เพิ่มสุขภาพที่ดีในบริษัทด้วย “กิจกรรมลดน้ำหนักพนักงาน”
- 17/11/22
ปัญหาเรื่องน้ำหนักเกินเป็นปัญหาสุขภาพหลักของพนักงานออฟฟิศ เนื่องจากรูปแบบการทำงานที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวและนั่งเป็นหลัก ทำให้พนักงานออฟฟิศมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคติดต่อไม่เรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคอ้วน ความดันโรคหัวใจ ฯลฯ ส่งผลทั้งต่อสุขภาพและการทำงาน
บริษัทหรือสถานที่ทำงานสามารถมีบทบาทในการช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการดูแลสุขภาพ จัดกิจกรรมพนักงานลดน้ำหนักได้ ที่ทำงานคือสถานที่ที่คนใช้เวลาถึง 1 ใน 3 ของวัน ซึ่งประโยชน์สำหรับการช่วยให้พนักงานน้ำหนักลดลงได้ นอกจากพวกเขาจะมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้นแล้ว ยังมีวิจัยจาก Forrester US Future of Work Survey ที่ยืนยันว่า บริษัทที่พนักงานมีสุขภาพดีกว่า มีประสิทธิภาพการทำงานมากกว่าถึง 2-3 เท่า
หากบริษัทของคุณก็ห่วงใยปัญหาสุขภาพของพนักงานเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะบริษัทที่มีปัญหาพนักงานน้ำหนักเกิน แล้วอยากช่วยให้พวกเขามีสุขภาพที่ดีขึ้น บทความนี้จะช่วยให้แนวทางกับคุณ
กิจกรรมพนักงานลดน้ำหนักที่ยั่งยืนกว่า เป็นแบบไหน
กิจกรรมพนักงานลดน้ำหนัก หากค้นคว้าบนอินเทอร์เน็ตหรือเปิดหาวิดีโอแนะนำ เราจะเจอกับคำแนะนำและวิธีมากมายในการลดน้ำหนัก ซึ่งหลากหลายกิจกรรมก็มีประสิทธิภาพ แต่ก็อาจจะไม่เหมาะสมกับการทำมาจัดเป็นกิจกรรมในองค์กร
กิจกรรมอย่างการงดอาหาร (Fasting) วิ่งออกกำลังกายหลังเลิกงาน กินคีโต (Keto) ฯลฯ อาจจัดเป็นกิจกรรมได้ลำบาก เพราะพนักงานแต่ละคนมีเงื่อนไขในชีวิตแตกต่างกัน และกิจกรรมข้างต้น ยังไม่ใช่กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้พนักงานสามารถลดน้ำหนักได้อย่างยั่งยืน แต่เมื่อจบกิจกรรมไป ก็มีแนวโน้มที่จะน้ำหนักขึ้น
แล้วกิจกรรมแบบไหน จึงจะช่วยให้พนักงานลดน้ำหนักได้อย่างยั่งยืน?
กลับมาที่ปัญหาที่แท้จริงที่ทำให้เราน้ำหนักมากขึ้นจนเกิดเกณฑ์ คงไม่พ้นเรื่องของ ‘พฤติกรรม’ หรือ ‘นิสัย’ ทั้งการกิน การพักผ่อน การใช้ชีวิต และการออกกำลังกาย เพราะพฤติกรรมหรือนิสัยคือสิ่งที่ติดตัวเราทุกคนไปตลอด แม้ว่าจะเข้าร่วมกิจกรรมลดน้ำหนักแล้วได้ผลลัพธ์ที่ดี แต่กิจกรรมที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมให้ดีขึ้นได้ ก็มีแนวโน้มสูงที่พวกเขาจะกลับมามีน้ำหนักสูงเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม
ลักษณะของกิจกรรมพนักงานลดน้ำหนักที่ยั่งยืนและเหมาะทำในองค์กร จึงควรจะมีลักษณะ ดังนี้
– เน้นที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเล็ก ๆ ที่ได้ผล มากกว่าผลลัพธ์ภายในกรอบเวลา
– เน้นกิจกรรมกลุ่มเพื่อสร้างแรงผลักดันที่ดีจากสังคม (Social Motivation) ให้พนักงานสนุกกับการชักชวนกันดูแลสุขภาพและออกกำลังกาย
– ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์เป็นการเข้าร่วม/จำนวนครั้งที่ทำกิจกรรม มากกว่าผลลัพธ์ที่เป็นเรื่องของรูปร่างหรือน้ำหนักที่ลดได้
– ไม่ควรให้กิจกรรมพนักงานลดน้ำหนักเป็นเรื่องบังคับหรือเกี่ยวข้องกับการประเมินงาน
– หมั่นชื่นชมและประกาศความสำเร็จจากการได้ลงมือทำหรือชื่นชมความทุ่มเทอย่าง
สม่ำเสมอ
แนวทางจัดกิจกรรมพนักงานลดน้ำหนักอย่างไร
สำหรับบริษัทที่ต้องการจัดกิจกรรมพนักงานลดน้ำหนัก สามารถใช้แนวทางทั้ง 5 ข้อเหล่านี้ ในการจัดกิจกรรมได้
1. วางแผนกิจกรรมพนักงานลดน้ำหนัก
ก่อนจัดกิจกรรมอะไร แน่นอนว่า บริษัทจะต้องวางแผนและกำหนดเป้าหมายของกิจกรรมให้ชัดเจน ซึ่งกิจกรรมพนักงานลดน้ำหนัก แม้ว่าจะเป็นจุดประสงค์ชัดเจน คือ “การลดน้ำหนัก” อยู่แล้ว ก็ยังควรแตกรายละเอียดตัวชี้วัดความสำเร็จออกมาให้ชัดเจนและวัดผลลัพธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรมภายใต้ลักษณะของกิจกรรมที่ช่วยให้ลดน้ำหนักได้อย่างยั่งยืน
– วางแผนจัดตั้งโปรแกรมหรือกิจกรรมพนักงานลดน้ำหนัก เช่น จำนวนคนเข้าร่วม ผู้เชี่ยวชาญที่ต้องติดต่อ การวัดผลทำอย่างไรได้บ้าง
– กำหนดว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างที่ให้เข้าร่วม เช่น ออกกำลังกายที่ฟิตเนสในอาคาร วิ่งที่สวนสาธารณะหลังเลิกงาน กิจกรรมเดินนับก้าว ฯลฯ
– กำหนดกรอบเวลาโครงการให้ชัดเจน เช่น 30 วัน 60 วัน 90 วัน
– กำหนดรางวัลหรือการสร้างแรงจูงใจในการทำกิจกรรม เช่น เงินรางวัล ตั๋วรางวัล (Gift Voucher)
-วางแผนและกำหนดงบประมาณสำหรับจัดกิจกรรม เช่น ค่าตรวจสุขภาพ ค่าดำเนินการ
2. กำหนดตัวชี้วัดที่ใช้นับในกิจกรรม
การกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ (Measurement of Success) สำหรับกิจกรรมลดน้ำหนักพนักงาน ไม่ควรมีแค่เรื่องของจำนวนน้ำหนักที่ลดลงเท่านั้น เพราะผลลัพธ์ที่เป็นเรื่องเพียงของน้ำหนัก อาจบั่นทอนกำลังใจและความทุ่มเทในการพยายามรักษาสุขภาพของพนักงานได้ นอกจากนี้ น้ำหนักไม่ใช่ตัวชี้วัดเดียวที่บอกว่า ใครกำลังมีสุขภาพที่ดี แต่ต้องดูไปพร้อมกับตัวชี้วัดสุขภาพอื่น ๆ ด้วย
ตัวอย่างตัวชี้วัดความสำเร็จที่น่าใช้สำหรับกิจกรรมพนักงานลดน้ำหนัก
– จำนวนการเข้าร่วมกิจกรรม
– จำนวนแคเลอรีที่เผาผลาญรวมกันของคนทั้งทีม
– จำนวนพฤติกรรมที่ส่งผลดี / คะแนนจากการไม่ทำพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
– ระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
– เปอร์เซ็นต์ไขมันที่ลดลง
สำหรับการวัดผลลัพธ์เหล่านี้ อาจทำได้หลากหลายวิธีและสามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยวัดผลลัพธ์ได้สะดวก เช่น การใช้ EPA (Employee Personal Assistance), แอปนับจำนวนก้าวเดิน, นาฬิกาอัจฉริยะ (Smart Watch), การตรวจสุขภาพที่สถานพยาบาล ฯลฯ
3. วางแผนการสื่อสารและจัดกิจกรรม
หลังจากที่บริษัทมีแผนจัดกิจกรรมพนักงานลดน้ำหนักเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ การสื่อสารและชักชวนให้พนักงานเข้าร่วม
ย้ำอีกทีว่า กิจกรรมพนักงานลดน้ำหนักไม่ควรเป็นกิจกรรมบังคับหรือมีผลต่อการทำงาน
สำหรับคำแนะนำที่บริษัทสามารถใช้สื่อสารกับพนักงานงานได้ ได้แก่
– สื่อสารให้เห็นความสำคัญและประโยชน์ของกิจกรรมลดน้ำหนัก
– ชักจูงด้วยรางวัลหรือการสร้างแรงจูงใจแทนการออกเป็นมาตรการบังคับ
– อธิบายกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถทำหรือเข้าร่วมได้ อธิบายวิธีการติดตามผลและตัวชี้วัดต่าง ๆ
– เน้นการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างกำลังใจในการทำกิจกรรมหรือ Challenge แบบทีม
– วางแผนการฉลอง รางวัลที่จะได้จากการเข้าร่วมกิจกรรม เช่น ทุกสัปดาห์จะมีการประกาศยอดการเข้าร่วมกิจกรรม
4. การติดตามผลและการประกาศพัฒนาการ
ขั้นตอนนี้จะช่วยให้โอกาสดำเนินโครงการสำเร็จสูงขึ้น โดยการติดตามผลจะช่วยกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมมากขึ้นในขณะที่ประกาศผลลัพธ์ที่ทำได้เรื่อย ๆ จะช่วยเสริมกำลังใจและช่วยให้พนักงานที่เข้าร่วมเห็นว่า พวกเขากำลังมีพัฒนาการอย่างไร
– การติดตามผล: เช่น ส่งรูปอาหารที่กิน, แอปติดตามกิจกรรม ฯลฯ จำเป็นต้องมีการอัปเดตและติดตามผลตลอดระยะทางเพื่อให้พนักงานมีแรงกระตุ้นในการดูแลสุขภาพและลดน้ำหนัก และช่วยให้บริษัทเห็นภาพรวมความเปลี่ยนแปลง
– การประกาศพัฒนาการ: แจ้งผลพัฒนาการของแต่ละคนหรือกลุ่ม เพื่อกระตุ้นให้พนักงานมีกำลังใจในการลดน้ำหนักต่อ เช่น จำนวนก้าว คะแนนพิเศษสำหรับกลุ่มที่กินอาหารคลีนครบ
เรื่องของการติดตามผล หากสามารถทำได้บ่อยโดยที่พนักงานหรือผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่รู้สึกรบกวน เช่น ในรูปแบบแชทหรือการวัดผลอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่น SAKID แอปพลิเคชันผู้ช่วยดูแลสุขภาพให้กับพนักงาน มีระบบที่คอยส่งภารกิจให้ทำและติดตามการทำกิจกรรมในแต่ละวันได้ พร้อมกันนั้น ยังช่วยสร้างแรงจูงใจสะสมคะแนนจากการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแลกเป็นของรางวัลจริงได้
ตัวอย่าง Insight Dashboard ข้อมูลด้านสุขภาพจากแอปฯ SAKID
นอกจากนี้ ในมุมของบริษัทก็สามารถติดตามผลลัพธ์ผ่านหน้าต่างข้อมูล (Insight Dashboard) ดูข้อมูลกิจกรรมต่าง ๆ เช่น จำนวนก้าวเดินเฉลี่ยรายสัปดาห์ ข้อมูลสุขภาพที่ช่วยบอกความเสี่ยงโรค เช่น สัดส่วนน้ำหนักเกินมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย (BMI) ฯลฯ ซึ่งบริษัทสามารถเอามาประกาศความก้าวหน้าให้พนักงานมีกำลังใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้นได้
เมื่อจบกิจกรรม บริษัทควรจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองและขอบคุณให้กับความร่วมมือของพนักงาน มีการประกาศผลลัพธ์ต่าง ๆ ในมุมที่เป็นความสำเร็จร่วมกัน เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้กับทีม
ประกาศรางวัลให้กับความทุ่มเทในหลาย ๆ ด้าน เช่น คนที่กินอาหารสุขภาพบ่อยที่สุด คนชอบออกกำลังกาย คนเข้ายิมบ่อย คนที่มีพัฒนาการสูงที่สุด คนที่ให้ความร่วมมือกับทีมมากที่สุด ฯลฯ จากนั้นจึงมอบรางวัลให้กับพวกเขา เช่น เงินรางวัล บัตรกำนัลโรงแรม สิทธิ์วันหยุดเพิ่ม ฯลฯ และเน้นย้ำความสำเร็จร่วมของคนในองค์กรที่ช่วยเสริมสร้างกำลังใจและวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพในองค์กรอย่างยั่งยืน
ตัวอย่างกิจกรรมพนักงานลดน้ำหนักที่น่าสนใจ
– ชาเลนจ์ 10,000 ก้าวต่อวัน หรือแข่งนับก้าวเดินระหว่างกลุ่ม หรือนับก้าวเดินสะสมรวมของทีม ประกาศผลทุกสัปดาห์
– ชั่วโมงออกกำลังกาย นับจำนวนชั่วโมงในการเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายในแต่ละสัปดาห์ ประกาศผลเป็นชั่วโมงสะสมของทีม
– กิจกรรมชั่วโมงออกกำลังกายหลังเลิกงาน นับจำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละสัปดาห์หรือในแต่ละเดือน อาจมีกิจกรรมพิเศษในสุดสัปดาห์ในเข้าร่วมสนุกหลากหลาย เช่น กิจกรรมเดิน-วิ่งที่สวน กิจกรรมปีนหน้าผาวันเสาร์ กิจกรรมเต้นแอโรบิก
– อาหารเย็นแคเลอรีต่ำ ส่งรูปเข้ากลุ่ม อัปเดตอาหารเย็นที่กิน กระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นและวินัย
– อาหารคลีนมื้อเที่ยง สะสมเป็นคะแนนพิเศษสำหรับคนที่นำอาหารคลีนมารับประทานอาหาร
กิจกรรมแนะนำ เฉพาะบน SAKID เท่านั้น!
– เกมภารกิจสะกิดสุขภาพส่วนตัว เลือกภารกิจปรับเปลี่ยนสุขภาพ เช่น งดดื่มแอลกอฮอล์ กินอาหารคลีน เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ หรือตัวอย่างกิจกรรมข้างต้นฯลฯ ตามโจทย์สุขภาพของแต่ละคน (ในแอป SAKID มีฟีเจอร์นี้ และมีภารกิจให้เลือกมากกว่า 1,000 กิจกรรม!)
– แข่งขันกับเพื่อนในทีมด้วย สะกิดแก๊ง กิจกรรมท้าทายหรือ Challenge ช่วยกระตุ้นการมีส่วนร่วมได้ดีที่สุด ภารกิจต่าง ๆ ที่แต่ละคนทำ สามารถสะกิดเพื่อท้าทาย ชักชวนให้เพื่อนร่วมงานทำแข่งกันได้ ใครทำได้รับคะแนนไปเลย (ฟีเจอร์เฉพาะบน SAKID เท่านั้น)
– เกมภารกิจปรับการทานอาหารเฉพาะบุคคล ภารกิจปรับพฤติกรรมการทานอาหารเฉพาะบุคคลจากนักกำหนดอาหารวิชาชีพ เพื่อให้กิจกรรมพนักงานลดน้ำหนักมีประสิทธิภาพสูงสุด
– เกมภารกิจปรับการออกกำลังกายเฉพาะบุคคล ภารกิจการออกกำลังกายจากนักวิทยาศาสตร์การกีฬาที่ออกแบบให้เหมาะสมกับพนักงานแต่ละคน ติดตาม เก็บคะแนน และเป็นรางวัลได้
นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลากิจกรรม บริษัทสามารถติตดามผลลัพธ์การไดเข้าร่วมกิจกรรมของพนักงานแต่ละคนได้ มีข้อมูลในการประกาศพัฒนาการของพนักงานในแต่ละสัปดาห์ได้ รวมไปถึง มีผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้คำปรึกษาพนักงาน ทั้งโค้ชสุขภาพ นักกำหนดอาหาร นักวิทยาศาสตร์การกีฬา และนักจิตวิทยา ช่วยให้กิจกรรมพนักงานลดน้ำหนักและดูแลสุขภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้น [อ่านฟีเจอร์ที่น่าสนใจเพิ่มเติม]
สรุป
บริษัทหรือสถานที่ทำงานก็สามารถช่วยส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ ด้วยการจัดกิจกรรมลดน้ำหนักพนักงานและการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ
หัวใจของการจัดกิจกรรมลดน้ำหนักให้ประสบผลสำเร็จ จะมาจากการส่งเสริมให้พนักงานเกิดพฤติกรรมหรือนิสัยที่ชักชวนกันดูแลสุขภาพมากขึ้น ไปพร้อมกับการเสริมสร้างกำลังใจที่ดีในการดูแลสุขภาพ ซึ่งการติดตามผลและเรื่องของการสร้างแรงจูงใจก็สำคัญ
SAKID คือ แอปพลิเคชันที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้บริษัทสามารถดูแลสุขภาพของพนักงานได้ ด้วยการ “สะกิด” มอบหมายภารกิจดูแลสุขภาพให้พวกเขาเกิดความเปลี่ยนแปลง พร้อมกับมี Personal Assistant ทั้งนักควบคุมอาหาร นักวิทยาศาสตร์การกีฬา และนักจิตบำบัดที่พนักงานสามารถขอคำแนะนำและปรึกษาได้
หากบริษัทของคุณต้องการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพหรือกิจกรรมลดน้ำหนักพนักงานที่เน้นการสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม SAKID คือ อีกเครื่องมือทางเลือกที่ช่วยให้คุณจัดกิจกรรมได้
บทความที่น่าสนใจ
มารู้จักกับ EAP:โปรแกรมช่วยเหลือพนักงาน ให้คำแนะนำส่วนตัว
คุณรู้สึกเครียด กังวล หรือเหนื่อยล้ากับงานอยู่หรือเปล่า? คุณมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์หรือปัญหาส่วนตัวอื่นๆ อยู่หรือไม่? หากคุณกำลังเผชิญกับปัญหาเหล่านี้ EAP คือคำตอบของคุณ
EAP ย่อมาจาก Employee Assistance Program หรือโปรแกรมช่วยเหลือพนักงาน เป็นโปรแกรมสวัสดิการที่บริษัทมอบให้พนักงาน เพื่อช่วยให้พนักงานสามารถรับมือกับปัญหาต่างๆ ในชีวิต ทั้งเรื่องงาน ความสัมพันธ์ ปัญหาทางการเงิน หรือปัญหาอื่นๆ ในชีวิตส่วนตัว โดยให้บริการผ่านนักจิตวิทยาให้คำปรึกษาที่เชี่ยวชาญ
จัดคลาสออกกำลังกายอย่างไรให้โดนใจคนที่ทำงาน
เมื่อคนใช้เวลากว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในที่ทำงานจดจ่ออยู่กับการทำงาน เวลาพักน้อย การจะขยับตัวเพิ่มกิจกรรมทางกายระหว่างวันก็เป็นไปได้ยากเพราะไม่อาจละจากงานตรงหน้าได้ ด้วยปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น การจะออกกำลังกายให้ได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำขององค์การอนามัยโลกยิ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของพนักงานและเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ
บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 Sakid ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดให้กับการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ ในกิจกรรม Fun for Fit เพื่อแนะนำการเข้าร่วมโครงการ “MEA เบิร์นเกินร้อย” เปิดศึกการแข่งกันระหว่างทีมเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี ด้วยการส่งภารกิจสุขภาพผ่านแอพสะกิด และลุ้นรับของรางวัลในแต่ละเดือน
บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตบางนา
บูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิด ที่การไฟฟ้านครหลวง เขตบางนา
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 Sakid ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพสะกิดให้กับการไฟฟ้านครหลวง เขตบางนา ในกิจกรรม Fun for Fit เพื่อแนะนำการเข้าร่วมโครงการ “MEA เบิร์นเกินร้อย” เปิดศึกการแข่งกันระหว่างทีมเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี ด้วยการส่งภารกิจสุขภาพผ่านแอพสะกิด และลุ้นรับของรางวัลในแต่ละเดือน
WORKSHOP เริ่มต้นสุขภาพดี กับ SAKID
กิจกรรม Workshop “คลาสโยคะ”
ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 – 21 กันยายน 2566 SAKID ได้จัดกิจกรรม Workshop “คลาสโยคะ ” กันทุกสัปดาห์เป็นสวัสดิการที่เสริมสร้างร่างกายให้แข้งแรง โดยนักวิทยาศาสตร์การกีฬามาเป็นครูสอนโยคะที่จะพาพนักงานบริษัท ROCHE มายืดเหยียดร่างกายให้ผ่อนคลายเมื่อยจากการนั่งทำงานและเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้มีความยืดหยุ่นอีกด้วย
กิจกรรม 5ส คืออะไร (เข้าใจง่ายๆ ใน 5 นาที)
กิจกรรม 5ส คือเครื่องมือชั้นเยี่ยมในการจัดระเบียบและทำให้สามารถใช้พื้นที่ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่แท้จริงนั้นกิจกรรม 5ส คืออะไร มาหาคำตอบไปด้วยกัน