ส่งเสริมสุขภาพพนักงาน
URL Copied!

เทคนิคส่งเสริมสุขภาพพนักงานที่ทุกบริษัทควรรู้

การส่งเสริมสุขภาพพนักงานในปัจจุบัน ไม่ควรจำกัดอยู่เพียงแค่ประกันสุขภาพหรือการตรวจสุขภาพประจำปี เพราะเป็นเพียงการช่วยแบ่งเบาและการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพเท่านั้น ในแต่ละวัน คนทำงานต่างสะสมความเสี่ยงที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ และเมื่อเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา นอกจากบริษัทจะต้องเสียค่าเบี้ยประกัน ค่าช่วยเหลือรักษาพยาบาลแล้ว ยังเสียทรัพยากรในการทำงาน พนักงานลาป่วย หรือสุขภาพไม่พร้อมให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

หลายบริษัทในทุกวันนี้ จึงเลือกที่จะจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในเชิงรุกมากขึ้น เพื่อให้พนักงานของพวกเขามีสุขภาพที่แข็งแรงและมีแรงกายพร้อมในการทำงานอยู่ตลาด และเน้นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้พนักงานเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืนกว่า

 

โครงการส่งเสริมสุขภาพพนักงาน คืออะไร

 

โครงการส่งเสริมสุขภาพพนักงาน คือ กิจกรรมที่องค์กรหรือบริษัทออกแบบและจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีขึ้น มีทั้งที่เป็นกิจกรรมชั่วคราว กิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอด หรือเป็นหนึ่งในสวัสดิการพนักงาน โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับพนักงานและส่งเสริมให้พวกเขามีพฤติกรรมที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ

 

ยกตัวอย่าง สิ่งที่สามารถทำหรือรวมเป็นกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในพนักงานได้ 

 

– คอร์สเรียนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การบริโภค การออกกำลังกาย 

 

– สิทธิ์เข้าฟิตเนสหรือสิ่งอำนวยความสะดวก

 

– นโยบายส่งเสริมสุขภาพ เช่น พื้นที่ปลอดบุหรี่ มุมพักผ่อน ห้องทำงานสำหรับจดจ่อ (Focus Room)

 

– มุมของว่างสุขภาพ (Healthy Snack) เช่น ผลไม้ เครื่องดื่มสุขภาพ

 

– พื้นที่สำหรับยืดเหยียดหรือทำสมาธิ

 

นอกจากนี้ หลายองค์กรมักจะออกแบบโปรแกรมหรือโครงการส่งเสริมสุขภาพในเชิงรุกมากขึ้น ซึ่งมีการตั้งกรอบเวลากิจกรรม รายละเอียดการเข้าร่วมกิจกรรม และการติดตามผลอย่างจริงจัง โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่แล้ว องค์กรมักจะตั้งกรอบกิจกรรม 30 วัน 60 วัน หรือ 90 วัน และเน้นการทำกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมของพนักงาน (Employee Engagement) มากกว่าเน้นผลลัพธ์ที่เป็นตัวเลข ซึ่งให้ผลดีมากกว่า ส่งเสริมให้ความเข้มแข็งในทีม และไม่กดดันพนักงาน 

 

ทำไมถึงต้องส่งเสริมสุขภาพพนักงาน 

 

– ผลกระทบต่อตัวบุคคล ช่วยให้พนักงานลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) เช่น โรคเบาหวาน ภาวะความดัน โรคหัวใจ ฯลฯ และส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพในระยะยาว พนักงานมีสุขภาพที่ดีขึ้น มีแรงกายและกำลังใจที่ดีในการทำงาน 

– ผลกระทบที่บริษัทได้รับ ช่วยเพิ่มประสิทธิผลการทำงาน หรือ Productivity เพิ่มความสุขในที่ทำงาน ลดอัตราการลาป่วยและอัตราการเปลี่ยนงาน (Turn Over Rate) ลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าช่วยเหลือรักษาพยาบาล ค่าดำเนินงานในการหาพนักงานใหม่ ค่าเสียโอกาส ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

 

หากบริษัทของคุณต้องการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพพนักงาน ต่อไปนี้ คือ โมเดล 4 ขั้นตอนที่จะช่วยให้คุณจัดกิจกรรมในองค์กรขึ้นได้สำเร็จ 

 

โมเดลในการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพพนักงาน 

 

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อสหรัฐ (CDC: Centers for Disease Control and Prevention) ศึกษาและได้สรุปองค์ประกอบที่ทำให้โครงการส่งเสริมสุขภาพพนักงานได้ผลลัพธ์ที่ดี คือ 

 

1. มีสิ่งจูงใจที่สอดคล้องกับเป้าหมายหรือภารกิจ 

 

2. กำหนดเป้าหมายการส่งเสริมสุขภาพที่สำคัญกับกลุ่มประชากรส่วนใหญ่ 

 

3. อัตราการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมโครงการ 

 

4. การวัดผลและประเมินผลที่จำกัดผลสำเร็จไว้อย่างชัดเจน 

 

ซึ่งโมเดลในการจัดโครงการส่งเสริมทั้ง 4 ขั้นตอนต่อไปนี้ จะยึดองค์ประกอบข้างต้นเพื่อให้การจัดโครงการฯ มีโอกาสสำเร็จ ช่วยส่งเสริมสุขภาพให้แก่พนักงานได้จริง

 

1. ประเมินสถานการณ์สุขภาพในบริษัท

 

ก่อนจะเริ่มจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพ บริษัทจะต้องเข้าใจสถานการณ์ด้านสุขภาพของคนในบริษัทก่อน เพื่อให้รู้ว่า ควรจัดโครงการเพื่อหวังผลลัพธ์แบบไหน ซึ่งจากองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การจัดโครงการสำเร็จ คือ การกำหนดเป้าหมายจากปัญหาหลักของกลุ่มประชากรส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาเรื่องน้ำหนักเกิน ปัญหาเรื่องการสูบบุหรี่ ปัญหาสุขภาพจากภาวะหมดไฟ ฯลฯ 

 

สิ่งที่บริษัทต้องทำก่อน ได้แก่ 

 

– การประเมินสุขภาพของคนในออฟฟิศหรือที่ทำงาน ซึ่งสามารถทำได้ผ่านการสอบถาม การทำแบบสำรวจสุขภาพ การสำรวจสุขภาวะในสถานที่ทำงาน 

 

– คัดกรอง แบ่งพนักงานหรือกลุ่มประชากรตามความเสี่ยงโรคหรือปัญหา

 

– สรุปปัญหาด้านสุขภาพทั้งหมดและลำดับความสำคัญหรือความเร่งด่วนในการแก้ไข เพื่อออกแบบเป็นโครงการ

 

บริษัทสามารถใช้แอปพลิเคชัน EAP (Employee Assistance Program) หรือ Health Program เช่น SAKID ในการติดตามและสอบถามข้อมูลด้านสุขภาพได้ตลอด โดย SAKID จะมีบอท (Bot) ที่ช่วยทักถามสุขภาพหรือติดตามพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพ ทำเป็นรายงานให้ฝ่ายบุคคล (HR) หรือบริษัทเข้าใจสถานการณ์ด้านสุขภาพของพนักงานได้ตลอด 

 

2. ออกแบบและวางแผนโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพพนักงาน

 

นำผลสำรวจหรือแบบประเมินมาออกแบบโปรแกรมหรือกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ จากนั้นมอบหมายหน้าที่ให้กับฝ่ายที่รับผิดชอบหรือ HR เพื่อดำเนินการจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ โดยเริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมายและรายละเอียดกิจกรรม

 

– การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัด กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน เช่น เพื่อลดน้ำหนักของพนักงาน เพื่อลดค่าคอเลสเตอรอล ฯลฯ แต่ควรกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จเป็นการเข้าร่วมและเน้นการมีส่วนร่วมกันระหว่างพนักงานมากกว่า เช่น จำนวนการเข้าร่วมกิจกรรม สมาชิกในทีมเข้าร่วมครบ ฯลฯ

 

– กำหนดรางวัลหรือแรงจูงใจที่สอดคล้องกับเป้าหมาย โดยเน้นให้รางวัลกับความทุ่มเท ความพยายาม การมีส่วนร่วมในฐานะทีม ซึ่งทำได้จากการแบ่งทีมเข้าร่วม คล้ายกิจกรรมกีฬาสี ประกาศรางวัลที่เน้นย้ำความสำเร็จของทีม มากกว่าสิ่งที่บุคคลทำได้ 

 

– รายละเอียดกิจกรรม 

 

  •  – กำหนดกรอบเวลาในการจัดกิจกรรม เช่น 30 วัน 60 วัน 90 วัน

 

  •  – กำหนดกิจกรรมท้าทาย (Challenge) ว่าต้องทำอะไรบ้าง เช่น จำนวนก้าว จำนวนชั่วโมงออกกำลังกาย 

 

  •  – ติดต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์ ฟิตเนส นักควบคุมอาหาร เทรนเนอร์

 

เมื่อได้รายละเอียดโครงการเรียบร้อย จึงสื่อสารกับพนักงานและเชิญชวนให้เข้าร่วมโดยการสื่อสารถึงความสำคัญของโครงการและผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพ ทั้งนี้ ไม่ควรให้การเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพเป็นการบังคับหรือมีผลต่อความก้าวหน้า เพราะจะเป็นการกดดันพนักงานและไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตใจหรือสุขภาพร่างกายภายหลังโครงการ

 

3. ดำเนินกิจกรรมหรือโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ

 

ขั้นตอนต่อมาคือการดำเนินโครงการ ซึ่งโครงการส่งเสริมสุขภาพที่ดีควรจะกระตุ้นให้พนักงานเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมากกว่า เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว ซึ่งศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ CDC ก็ได้แนะนำองค์ประกอบที่ดีของการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพไว้ ได้แก่

 

– การให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ

 

– การสนับสนุนจากสังคมและสิ่งแวดล้อม (Supportive social and physical environment) 

 

– ความสอดคล้องกันระหว่างนโยบาย กิจกรรม และสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ

 

– ความสอดคล้องระหว่างกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและกิจกรรมอื่น ๆ ที่พนักงานมีส่วนร่วม

 

– การประเมินและติดตามกิจกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ นักกำหนดอาหาร นักวิทยาศาสตร์การกีฬา นักจิตวิทยาฯลฯ

 

โดยสรุปแล้ว กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพพนักงานที่ให้ผลลัพธ์ที่ดี จะดำเนินไปพร้อมกับนโยบายและการสนับสนุนให้พนักงานดูแลสุขภาพจากบริษัทอย่างรอบด้าน 

 

ไม่ว่าจะเป็นการจัดอบรมให้ความรู้ การรณรงค์ การออกนโยบายการทำงานที่ดีต่อสุขภาพ เช่น เคารพเวลาส่วนตัว/เวลาพักผ่อน ภาระงานไม่หนักจนเกินไป การให้สวัสดิการด้านสุขภาพ เช่น ช่วยค่าฟิตเนส ของว่างเป็นผลไม้ การจัดสถานที่ทำงานให้เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี เช่น การเลือกใช้เก้าอี้ที่ออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ มีโต๊ะยืน มีพื้นที่สีเขียวสำหรับพักผ่อน ฯลฯ 

 

4. ติดตามและประเมินผลด้านสุขภาพ

 

การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ควรมีการติดตามและการประเมินผลโครงการอย่างจริงจังเพื่อให้รู้ว่า กิจกรรมที่จัดได้ผลดีแค่ไหน ซึ่งผลลัพธ์สามารถเป็นข้อมูลในการปรับปรุงและเป็นกำลังใจให้กับพนักงานหรือคนที่เข้าร่วม ได้เห็นผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ ซึ่งการประเมินสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การทำแบบสำรวจด้านสุขภาพ การตรวจสุขภาพ หรือการใช้เครื่องมือ/โปรแกรม/แอปพลิเคชันติดตามข้อมูลสุขภาพ

 

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพพนักงาน

 

60 days Challenge Fit From Home

 

โปรแกรมดูแลสุขภาพพนักงานรูปแบบออนไลน์จาก อีทเวลล์คอนเซปต์ (Eat Well Concept) เพื่อส่งเสริมสุขภาวะของพนักงานในช่วงทำงานที่บ้าน (Work From Home) กำหนดเป็นกิจกรรมท้าทาย 60 วัน ตามชื่อโครงการ 60 days Challenge Fit From Home มีจุดประสงค์เพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่งช่วงทำงานที่บ้าน เพื่อลดภาวะเครียดในภาวะวิกฤตและการกักตัว (Self-quarantine) และเพื่อสร้างวิถีสุขภาวะด้วยการดูแลรักษาสุขภาพจากที่บ้าน 

 

ตัวอย่างกิจกรรมในโครงการ เช่น 

 

– การดูแลจากผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและการออกกำลังกายในกลุ่มภายในบริษัท

 

– การให้ความรู้ด้านการดูแลรักษาสุขภาพ การเลือกรับประทานอาหาร การจัดการความเครียด

 

– กิจกรรมออกกำลังกายภายในบ้านอย่างง่าย คลาสออกกำลังกายพิเศษ

 

SAKID “สะกิด” เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

 

ตัวอย่างการใช้แอปพลิเคชัน SAKID เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้กับพนักงาน ซึ่งแอปพลิเคชัน SAKID ใช้หลักการในการ “สะกิด” ผู้ใช้งานหรือพนักงานให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสร้างพฤติกรรมที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ และเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพได้ตามโมเดล 4 ขั้นตอน ทั้งช่วยประเมินสถานการณ์สุขภาพ ช่วยออกแบบ ช่วยมอบหมายกิจกรรม และช่วยติดตามผลลัพธ์

 

– สามารถใช้ประเมินสุขภาพของพนักงานในองค์กรได้ ด้วยระบบที่ช่วยสอบถามอารมณ์ ความรู้สึก และติดตามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ฯลฯ ได้ ช่วยให้บริษัทเข้าใจสถานการณ์ด้านสุขภาพของพนักงานได้ตลอด

 

– มีผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพให้กับพนักงานแบบรายบุคคล ทั้งนักควบคุมอาหาร นักวิทยาศาสตร์การกีฬา และนักจิตบำบัด รวมถึงระบบที่ช่วยมอบหมายภารกิจดูแลสุขภาพที่เหมาะกับพนักงานแต่ละคน เช่น จำนวนก้าวเดิน สะกิดให้งดแอลกอฮอล์ สะกิดให้ออกกำลังกาย ฯลฯ

 

– SAKID จะช่วยติดตามกิจกรรมที่ทำและประเมินผลลัพธ์ ซึ่งรวมประเมินกับผู้เชี่ยวชาญ 

 

จากการติดตามผลลัพธ์จากองค์กรที่ใช้ SAKID เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้พนักงานมีพฤติกรรมที่ส่งผลดีต่อสุขภาพมากขึ้น SAKID สามารถช่วยให้ผู้ใช้งานกว่า 67% จากกลุ่มผู้ใช้งานจริง 500 คน สามารถลดน้ำหนักได้เฉลี่ย 2.5 กิโลกรัม โดยในช่วงกิจกรรมมีผู้ใช้งานที่สามารถลดน้ำหนักได้มากถึง 15 – 18 กิโลกรัม ภายใต้กิจกรรมและการดูแลของนักกำหนดอาหาร นักวิทยาศาสตร์การกีฬา และนักจิตบำบัดบนแอปฯ SAKID

 

 

หรือกิจกรรมง่าย ๆ ที่ SAKID ช่วยสะกิดให้พนักงานลงมือทำมากขึ้นอย่างภารกิจ “เดินให้มากขึ้น” ภายในระยะเวลา 11 เดือน SAKID ช่วยกระตุ้นให้พนักงานเดินมากขึ้นถึง +169% (เพิ่มจาก 3,193 ก้าวในเดือนแรก เป็น 6,409 ก้าวในเดือนที่สาม)*

 

*ข้อมูลเก็บจากองค์กรที่มีพนักงานเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 1 พันคน เป็นเวลา 3 เดือน 

 



สรุป

สุขภาพของพนักงานเป็นสิ่งที่บริษัทและองค์กรต้องให้ความสำคัญ ซึ่งนอกจากสวัสดิการด้านสุขภาพโดยทั่วไปแล้ว การส่งเสริมสุขภาพพนักงานในเชิงรุกอย่างการโครงการหรือโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ จะช่วยให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีขึ้นตามกรอบเวลาที่ชัดเจน ช่วยให้บริษัทเพิ่ม Productivity ลดอัตราการลาป่วยและค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอื่น ๆ ที่บริษัทต้องจ่าย

 

กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพพนักงานที่ดีจะครอบคลุมทั้งการจัดกิจกรรม สวัสดิการ นโยบาย และวัฒนธรรมการทำงานที่สอดคล้องและส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพที่ดี ทั้งนี้ บริษัทควรมีเป้าหมายในการจัดโครงการที่ชัดเจนเพื่อออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสม ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ 

 

ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่น่าทำในออฟฟิศ

 

1. ช่วงโมงงีบและมุมงีบหลับ

 

2. พื้นที่ทำงานทางเลือก เช่น โต๊ะยืน โต๊ะนั่งทำงานในสวน 

 

3. คอร์สอบรมเรื่องการออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหาร การจัดการความเครียด

 

4. กิจกรรมท้ากินอาหารสุขภาพหรือ Challenge การแข่งขันดูแลสุขภาพ

 

5. มีผู้เชี่ยวชาญและนักจิตวิทยาสำหรับให้พนักงานปรึกษา

 

6. กิจกรรมบริหารร่างกายในออฟฟิศ

 

7. อาหารว่างสุขภาพ (Healthy Break) เช่น ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว เผือก มัน หรือข้าวโพดต้ม ฯลฯ

 

8. สวัสดิการและบริการด้านสุขภาพ เช่น นวด นักกายภาพบำบัด เทรนเนอร์ ครูสอนโยคะ สมาชิกฟิตเนส 

 

9. สถานที่ออกกำลังกายในอาคารหรือใกล้เคียง เช่น ฟิตเนส สระว่ายน้ำ 

 

10. ชั่วโมงออกกำลังกายที่ต้องเก็บชั่วโมงในช่วงทำกิจกรรมหรือในแต่ละเดือน

 

หรือส่งเสริมสุขภาพพนักงานอย่างยั่งยืนด้วยการ “สะกิด” ให้พวกเขาเกิดพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพด้วย SAKID ที่ช่วยทั้งออกแบบและมอบหมายกิจกรรม มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา พร้อมติดตามข้อมูลด้านพฤติกรรมและสุขภาพในในตัว  

 

ดูฟีเจอร์ของ SAKID ที่นี่

บทความที่น่าสนใจ

Sakid thumbnail -7 teamwork

7 วิธีสร้างทีมเวิร์ค(Team building) ให้แข็งแกร่ง พร้อมพิชิตเป้าหมายองค์กร

คุณเคยสงสัยไหมว่า ทำไมบางทีมถึงทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น สามารถสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยม และบรรลุเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่อง คำตอบก็คือพวกเขามีการสร้างทีมเวิร์คที่เข้มแข็งนั่นเอง การมีทีมงานที่แข็งแกร่ง สามัคคี และทำงานร่วมกันได้ดี ถือเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในการทำงานและการเติบโตขององค์กร (Salas et al., 2015)

อ่านต่อ »
HAPPY FIT-SAKID

WORKSHOP HAPPY FIT กินอยู่อย่างไร ร่างกายฟิต สุขภาพดี

กิจกรรม HAPPY FIT กินอยู่อย่างไร ร่างกายฟิต สุขภาพดี

วันที่ 22 สิงหาคม  2567 SAKID  ได้จัดกิจกรรม HAPPY FIT กินอยู่อย่างไร ร่างกายฟิต สุขภาพดี กับ SAKID ที่บริษัท ทาทาสตีล จำกัด โดยจะมีกิจกรรมการวัดองค์ประกิบร่างกายเพื่อดูสุขภาพโดยรวมของพนักงาน และกิจกรรมWorkshop เกี่ยวกับการเลือกอาหารในชีวิตประจำวันโดยที่พนักงานออฟฟิศสามารถนำไปใช้ได้ การเลือกกินแบบ 2-1-1 เน้นโปรตีนและผัก คาร์โบไฮเดรตในสัดส่วนที่ถูกต้อง เพื่อรักษาการกินที่สมดุลเหมาะกับสภาวะร่างกายของแต่คนให้ร่างกายไม่เจ็บป่วยสร้างสุขภาพดีได้

อ่านต่อ »

Well being the future hr trends

การให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงานไม่ใช่แค่เทรนด์ที่ผ่านไปเท่านั้น แต่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างมากขึ้นในมุมมองของธุรกิจและสังคมต่อบทบาทของการทำงานและความสำคัญของสวัสดิการของพนักงาน ปัจจัยหลายอย่างมีส่วนทำให้การเน้นเรื่องสุขภาพและสภาพสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ดีเพิ่มมากขึ้น

อ่านต่อ »
Cover retire-SAKID

รู้ก่อนคิด วาดชีวิตที่มั่นคง ต้องรู้เกษียณสบายตามไลฟ์สไตล์ที่เป็นเรา

กิจกรรม  Workshop “รู้ก่อนคิด วาดชีวิตที่มั่นคงต้องรู้เกษียณสบายตามไลฟ์สไตล์ที่เป็นเรา ”

เมื่อวันที่ 23  กันยายน 2566 SAKID  ได้จัดกิจกรรม Workshop ออฟไลน์ และออนไลน์ไปพร้อมกัน ในหัวข้อ “รู้ก่อนคิด วาดชีวิตที่มั่นคงต้องรู้เกษียณสบายตามไลฟ์สไตล์ที่เป็นเรา ” โดยนักกำหนดอาหารที่จะให้ความรู้ทั้งในวัยที่กำลังเกษียณและวัยทำงานที่จะได้มีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารการกินอย่างไร ให้สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย สัดส่วนอาหารที่จำเป็นต่อวัยต่างๆ ที่ยังสามารถอร่อยและสุขภาพดีได้ การเลือกกินอย่างสมดุล และในส่วนของนักการเงินที่จะมาสอนเรื่องการลงทุนและการเก็บออมเงินก่อนเกษียณ การทำแบบแผนเตรียมตัวเกษียณอย่างง่าย การวางแผนค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและใช้เงินในวัยเกษียณอย่างมีความสุขในสไตล์ที่เป็นเรา

อ่านต่อ »
Cover-Pmat-2023-Sakid

HR tech Thailand 2023

กิจกรรมออกบูธ HR tech Thailand 2023

วันที่ 14-15 มิถุนายน 25656 SAKID  ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์แอพลิเคชั่น “สะกิด” ในงาน HR Tech เพื่อแนะนำให้รู้จักกับแอพว่าใช้ออกแบบกิจกรรมสุขภาพอย่างไร และเปิดให้ทดลองใช้ ฟรี 7 วัน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสำหรับองค์กรที่ถ่ายรูปคู่น้องสะกิดลุ้นรับ Workshop นักกำหนดอาหารฟรี 1ชม. ได้ทั้งความรู้สุขภาพและภารกิจสุขภาพดีสนุก ๆ จาก สะกิดกันได้เลย

อ่านต่อ »
Cover kimbab-Sakid

WORKSHOP คิมบับสุขภาพ

กิจกรรม  “Cooking class คิมบับสุขภาพ”

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566  SAKID  ได้จัดกิจกรรม Workshop  “Cooking class คิมบับสุขภาพ” โดยคุณอรนันท์ เสถียรสถิตกุล นักกำหนดอาหารวิชาชีพ และอดีตเจ้าของ D-Diet อาหารสุขภาพสาธิตเมนูอาหารสไตล์เกาหลี “คิมบับ”พร้อมได้เรียนรู้ส่วนประกอบการทำคิมับทางด้านประโยชน์และสารอาหาร รวมทั้งลงมือลองทำคิมบับเมนูสุขภาพด้วยตัวเอง

อ่านต่อ »