ทำอย่างไร เมื่อคนในองค์กรมีไขมันในเลือดสูง
- 29/02/24
ในทุกๆ ปีที่มีการตรวจสุขภาพประจำปี ปัญหาเรื่องไขมันในเลือดสูงมักเป็นปัญหาที่พบได้ลำดับต้นๆ ของใครหลายคน บางคนอาจมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อทำให้ไขมันในเลือดลดลง แต่หลายคนอาจมองข้ามเรื่องนี้ เนื่องจากคิดว่า เป็นมาก็หลายปี ภาวะที่ ไขมันสูงไม่ได้ส่งผลอะไรกับร่างกาย แต่ทราบหรือไม่ว่า หากปล่อยให้เกิดปัญหาไขมันในเลือดสูง โดยไม่มีการจัดการ อาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรง เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดสมองแตก ซึ่งส่งผลต่อชีวิตของเราได้ การที่ปล่อยให้ไขมันสูงเรื่อยๆ ไม่เคยพบแพทย์ ไม่เคยกินยา คุมอาหารบ้าง ไม่คุมอาหารบ้าง ทั้งดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นประจำ ก็ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไร ไม่รู้สึกว่าผิดปกติตรงไหน ทำให้ปีแล้วปีเล่าที่มีการตรวจสุขภาพ ปัญหาเรื่องไขมันในเลือดสูงก็จะวนกลับมาซ้ำแล้วซ้ำอีก
แล้วภาวะไขมันในเลือดสูงเกิดจากอะไรกันแน่ ?
โดยทั่วไป สามารถแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ คือ
1.ร่างกายสร้างผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดมาจากหลายสาเหตุ เช่น
– กรรมพันธุ์
– ได้รับยาหรือฮอร์โมนบางชนิด
– มีโรคหรือภาวะผิดปกติของร่างกาย เช่น ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ เป็นต้น
2.พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
โดยปัจจุบันต้องยอมรับว่าพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไป เราเลือกรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารที่มีไขมันสูง และอาหารพลังงานสูงกันมากขึ้น
ซึ่งพฤติกรรมาการเลือกอาหารเหล่านี้ ส่วนนึงเกิดจากพฤติกรรมาการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ชีวิตที่ต้องเร่งรีบอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการชีวิตในเมืองกรุง ความชอบส่วนบุคคล และการมีข้อจำกัดในเลือกซื้ออาหาร โดยเฉพาะมื้อเช้า ที่ตัวเลือกส่วนใหญ่จะเน้นเรื่อง “สะดวก และรวดเร็ว เช่น ข้าวเหนียวหมูทอด/หมูปิ้ง ปาท่องโก๋จิ้มนมสด และขนมเบอร์รี่ เป็นต้น หรือในมื้อเที่ยง อาหารในโรงอาหารที่งาน ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่มี่พลังงานและไขมันสูง เช่น แกงกะทิ อาหารทอดและอาหารผัดต่างๆ ร่วมกับการมีกิจกรรมทางกายต่างๆลดง เช่น คนส่วนใหญ่เลือกการนั่งรถหรือขับรถมากกว่าการเดิน หรือไม่มีเวลาออกกำลังกาย สาเหตุต่างๆเหล่านี้ล้วนมีผลต่อความผิดปกติของไขมันในเลือดทั้งสิ้น
ค่าไขมันในเลือดที่นิยมตรวจมีค่าอะไรบ้าง
1.คลอเรสเตอรอล (Cholesterol) โดยแบ่งเป็น
– คลอเรสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) โดยมีค่าปกติ คือ < 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
– ไขมันเลว (LDL) โดยมีค่าปกติ คือ < 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
– ไขมันดี (HDL) โดยมีค่าปกติ คือ > 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (ในเพศชาย) และ > 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร(ในเพศหญิง)
และหาก Total Cholesterol สูง, LDL อยู่ในเกณฑ์ปกติ และ HDL สูง หมายว่าเรามีไขมันเลือดสูงใช่หรือเปล่า ?
อาจจะใช่หรือไม่ใช่ เราแนะนำให้หาอัตราส่วนของ Total Cholesterol : HDL โดยนำค่า Total Cholesterol หารด้วย HDL เช่น หากพบว่า Total Cholesterol 280 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และค่า HDL 90 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะได้ค่า Total Cholesterol/HDL ratio = 3.1
จากข้อมูลจากสมาคมโรคหัวใจเเห่งอเมริกา (American Heart Association : AHA) ได้สรุปคำแนะนำเกี่ยวกับค่า อัตราส่วนของ Total Cholesterol : HDL ว่าค่าที่เหมาะสมคือ ≤ 3.5 และไม่ควรเกิน 5 เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดขึ้น ซึ่งจากงานวิจัยในปี 2019 พบว่าในผู้หญิงที่มีค่า อัตราส่วนของ Total Cholesterol : HDL > 5 เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้มากถึง 89 %
2.ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) < 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ต้องทำอย่างไรหากมีภาวะไขมันในเลือดสูง ?
ก่อนอื่นเลยจะต้องดูว่าไขมันในเลือดตัวใดสูง คลอเลสเตอรอลตัวใด ? หรือว่า ไตรกลีเซอไรด์ ? จากนั้นหาสาเหตุ ว่าเกิดจากการสร้างที่ผิดปกติ ซึ่งเป็นหน้าที่ของแพทย์ในการหาสาเหตุ หรืออาจจะเกิดจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม แนะนำปรึกษานักกำหนดอาหารหรือนักโภชนาการ เพื่อประเมินพฤติกรรมการกินและปรับพฤติกรรมาการกินให้เหมาะสม หรือมีการจัด Workshop เพื่อให้พนักงงานมีความเข้าใจและเรียนรู้เทคนิคในการเลือกอาหารให้เหมาะสม
ทำไมภาวะไขมันในเลือดสูงถึงน่ากลัว ?
หากระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เสี่ยงต่อภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด และโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ/ตัน โดยโรคนี้มักเกิดแบบฉับพลัน และเป็นอันตรายถึงชีวิต นอกจากนี้ยังทำให้คุณภาพชีวิตลดลง เนื่องจากกิจกรรมบางอย่างต้องถูกจัดกัดหรือลดลง เช่น ต้องหลีกเลี่ยงความเครียดและความกดดันในการทำงาน ไม่สามารถทำกิจกรรมหรืองานที่ต้องใช้ที่ต้องใช้แรกมากๆหรือเป็นระยะเวลานานได้ ซึ่งแน่นนอนว่าส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลง อีกทั้งอาจจะเพิ่มภาระงานของเพื่อนร่วมงานด้วยเช่นกัน
และหากพบว่าพนักงานในองค์กรของเรามีปัญหาเรื่องภาวะไขมันในเลือดสูงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ทำให้เกิดโรคหัวและหลอดเลือดตามมาก สิ่งที่จะตามมาด้วยก็คือ
●ค่ารักษาที่สูงมากขึ้น
●Productivity ที่ลดลงเนื่องจากข้อจำกัดเรื่องสุขภาพของพนักงาน
รวมถึงเนื่องจากโรคหัวใจอาจจะเกิดแบบฉับพลันขณะทำงาน อาจทำให้พนักงานคนอื่นๆในองค์กรของท่านเกิดความตกใจ แตกตื่น หรือมีความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้นได้
จะเห็นได้ว่าแค่เรื่องไขมันในเลือดสูงที่ดูเป็นเรื่องเล็กๆที่หลายคนมองข้าม ไม่เห็นความสำคัญ และคิดว่าเดี๋ยวค่อยปรับพฤติกรรมวันหลังก็ได้ไม่เห็นจะต้องรีบร้อนเลย จะสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการโรคที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและการทำงานได้มากขนาดนี้
ซึ่งเรื่องเหล่านี้เราสามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ โดยทำให้พนักงานในองค์ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าใจเกี่ยวกับภาวะไขมันในเลือดสูง โดยอาจจะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น
Workshop การกิน
Workshop ออกกำลังกาย
แข่งขันเพื่อลดไขมันในองค์กร
ไขมันในเลือดสูงเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบสุขภาพพนักงานเป็นอย่างมาก อีกทั้งมีโอกาสโรคแทรกซ้อน ถ้าหากองค์กร หรือบริษัท ช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การทำงานก็จะสามารถช่วยป้องกันโรคได้ เพราะพนักงานใช้เวลาทำงานเกือบทุกมื้ออาหารที่อยู่กับบริษัท การผลักดันส่งเสริมสุขภาพพนักงาน เพื่อให้พนักงานไม่เจ็บป่วยและแฮปปี้ในที่ทำงานเป็นสิ่งที่สามารถช่วยพนักงานและบริษัทให้ดียิ่งขึ้น สำหรับองค์กรไหนที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มนโยบายหรือจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้พนักงานยังไง ให้ได้ผลลัพธ์ สามารถปรึกษา SAKID ได้ เรามีผู้เชี่ยวชาญครบทุกด้าน ทั้งอาหาร ออกกำลังกาย จิตวิทยา และการเงิน ที่จะคอยซัพพอร์ตให้ทุกคน
บทความที่น่าสนใจ
[Case Study] ตัวอย่างสวัสดิการพนักงานจากทั่วโลก
เพราะ ‘คนทำงาน’ เป็นสิ่งที่องค์กรควรลงทุนมากที่สุด และการลงทุนนั้นก็คือสวัสดิการที่จะช่วยให้พนักงานมีชีวิตที่ดีได้ ชวนไปสำรวจตัวอย่างสวัสดิการพนักงานจากทั่วโลกกัน
WORKSHOP การใช้อาหารรักษาภาวะคลอเลสเตอรอล (ลดไขมันด้วยอาหาร)
กิจกรรม “การใช้อาหารรักษาภาวะคลอเลสเตอรอล”
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566 SAKID ได้จัดกิจกรรม Workshop “การใช้อาหารรักษาภาวะคลอเลสเตอรอล” โดยนักกำหนดอาหารที่ให้ความรู้และความเข้าใจเรื่องอาหารสำหรับคนที่เสียงคลอเรสเตอรอลสูง และผู้ที่เป็นอยู่แล้ว ว่ามีอาหารประเภทไหนบ้าง ที่ควรกินและไม่ควรกิน การเลือกอาหารและการปรับพฤติกรรมการกินให้เหมาะสม
5 หนังสือจิตวิทยา ปลุกพลังความก้าวหน้าในอาชีพ ที่ต้องมีติดโต๊ะทำงาน
หากคุณเป็นพนักงานออฟฟิศหรือผู้ที่ทำงานในองค์กร ที่รู้สึกติดอยู่ในวังวนเดิม ๆ ไม่มีความก้าวหน้าหรือความสุขในการทำงาน และต้องการหาแรงบันดาลใจเพื่อพัฒนาตนเองให้ทำงานได้อย่างมีความสุขและประสิทธิภาพมากขึ้น บทความนี้มีหนังสือจิตวิทยาดีๆ 5 เล่มจากผู้เชี่ยวชาญ ที่จะช่วยปลุกพลังและเสริมสร้างศักยภาพในการทำงานของคุณ ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่หรือมืออาชีพ หนังสือเหล่านี้จะช่วยให้คุณค้นพบตัวเอง ปลดล็อกความคิด และปรับมุมมองใหม่ในการทำงานและการใช้ชีวิต
WORKSHOP การทานอาหารอย่างเหมาะสมสำหรับผู้ที่มีปัญหาไขมันในเลือด
กิจกรรม “การทานอาหารอย่างเหมาะสมสำหรับผู้ที่มีปัญหาไขมันในเลือด”
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2566 SAKID ได้จัดกิจกรรม Workshop “การทานอาหารอย่างเหมาะสมสำหรับผู้ที่มีปัญหาไขมันในเลือด” โดยนักกำหนดอาหารที่ให้ความรู้และความเข้าใจเรื่องอาหารที่ควรกินและไม่ควรกิน การเลือกอาหารและปรับพฤติกรรมการกินให้เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีปัญหาไขมันในเลือด
บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดที่งาน Sports Day การไฟฟ้านครหลวง
บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดที่งาน Sports Day การไฟฟ้านครหลวง
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 Sakid ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดให้กับการไฟฟ้านครหลวงในงาน Sports Day ที่สนามกีฬาจุฬา โดยทีมงานมีแนะนำการเข้าร่วมโครงการ “MEA เบิร์นเกินร้อย” เปิดศึกการแข่งกันระหว่างทีมเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี ด้วยการส่งภารกิจสุขภาพผ่านแอพสะกิด และลุ้นรับของรางวัลในแต่ละเดือน
Employee Engagement เทคนิคสานสัมพันธ์ของพนักงานและองค์กร
การสานสัมพันธ์ของพนักงานและองค์กร ถือเป็นโจทย์ที่น่าขบคิดอีกหนึ่งอย่างสำหรับ HR และผู้บริหารภายในองค์กร Employee Engagement จึงเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในจุดนี้