Productivity พื้นฐานของการพัฒนาองค์กรอย่างมีคุณภาพ
- 19/12/22
คำว่า “Productivity” ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา ได้กลายเป็น “Buzzword” หรือคำที่มีคนพูดถึงจำนวนมากไปแล้ว โดยเฉพาะในช่วงล็อกดาวน์ (Lockdown) ป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่บริษัทต่าง ๆ ปรับรูปแบบมาเป็นการทำงานแบบ WFH: Work From Home และ Remote Working กันมากขึ้น
การทำงานที่บ้านหรือ WFH มีข้อดีมากมาย แต่ก็มีข้อกังวลเรื่องของ Productivity ในการทำงาน เพราะการทำงานที่บ้านอาจมีปัจจัยต่าง ๆ ที่รบกวนการจดจ่อกับงานลงได้ ในช่วงนี้ จึงมักมีบทความที่ให้เกี่ยวกับการทำงานอย่างมีผลิตภาพให้กับเหล่าคนทำงาน จนกลายเป็นเหมือนว่า การทำงานแบบ Productive เป็นความรับผิดชอบของคนทำงานฝ่ายเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว บริษัทหรือองค์กรก็มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการทำงานอย่างมีผลิตภาพได้เช่นกัน
บทความนี้ จะช่วยมาแจกแจงถึงความหมาย ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อ Producivity และแนวทางที่บริษัทหรือองค์กรสามารถช่วยให้พนักงานทำให้งานได้อย่างเต็มที่และมีผลิตภาพ
Productivity จริง ๆ แล้ว หมายถึงอะไร
Productivity แปลเป็นภาษาไทยว่า “ผลิตภาพ” หมายถึง ตัวชี้วัดความสำเร็จและในการบริหารและทำงานในระบบการผลิตของอุตสาหกรรม ซึ่งมีตัวชี้วัดที่วัดเป็นตัวเลขได้ชัดเจน เช่น จำนวนชิ้นที่ผลิตได้ต่อระยะเวลา แต่ในปัจจุบัน คำว่า “Productivity” ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย หมายถึง ความสามารถในการทำงานให้ได้ผลลัพธ์คุ้มค่าหรือมากกว่าต้นทุนทั้งเวลา วัตถุดิบ และทรัพยากรบุคคลที่ใช้
ผลิตภาพ (Productivity) กับ ประสิทธิภาพ (Efficiency) ต่างกันยังไง
เมื่อกล่าวถึงคำว่า “Productivity” หรือ “ผลิตภาพ” ก็มีอีกคำหนึ่งที่ตามมาคู่กันที่อาจเกิดความเข้าใจสับสนหรือคลาดเคลื่อนได้ นั่นคือคำว่า “ประสิทธิภาพ” หรือ “Efficiency”
ลองดูคำนิยามโดยคร่าว ๆ ของทั้งสองคำนี้ ในบริบทการทำงาน
1. Efficiency หรือ ประสิทธิภาพ หมายถึง ความสามารถในการผลิตหรือการทำงานที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่มีคุณภาพเกินความมาตรฐาน อาจหมายถึง ได้งานที่ถูกต้องเรียบร้อย สวยงาม มีความประณีตสูง สร้างผลลัพธ์โดดเด่น ใช้กล่าวถึง “คุณภาพ”
ยกตัวอย่างเช่น พนักงานชงกาแฟสามารถชงกาแฟขายได้โดยไม่ผิดพลาด กาแฟมีรสชาติดี ได้มาตรฐานเหมือนกันทั้งหมด เรียกว่า “ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
2. Productivity หรือ ผลิตภาพ หมายถึง ตัวชี้วัดหรือความสามารถในการผลิตหรือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนำปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาคำนึงถึงด้วย เช่น ความเร็วในการผลิต/ทำงาน การลดต้นทุนการผลิต หรือทำแล้วได้ผลลัพธ์มากกว่ามาตรฐานหรือที่ควรจะได้ เป็นการวัดว่าใช้ต้นทุน (Input) ไปเท่านี้ สามารถสร้างผลลัพธ์ (Output) ออกมาได้มากแค่นั้น
ยกตัวอย่างเช่น พนักงานชงกาแฟหาวิธีปรับปรุงการทำงานและมีเครื่องชงกาแฟสำหรับ 2 แก้ว ที่สามารถชง 2 แก้วพร้อมกันได้ ทำให้สามารถชงกาแฟได้เร็วขึ้น ทำให้ชงกาแฟได้เร็วขึ้น 2 เท่า ด้วยเวลาเท่าเดิม
หากพูดถึงเรื่อง การเพิ่ม Productivity จึงหมายถึง การใช้ต้นทุนหรือ Input เท่าเดิมหรือน้อยลง เพื่อสร้างผลลัพธ์หรือ Output ที่มากกว่าเดิมได้
ทำไมองค์กรต่าง ๆ ถึงอยากเพิ่ม Productivity ในการทำงาน
การที่บริษัทหรือธุรกิจมี Productivity มากขึ้น นั่นหมายถึง ศักยภาพในการผลิตที่มากขึ้นซึ่งมาพร้อมกับกำไรที่มากขึ้นและต้นทุนที่ลดลง
เมื่อบริษัทสามารถผลิตงานและส่งมอบงานให้กับตลาดหรือลูกค้าได้เร็วขึ้น มีเวลาเพิ่มขึ้นในการทำงานชิ้นต่อไป จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมบริษัทต่าง ๆ ถึง ต้องการให้พนักงานเพิ่ม Productivity ขึ้น
ทั้งนี้ การเพิ่มผลิตภาพในการทำงาน ไม่ใช่แค่เรื่องของพนักงานที่ต้องปรับปรุงวิธีการทำงานเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่องค์กรหรือบริษัทก็มีส่วนสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อม ออกแบบระบบการทำงาน การสร้างแรงจูงใจ และบทบาทอื่น ๆ ที่ช่วยทำให้คนทำงานสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่และมีผลิตภาพ
Productivity ที่มาจากการร่วมมือทั้งพนักงานและองค์กรจะช่วยผลักดันให้คนทำงานมีแรงจูงใจเชิงบวกในการทำงาน ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และช่วยให้พวกเขาได้พัฒนาทักษะความสามารถอีกด้วย การเพิ่มผลิตภาพในองค์กรในรูปแบบนี้จึงถือว่า เป็นการเพิ่ม Productivity ของจริง ที่ให้ประโยชน์ทั้งกับองค์กรและคนทำงาน
Employee Satisfaction และ Firm Performance
Productivity หรือผลิตภาพในการทำงานสอดคล้องกับเรื่องของความพึงพอใจของพนักงาน (Employee Satisfaction) อย่างมีนัยสำคัญ จากบทความวิชาการ Employee Well-being, Productivity, and Firm Performance: Evidence and Case Studies ที่เก็บข้อมูลและทำวิจัยกับพนักงานถึงกว่า 1,882,131 คน จากองค์กรต่าง ๆกว่า 73 ประเทศทั่วโลก ได้ข้อค้นพบว่า
บริษัทที่พนักงานมีความพึงพอใจสูงจะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพของบริษัท (Firm Performance) ได้แก่ ความภักดีของลูกค้า (Customer Loyalty) ผลิตภาพการทำงาน (Employee Productivity) กำไร (Profitability) และอัตราการเปลี่ยนงาน (Staff Turnover)
โดยความพึงพอใจในงานวิจัยมาจากแบบสอบถามความคิดเห็นและความรู้สึก ครอบคลุมเรื่องของสุขภาวะของพนักงานทั้งกายและใจ (Employee Well-being) เป็นหลัก
จากข้อค้นพบนี้ บริษัทหรือองค์กรที่ต้องการเพิ่ม Productivity ในการทำงาน จึงมองข้ามไม่ได้ว่า บริษัทมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้คนทำงานมีผลิตภาพการทำงานที่สูงขึ้น
บริษัทที่ต้องการเพิ่ม Productivity จึงต้องใส่ใจกับความพึงพอใจในการทำงานของพวกเขา บริษัทอาจทำแบบสอบถามเรื่องความพึงพอใจและความรู้สึกในแต่ละวัน โดยเครื่องมือที่แนะนำ คือ การใช้ Employee Assistence Program หรือ Health Application ที่คอยสอบถามความรู้สึกในการมาทำงานแต่ละวัน เช่น SAKID Application เพื่อที่บริษัทจะได้รู้ความรู้สึกและสุขภาพของพนักงาน (ที่ส่งผลโดยตรงกับผลิตภาพการทำงาน) เพื่อนำคิดหาวิธีส่งเสริมความพึงพอใจและสุขภาวะที่ดีขึ้นให้กับคนทำงาน
4 ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ Employee Satisfaction และ Productivity
ปัจจัยสำคัญทั้ง 4 ข้อนี้ คือ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและผลิตภาพการทำงานของพนักงาน ซึ่งบริษัทและองค์กรสามารถปรับปรุงและส่งเสริมได้
1. สภาพแวดล้อมการทำงาน (Work Environment)
ตัวอย่างออฟฟิศของ Google ที่อัมสเตอร์ดัม, ประเทศเนเธอร์แลนด์
ที่มารูปภาพ archdaily.com
ลองนึกจินตนาการดูว่า หากต้องนั่งทำงานในห้องที่อากาศร้อน อากาศไม่ถ่ายเทปลอดโปร่ง มีข้าวของวางระเกะระกะ โต๊ะ-เก้าอี้ที่นั่งทำงานนั่งไม่สบาย บรรยากาศการทำงานมีเสียงโทรศัพท์ดังรบกวนตลอดเวลา สภาพแวดล้อมการทำงานแบบนี้ คงไม่เป็นผลดีต่อการจดจ่อทำงานแน่ บริษัทชั้นนำจึงให้ความสำคัญกับการออกแบบและตกแต่งออฟฟิศ
ยกตัวอย่างเช่น ออฟฟิศของ Google ที่ขึ้นชื่อเรื่องบรรยากาศการทำงานที่โดดเด่น มีความเป็นกันเอง ส่งเสริมการร่วมมือกันและความคิดสร้างสรรค์ ออฟฟิศจึงเต็มไปด้วยสีสันและองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ดูสนุกสนาน
2. กระบวนการทำงาน (Processes)
กระบวนการทำงาน หมายถึงลำดับขั้นตอนในการทำงานงานหนึ่งให้สำเร็จลุล่วง หากวางแผนและลำดับความสำคัญของการทำงานชิ้นย่อย ๆ แต่ละชิ้นได้เป็นอย่างดี ก็จะช่วยลดระยะเวลาในการรอหรือความลังเลในการตัดสินใจลงมือทำ
บริษัทหรือองค์กรที่ต้องการมีผลิตภาพการทำงานที่สูงจึงมักหาทางปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ ไม่ว่าจะหาและลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น จัดสรรทรัพยากรการทำงานใหม่ เช่น จ้างคนอื่นทำงาน (Outsourcing) ลำดับขั้นตอนใหม่ หรือการทำเทคโนโลยี เช่น Collaboration tools หรือ Productivity tools มาใช้เพื่อให้กระบวนการทำงานทั้งหมดสั้นที่สุดและงานสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว
3. สุขภาวะที่ดีของพนักงาน (Employee Wellness)
สุขภาวะของพนักงานส่งผลโดยตรงต่อความรู้สึกพึงพอใจและผลิตภาพการทำงาน โดยจากงานวิจัย Forrester’s Q3 2022 US Future of Work Survey พบว่า บริษัทที่พนักงานมีสุขภาพกายและใจที่ดีกว่า มีความรู้สึกและทัศนคติที่ดีต่อการทำงานมากกว่า 2 ถึง 3 เท่า
หากต้องการเพิ่ม Productivity และ Employee Satisfaction บริษัทจึงควรให้ความสำคัญกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพพนักงาน ไม่ว่าจะผ่านนโยบาย สวัสดิการ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพต่าง ๆ หรือใช้เครื่องมือ/แอปที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ
4. วัฒนธรรมการทำงาน (Work Culture)
วัฒนธรรมการทำงาน หมายถึง รูปแบบ ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือสิ่งที่ตกลง/เข้าใจว่า อะไรควรทำ ไม่ควรทำ ซึ่งวัฒนธรรมการทำงานที่ดี (Positive Working Culture) เช่น การส่งเสริมการเรียนรู้ ลองผิดลองถูก วัฒนธรรมการเข้าอกเข้าใจ การส่งเสริมจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ (Ownership) ฯลฯ ส่งผลสำคัญต่อทัศนคติและผลิตภาพการทำงานของพนักงาน
ถ้าอยากเพิ่ม Productivity ให้องค์กร ทำยังไงได้บ้าง?
1. ทบทวนกระบวนการทำงานและปรับปรุง
ทบทวนกระบวนการทำงานว่ามีกระบวนการไหนที่ไม่จำเป็นและควรตัดออก ทบทวนระบบการส่งงาน-ตรวจงาน-ลำดับการอนุมัติ ว่าสามารถลดขั้นตอนไหนลงได้บ้าง ทบทวนลำดับการทำงานต่าง ๆ ว่า งานชิ้นไหนที่ควรทำเสร็จก่อนเพื่อให้งานทั้งโปรเจกต์ไหลลื่น หรือพิจารณาเลือกจ้างคนภายนอก/ผู้เชี่ยวชาญให้ทำงานให้ (Outsourcing)
2. ปรับปรุงวัฒนธรรมการทำงาน
ส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงบวกในการทำงาน เช่น การชื่นชมความทุ่มเทพยายาม ส่งเสริมความเป็นทีม ส่งเสริมวัฒนธรรมการสื่อสารโดยตรง สร้างวัฒนธรรมการให้ฟีดแบกหรือข้อคิดเห็น ให้โอกาสคนทำงานได้ลองผิดลองถูก ฯลฯ
3. ส่งเสริมจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ (Ownership)
การสร้างความรู้สึก “เป็นเจ้าข้าวเจ้าของ” จะช่วยให้พนักงานรู้สึกว่า สิ่งนี้คือผลงานของเขาที่ต้องรับผิดชอบ ช่วยให้พวกเขาอยากจะทำได้ดี ซึ่งการส่งเสริมความรู้สึกนี้ บริษัทสามารถช่วยส่งเสริมได้ผ่านการแบ่งปันเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ให้อำนาจและอิสระในการทำงาน
4. ปรับสภาพแวดล้อมการทำงาน
จัดระเบียนสถานที่ทำงานให้ปลอดโปร่งผ่านหลักการ 5 ส. มีแสงสว่างเพียงพอ อากาศถ่ายเท ปรับอากาศให้ไม่ร้อนหรือหนาว มีมาตรการควบคุมการใช้เสียง รวมไปถึงการจัดที่นั่งทำงานให้ถูกหลักสรีรศาสตร์ โต๊ะทำงานได้ความสูงที่พอดี เลือกใช้เก้าอี้ Ergonomic
5. ส่งเสริมสุขภาพกายและใจ
ส่งเสริมสุขภาพพนักงานด้วย SAKID
แอป Employee Assistance Program
บริษัทส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพกายและใจที่ดี ผ่านนโยบายของบริษัท การออกแบบสวัสดิการพนักงานที่ส่งเสริมสุขภาพ เช่น สิทธิตรวจสุขภาพประจำปี มีประกันสุขภาพ ออกแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพภายในองค์กร หรือสวัสดิการที่ช่วยให้พนักงานดูแลตัวเองได้ดีขึ้นอย่าง SAKID แอปส่งเสริมสุขภาพให้กับพนักงานที่คอย “สะกิด” ให้พนักงานหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพ พร้อมกับมีนักจิตวิทยา นักควบคุมอาหาร และนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่พนักงานสามารถทักไปขอคำแนะนำส่วนตัวได้อีกด้วย (ดูฟีเจอร์ทั้งหมดของ SAKID)
6. เทรนนิ่งและการฝึกอบรม เสริมความรู้การทำงาน
การเพิ่มทักษะให้กับคนทำงานเป็นอีกวิธีที่ช่วยเพิ่ม Productivity ในการทำงานได้ บริษัทสามารถส่งเสริมให้พัฒนาทักษะความสามารถได้ผ่านการจัดการอบรวมหรือเทรนนิ่งเพื่อเพิ่มความรู้ความสามารถให้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึง การมีงบประมาณอบรม (Training Budget) สำหรับให้พวกเขาไปลงทุนเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่พวกเขาสนใจ เมื่อคนทำงานได้เทคนิคหรือวิธีการทำงานที่ดียิ่งขึ้น ก็ย่อมนำมาซึ่งผลิตภาพการทำงานที่สูงขึ้น
7. นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย
วางแผนและมอบหมายงานผ่าน Productivity Tool อย่าง Asana
พิจารณาเลือกโปรแกรม เครื่องมือ หรือซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้สามารถทำงานได้คล่องตัวหรือไหลลื่นยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เครื่องมือสำหรับการสื่อสารอย่าง Slack แทนการใช้ LINE เพราะสามารถส่งและเก็บไฟล์ในระบบได้ตลอด ใช้โปรแกรมวางแผนงานหรือ Productivity Tools อย่าง Asana วางแผนและมอบหมายงานได้สะดวกและชัดเจน หรือเลือกใช้โปรแกรมส่งงานที่สามารถคอมเมนต์หรือส่งให้รีวิวแบบเรียลไทม์ได้
สรุป
การเพิ่ม Productivity ไม่ใช่แค่เรื่องของพนักงานที่ต้องขวนขวายพัฒนาศักยภาพการทำงานของตัวเองเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่บริษัท/องค์กรสามารถเอง ก็มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้สิ่งนี้เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม การมุ่งเพิ่มผลิตภาพการทำงานของบริษัท อาจเป็นผลเสียต่อการทำงานได้ หากไม่ระวังให้ดี ไม่ว่าจะเป็นการกดดันให้ทำงานให้เสร็จรวดเร็วหรือหนักเกินกว่าปกติ การใช้ระบบการวัดผลลัพธ์ การตั้งเป้าหมายที่สูงเกินความจำเป็นเพื่อผลักดันพนักงาน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้อาจส่งลบต่อความพึงพอใจและความภาคภูมิใจในภายหลัง
วิธีที่ดีกว่าคือ การส่งเสริมผลิตภาพผ่านการสร้างวัฒนธรรมองค์กร การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ และการดูแลสุขภาพกายและใจของพนักงานให้มีพลังเต็มเปี่ยมในการทำงาน ซึ่งบริษัทสามารถเริ่มต้นดูแลสุขภาวะอย่างรอบด้านทั้ง อาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์ และสังคม ให้พวกเขาได้ ผ่านนวัตกรรมการดูแลสุขภาพ SAKID ที่คอยช่วยสอบถามความรู้สึกและส่งเสริมสุขภาพให้กับพนักงาน เป็นการส่งเสริม Productivity ผ่านการที่บริษัทใส่ใจดูแลคนทำงาน
บทความที่น่าสนใจ
Workshop การเงิน มีเงินเก็บยันเกษียณ
เริ่มต้นดูแลสุขภาพการเงินให้กับพนักงาน ด้วยการให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ในเรื่องการเงิน ทั้งเรื่องภาษี การแบ่งเงินเก็บออม การลงทุน การซื้อประกันให้เหมาะสมกับตัวเอง และการวางแผนเกษียณอย่างมีคุณภาพ กับนักการเงินผู้ที่มีประสบการณ์ ที่อยากให้คุณวางแผนใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยไม่ต้องห่วงเรื่องเงิน
การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้ดีขึ้น ด้วยแนวคิดแบบสตาร์ทอัพ
วัฒนธรรมองค์กรแบบสตาร์ทอัพ ถือเป็นวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จึงไม่แปลกที่ใคร ๆ จะรู้สึกสนใจในสิ่งนี้
สูตรลับสวัสดิการ ทุกบริษัททำได้ เพื่อดึงดูดและรักษาพนักงานคนเก่ง
คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมบริษัทชั้นนำหลายแห่งจึงให้ความสำคัญกับสวัสดิการพนักงานเป็นอย่างมาก? ความจริงก็คือ สวัสดิการที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตโดยรวมขององค์กรอีกด้วย การลงทุนในความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานส่งผลโดยตรงต่อผลกำไรของบริษัท จากการลดต้นทุนด้านสุขภาพ เพิ่มความพึงพอใจในการทำงาน และส่งเสริมความผูกพันของพนักงาน
CSR ทำแล้ว ทำอยู่ ทำต่อ เพิ่มศักยภาพองค์กรในระยะยาว
คุณอยากให้องค์กรของคุณโดดเด่นและแบรนด์แข็งแกร่งท่ามกลางสมรภูมิธุรกิจที่ดุเดือดใช่ไหม? ถึงเวลาแล้วที่เราจะหันมาใส่ใจ CSR หรือกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งไม่เพียงแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคม แต่ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรอีกด้วย แต่จะทำ CSR อย่างไรให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ? ในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้เคล็ดลับและกลยุทธ์ที่จะช่วยให้กิจกรรม CSR ขององค์กรคุณโดดเด่น ประทับใจผู้คน และสร้างผลกระทบที่ยั่งยืน
เข้าใจ “ออฟฟิศซินโดรม” พร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นที่ทุกคนควรรู้
ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร อาการ สาเหตุและพฤติกรรมเสี่ยง วิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิธีป้องกันออฟฟิศซินโดรมเบื้องต้น ที่คนทำงานและบริษัทต้องรู้
สุขภาพจิตพนักงาน ปัญหาซ่อนเร้นที่ต้องระวัง
เข้าใจปัญหาสุขภาพจิตในองค์กร ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดในที่ทำงาน บริษัทหรือ HR จะมีมาตรการจัดการปัญหาอย่างไร อ่านคำแนะนำและแนวทางส่งเสริมสุขภาพจิต ที่นี่