Well-being ไม่ใช่แค่ดูแลพนักงาน แต่ขอรับรองมาตรฐานได้ด้วย
- 01/04/24
ในปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญการดูแลด้าน Well-being หรือสุขภาวะที่ดีของพนักงาน เพราะเล็งเห็นว่าพนักงานเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร ในการดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร หากพนักงานมีความสุขก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน และมีความผูกพันต่อองค์กร แต่ทราบหรือไม่ว่านอกจากนี้ยังสามารถขอรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้องได้หลายมาตรฐาน ซึ่งทำให้มั่นใจว่ากิจกรรมด้าน Well-being ที่จัดให้พนักงานมีความครบถ้วนหรือไม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และหากองค์กรได้รับรางวัลมาตรฐานเหล่านี้ ยังเป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่องค์กร สร้างภาพลักษณ์ต่อผู้เกี่ยวข้องทั้งพนักงาน ลูกค้า และบุคคลภายนอกในการเป็นองค์ที่มีความใส่ใจพนักงาน
ตัวอย่างมาตรฐานที่เกี่ยวข้องด้าน Well-being
1.รางวัล Healthy Organization ซึ่งดำเนินการโดยเครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย เป็นแนวทางเกี่ยวกับการสร้างองค์กรที่มีการวางระบบในการให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพแก่พนักงาน และส่งเสริมให้พนักงานนำความรู้นั้นไปปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน ควบคู่กับการจัดสภาพแวดล้อมในองค์กรให้เอื้ออำนวยต่อการสร้างเสริมสุขภาพของพนักงาน เพื่อให้พนักงานมีสุขภาพดี และนำมาซึ่งประสิทธิภาพของการทำงาน
2.Well Building Standard เป็นการรับรองมาตรฐานอาคาร ซึ่งนอกจากดูด้านการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีแล้ว ยังดูถึงการมีสุขภาวะที่ดี
• Fitwell พัฒนาโดย The U.S. Centers for Disease Control and Prevention เน้นการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสุขภาพของผู้ใช้อาคารเป็นหลัก
• WELL Certification ที่คำนึงถึงสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อาศัย จาก The International WELL Building Institute (IWBI) ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้แนวคิดสำคัญ 7 ข้อ ได้แก่ อากาศ น้ำ สาธารณูปโภค แสง การออกกำลังกาย สภาพแวดล้อม และจิตใจ1
3.TQA (Thailand Quality Award) หรือ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เป็นรางวัลที่แสดงว่าองค์กรมีระบบการจัดการในด้านต่าง ๆ ที่เป็นเลิศ เริ่มต้นจากความร่วมมือของ 2 หน่วยงาน คือ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ปัจจุบันสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติเป็นหน่วยงานบริหารรางวัล โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ2 ซึ่งเกณฑ์ของรางวัลจะประกอบไปด้วย 7 หมวด โดยหนึ่งในนั้นเป็นด้านบุคลากร ซึ่งกล่าวถึงการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานในด้านสุขภาพ และความปลอดภัย3
การส่งโครงการเข้ารับการพิจารณารางวัล Healthy Organization
เนื่องด้วยปัจจุบันองค์กรประสบปัญหาพนักงานในองค์กรมีโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพหรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้นซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการทำงานที่ด้อยลงตามสภาพร่างกาย ทางเครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการสร้างพฤกรรมสุขภาพที่ดี จึงได้จัดทำ Healthy Organization หรือแนวทางเกี่ยวกับการสร้างองค์กรที่มีการวางระบบในการให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพแก่พนักงาน และส่งเสริมให้พนักงานนำความรู้นั้นไปปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน ควบคู่กับการจัดสภาพแวดล้อมในองค์กรให้เอื้ออำนวยต่อการสร้างเสริมสุขภาพของพนักงาน เพื่อให้พนักงานมีสุขภาพดี และนำมาซึ่งประสิทธิภาพของการทำงาน อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Healthy Organization องค์กรสุขภาพดี คือ
ปัจจุบันหลายองค์กรได้มีการนำแนวคิด Healthy Organization มาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพพนักงานในองค์กร เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่องค์กร และทีมผู้ปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพบุคลากรในองค์กร เครือข่ายคนไทยไร้พุง จึงได้จัดให้มีการส่งผลการดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพ โดยองค์กรที่ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมหลักสูตรอบรมผู้นำสุขภาพในสถานที่ทำงาน หรือ Health Leader ที่เป็นกลุ่มคนที่ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพแก่พนักงานในองค์กร ส่งผลงานเข้ามาพิจารณารางวัล Healthy Organization Award ซึ่งแบ่งรางวัลออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ รางวัลผู้นำองค์กร ทีมผู้นำองค์กร กระบวนการดำเนินงาน และนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ โดยมีระดับรางวัล ได้แก่ ระดับดี ดีเด่น และ ยอดเยี่ยม ซึ่งจัดพิธีมอบรางวัลในงาน Healthy Organization Day จัดขึ้นทุกวันศุกร์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมกราคม ของทุกปี
เกณฑ์พิจารณารางวัล
ประเภทที่ 1 ผู้นำองค์กร
ผู้นำองค์กร หมายถึง ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรม/โครงการสร้างเสริมสุขภาพพนักงาน โดยให้องค์กรเลือก ระบุชื่อ และตำแหน่ง ท่านที่สมควรได้รับการยกย่องที่สุดในองค์กรมา 1 ท่าน หากท่านผู้บริหารท่านนั้นมีคุณสมบัติครบถ้วน จะได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณตามเกณฑ์ ดังนี้
รางวัลระดับดี ผู้นำองค์กรมีการประกาศนโยบาย สร้างเสริมสุขภาพประจำปี และ สื่อสารให้พนักงานทั้งองค์กรรับทราบ (ฉบับล่าสุดไม่เกิน 2 ปี) ให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอย่างเป็นรูปธรรม และ จัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ และผู้นำองค์กรเข้าร่วมกิจกรรมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ
รางวัลระดับดีเด่น เหมือนรางวัลระดับดี เพิ่มเติมคือ ผู้นำองค์กร ดูแลรักษาสุขภาพเป็นบุคคลต้นแบบให้กับพนักงาน
รางวัลระดับยอดเยี่ยม เหมือนรางวัลระดับดีเด่น เพิ่มเติมคือ ผู้นำองค์กร เผยแพร่แนวคิดในการดูแลสุขภาพพนักงาน เป็นต้นแบบแก่องค์กรอื่นๆ
ประเภทที่ 2 ทีมผู้นำสุขภาพ
ทีมผู้นำสุขภาพ หมายถึง คณะบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจกรรม/โครงการสร้างเสริมสุขภาพพนักงานในองค์กร โดยองค์กรสามารถแจ้งรายชื่อผู้นำสุขภาพที่รวมกันเป็นทีม/คณะทำงาน ตามที่องค์กรแต่งตั้งขึ้นจริง หากทีมผู้นำสุขภาพขององค์กร มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ จะได้รับรางวัล ดังนี้
รางวัลระดับดี ผู้นำสุขภาพอย่างน้อย 1 คนในทีม ผ่านการอบรมความรู้ ทักษะ พื้นฐานในการดูแลสุขภาพตนเอง และสร้างเสริมสุขภาพพนักงาน จากสถาบัน/องค์กรวิชาชีพที่เชื่อถือได้ และทีมผู้นำสุขภาพนำความรู้, ทักษะที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในการออกแบบและดำเนินโครงการในองค์กร
รางวัลระดับดีเด่น เหมือนรางวัลระดับดี เพิ่มเติมคือ มีการทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการดำเนินโครงการในองค์กรที่มีผู้เข้าร่วมมากกว่า ร้อยละ 50 ของกลุ่มเป้าหมาย และมีผลประเมินเป็นที่พอใจของ พนักงานกลุ่มเป้าหมายเกินกว่า ร้อยละ 50
รางวัลระดับยอดเยี่ยม เหมือนรางวัลระดับดีเด่น เพิ่มเติมคือ มีการทำงานร่วมกันเป็นคณะทำงาน ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ มีการดำเนินโครงการในองค์กรที่มีผู้เข้าร่วมมากกว่า ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย และมีผลประเมินเป็นที่พอใจของ พนักงานกลุ่มเป้าหมายเกินกว่า ร้อยละ 80 และทีมผู้นำสุขภาพมีการดูแลรักษา สุขภาพของตนเอง ปฏิบัติพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ เป็นแบบอย่างแก่เพื่อนพนักงาน (พิจารณาจากหนังสือ/จดหมาย รับรองจากผู้บริหารองค์กร)
ประเภทที่ 3 กระบวนการดำเนินงาน
กระบวนการดำเนินงาน หมายถึง กระบวนการดำเนินกิจกรรม/โครงการสร้างเสริมสุขภาพพนักงานในองค์กร ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการสรุปและวิเคราะห์ผลการดำเนินกิจกรรม/โครงการ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาต่อเนื่องเป็นวงจรอย่างยั่งยืน หากกระบวนการดำเนินงานขององค์กร มีคุณสมบัติครบถ้วน จะได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณตามเกณฑ์ ดังนี้
รางวัลระดับดี มีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ และ ผลสุขภาพของพนักงานในรูปแบบและวิธีการที่ตรวจสอบความถูกต้อง อย่างน้อยปีละครั้ง มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (Target Group) ชัดเจน และกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และมีการดำเนินการตามองค์ประกอบ ของ Healthy Organization ในส่วนของ Healthy Policy และ องค์ประกอบอื่นอีกอย่างน้อย 1 องค์ประกอบ
รางวัลระดับดีเด่น เหมือนรางวัลระดับดี เพิ่มเติมคือ มีการดำเนินการตามองค์ประกอบของ Healthy Organization ในส่วนของ Healthy Policy และองค์ประกอบอื่นอีก 2 – 3 องค์ประกอบ และมีกระบวนการติดตามผล และนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการทบทวน และปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (ตามวงจร PDCA; Plan-Do Check-Action)
รางวัลระดับยอดเยี่ยม เหมือนรางวัลระดับดีเด่น เพิ่มเติมคือ มีการดำเนินการตามองค์ประกอบของ Healthy Organization ในส่วนของ Healthy Policy และองค์ประกอบอื่นอีก 4 – 5 องค์ประกอบ และมีกระบวนการติดตามผล และนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการทบทวน และปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (ตามวงจร PDCA; Plan-Do Check-Action) เป็นระยะเวลา 2 ปีขึ้นไป
ประเภทที่ 4 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ
นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง นวัตกรรม ที่นำมาใช้ในกระบวนการดำเนินกิจกรรม/โครงการสร้างเสริมสุขภาพ พนักงานในองค์กร หากนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพขององค์กรมีคุณสมบัติครบถ้วนจะได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณตามเกณฑ์ ดังนี้
รางวัลระดับดี มีการใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ บนพื้นฐานความรู้ของ Healthy Organization ในการออกแบบ ดำเนินโครงการ และ ติดตามประเมินผลโครงการ และมีการคิดค้น และ/หรือ นำเครื่องมือ, แนวคิดจากแหล่งต่างๆ มาดัดแปลงเป็นนวัตกรรมด้านสุขภาพขององค์กร โดยนำมาใช้อย่างเหมาะสมกับบริบท และสภาพปัญหาขององค์กร
รางวัลระดับดีเด่น เหมือนรางวัลระดับดี เพิ่มเติมคือ มีการนำนวัตกรรมดังกล่าวมาใช้ โดยมีส่วนช่วยให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย และสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานขององค์กร
รางวัลระดับยอดเยี่ยม เหมือนรางวัลระดับดีเด่น เพิ่มเติมคือ มีการพัฒนาและถ่ายทอด นวัตกรรมดังกล่าวให้เกิดประโยชน์แก่สังคม (ครอบครัว พนักงาน องค์กรอื่น หรือ ชุมชนรอบข้าง)
การจัดกิจกรรมด้าน Well-being ให้พนักงาน ไม่เพียงแต่ตอบโจทย์เป้าหมายขององค์กร หรือดูแลพนักงานเท่านั้น แต่ยังสามารถขอรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้องได้ด้วย เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร และหากกำลังมองหาผู้ช่วยในการวางแผนระบบการดูแลสุขภาพพนักงาน ให้ SAKID เป็นผู้ช่วยของคุณ นอกจากการช่วยวางแผน และกำหนดตัวชี้วัดแล้ว ยังมีกิจกรรมสนับสนุนหลากหลาย ทั้ง การแข่งขันสุขภาพด้วย SAKID application หรือให้ความรู้ด้วย workshop ทั้งด้านอาหาร ออกกำลังกาย จิตใจ และการเงิน
แหล่งอ้างอิง
1.Safebox. (8 ธันวาคม 2563) รู้จัก Well Building Standard มาตรฐานอาคารใหม่ที่ใส่ใจคุณ. Safebox office Bangkok. https://www.safeboxbangkok.com/well-building-standard/20.
2.สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. การสมัครรางวัลคุณภาพแห่งชาติ/FAQ. Thailand Quality Award. https://www.tqa.or.th/th/applicant/faq/
3.สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม. (2564). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ปี 2565-2566. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตะวันออก.
บทความที่น่าสนใจ
Well-being ไม่ใช่แค่ดูแลพนักงาน แต่ขอรับรองมาตรฐานได้ด้วย
ในปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญการดูแลด้าน Well-being หรือสุขภาวะที่ดีของพนักงาน เพราะเล็งเห็นว่าพนักงานเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร ในการดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร หากพนักงานมีความสุขก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน และมีความผูกพันต่อองค์กร แต่ทราบหรือไม่ว่านอกจากนี้ยังสามารถขอรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้องได้หลายมาตรฐาน ซึ่งทำให้มั่นใจว่ากิจกรรมด้าน Well-being ที่จัดให้พนักงานมีความครบถ้วนหรือไม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และหากองค์กรได้รับรางวัลมาตรฐานเหล่านี้ ยังเป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่องค์กร สร้างภาพลักษณ์ต่อผู้เกี่ยวข้องทั้งพนักงาน ลูกค้า และบุคคลภายนอกในการเป็นองค์ที่มีความใส่ใจพนักงาน
จัดการอย่างไรเมื่อเกิดความขัดแย้งในองค์กร
ที่ไหนมีคนอยู่ร่วมกัน ปัญหาความขัดแย้งย่อมเกิดขึ้นที่นั่น และยิ่งคนเยอะเท่าไหร่ ความขัดแย้งยิ่งมีความซับซ้อนหลายระดับ ทั้งแบบเก็บงำเป็นความไม่ชอบส่วนตัว จนถึงการแสดงความก้าวร้าวทางวาจา หรือรังแกอีกฝ่ายในแบบต่างๆ บางครั้งความขัดแย้งระหว่างบุคคลอาจขยายตัวมากขึ้นทำให้คนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมจนเป็นเหตุให้คนในองค์กรต้องแบ่งพรรคแบ่งพวก สร้างบรรยากาศที่ไม่ไว้วางใจกัน และไม่เคารพซึ่งกันและกันในองค์กร เหตุการณ์ต่างๆ ยิ่งเลวร้ายลงเพราะหัวหน้างานอาจยังไม่ทราบเรื่อง
5 สวัสดิการบริษัทระดับโลกสุดเจ๋งที่คนรุ่นใหม่สนใจ
สวัสดิการบริษัทที่ดี มีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไรบ้าง? แนะนำ 5 สวัสดิการพนักงานที่น่าสนใจ ที่บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกใช้จูงใจให้คนรุ่นใหม่มาร่วมงานด้วย
สูตรลับสวัสดิการ ทุกบริษัททำได้ เพื่อดึงดูดและรักษาพนักงานคนเก่ง
คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมบริษัทชั้นนำหลายแห่งจึงให้ความสำคัญกับสวัสดิการพนักงานเป็นอย่างมาก? ความจริงก็คือ สวัสดิการที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตโดยรวมขององค์กรอีกด้วย การลงทุนในความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานส่งผลโดยตรงต่อผลกำไรของบริษัท จากการลดต้นทุนด้านสุขภาพ เพิ่มความพึงพอใจในการทำงาน และส่งเสริมความผูกพันของพนักงาน
จัดคลาสออกกำลังกายอย่างไรให้โดนใจคนที่ทำงาน
เมื่อคนใช้เวลากว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในที่ทำงานจดจ่ออยู่กับการทำงาน เวลาพักน้อย การจะขยับตัวเพิ่มกิจกรรมทางกายระหว่างวันก็เป็นไปได้ยากเพราะไม่อาจละจากงานตรงหน้าได้ ด้วยปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น การจะออกกำลังกายให้ได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำขององค์การอนามัยโลกยิ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของพนักงานและเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
[เคล็ดลับ] สร้าง Smart Office ที่ดีเพื่อองค์กรของคุณ
ในยุคหลังโควิด เกิดการปรับตัวขององค์กรมากมาย หนึ่งในนั้นคือการปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็น Smart Office ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้คนทำงานมากขึ้น แนะนำเคล็ดลับ