
Health Activity จัดแบบไหนได้บ้าง?
- 27/02/25
ในช่วงต้นปีแบบนี้ หลายบริษัทอาจกำลังมองหากิจกรรมที่ทำร่วมกับพนักงาน ซึ่งกิจกรรมก็เป็นได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ขององค์กร หรือความต้องการพนักงาน ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร กิจกรรม CSR เพื่อสังคม กิจกรรมด้านอบรมเพิ่มศักยภาพพนักงาน หรือแม้แต่กิจกรรมที่ช่วยดูแลสุขภาพ หรือ happy workplace ให้แก่พนักงาน ซึ่งขอแนะนำตัวอย่างการจัดกิจกรรมด้าน Health ไว้เป็นไอเดียไปจัดกิจกรรม
5 ไอเดียจัด Health Activity
1. มีคลาสออกกำลังกายประจำสัปดาห์ โดยเปิดพื้นที่ให้พนักงานสามารถมาออกกำลังกายขยับกันหลังเลิกงานได้ ตัวอย่างคลาสออกกำลังกายที่แนะนำ ได้แก่ แอโรบิก ซุมบ้า หรือโยคะ เพื่อช่วยยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ผ่อนคลายจากการทำงาน
2.ท้าทายด้วย Challenge กันในทีม ด้วยการตั้งโจทย์ดูแลสุขภาพ แข่งกันทำแบบสนุก ๆ กันในแผนก เช่น ชวนกันกินเมนูผักวันอังคาร หรือดื่มน้ำ 2 ลิตร
3.สะสมก้าวเดินในแต่ละวัน โดยอาจเริ่มต้นจากเป้าหมายที่เป็นไปได้ และไม่ยากจนเกินไป เช่น เริ่มเดินกันที่ 3,000 ก้าว นอกจากนี้องค์กรยังสามารถนำไปต่อยอดทำเป็นกิจกรรม CSR ได้ด้วย เช่น การตั้งยอดบริจาคเงินให้แก่องค์กรการกุศล เมื่อพนักงานร่วมใจกันเดินสะสมให้ได้ตามก้าวเป้าหมาย นอกจากพนักงานจะได้ออกกำลังกายแล้ว ยังรู้สึกดีด้วยในการที่ช่วยเหลือสังคม
4.ชวนกันทำกิจกรรม 5ส ทั้งสะสาง-สะดวก-สะอาด-สุขลักษณะ-สร้างนิสัย ทำให้โต๊ะทำงาน ห้องทำงานของเรามีความสะอาด สะดวกต่อการใช้งาน ทั้งยังสร้างสุขอนามัยที่ดีด้วย
5.จัด Workshop เสริมสร้างการดูแลตนเอง ทั้งสุขภาพกาย เรื่องโภชนาการ ออกกำลังกาย หรือเรื่องฮีลใจ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ มาให้ความรู้ สร้างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นอกจากเป็นกิจกรรมด้านสุขภาพแล้ว ยังสามารถใส่ในแผนอบรมการดูแลสุขภาพพนักงานได้ด้วย
ไม่ใช่แค่กิจกรรม แต่วัดผลทางสุขภาพได้ด้วย
นอกจากการทำกิจกรรมสุขภาพ จะช่วยกระตุ้นการสร้างเสริมสุขภาพในองค์กรแล้ว ยังสามารถวัดผลลัพธ์ทางสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงดีขึ้นได้อีกด้วย เป็นตัวช่วยบอกเกิดสุขภาพดีแล้วในองค์กร ตัวชี้วัดที่วัดได้อย่างง่าย ๆ ขอยกตัวอย่างดังนี้
1.น้ำหนักตัว หากหลังทำกิจกรรมผู้ที่อยู่เกณฑ์น้ำหนักตัวเกินสามารถลดน้ำหนักลงมาได้ จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาหาร ออกกำลังกาย ถือว่าเป็นผลลัพธ์ที่สำเร็จ การลดน้ำหนักเปลี่ยนแปลง 5% จากเดิม ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
2.พฤติกรรมอาหาร และออกกำลังกาย สามารถติดตามพฤติกรรมอาหาร และออกกำลังกายที่เกิดการปรับเปลี่ยนจนดีขึ้น เช่น ลดอาหารหวาน มัน เค็ม ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น โดยมีแบบประเมินพฤติกรรมเหล่านี้ก่อน และหลังจบกิจกรรม
3.ผลตรวจสุขภาพประจำปี เมื่อทำกิจกรรมเลือกอาหารหวาน มัน น้อยลง เพิ่มการออกกำลังกาย ทำให้มีผลสุขภาพที่ดีขึ้น เช่น ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเลือด ที่ลดลง โดยนอกจากเปรียบเทียบผลตรวจสุขภาพประจำปีแล้ว ยังสามารถตรวจสุขภาพหลังจบกิจกรรม เพื่อเป็นตัวชี้วัดกิจกรรมได้เช่นกัน
แล้วควรจัดกิจกรรมแบบไหนดี ระยะเวลานานเท่าใด คำตอบนี้ก็ต้องปรับให้เหมาะสมกับบริบทแต่ละองค์กร แต่หากไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ปรึกษา SAKID ได้ เราไม่ใช่แค่ผู้นำกิจกรรมสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นที่ปรึกษาช่วยออกแบบกิจกรรมสุขภาพให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กร รวมทั้งวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางสุขภาพให้จบครบในที่เดียว ทำให้คนในองค์กรมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน
บทความที่น่าสนใจ

แยกขยะในที่ทำงาน เรื่องง่าย ๆ ที่ทุกคนทำได้
ในแต่ละวัน ที่ทำงานของเราสร้างขยะจำนวนไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นถ้วยกาแฟ กล่องอาหารกลางวัน กระดาษที่ใช้แล้ว หรือขยะรีไซเคิลอื่น ๆ ถ้าเรารู้จักแยกขยะให้ถูกประเภทตั้งแต่ต้นทาง ก็สามารถลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมาก ที่สำคัญยังทำให้ที่ทำงานสะอาดและน่าอยู่ยิ่งขึ้นด้วย

จัดคลาสออกกำลังกายอย่างไรให้โดนใจคนที่ทำงาน
เมื่อคนใช้เวลากว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในที่ทำงานจดจ่ออยู่กับการทำงาน เวลาพักน้อย การจะขยับตัวเพิ่มกิจกรรมทางกายระหว่างวันก็เป็นไปได้ยากเพราะไม่อาจละจากงานตรงหน้าได้ ด้วยปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น การจะออกกำลังกายให้ได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำขององค์การอนามัยโลกยิ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของพนักงานและเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

Carbon Credit Claim การเคลมเครดิตคาร์บอน สำหรับองค์กร
การเคลมเครดิตคาร์บอน (Carbon Credit Claim) คือ กระบวนการที่ผู้ประกอบการหรือองค์กรต่าง ๆ ทำเพื่อขอรับเครดิตคาร์บอนจากกิจกรรมหรือโครงการที่มีผลในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หรือสารเคมีเกี่ยวข้องอื่น ๆ จากสภาพแวดล้อม เพื่อขายเครดิตให้กับผู้อื่นที่ต้องการใช้เครดิตคาร์บอนเหล่านั้นเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเอง หรือเพื่อการธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Well-Being กลยุทธ์สร้างสุขภาวะที่ดีให้กับพนักงาน
ทุกธุรกิจ ทุกองค์กร มีการจัดการคนทำงานในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ถ้าวันนี้ลองสังเกตดูว่า พนักงานของเรา ยังมีความสุขในการทำงานหรือไม่ การทำงานของแต่ละคนมีประสิทธิภาพที่ตอบโจทย์องค์กรมากแค่ไหน และคุณภาพชีวิตของพนักงานดีขึ้นทุกด้านรึเปล่า หากผู้นำหรือผู้บริหารสามารถมองจุดนี้ได้ ธุรกิจก็จะสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน

10 โรคจากการทำงาน ที่ HR สามารถช่วยป้องกันได้
เพราะพนักงงานคือคนสำคัญที่องค์กรต้องคอยดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ชวนไปดู 10 โรคที่เกิดจากการทำงาน และวิธีการที่แต่ละองค์กรสามารถป้องกันโรคภัยให้กับพนักงานได้

สวัสดิการสุขภาพพนักงาน เรื่องพื้นฐานที่องค์กรต้องใส่ใจ
เพราะปัจจุบันคนรุ่นใหม่ให้คุณค่ากับการดูแลตัวเอง องค์กรหรือบริษัทจึงควรหันมาใส่เรื่องสวัสดิการสุขภาพพนักงานกันมากขึ้น แล้วสวัสดิการสุขภาพไหนบ้างที่คนทำงานมองหา