สวัสดิการพนักงาน โจทย์ใหญ่สำหรับผู้บริหารองค์กรยุคปัจจุบัน
- 03/11/22
สวัสดิการพนักงาน ถือเป็นอีกหนึ่งโจทย์ใหญ่ที่องค์กรในปัจุบบันจะต้องให้ความสนใจ เพราะนอกจากจะเป็นตัวดึงดูดให้คนมาสมัครงานกับองค์กรของเราแล้ว ยังเป็นตัวช่วยยึดเหนี่ยวพนักงานในองค์กรแต่เดิมให้ยังอยู่ต่อไป ซึ่งโจทย์นี้เอง ก็เรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับผู้บริหาร ว่าจะออกแบบมาเป็นเช่นไร และไม่สร้างผลกระทบในแง่ลบให้กับพนักงานภายในองค์กร
สวัสดิการพนักงาน สิ่งยึดเหนี่ยวพนักงานไว้กับองค์กร
สวัสดิการพนักงาน คือผลประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับเพิ่มเติม นอกเหนือจากเงินเดือนที่องค์กรจ่ายให้จากการทำงานของพนักงาน มันเป็นตัวช่วยยึดเหนี่ยวพนักงานในองค์กรแต่เดิมให้ยังอยู่ต่อไป
เพราะสำหรับพนักงานแล้ว สวัสดิการพนักงาน ถือเป็นสิ่งที่ช่วยลดรายจ่ายในชีวิตประจำวันได้ของพนักงานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะรายจ่ายสำคัญ อย่างค่ารักษาพยาบาลที่มักคาดเดาไม่ได้เลยว่าจะต้องจ่ายเมื่อไร และจะต้องใช้เงินเล็กหรือก้อนโตเพียงไร หรือสิ่งอื่น ๆ ที่ช่วยให้พวกเขาทำงานต่อไปได้โดยไม่เกิดปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตที่มากขึ้น
ซึ่งหากสวัสดิการเหล่านั้นไม่ดี องค์กรนั้น ๆ เองก็อาจพบกับความเสี่ยงในอัตราเปลี่ยนงานของพนักงานที่สูงขึ้นเช่นกัน จนทำให้ธุรกิจขององค์กรได้รับความเสียหาย และอาจนำไปสู่การยุติการประกอบการได้ในที่สุด
วางแผนสร้างสวัสดิการพนักงานอย่างไร ให้ได้ประโยชน์ทั้งพนักงานและองค์กร
การวางแผนสร้างสวัสดิการพนักงานถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องคิดให้ถี่ถ้วนเป็นอย่างดี แต่โดยพื้นฐานแล้วจะแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ๆ ก็คือ ประโยชน์สูงสุดต่อพนักงาน และประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยแบ่งได้ ดังนี้
ประโยชน์สูงสุดต่อพนักงาน
1. ขึ้นทะเบียนประกันสังคม
การทำประกันสังคมให้กับพนักงานเป็นสิ่งที่จำเป็นหากจ่ายค่าจ้างให้พวกเขาเป็นเงินเดือน เพื่อให้พนักงานเหล่านั้นได้รับสวัสดิการความคุ้มครองหลายๆ ด้านจากประกันสังคม อีกทั้งพนักงานยังสามารถนำค่าประกันตนที่หักจ่ายให้กับสำนักงานประกันสังคม ไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องยื่นภาษีทุกปีได้ด้วย
2. เลือกสวัสดิการที่ไม่ต้องนับรวมเป็นรายได้พนักงาน
เพราะสวัสดิการบางอย่างและประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับจากองค์กร จะถูกหักนับรวมเป็นภาษีตามมาตรา 39 และ40(1) ของประมวลรัษฎากร ทำให้พนักงานจะต้องจ่ายภาษีที่มากขึ้นตามไปด้วย
ฉะนั้นแล้ว การเลือกสวัสดิการที่ไม่เข้ากับเงื่อนไขของมาตรา 40(1) จึงเป็นสิ่งที่พนักงานส่วนใหญ่ต้องการ โดยจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมาย ดังนี้
2.1 เป็นการปฏิบัติให้พนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน อาจแตกต่างกันตามลำดับขั้นของพนักงานได้ แต่ต้องไม่แตกต่างกันในระดับขั้นเดียวกัน เพื่อแสดงให้เห็นว่าองค์กรไม่ได้เลือกปฏิบัติ หรือให้เป็นการส่วนตัว เพราะจะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม
2.2 สวัสดิการบางอย่างต้องมีระเบียบปฏิบัติอย่างชัดเจน ซึ่งพนักงานต้องรับรู้โดยทั่วกันทุกคน
2.3 ผลประโยชน์ให้พนักงานบางกรณีต้องมีการทำหนังสือรับรู้ หรือได้รับการอนุมัติจากกรรมการเป็นลายลักษณ์อักษร มีเอกสารประกอบชัดเจนและถูกต้อง พร้อมทั้งเอกสารบันทึกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตรงตามที่ได้รับการอนุมัติ
3. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
สำหรับพนักงานที่มีเงินเดือนถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ฝ่ายบุคคลขององค์กรจะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ทุกเดือน โดยจะคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของพนักงานทั้งปี ว่าถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีแล้วหรือไม่
ซึ่งพนักงานเอง ก็จำเป็นจะต้องแจ้งสิทธิลดหย่อนที่มีของตนเองให้กับฝ่ายบุคคล ทั้งที่มีอยู่แล้วหรือที่ตั้งใจว่าจะซื้อเพิ่มภายในปีนี้ให้เป็นไปตามลายลักษณ์อักษร โดยอาจแจ้งเป็นแบบฟอร์มหรือช่องทางอื่น ๆ ตามที่องค์กรกำหนด ซึ่งจะทำให้พนักงานได้รับเงินสดเท่าเดิมทันทีที่จ่ายเงินเดือนครั้งต่อไป
ประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร
1. เลือกค่าใช้จ่ายสวัสดิการที่ไม่เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม
สำหรับองค์กรแล้ว รายจ่ายใด ๆ ที่ไม่อยู่ในมาตรา 65 ตรี (1)-(20) มีสิทธิลงเป็นรายจ่ายทางภาษีอากรได้ ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรเสียภาษีน้อยลง โดยจะต้องเข้าข่ายเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1.1 องค์กรต้องระบุสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ของพนักงานไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของกิจการ โดยระบุไว้ในคู่มือพนักงานอย่างครบถ้วน
1.2 การให้สวัสดิการ จะต้องให้กับพนักงานทุกคนทั่วไปโดยไม่ได้มีการเลือกปฏิบัติ
2. เลือกสวัสดิการที่ภาษีซื้อไม่เป็นภาษีซื้อต้องห้าม
หากค่าสวัสดิการต่าง ๆ ของพนักงานเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เช่น แจกสิ่งของเป็นรางวัลปีใหม่ให้กับลูกจ้างเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการทำงาน ภาษีซื้อสิ่งของเหล่านี้ จะต้องไม่เป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 ซึ่งแบ่งได้เป็น 6 กรณีต้องห้าม ดังนี้
2.1 ไม่มีใบกำกับภาษี หรือมีใบกำกับภาษี แต่ไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้
2.2 ใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ
2.3 เป็นภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบธุรกิจขององค์กร
2.4 เป็นภาษีซื้อจากรายจ่ายค่ารับรอง
2.5 เป็นภาษีซื้อตามใบกำกับภาษี ซึ่งออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
2.6 เป็นภาษีซื้อต้องห้ามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดโดยอนุมัติจากรัฐมนตรีแล้ว
สวัสดิการพนักงานสุดยอดฮิต ที่แพร่หลายและใช้เป็นวงกว้างในองค์กรต่าง ๆ
1. โบนัส และการปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี
การมีโบนัสและการปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี ถือเป็นขวัญกำลังใจให้กับพนักงานได้เป็นอย่างดี ซึ่งยังเป็นเหมือนรางวัลพิเศษให้พวกเขารู้สึกได้รับผลตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อกับสิ่งที่พยายามมาตลอดทั้งปี และมีกำลังใจที่จะพัฒนาตัวเองในปีถัด ๆ ไปอีกด้วย
2. วันลาตามกฎหมาย และวันลาพิเศษอื่น ๆ
การกำหนดวันหยุด และวันลาอื่น ๆ ตามกฏหมายขั้นพื้นฐาน คือสิ่งที่องค์กรต้องใส่ใจและมอบสิทธิเหล่านี้สำหรับพนักงานในเบื้องต้น โดยการให้สิทธิวันลาหยุดตามกฏหมายกำหนด เพื่อรักษาสิทธิส่วนบุคคลตามที่ควรจะเป็น แต่ถ้าหากมีสวัสดิการวันหยุดพิเศษเพิ่มเข้าไป เพื่อให้พวกเขาได้มีเวลาส่วนตัวไปทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการ และสร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน จะเป็นสิ่งที่มัดใจพนักงานได้เป็นอย่างดี
3. ค่าล่วงเวลา (OT)
การทำงานล่วงเวลา อาจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่พนักงานหลายคนเป็นกังวล โดยเฉพาะตำแหน่งที่มีโอกาสทำงานล่วงเวลาจนเป็นเรื่องปกติ ซึ่งแม้จะเป็นหน้าที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบ แต่หากองค์กรนั้น ๆ มีค่าตอบแทนหรือค่าเดินทางเป็นกำลังใจให้ เพื่อให้พวกเขารู้สึกว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้นจะไม่กินแรงพวกเขาฟรี ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งแรงจูงใจสำคัญที่องค์กรควรสนับสนุน
4. เวลาทำงานที่ยืดหยุ่น
สไตล์การทำงานแบบอิสระสามารถช่วยลดความตึงเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างวัน และยังช่วยเพิ่มเติมช่วงเวลาแห่งการพักผ่อน ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของชิ้นงานให้ออกมาได้ดียิ่งขึ้น การสร้างบรรยากาศและออกแบบเวลาทำงานให้ยืดหยุ่น จึงเป็นอีกหนึ่งสวัสดิการพนักงานที่ใช้มัดใจพนักงานบริษัทยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี
ประกันสุขภาพ และการสนับสนุนสุขภาพของพนักงานในองค์กร
ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่างอาจทำให้ความคุ้มครองต่าง ๆ ยังครอบคลุมไม่มากพอ โดยเฉพาะเรื่องของความเจ็บป่วย และอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ หากมีประกันสุขภาพแบบกลุ่มที่ช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายจากการรักษาตัวที่โรงพยาบาล จะช่วยให้พนักงานเห็นว่าคุณเอาใจใส่ดูแลพวกเขาดีแค่ไหน และรู้สึกปลอดภัย อยากอยู่กับบริษัทของคุณไปอีกนาน เพราะค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ถือเป็นสิ่งที่น่ากังวลสำหรับพนักงาน ที่ไม่รู้ว่าจะต้องจ่ายไปมากน้อยเพียงใด
และนอกจากประกันสุขภาพจะเป็นสิ่งสำคัญที่ควรให้พนักงานแล้ว การสนับสนุนสุขภาพของพนักงานในองค์กรเองก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่องค์กรควรใส่ใจ ทั้งอาหารการกิน และการออกกำลังกายต่าง ๆ ของพนักงานในองค์กร จนรวมไปถึงนวัตกรรมดูแลสุขภาพที่ช่วยดูแลพวกเขาอย่างครบครัน ให้พวกเขามีสุขภาพจิตและกายที่ดีในอีกหนึ่งทาง และยังเป็นการป้องกันสุขภาพของพนักงานเหล่านั้น ไม่ให้ล้มป่วยจนต้องพึ่งพาประกันสุขภาพบ่อย ๆ อีกด้วย
สวัสดิการดูแลสุขภาพในที่ทำงานคุ้มค่าอย่างไร?
สวัสดิการดูแลสุขภาพในที่ทำงานถือเป็นสิ่งใหม่ที่หลาย ๆ องค์กรพึ่งนำมาเริ่มใช้กับพนักงานของตนเอง จึงไม่แปลกที่จะมีผู้บริหารและพนักงานจำนวนมากที่สงสัยถึงความคุ้มค่าของนโยบายสวัสดิการตัวนี้ ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเองก็มีประกันสุขภาพของพนักงานกันอยู่ก่อนแล้ว
ทว่า สวัสดิการดูแลสุขภาพในที่ทำงานก็เป็นเหมือนกันกับการป้องกันด่านแรกสุด ที่จะทำให้พนักงานลดความจำเป็นในการใช้ประกันสุขภาพ รวมไปถึงการลา หรือขาดงานจากอาการเจ็บป่วยทั้งหลายลงไป และยังมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง พร้อมสู้ในการทำงาน ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรนั้นสูงยิ่งขึ้น
ยกตัวอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา บริษัท Johnson & Johnson ที่เป็นบริษัทด้านอุตสาหกรรมยา, เครื่องมือแพทย์ และสินค้าอุปโภคบริโภค ตั้งแต่เริ่มใช้งานสวัสดิการดูแลสุขภาพในที่ทำงาน อย่างพวกโปรแกรมสุขภาพต่าง ๆ ก็มีพนักงานที่สูบบุหรี่ลดลงกว่าสองในสาม จนรวมไปถึงผู้ที่มีความดันโลหิตสูง และผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายก็ลดจำนวนตามลงไป
โดยในผลสรุปตั้งแต่ปี 2002 ไปจนถึงปี 2008 J&J สามารถประหยัดเงินค้าประกันสุขภาพ และรักษาพยาบาลต่าง ๆ ของพนักงานในองค์กรของตนเองไปได้กว่า 250 ล้านดอลลาร์ (ราว ๆ 9,530,875,000 บาท ในปัจจุบัน) ซึ่งตามการคำนวณของพวกเขา ในทุก ๆ 1 ดอลลาร์ (ราว ๆ 38.11 บาท ในปัจจุบัน) ที่ J&J ใช้ลงทุนไปกับสวัสดิการดูแลสุขภาพในที่ทำงาน พวกเขาก็ได้ผลตอบแทนกลับคืนมาถึง 2.71 ดอลลาร์ (ราว ๆ 103.28 บาท ในปัจจุบัน) เลยทีเดียว
ซึ่งแอปพลิเคชัน SAKID เองก็จัดอยู่ในประเภทสวัสดิการดูแลสุขภาพในที่ทำงานเช่นกัน นวัตกรรมนี้ถูกพัฒนาโดยทีมงานสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วยนักกำหนดอาหาร, นักวิทยาศาสตร์การกีฬา และนักจิตวิทยาองค์กร ที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ซึ่งทดลองใช้งานจริงแล้วในองค์กรมามากกว่า 200 องค์กร และพบว่าผู้ใช้งานร้อยละ 80 ของแอปพลิเคชันสามารถควบคุมน้ำหนักตัวได้ และกว่าครึ่งหลังจากที่ใช้บริการก็มีฟีดแบคกลับมาว่ารู้สึกมีความสุขมากยิ่งขึ้น
บริการของ SAKID ในปัจจุบัน แบ่งได้ 4 บริการ ดังนี้
1. บริการภารกิจสุขภาพรายบุคคล
ภารกิจสุขภาพของ SAKID มีรวมกันกว่าพันรายการ พร้อมทั้งมีการคัดสรร และเลือกภารกิจให้ตามแต่ความเหมาะสมรายบุคคลของพนักงาน ทั้งยังสามารถระบุเป้าหมายที่พนักงานเหล่านั้นต้องการ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการลดน้ำหนัก, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการจัดการความเครียดต่าง ๆ ทั้งยังสามารถทำชาเลนจ์เป็นกิจกรรมภายในบริษัทได้ด้วยการเชื่อมต่อกับ Smart Device ต่าง ๆ บนระบบ iOS และ Android
2. บริการปฏิทินความสุข
เป็นเครื่องมือช่วยบันทึกภายในแอปพลิเคชันของ SAKID ที่เน้นจุดมุ่งหมายไปที่การช่วยให้พนักงานบันทึกระดับความสุขในแต่ละวันลงไป เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลตัวเลขต่าง ๆ ที่สามารถนำมาวัดผลได้ให้แก่องค์กร และยังสามารถบันทึกเรื่องราวของสิ่งที่ทำให้เกิดความสุขรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ใหญ่ หรือเล็กน้อยลงไปได้อีกด้วย
3. บริการโค้ชสุขภาพพนักงานส่วนตัว
เป็นบริการที่มีเพื่อให้พนักงานภายในองค์กรที่ใช้งานแอปพลิเคชันของ SAKID ได้พูดคุยปัญหาสุขภาพกับโค้ชประจำตัว, นักกำหนดอาหาร, นักวิทยาศาสตร์การกีฬา และนักจิตวิทยาได้แบบไม่จำกัด ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม เป็นการที่ให้พวกเขาสามารถจัดการปัญหาของตัวเองกับผู้เชี่ยวชาญได้อย่างว่องไว และไม่ก่อกลายเป็นปัญหาเรื้อรังในภายหลัง
4. บริการเวิร์คช็อปออนไลน์
เป็นบริการพื้นที่ร่วมกิจกรรม ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนทักษะที่จำเป็น ให้แก่คนในองค์กรแบบหมุนเวียนทุกสัปดาห์จากผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ของแอปพลิเคชัน SAKID และยังสามารถเพิ่มการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Omni-Channel ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ เช่น กิจกรรมนวดผ่อนคลาย, กิจกรรมยืดเส้นสาย, กิจกรรมคลายเครียด หรือกิจกรรมเสริมความร่วมมือในทีม ให้แก่พนักงานเหล่านั้นได้นำไปปรับใช้ภายในชีวิตประจำวัน และองค์กรของตนเอง
จากทั้งหมดที่ว่ามานี้ แอปพลิเคชันของ SAKID ถือได้ว่าเป็นบริการด้านสุขภาวะแก่พนักงานในองค์กรรูปแบบออนไลน์แห่งแรก ที่ดูแลอย่างครบครันจากการปรับการทานอาหาร, ออกกำลังกาย, คลายความกังวล และ สังคมในที่ทำงานกับตัวของพนักงาน ด้วยโค้ชสุขภาพที่พร้อมให้คำปรึกษา และออกแบบคำแนะนำให้รายบุคคลตามมาตรฐานสากล ผสานด้วยเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลพนักงานที่ก้าวหน้า เพื่อเป้าหมายการพัฒนาตัวชี้วัดด้านสุขภาพพนักงานโดยรวม และลดค่าใช้จ่ายการดูแลสุขภาพของบริษัท รวมถึงค่ารักษาพยาบาลที่ไม่จำเป็นของพนักงานลงไป
สรุป
จะเห็นได้ว่า สวัสดิการพนักงานนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะว่าพนักงานนั้นเป็นเหมือนฟันเฟือง ที่คอยขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จ ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้ในองค์กรให้นานที่สุด ด้วยการการสร้างแรงจูงใจจากสวัสดิการเหล่านี้ ให้พวกเขารู้สึกอยากที่จะอยู่ต่อ และไม่ย้ายไปไหนนั่นเอง
บทความที่น่าสนใจ
EAP คือ ? รู้จักกับเครื่องมือสำคัญในการช่วยเหลือสุขภาพใจพนักงานให้ดียิ่งขึ้น
ปัญหาสุขภาพจิตของพนักงานเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่องค์กรไม่ควรมองข้าม เครื่องมือสำหรับช่วยเหลือในปัญหาสุขภาพจิตอย่าง EAP จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะมีไว้ในองค์กร
CSR ทำแล้ว ทำอยู่ ทำต่อ เพิ่มศักยภาพองค์กรในระยะยาว
คุณอยากให้องค์กรของคุณโดดเด่นและแบรนด์แข็งแกร่งท่ามกลางสมรภูมิธุรกิจที่ดุเดือดใช่ไหม? ถึงเวลาแล้วที่เราจะหันมาใส่ใจ CSR หรือกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งไม่เพียงแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคม แต่ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรอีกด้วย แต่จะทำ CSR อย่างไรให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ? ในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้เคล็ดลับและกลยุทธ์ที่จะช่วยให้กิจกรรม CSR ขององค์กรคุณโดดเด่น ประทับใจผู้คน และสร้างผลกระทบที่ยั่งยืน
HR tech Thailand 2023
กิจกรรมออกบูธ HR tech Thailand 2023
วันที่ 14-15 มิถุนายน 25656 SAKID ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพลิเคชั่น “สะกิด” ในงาน HR Tech เพื่อแนะนำให้รู้จักกับแอพว่าใช้ออกแบบกิจกรรมสุขภาพอย่างไร และเปิดให้ทดลองใช้ ฟรี 7 วัน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสำหรับองค์กรที่ถ่ายรูปคู่น้องสะกิดลุ้นรับ Workshop นักกำหนดอาหารฟรี 1ชม. ได้ทั้งความรู้สุขภาพและภารกิจสุขภาพดีสนุก ๆ จาก สะกิดกันได้เลย
บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดที่งาน Sports Day การไฟฟ้านครหลวง
บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดที่งาน Sports Day การไฟฟ้านครหลวง
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 Sakid ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดให้กับการไฟฟ้านครหลวงในงาน Sports Day ที่สนามกีฬาจุฬา โดยทีมงานมีแนะนำการเข้าร่วมโครงการ “MEA เบิร์นเกินร้อย” เปิดศึกการแข่งกันระหว่างทีมเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี ด้วยการส่งภารกิจสุขภาพผ่านแอพสะกิด และลุ้นรับของรางวัลในแต่ละเดือน
“Burnout” องค์กรควรทำอย่างไรเมื่อพนักงานหมดไฟ
Burnout สำคัญแค่ไหน รู้หรือไม่ว่านี่คือปัญหาที่บริษัททั่วโลกกำลังพบเจอมากขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน เราควรรับมือมันอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
เทคนิคส่งเสริมสุขภาพพนักงานที่ทุกบริษัทควรรู้
แนะนำโมเดลการจัดโครงการ ส่งเสริมสุขภาพพนักงาน 4 ขั้นตอน แนะนำไอเดียจัดกิจกรรม กิจกรรมลดน้ำหนัก ส่งเสริมสุขภาพ [แนะนำเครื่องมือช่วยจัดโครงการ]