมีสวัสดิการที่ช่วยค่ารักษาพยาบาลกับพนักงานได้ ก็ช่วยให้พวกเขาไม่ลังเลที่จะไปพบแพทย์เพื่อรักษาร่างกายหรือจิตใจ
– มีแพ็กเกจตรวจสุขภาพประจำปี ช่วยให้ในทุก ๆ ปี พนักงานได้ตระหนักถึงสุขภาพ นอกจากนี้ ผลตรวจสุขภาพอาจช่วยกระตุ้นให้พวกเขาตั้งเป้าหมายดูแลสุขภาพตัวเองได้อีกด้วย เช่น ลดค่าแคลเลอรี่ ลดเปอร์เช็นต์ไขมัน ลดค่าตับ ฯลฯ
– สมัครสมาชิกฟิตเนสให้ฟรีหรือให้ส่วนลดพิเศษ เพื่อส่งเสริมให้พนักงานไปออกกำลังกายกันมากขึ้น ลดภาระค่าใช้จ่ายในการไปฟิตเนส
3. สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสม
อาการ “ออฟฟิศซินโดรม” (Office Syndrom) หรืออาการเจ็บ ปวด และเมื่อยกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ เนื่องมาจากการนั่งทำงานของเหล่ามนุษย์ออฟฟิศ ไม่ใช่ปัญหาที่บริษัทจะมองข้ามได้
อาการปวดกล้ามเนื้อเหล่านั้น ไม่เพียงส่งผลต่อ Productivity โดยตรง แต่ส่งผลให้เกิดความเครียดสะสม กระตุ้นไมเกรน และเป็นหนึ่งในอาการที่สามารถสะสมรวมกับความเครียดและเหนื่อยล้าเป็นอาการ “หมดไฟ” (Burn out) จนพนักงานต้องลาป่วยหรือลาออกไปได้
บริษัทจึงควรให้ความสำคัญกับการจัดสถานที่ทำงาน หรือ “Work Station” ให้ถูกหลักสรีรศาสตร์ เลือกใช้เก้าอี้ออฟฟิศที่รองรับสรีระได้ดี (Ergonomic chair) และโต๊ะที่ได้ความสูงพอดี สามารถวางแขนและวางหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้พอดีกับสายตา ไม่ต้องก้ม ให้เมื่อยคอ ฯลฯ
นอกจากนี้ เรื่องของบรรยากาศการทำงานก็สำคัญ ควรจัดสถานที่ทำงานให้ดูผ่อนคลาย มีแสงสว่างเพียงพอ มีความโปร่งสบาย อากาศถ่ายเท อาจจะมีพื้นที่สีเขียว ต้นไม้หรือจัดดอกไม้ในออฟฟิศเพิ่มความสดชื่นมีชีวิตชีวาในออฟฟิศ
4. มีวัฒนธรรมการทำงานที่ “Healthy”
วัฒนธรรมการทำงานหนัก การคอยจับผิดกัน หาแต่ข้อตำหนิ คงไม่อาจเรียกได้ว่า “Healthy” เป็นแน่ เพราะวัฒนธรรมดังกล่าวมีแต่จะทำให้พนักงานทยอยหมดกำลังใจในการทำงานลงไปในทุกวัน แล้ววัฒนธรรมแบบไหนที่ดีต่อใจพนักงานบ้าง ยกตัวอย่างมาแชร์กัน ดังนี้
– วัฒนธรรมที่เรียนรู้จากความผิดพลาด ไม่ใช้ข้อผิดพลาดเป็นข้อตำหนิหรือด้อยคุณค่าของคนทำงาน แต่ใช้เป็นกรณีเรียนรู้และหาทางปรับปรุงพัฒนาร่วมกัน
– วัฒนธรรมการให้ฟีดแบกอย่างสร้างสรรค์ (Constructive Comment) เรียนรู้เรื่องการคอมเมนต์งาน โดยเฉพาะหัวหน้า ผู้จัดการ หรือผู้ปฏิบัติงานระดับอาวุโส (Senoir Level) ที่ต้องคอยตรวจงานให้ผู้อื่น
– ไม่ส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานหนัก ชื่นชมความทุ่มเท เห็นความพยายาม แต่ไม่ส่งเสริมให้ทำงานหนักจนเกินไป ยกตัวอย่างเช่น การเลินงานตรงเวลา ไม่ทักเรื่องงานในเวลาส่วนตัว
– วัฒนธรรรมการชื่นชมและให้กำลังใจ ถือเป็นหน้าที่สำคัญของหัวหน้างาน (Superviser) ที่สามารถมองเห็นความตั้งใจความทุ่มเทของทีมได้ง่าย การหมั่นชื่นชมผลงานแม้เพียงเรื่องเล็กน้อย จะช่วยให้พนักงานมีกำลังใจในการทำงาน
– วัฒนธรมที่แสดงออกถึงความใส่ใจ หมั่นสอบถามภาระงาน ความยาก หรือความท้าทาย เพื่อแสดงออกถึงความห่วงใยให้กันและกัน นอกจากนี้ หากทำจนเป็นวัฒนธรรมแล้ว จะทำให้การสื่อสารปัญหาภายในองค์กรเป็นเรื่องง่าย ช่วยจัดการปัญหาได้เร็ว
วัฒนธรรมองค์กรเหล่านี้ นอกจากทำให้ส่งเสริมกำลังใจแล้ว ยังมีส่วนทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “Employee Engagement” หรือการมีส่วนร่วมของพนักงาน ทำให้ทีมรู้สึกเป็นทีม มีความเป็นพรรคพวกที่ช่วยเหลือและดูแลกัน และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับองค์กรด้วย
5. ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร
แม้เรื่องของความสัมพันธ์อาจจะเป็นเรื่องยากและค่อนข้างเป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่บริษัทหรือองค์กรก็มีบทบาทในการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีในองค์กรได้ ยกตัวอย่างเช่น
– การจัดกิจกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากเรื่องงานให้ทำร่วมกัน
– จัดงานเลี้ยงขอบคุณหรือกินข้าวร่วมกันในทุกเดือน
– งานเลี้ยงและกิจกรรมตามเทศกาล
– กิจกรรมท่องเที่ยวประจำปี (Outing)
โดยกิจกรรมเหล่านี้บริษัทสามารถกำหนดเป็นสวัสดิการพนักงานได้
นอกจากนี้ เรื่องวัฒนธรรมการทำงานที่ให้คุณค่ากับความพยายามของทุกคน ความโปร่งใส่ในการให้รางวัลหรือการขึ้นเงินเดือน การส่งเสริมทัศนคติความเป็นทีม การให้ฟีดแบกที่สร้างสรรค์อย่างตรงไปตรงมาก็ช่วยลดโอกาสที่ทำให้พนักงานไม่ไว้วางใจกัน รู้สึกเป็นทีมที่ช่วยเหลือพึ่งพา ไม่ก่อให้เกิดการแก่งแย่งชิงดีหรือนินทาว่าร้ายกันในที่ทำงาน ซึ่งไม่ส่งผลดีอย่างไรต่อจิตใจคนทำงาน
องค์กรเริ่มดูแลสุขภาพพนักงานได้ง่าย ๆ ด้วย SAKID
ในทุกวันนี้ เทคโนโลยีอย่าง “โปรแกรมสุขภาพ” (Health Program) มีบทบาทในการช่วยบริษัทสามารถดูแลสุขภาพพนักงานได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเทรนด์การใช้ Health Program ในองค์กรก็เป็นสิ่งที่บริษัทใหญ่ ๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศเริ่มต้นทำกันไปแล้ว เพราะมีสถิติที่ช่วยยืนยันว่า โปรแกรมช่วยให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้จริง
ยกตัวอย่าง Health Program ในไทย อย่างแอปพลิเคชัน SAKID ที่ช่วยติดตามข้อมูลด้านสุขภาพและคอย “สะกิด” ให้พนักงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวันให้ส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น คอยสะกิดให้เดิน สะกิดให้งดอาหารพลังงานสูง หรือฟีเจอร์สำคัญที่มีผู้เชี่ยวชาญอย่าง นักกำหนดอาหาร นักวิทยาศาสตร์กีฬา และนักจิตวิทยาที่คอยให้คำปรึกษากับพนักงานโดยตรง ดูแลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ
ตัวอย่างผลลัพธ์ที่ SAKID ช่วยให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีขึ้น
ช่วยลดรอบเอวของพนักงานได้เฉลี่ยเกือบ 3 เซนติเมตร
ยกตัวอย่าง การใช้งาน SAKID ในองค์กรที่ให้ผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่น่าทึ่ง โดยจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน จากองค์กรที่ใช้ SAKID อย่างต่อเนื่องเกิน 3 เดือน กลุ่มตัวอย่างสามารถลดรอบเอวได้เฉลี่ยอย่างน้อย 3 เซนติเมตร ซึ่งการที่พนักงานสามารถลดรอบเอวได้ ก็ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันไขมัน รวมไปถึงช่วยเพิ่ม Productivity ให้พนักงานรู้สึกสดชื่นและมีพลังในการทำงานอย่างเต็มที่
จากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคำนวณเป็นตัวเลขแล้ว SAKID สามารถช่วยให้บริษัทค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องไปได้ถึง 2.6 ล้านบาท ต่อปี
สรุป
การดูแลสุขภาพพนักงานไม่ใช่สิ่งที่จะเลือกว่า บริษัทจะทำหรือไม่ทำก็ได้
สุขภาพของพนักงานที่ดีหรือแย่จะส่งผลต่อองค์กรโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประสิทธิภาพการทำงาน ค่าใช้จ่ายจากความเจ็บป่วยของพนักงาน อัตราการลาป่วยและลาออก บรรยากาศการทำงาน ฯลฯ การใส่ใจสุขภาพของพนักงานจึงถือเป็นหน้าที่สำคัญในการบริหารองค์กร
SAKID สามารถช่วยบริษัทของคุณติดตามข้อมูลด้านสุขภาพ พร้อมส่งเสริมให้พนักงานของคุณ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เป็นความใส่ใจจากบริษัทที่สามารถมอบให้กับพนักงานในทุก ๆ วัน เพราะสุขภาพของพนักงานสำคัญที่สุด
อ่านฟีเจอร์ของ SAKID ทั้งหมด << ที่นี่
บทความที่น่าสนใจ

สุขภาพจิตพนักงาน ปัญหาซ่อนเร้นที่ต้องระวัง
เข้าใจปัญหาสุขภาพจิตในองค์กร ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดในที่ทำงาน บริษัทหรือ HR จะมีมาตรการจัดการปัญหาอย่างไร อ่านคำแนะนำและแนวทางส่งเสริมสุขภาพจิต ที่นี่

WORKSHOP BURN OUT
กิจกรรม “ภาวะหมดไฟ กับสิ่งต่างๆ”
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 SAKID ได้จัดกิจกรรม Workshop “Burn Out” ให้กับธนาคาร UOB โดยนักจิตวิทยา ผู้เข้าฟังจะได้ทำการสำรวจตัวเองว่าอาการนี้เรียกว่า หมดไฟ หรือเปล่า และสามารถจัดการกับความรู้สึกได้อย่างไร การจัดการความเครียดจากการทำงานเพื่อไม่ให้กระทบกับสุขภาพใจ

HR tech Thailand 2023
กิจกรรมออกบูธ HR tech Thailand 2023
วันที่ 14-15 มิถุนายน 25656 SAKID ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพลิเคชั่น “สะกิด” ในงาน HR Tech เพื่อแนะนำให้รู้จักกับแอพว่าใช้ออกแบบกิจกรรมสุขภาพอย่างไร และเปิดให้ทดลองใช้ ฟรี 7 วัน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสำหรับองค์กรที่ถ่ายรูปคู่น้องสะกิดลุ้นรับ Workshop นักกำหนดอาหารฟรี 1ชม. ได้ทั้งความรู้สุขภาพและภารกิจสุขภาพดีสนุก ๆ จาก สะกิดกันได้เลย

จัดการอย่างไร ให้ห่างไกล ความเครียด
หากเราพูดถึงคำว่า “ความเครียด” เรานั้นมักจะนึกถึง และบรรยายความรู้สึกว่าเหมือนถูก “บีบคั้น กดดัน อึดอัด” ทำให้เราใช้ชีวิตได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร โดยที่ความเครียดนั้นจะเป็นภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อเราต้องเจอกับสถานการณ์ที่รับมือได้ยาก หรือถูกกดดันจากปัจจัยภายนอก จนทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ หรือวิตกกังวลขึ้นมาได้

Workshop สายออฟฟิศ
Workshop สายพนักงานออฟฟิศ ที่นั่งทำงานหน้าคอมนานๆ ไม่ลุกไปไหนย่อมมีผลต่อสุขภาพแน่นอน การเสริมความรู้ด้านสุขภาพจากผู้เชี่ยวชาญเป็นกลุ่มเป็นสิ่งที่จำเป็นแก่พนักงานเพื่อที่จะได้มีสุขภาพแข็งแรง

“กิจกรรม csr” การทำเพื่อสังคมที่สร้างประโยชน์ได้มากกว่าที่คุณคิด
กิจกรรม CSR คืออะไร ทำไมองค์กรใหญ่ ๆ ถึงต้องทำ? ประเภทของกิจกรรม CSR และตัวอย่างกิจกรรมจากธุรกิจชั้นนำ [แนะนำแนวทางจัดกิจกรรม CSR]