Work from Home
URL Copied!

Work from Home เทรนด์การทำงานยุคใหม่ที่ทุกบริษัทต้องรู้

ปัจจุบันเรื่องของการ Work form Home ถือเป็นรูปแบบการทำงานที่หลาย ๆ องค์กรและที่ทำงานยอมรับ เป็นความปกติใหม่ ตั้งแต่ตอนที่โลกประสบกับวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ต้องมีการล็อกดาวน์ (Lockdown) 

 

และเมื่อผ่านพ้นวิกฤตไปแล้ว พฤติกรรมของคนทำงานก็เปลี่ยน และลาย ๆ องค์กรก็เริ่มชินกับรูปแบบการทำงานแบบ Work From Home มากขึ้น รวมไปถึงมีการทำสำรวจแล้วพบว่า การ WFH ยังช่วยให้คนทำงานมี Productivity เพิ่มขึ้นถึง 14% อีกด้วย

 

จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมการ WFH ถึงเป็นเทรนด์ที่มาแรงสุด ๆ ในกลุ่มบริษัทรุ่นใหม่และสตาร์ตอัป และทุกบริษัทเองก็ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน

 

 

Work From Home คืออะไร

 

Work From Home หรือ WFH  คือ รูปแบบการทำงานจากที่บ้าน ไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศหรือสถานที่ทำงาน แต่ใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อคนทำงานเข้าด้วยกัน ทั้งเครื่องมือสื่อสาร ระบบอินเทอร์เน็ต และการส่งไฟล์และงานเข้าไว้ในระบบคลาวด์ 

 

รูปแบบการทำงานแบบ Work From Home เริ่มเป็นเทรนด์และถูกใช้อย่างจริงจังไปทั่วโลก เมื่อปี 2020 เมื่อโลกประสบกับวิกฤตการณ์โควิด-19 ทำให้แต่ละประเทศต้องออกมาตรการล้อกดาวน์ (Lockdown) ขอความร่วมมือไม่ให้ออกจากที่อยู่อาศัย ซึ่งรวมการออกไปทำงานข้างนอกบ้านด้วย ด้วยความจำเป็นในข้อนี้ จึงทำให้บริษัทต้องมีมาตรการ WFH ให้คนทำงานจากที่บ้านได้ และใช้เทคโนโลยีเข้ามาเชื่อมต่อการทำงานด้วยกัน เช่น Zoom, Google Meet, Slack, Drop Box, Asana ฯลฯ

 

ตัวอย่างเครื่องมือ Work From Home

ตัวอย่างเครื่องมือยอดนิยมที่ใช้ในการทำงานแบบ Work From Home

ที่มารูปภาพ blog.businesswire.com

 

และจากการที่คนทำงาน ทำงานในรูปแบบ WFH กันมาแรมปี ทำให้เกิดความเคยชินกับรูปแบบการทำงานที่ไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศ ไม่ว่าจะทำงานที่ไหน พวกเขาก็สามารถทำงานได้ขอเพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต จนเกิดกระแส “Remote Working” และ “Work from Anywhere” ขึ้น 

 

คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตมากขึ้น และเริ่มมองหาที่ทำงานที่ไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศ สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ เพื่อพวกเขาจะได้ใช้ชีวิตและไปอยู่ในที่ที่ตนชื่นชอบ มองหาสถานที่ทำงานที่ให้ความสำคัญกับ “ผลสำเร็จ” ของงาน มากกว่าการชั่วโมงการทำงานที่เคร่งครัดอย่างแต่ก่อน 

 

ข้อดี-ข้อเสียของการ Work From Home

 

ข้อดีของการ WFH

 

– ลดเวลาเดินทาง ช่วยพนักงานประหยัดค่าเดินทาง

 

– พนักงานมีความสุขมากขึ้น มีเวลาส่วนตัวมากขึ้น

 

– บางคนจดจ่อกับงานได้มากขึ้น Productivity เพิ่มขึ้นถึง 14%

 

– อัตราการลาป่วยลดลง โดยเฉพาะสุขภาพที่ไม่พร้อมสำหรับการเดินทาง

 

– การลาออกลดลง เพราะพนักงานมีความสุขในการทำงานมากขึ้น มีเวลามากขึ้น

 

– บริษัทสามารถจ้างคนเก่ง ๆ จากที่ไหนก็ได้ หากวางนโยบาย Work From Home อย่างชัดเจน

 

ข้อเสียของการ WFH

 

– คนทำงานอาจเจอกับสิ่งรบกวน สถานที่การทำงานที่บ้านไม่พร้อม

 

– ความเครียดและการทำงานที่มากเกินไป เพราะเส้นแบ่งงาน-ชีวิตหายไป

 

– Productivity ของบริษัทอาจลดลง หากวางระบบหรือนโยบายการทำงานได้ไม่ดี ซึ่งอาจมาจากสถานที่และบรรยากาศการทำงานที่บ้านไม่เอื้ออำนวย เช่น คนที่บ้านเรียก การแชร์พื้นที่ทำกิจกรรมอื่น ๆ ของคนในครอบครัว การรบกวนจากลูก ฯลฯ

 

Work from Home บริษัทควรจัดยังไงให้ ‘เวิร์ก’ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

การ Work From Home ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียต่าง ๆ แต่สำหรับข้อเสียแล้ว บริษัทหรือองค์กรสามารถวางมาตรการ วางระบบการทำงานแบบ Remote Working เพื่อลดอุปสรรคและสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีได้ 

 

เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป จากที่บริษัทมีพนักงานนั่งอยู่ในออฟฟิศด้วยกัน การจะเรียกประชุม การติดตามงาน การปรึกษา จากที่ทำได้ง่าย ๆ เมื่อเป็นการ WFH สิ่งเหล่านี้ ที่เคยทำก็ต้องเปลี่ยนรูปแบบไป ปฏิเสธไม่ได้ว่า บริษัทและคนในทีมอาจเกิดความไม่ไว้วางใจการทำงาน เกิดอุปสรรคในการสื่อสาร และการติดตามงาน

 

เมื่อบริษัทต้องการทำ WFH จึงควรตกลงและวางนโยบายบริษัทให้เอื้อกับการทำงานแบบ WFH ด้วย

 

1. มีแผนงานและกระจายภาระงานให้ชัดเจน

 

การ Work From Home เราไม่สามารถทวงถามหรือติดตามงานกันได้ด้วยการเดินไปหาเหมือนการทำงานที่ออฟฟิศ หรือเมื่อมีงานอะไรที่หัวหน้าต้องการมอบหมายแล้วสามารถเดินไปพูดคุยได้ทันที ดังนั้น ในช่วง Work Form Home งานทุกชิ้นควรมีแผนงานที่ชัดเจน อธิบายความรับผิดชอบตั้งแต่ต้น

 

บริษัทควรจัดประชุมแผนงานอย่างสม่ำเสมอและก่อนการมอบหมายงานทุกครั้ง เช่น การประชุมแผนงานประจำสัปดาห์ ประจำเดือน หรือการทำ Check-in เพื่ออัปเดตงานกัน 

 

ตัวอย่าง Kanban Board ของ Asana

ตัวอย่าง Kanban Board ของ Asana ที่ใช้ติดตามความเคลื่อนไหวของงาน

ที่มารูปภาพ asana.com

 

นอกจากนี้ ควรมีตารางแผนงานและไทม์ไลน์ของงานอย่างชัดเจน หรือใช้เครื่องมือจัดการงาน (Productivity Tool) เช่น Asana, Trello, Google Sheet, Monday, Click-up ฯลฯ ในการมอบหมายงาน ติดตามงาน และกำหนดวันส่งงาน (Due Date) ที่ชัดเจน เห็นตรงกัน

 

2. การประชุมและเครื่องมือที่ใช้

 

ทำข้อตกลงในการประชุมและการนัดหมายประชุม เช่น ควรนัดก่อนการประชุมกี่วัน แจ้งผ่านช่องทางไหน กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการประชุม เช่น Zoom, LINE, Discort, Google Meet ฯลฯ นอกจากนี้ ในทุก ๆ การประชุม โดยเฉพาะการประชุมออนไลน์ ควรจะทำสรุปรายงานการประชุมหรือ Minutes of Meeting ทุกครั้ง โดยสรุปประเด็นที่พูดคุย สิ่งที่ตกลง สิ่งที่ต้องดำเนินการ ใครรับผิดชอบอะไร

 

3. กำหนดวิธีการสื่อสารและเครื่องมือ

เรื่องของการสื่อสารในช่วง Work Form Home เป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ เพราะเราไม่สามารถเดินไปพูดคุยกันได้ตลอดเวลาเหมือนตอนนั่งทำงานด้วยกันในออฟฟิศ

 

บริษัทหรือทีมงานควรตกลงร่วมกันว่า จะใช้เครื่องมืออะไรในการสื่อสารบ้าง เช่น Slack, LINE, อีเมล, โทรศัพท์ ฯลฯ โดยกำหนดว่าเรื่องไหน ด่วนไม่ด่วน ควรใช้เครื่องมืออะไรในการสื่อสาร ยกตัวอย่างเช่น ส่งงานหรือมอบหมายงานให้ใช้อีเมล พูดคุยทั่วไปให้ใช้ Slack หรือ LINE Group เรื่องด่วนให้ใช้โทรศัพท์

 

และนอกจากเรื่องของเครื่องมือแล้ว ควรกำหนดเวลาในการติดต่อสื่อสาร หรือพูดคุยเรื่องงาน เพื่อรักษาเส้นแบ่งระหว่างการงานและชีวิต เช่น ทุกคนต้องพร้อมสื่อสาร หรือตอบแชทในช่วง 9.00 น. – 18.00 น. ไม่ทักหรือคุยเรื่องงานหลัง 19.00 น.

 

4. กำหนดตำแหน่งและลำดับการส่งงาน รีวิว และอนุมัติ

 

อีกเรื่องที่อาจเป็นปัญหาในการ Work From Home หากไม่ได้ตกลงกันไว้ก่อน นั่นคือ กระบวนการในการอนุมัติและลำดับการส่ง-รีวิวงาน 

 

ควรตกลงกันให้เข้าใจตรงกันว่า งานไหนควรส่งใคร ใครที่มีอำนาจในการตัดสินใจ เรื่องไหนควรปรึกษาใคร ซึ่งเครื่องมืออย่าง RACI Chart อาจช่วยได้ ด้วยการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบ (Role & Responsibility) ให้ชัดเจน เรื่องใดใครต้องรับรู้บ้าง เรื่องไหนต้องปรึกษาใคร 

 

ตัวอย่าง RACI Chart

ตัวอย่าง RACI Chart ในการแบ่งบทบาทและความรับผิดชอบ

https://www.teamgantt.com/blog/raci-chart-definition-tips-and-example

 

นอกจากนี้ ควรกำหนดเครื่องมือสำหรับใช้ส่งงานและรีวิวผลงานเพื่อความสะดวกในการคอมเมนต์ เช่น Google Doc สำหรับคอมเมนต์งานเอกสาร บทความ ฯลฯ 

 

5. การสร้างความสัมพันธ์ในองค์กรและอื่น ๆ

 

นอกจากเรื่องของการทำงานที่ถือเป็นความท้าทายในการ Work From Home แล้ว ยังมีเรื่องของ Teamwork ความเป็นหนึ่งเดียวขององค์กร หรือการมีส่วนร่วมของพนักงานงาน การทำงานจากคนละที่หรือไม่ค่อยได้เจอกัน ทำให้การสร้างสัมพันธ์ระหว่างทีมงานและการสร้างทีมเป็นเรื่องยากขึ้น 

 

ตัวอย่างการสร้างออฟฟิศเสมือนบน Gather

ตัวอย่างการสร้างออฟฟิศเสมือนบน Gather 

 

บริษัทจะต้องคำนึงว่า จะทำอย่างไรให้พนักงานไม่รู้สึกขาด Connection กัน ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวในการทำงาน บริษัทอาจจัดกิจกรรมออนไลน์ร่วมกันตามวาระโอกาสหรือการสร้างห้องพูดคุย อย่าง Gather หรือ Discort ขึ้น หรือมีการเข้าไปเข้าร่วมกิจกรรมในโลกเสมือน เช่น เล่นเกม Animal Crossing ด้วยกัน 

 

รวมไปถึง เรื่องสำคัญอื่น ๆ อย่างเช่น เรื่องการจัดการเอกสารที่จำเป็นจะต้องมีการเซ็น จะสามารถทำอย่างไรได้บ้าง การส่งเอกสารฉบับจริง หรือเรื่องของสวัสดิการพนักงานที่บริษัทควรจะมีให้ แม้จะพนักงานจะไม่ได้มาทำงานที่ออฟฟิศก็ตาม เช่น การมีโปรแกรมช่วยเหลือพนักงาน (EAP) อย่าง SAKID, การมอบ Gift Voucher แทนสวัสดิการที่ได้ในออฟฟิศ​ ช่วยสร้างกำลังใจ, เงินสนับสนุนค่าไฟฟ้าและอินเทอร์เน็ต ฯลฯ  

 

Work From Home เวิร์กแบบไหนให้สุขภาพกาย-ใจยังดี

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในมุมด้านกลับของ Work From Home  ก็ทำให้เส้นแบ่งเวลาระหว่างชีวิตและการทำงานเลือนราง ส่งผลต่อสุขภาพใจเป็นพิเศษ ทำให้เกิดอาการหมดไฟหรือ Burnout ได้ง่าย ซึ่งเรื่องนี้ ต้องจัดการร่วมกันจาก 2 ฝ่าย ทั้งบริษัทและคนทำงาน 

 

– นโยบายหรือสวัสดิการแบบไหนที่บริษัทควรมีในช่วง WFH ควรอำนวยความสะดวกเรื่องเครื่องมือและโปรแกรมช่วยทำงาน มีอุปกรณ์ให้ รวมไปถึงอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ทำงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ มีสวัสดิการด้านสุขภาพที่ช่วยดูแลเรื่องจิตใจ เช่น Health Program หรือ Employee Assistance Program ยกตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชัน SAKID ที่มีฟีเจอร์ติดตามความรู้สึกและใช้พูดคุยปรึกษานักจิตวิทยาได้

 

– คนทำงานจะ ‘เวิร์ก’ ยังไงให้ชีวิตไม่เสียสมดุล สร้างบรรยากาศทำงาน จัดที่ทำงาน เปิดเพลง วางแผนการทำงานและจัดตารางเวลาทำงานให้ชัดเจน ขีดเส้นแบ่งระหว่างพื้นที่และเวลาทำงานกับพื้นที่และเวลาส่วนตัว ต้องมีเวลาพัก ควรตั้งเวลาพัก ยืดเส้นยืดสาย หรือลุกเดิน

 

สรุป

 

Work From Home จะไม่ใช่แค่เพียงเทรนด์รูปแบบการทำงานเท่านั้น แต่จะกลายเป็นความปกติใหม่ เป็นรูปแบบการทำงานหรือสวัสดิการบริษัทที่พนักงานมองหา ซึ่งการ WFH ในมุมของบริษัทก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย หรือมีอุปสรรคต่าง ๆ ในการนำนโยบายนี้มาใช้ แต่หากบริษัทวางระบบการทำงานให้ดี ก็สามารถทำให้การทำงานแบบ Work From Home หรือ Remote Working เป็นการทำงานที่มีประสิทธิภาพเหมือนหรือเหนือกว่าการทำงานในออฟฟิศได้เช่นกัน

บทความที่น่าสนใจ

ตัวอย่าง สวัสดิการ พนักงาน

[Case Study] ตัวอย่างสวัสดิการพนักงานจากทั่วโลก

เพราะ ‘คนทำงาน’ เป็นสิ่งที่องค์กรควรลงทุนมากที่สุด และการลงทุนนั้นก็คือสวัสดิการที่จะช่วยให้พนักงานมีชีวิตที่ดีได้ ชวนไปสำรวจตัวอย่างสวัสดิการพนักงานจากทั่วโลกกัน

อ่านต่อ »
work life balance คือ

Work Life Balance คืออะไร ทำไมจึงสำคัญกับการทำงานยุคใหม่

Work Life Balance ไม่ใช่แค่ปัญหาของคนทำงานเท่านั้น เพราะบริษัทเองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน แล้วบริษัทจะจัดการปัญหานี้อย่างไร? เข้าใจผลกระทบพร้อมไอเดียแก้ปัญหา ที่นี่

อ่านต่อ »
Cover-ครูรัก-Sakid

Workshop “การจัดการความเครียด”

กิจกรรม Workshop “การจัดการความเครียด”

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 Sakid ได้จัดกิจกรรม Workshop “การจัดการความเครียด”  ให้กับบริษัทเอสพี อินเตอร์แมคและการไฟฟ้านครหลวง  โดยวิทยากรนักจิตวิทยาองค์กร ครูรักอมยิ้ม คุณอานนท์ ตั้งกิตติทรัพย์ ภายในงานผู้เข้าร่วมได้รับเทคนิคการจัดการความเครียด และการบริหารการทำงานให้มี Work-life balance

อ่านต่อ »
Workshop-สายออฟฟิศ-Cover-Sakid

Workshop สายออฟฟิศ

Workshop สายพนักงานออฟฟิศ ที่นั่งทำงานหน้าคอมนานๆ ไม่ลุกไปไหนย่อมมีผลต่อสุขภาพแน่นอน การเสริมความรู้ด้านสุขภาพจากผู้เชี่ยวชาญเป็นกลุ่มเป็นสิ่งที่จำเป็นแก่พนักงานเพื่อที่จะได้มีสุขภาพแข็งแรง

อ่านต่อ »
Cover-Healthy Canteen-sakid

WORKSHOP Healthy Canteen

กิจกรรม  “อบรม พ่อครัว แม่ครัว ให้ทำอาหารสุขภาพมากขึ้น”

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2565  SAKID  ได้จัดกิจกรรม Workshop  “อบรม พ่อครัว แม่ครัว ให้ทำอาหารสุขภาพมากขึ้น”

อ่านต่อ »
ergonomics คือ

Ergonomics คืออะไร รู้จักกับการยศาสตร์เพื่อสุขภาพที่ดีในการทำงาน

ออฟฟิศไหนกำลังประสบปัญหาปวดหลังกันทั้งออฟฟิศโปรดมาทางนี้! ชวนมาทำความรู้จัก Ergonomics หรือ การยศาสตร์ ศาสตร์แห่งการทำงานที่ช่วยให้พนักงานมีสุขภาพดีด้วย…

อ่านต่อ »