
จัดประชุมอย่างไรให้ดีต่อกายใจ
- 24/11/23
พ.อ. หญิง พญ. สิรกานต์ เตชะวณิช
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ช่วงวัยทำงาน คือ ช่วงอายุ 18-59 ปี คิดเป็นช่วงเวลาประมาณ 40 ปี ซึ่งกินเวลากว่าครึ่งหนึ่งของอายุขัย ซึ่งเป็นเวลานานพอที่พฤติกรรมสุขภาพในช่วงอายุนี้จะส่งผลต่อสุขภาพในภาพรวมเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ
วัยทำงานถือว่าเป็นช่วงวัยที่มีอัตราตายจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable diseases, NCDs) สูงที่สุด และยังเป็นวัยที่มีความเครียดสูงที่สุดเมื่อเทียบกับวัยอื่น และกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจำในคนทำงานทุกระดับ คือ การประชุม โดยข้อมูลจาก HREX.asia พบว่าคนวัยทำงานส่วนใหญ่ใช้เวลาร้อยละ 40 ของชั่วโมงทำงานไปกับการประชุม และถ้าคิดเป็นรายปีจะพบว่าคนวัยทำงานใช้เวลาในการประชุมไปถึงปีละ 75 ชั่วโมง
การนั่งประชุมต่อเนื่องเป็นเวลานานถือเป็นพฤติกรรมเนือยนิ่ง ส่งเสริมให้เกิดโรค NCDs การสร้างวัฒนธรรมการประชุมที่มีองค์ประกอบการประชุมที่่ส่งเสริมสุขภาพย่อมมีส่วนส่งเสริมวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพในสถานที่ทำงาน ช่วยให้คนวัยทำงานมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี อีกทั้งยังได้ผลลัพธ์การประชุมที่มีประสิทธิภาพ
ลักษณะการประชุมแบ่งได้กี่ประเภท
การประชุม คือ การสื่อสารระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหัวข้อการประชุมนั้น มาร่วมปรึกษาหารือ หรือร่วมกันคิดอย่างมีวัตถุประสงค์ มีระเบียบวิธี และเป็นไปตามเวลาที่กําหนดการประชุมสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์การประชุมเป็น 4 ประเภทใหญ่ ได้แก่
1.การประชุมเพื่อแจ้งให้ทราบ
2.การประชุมเพื่อขอความคิดเห็น
3.การประชุมเพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน
4.การประชุมเพื่อหาข้อยุติหรือเพื่อแก้ปัญหา
ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งการประชุมภายในหรือระหว่างองค์กร การประชุมขนาดเล็กหรือการประชุมขนาดใหญ่ และมีการใช้ระยะเวลาในการประชุมที่แตกต่างกัน การประชุมแต่ละครั้งนั้นต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อให้การประชุมเกิดประสิทธิภาพสูงสุดและได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน รวมทั้งทีมงานที่จัดประชุมจะได้จัดเตรียมองค์ประกอบอื่นๆ ของการประชุมที่เอื้อต่อวัตถุประสงค์ของการประชุม เช่น กำหนดการ (agenda), กลุ่มผู้ร่วมประชุม, ระยะเวลาประชุม, บุคคลหรือทีมที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการประชุม (facilitator), สิ่งแวดล้อมในการประชุม เป็นต้น
จัดการประชุมอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
ข้อมูลจาก HREX.asia พบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของพนักงานในองค์กรรู้สึกว่าการประชุมส่วนใหญ่ไม่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ร้อยละ 90 ของพนักงานยอมรับว่าคิดเรื่องอื่นๆ ในขณะที่ประชุม ขณะที่ร้อยละ 73 ของพนักงานทำงานอื่นไปด้วยขณะประชุม และร้อยละ 25 ของพนักงานพบว่ามีการพูดคุยในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการประชุม ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลให้การประชุมยืดเยื้อ เนื่องจากผู้เข้าร่วมประชุมไม่ให้ความสนใจ ผลลัพธ์การประชุมไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง และไม่คุ้มค่ากับเวลาที่สูญเสียไปในการประชุม
การประชุมให้มีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายปัจจัย แนวทางการปรับปรุงการประชุมให้มีสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมีดังนี้
1.ไม่จัดประชุมบ่อยเกินความจำเป็น ลดความซ้ำซ้อนของการประชุมต่างๆ ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วย
2.กำหนดวัตถุประสงค์การประชุมที่ชัดเจน ซึ่งเป็นเหมือนเข็มทิศนำทางการประชุม
3.มีการนัดประชุมล่วงหน้า กำหนดกรอบเวลาการประชุมที่ไม่นานเกินไป และวาระการประชุมที่ชัดเจน
4.เริ่มและเลิกประชุมตามกำหนดเวลา หากการประชุมต่อเนื่องนานกว่า 1 ชั่วโมงควรมีการพักเบรค
5.กำหนดผู้เข้าร่วมประชุมที่เกี่ยวข้องจริงๆ
6.แจ้งผู้เข้าร่วมประชุมล่วงหน้าถึงหัวข้อหรือคำถามที่ต้องมีการแสดงความคิดเห็นระหว่างการประชุม และทำให้แน่ใจว่าเข้าร่วมประชุมทุกคนได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการประชุม และข้อมูลที่ต้องเตรียมล่วงหน้า
7.เลือกเทคนิคและเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับการประชุม
8.สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
9.มีการสรุปการประชุมทุกครั้ง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนมีความเข้าใจที่ตรงกัน
รับมืออย่างไรกับมนุษย์การประชุมแต่ละประเภท
ผู้เข้าร่วมประชุมอาจมีบุคลิกหลายรูปแบบ เช่น บางคนชอบฟังเงียบๆ บางคนชอบแสดงความคิดเห็นในทุกสถานการณ์ บางคนมักคล้อยตามความคิดของผู้อื่น เป็นต้น ตัวอย่างแนวทางที่ทำให้เรารับมือกับผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละประเภท เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการประชุมมีดังนี้
1.หากผู้เข้าร่วมประชุม ไม่ได้รู้จักกันเป็นอย่างดีมาก่อน ก่อนเริ่มประชุมควรมีการละลายพฤติกรรมก่อนเริ่มการประชุม เช่น การชักชวนพูดคุยเรื่องอื่น การทำกิจกรรมเล็กๆน้อยๆ เพื่อไม่ให้การประชุมตึงเครียดเกินไป และสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย
2.สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกคน เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในแสดงความคิดเห็นอย่างจริงใจ หลีกเลี่ยงการตำหนิกันต่อหน้าที่ประชุม เพื่อให้ทุกคนรู้สึกปลอดภัยและกล้าแสดงความเห็น
3.กำหนดผู้ที่ทำหน้าที่เป็น Facilitator ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการประชุม นำสู่วาระ ตั้งคำถามและกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งอาจมีบุคลิกแตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการประชุม ช่วยกำหนดจังหวะ และอารมณ์ร่วมของที่ประชุม และช่วยสรุปและทบทวนสิ่งที่ที่ประชุมเสนอออกมา ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นอาจเป็นประธาน เลขานุการที่ประชุม หรือเป็นผู้ที่รับผิดชอบจัดการประชุมก็ได้
ประชุมอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพกายใจ
องค์ประกอบที่ทำให้การประชุมมีประสิทธิภาพดี มักทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีสุขภาพจิตที่ดีไปด้วย เช่น การตรงต่อเวลา การหยุดพักเบรกเมื่อมีระยะเวลาประชุมต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
ปัจจุบันมีองค์กรด้านสุขภาพมากมายทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาคให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพในองค์กร องค์กรอนามัยโลกและองค์กรอื่นๆ ที่สนับสนุนการประชุมที่ส่งเสริมสุขภาพแนะนำ องค์ประกอบ 6 ด้านในการจัดประชุมที่ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ ดังนี้
1.สถานที่ประชุมปลอดบุหรี่
2.สถานที่ประชุมปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
3.มีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและลดพฤติกรรมเนือยนิ่งในระหว่างการประชุม เช่น อาจมีบริการโต๊ะยืนประชุม มีกิจกรรม exercise break ที่หลากหลายประมาณ 10 นาที ก่อนและคั่นระหว่างการประชุม เป็นต้น
4.จัดอาหารว่างและเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพบริการระหว่างการประชุม กล่าวคือ จัดอาหารว่างที่ดีต่อสุขภาพและพลังงานต่ำ เช่น ผลไม้ นมและผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ น้ำเปล่า หรือเครื่องดื่มพลังงานต่ำ เป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน จากการกินอาหารพลังงานสูงร่วมกับการมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง ทั้งนี้ในการประชุมที่ใช้เวลาไม่นาน อาจไม่จำเป็นต้องเสิร์ฟอาหารว่าง
5.ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีระหว่างการประชุม เช่น การตรงต่อเวลา การสร้างบรรยากาศให้มีการเสนอความคิดเห็นได้อย่างปลอดภัย การจัดมุมพักผ่อน เพื่อผ่อนคลายขณะพักเบรก เป็นต้น
6.ส่งเสริมความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เลือกการจัดประชุมออนไลน์ เพื่อลดมลพิษจากการเดินทาง ลดเอกสารการประชุมที่เป็นกระดาษโดยเลือกใช้แบบอิเล็กทรอนิกส์แทน การจัดอาหารให้พอดีกับผู้เข้าร่วมประชุม ไม่เหลือทิ้งเป็นขยะ ใช้อุปกรณ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ในการประชุมครั้งต่อไปได้ เป็นต้น
การจัดประชุมให้ผู้ร่วมประชุมอยากเข้ามามีส่วนร่วม จัดได้ไม่ยาก เพียงวางแผนหัวข้อการประชุม และรูปแบบให้มีประสิทธิภาพ และอย่าลืมมองเรื่องสุขภาวะกายและใจด้วย เพื่อให้เป็นการประชุม healthy meeting ซึ่งเป็น 1 ใน 6 ของ Healthy Organization ที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของพนักงาน แต่หากไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ปรึกษา SAKID ได้ เพราะเรามีทั้งบริการ Healthy snack box, Healthy canteen และ Healthy tournament ด้วยนวัตกรรม SAKID application
แหล่งอ้างอิง
-ประชุมสำคัญอย่างไร ? ควรประชุมบ่อยแค่ไหน. Available form: https://th.hrnote.asia/tips/the-importance-of-meeting-01312022/
-Techsauce Knowledge Sharing Platform. 15 วิธีที่จะทำให้การประชุมมีประสิทธิภาพ. [Internet]. 2023. Available form:https://techsauce.co/culture-transformation/how-to-make-effective-meeting-with-15-rules
-National Alliance for Nutrition and Activity. Healthy Meeting Toolkit. [Internet]. Available from:
https://www.cspinet.org/sites/default/files/attachment/Final%20Healthy%20Meeting%20Toolkit.pdf.
-Thailand Convention and Exhibition Bureau (TCEB). แนวทางปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับการจัดงานอย่างยั่งยืน [Internet]. 2018. Available from: https://rfs.businesseventsthailand.com/criteria/domestic-conventions.aspx.
-World Health Organization. Planning healthy and sustainable meetings: a practical guide. 3rd edition [Internet]. [cited 2023 Aug 1]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/344739/WHO-EURO-2021-3190-42948-60005-eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y.
-World Health Organization. Regional Office for South-East Asia. (2021). Decisions – RC74. World Health Organization. Regional Office for South-East Asia. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/345273
-กลุ่มส่งเสริมโภชนาการวัยทำงานและผู้สูงอายุสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ประชุมได้ผล คนได้สุขภาพ. ปทุมธานี: มินนี่ กรุ๊ป; 2566. ISBN 978-616-11-5023-5.
บทความที่น่าสนใจ

เริ่มต้นดูแลสุขภาพพนักงาน ทำอะไรได้บ้าง ฉบับงบน้อย
ท่ามกลางภารกิจอันล้นหลาม หลายครั้งที่ “เหนื่อย เครียด หมดไฟ” กลายเป็นสัญญาณเตือนสุขภาพกายใจที่ถูกมองข้าม บทความนี้เราจะสำรวจ 10 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ใช้งานได้จริงและไม่แพง ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นและปลุกพลังให้คุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เข้าใจ “ออฟฟิศซินโดรม” พร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นที่ทุกคนควรรู้
ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร อาการ สาเหตุและพฤติกรรมเสี่ยง วิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิธีป้องกันออฟฟิศซินโดรมเบื้องต้น ที่คนทำงานและบริษัทต้องรู้

WORKSHOP Happy Heart
กิจกรรม “กินอยู่อย่างไร ให้ห่างไกลโรคหัวใจ”
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 SAKID ได้จัดกิจกรรม Workshop Online “กินอยู่อย่างไร ให้ห่างไกลโรคหัวใจ” ให้กับบริษัทTACC โดยนักกำหนดอาหารจะพาสำรวจตัวเองและความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหัวใจ และการปรับพฤติกรรมการเลือกอาหารให้สอดคล้องกับโรคหัวใจ

ตรวจสุขภาพประจำปี พนักงาน สร้างกิจกรรม
ตรวจสุขภาพประจำปี สวัสดิการพนักงานบริษัทที่ทำการตรวจกันทุกปี แล้วพนักงานก็จะได้ผลตรวจสุขภาพรายบุคคนกันไป บางคนผลออกมาปกติดี บางคนก็ประสบปัญหาสุขภาพตามอายุและพฤติกรรมแบบกลุ่มกัน ไม่ว่าจะทางร่างกายและทางจิตใจ ซึ่งพนักงานแต่ละคนก็จะมีวิธีการดูแลตัวเองต่างกันไป ถ้าในบริษัทเจอปัญหาสุขภาพของพนักงานหลายคน หรือเจอปัญหาเสี่ยงโรคสุขภาพแบบกลุ่ม ทำให้มีการ ลาป่วย งานนี้จึงมาตกอยู่ที่ HR ที่จะต้องมาดูแลพนักงานหลายสิบหรือร้อยคน เพื่อให้บริษัทได้มีพนักงานที่สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง การมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสามารถช่วยให้ความรู้แบบกลุ่ม ซึ่งสามารถประหยัดเวลา และ ให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจการดูแลตัวเองเพิ่มขึ้น

รวม 5 หลักการปรับ “ท่านั่งทํางานที่ถูกต้อง” ลดออฟฟิศซินโดรม
ท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง ต้องนั่งยังไง? นั่งแบบไหนให้ไกลออฟฟิศซินโดรม? แนะนำ 5 หลักการที่ต้องปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง พร้อมวิธีเลือกเก้าอี้และโต๊ะถูกหลัก Ergonomics

8 ทริคดื่มน้ำให้ครบ 8 แก้ว
การดื่มน้ำเป็นสิ่งที่หลายคนมักมองข้าม ทั้งๆ ที่น้ำคือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำถึง 60% การดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวันไม่เพียงแค่ช่วยให้ทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น สมอง หัวใจ และกล้ามเนื้อ ทำงานได้อย่างปกติ แต่ยังช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น ผิวฉ่ำ ปากชุ่มชื้นตลอดทั้งวัน ในทางกลับกัน หากเราดื่มน้ำน้อยเกินไป อาจส่งผลให้ท้องผูก ปวดหัว สมองทำงานช้าลง เหนื่อยล้า โฟกัสกับการทำงานได้ลดลง ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง