เข้าใจ “ออฟฟิศซินโดรม” พร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นที่ทุกคนควรรู้
- 27/01/23
ออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่แทบจะเรียกได้ว่า “เป็นโรคประจำตัว” ของพนักงานออฟฟิศกันไปแล้ว ซึ่งสาเหตุก็คงหนีไม่พ้นความเครียดในการทำงาน อิริยาบถในการทำงานท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน และวิถีชีวิตที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว นำมาซึ่งอาการปวดตึงเมื่อยล้าต่าง ๆ ที่หลายคนคุ้นเคยกันดี
อย่างไรก็ตาม แม้อาการปวดเมื่อยออฟฟิศซินโดรมจะไม่ได้ส่งผลร้ายแรงต่อชีวิต อาการออฟฟิศซินโดรมก็ไม่ใช่ปัญหาที่ควรจะละเลยเพิกเฉย เพราะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและการทำงานโดยตรง อีกทั้งอาการออฟฟิศซินโดรมยังเสี่ยงพัฒนาเป็นปัญหาสุขภาพจิตและอาการบาดเจ็บของโครงสร้างกระดูกได้
เมื่อออฟฟิศซินโดรมเป็นเรื่องใกล้ตัวและส่งผลกระทบได้มากเพียงนี้ บทความนี้ จึงอยากชวนทั้งเหล่ามนุษย์ออฟฟิศและองค์กรเข้ามาทำความรู้จักโรคนี้กันให้ลึกซึ้งขึ้น ถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค ผลกระทบ และวิธีป้องกันเบื้องต้นกัน
ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrom) คือ โรคที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) ซึ่งอาจจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานานและต่อเนื่อง จนทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบ ทำให้ผู้ที่มีอาการรู้สึกปวด เมื่อย เกร็ง ตามกล้ามเนื้อที่มีการใช้งาน ในปัจจุบัน “ออฟฟิศซินโดรม” มีความหมายที่กว้างขึ้น ครอบคลุมอาการปวดกล้ามเนื้อไล่ลงมาตั้งแต่คอ หลัง บ่า ไหล่ แขน หรือแม้กระทั่งข้อมือ รวมไปถึงอาการปวดศีรษะและกระบอกตาจากรูปแบบการทำงานออฟฟิศ
อาการของโรคออฟฟิศซินโดรม ได้แก่ อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อต่าง ๆ คอ ข้อนิ้ว-ข้อมือ ปวดตา ปวดศีรษะ ฯลฯ หากเพิกเฉย ปล่อยให้มีอาการเรื้อรัง ไม่เข้ารับการรักษา อาการต่าง ๆ เหล่านั้นอาจพัฒนาลุกลามเป็นอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อหรือกระดูกที่ร้ายแรงขึ้นได้ รวมไปถึง ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ตามมา เช่น อาการไมเกรน เครียดเรื้อรัง อาการหมดไฟหรือเบิร์นเอาต์ (Burnout) กระทบต่อการใช้ชีวิต
อาการของโรคออฟฟิศซินโดรม มีอะไรบ้าง
มีอาการแบบไหนบ้างถึงเรียก “ออฟฟิศซินโดรม” เช็กอาการด้านล่างนี้
– ปวดศีรษะ
– ปวดหลัง
– ปวดคอ เมื่อยคอ
– ปวด-ตึงบ่าและไหล่
– ปวดตา ปวดรอบดวงตา
– สายตาเบลอ ตาพร่า
– ปวดขา เหน็บชา
– ปวดข้อมือ นิ้วล็อก
โรคที่จะตามมาหากปล่อยให้เรื้อรัง
– กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome)
– เอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท (Carpal tunnel syndrome)
– ความผิดปกติของความตึงตัวของเส้นประสาท (Nerve tension)
– กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ (Tennis elbow)
– นิ้วล็อก (Trigger finger)
– เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ (Tendinitis)
– ปวดหลังจากท่าทางผิดปกติ (Postural back pain)
– หลังยึดติดในท่าแอ่น (Back dysfunction)
นอกจากนี้ อาการของโรคออฟฟิศซินโดรมยังสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตต่าง ๆ เช่น โรคเครียดเรื้อรัง (Chronic stress) อาการหมดไฟ (Burnout) อาการไมเกรน (Migraine) ฯลฯ
พฤติกรรมเสี่ยงโรคออฟฟิศซินโดรม มีอะไรบ้าง
สาเหตุสำคัญของโรคออฟฟิศซินโดรมมาจากการนั่งทำงานอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อไม่ได้เคลื่อนไหวทำให้เกิดอาการเกร็ง ปวดเมื่อย ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการนั่งผิดท่าและพฤติกรรมอื่น ๆ เช่น
– การนั่งไขว่ห้าง เพราะการนั่งท่านี้เป็นเวลานานจะทำให้ขาข้างใดข้างหนึ่งต้องรับน้ำหนักขาจากอีกข้างเป็นเวลานาน นอกจากนี้ ท่านั่งไขว่ห้างยังทำไม่ส่งเสริมให้กระดูกสันหลังอยู่ในตำแหน่งปกติ
– นั่งหลังค่อม ก้มไปข้างหน้า หรือแอ่นหลังไปข้างหลัง ทำให้กระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อคอ บ่า และหลังรับน้ำหนักศีรษะและลำตัวเพิ่มมากขึ้นตามองศาที่ก้มหรือแอ่น
– นั่งไม่เต็มก้น ครึ่งก้น หรือนั่งขอบที่นั่ง ทำไมน้ำหนักของลำตัวไม่กระจาย บริเวณเนื้อก้นที่นั่งทับต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติ อีกทั้ง หลังไม่อะไรรองรับ ทำให้อาจเผลอแอ่นหรือค่อมหลังโดยไม่รู้ตัว
– นั่งหรือยืนกอดอกเป็นเวลานาน ทำให้ยกไหล่ เกร็งบ่า โดยไม่รู้ตัว จนเกิดอาการเมื่อย
– ยืนโดยทิ้งน้ำหนักไว้ด้านหนึ่ง ทำให้ขาข้างใดข้างหนึ่งต้องรับน้ำหนักตัวข้างเดียว แทนที่จะกระจายอย่างเท่าเทียม ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงไม่ดี เกิดอาการชาหรือตะคริว
– นั่งบนเตียงเพื่ออ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์ ทำให้เผลอก้มศีรษะ โน้มตัว หรือเกร็งหัวไล่ ท่อนแขน ข้อมือ เพื่อถือหนังสือหรือแล็ปท็อป
– สะพายกระเป๋าของคุณบนไหล่ข้างหนึ่ง ทำให้เกร็งบ่าและไหล่
– การสวมรองเท้าส้นสูงมากกว่า 1.5 นิ้ว เป็นประจำและเป็นระยะเวลานาน ทำให้กระดูกสันหลังผิดแนวและทำให้ปวดหลังได้
วิธีป้องกันออฟฟิศซินโดรมเบื้องต้น
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
– ปรับท่านั่งให้ถูกต้อง เช่น นั่งหลังตรง คอตั้งตรงไม่โน้มไปข้างหน้าหรือแอ่นไปข้างหลัง เท้าวางราบกับพื้น เข่าวางงออย่างเป็นธรรมชาติ นั่งเต็มเบาะ [อ่านวิธีปรับ “ท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง” ในบทความนี้]
– หาเวลาพักเบรกจากงาน ยืดเหยียด ลุกไปดื่มน้ำหรือลุกจากที่นั่งให้บ่อยขึ้น ยืดเหยียดกับเก้าอี้หรือโต๊ะ หรือเดินผ่อนคลายเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถทุก ๆ ชั่วโมง
– พักเบรกสายตา พักสายตาจากหน้าจอทุก 20 – 30 นาที โดยให้มองออกไปที่ไกล ๆ พื้นที่สีเขียว หรือหลับตาประมาณ 30 – 60 วินาที
– ออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อ (Weight training) เน้นการออกกำลังกายที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อแก่นกลางลำตัวให้ช่วยพยุงหลังและลำตัว กล้ามเนื้อหลัง บ่า และไหล่ ช่วยเพิ่มความทนทาน เมื่อมีกล้ามเนื้อก็จะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณเหล่านั้นได้ดีขึ้น
ปรับปรุงสถานที่ทำงานหรือออฟฟิศ
– การเลือกโต๊ะ โต๊ะทำงานควรเลือกที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไป ให้พอดีที่เราสามารถวางแขนราบไปกับโต๊ะได้โดยที่ไหล่ไม่ยก รวมไปถึง การวางหน้าจอให้ได้ระดับพอดีกับการมอง
– การเลือกเก้าอี้ เลือกเก้าอี้ที่สามารถปรับระดับความสูงได้ เบาะไม่นิ่มเกินไป เพื่อให้น้ำหนักกระจายตัว มีพนักพิงรองรับหลัง ความลึกของที่นั่งต้องไม่มากกว่าช่วงขา เพื่อให้ทิ้งเข่าลงมาได้ตามธรรมชาติ
– การตั้งคอมพิวเตอร์ ควรตั้งหน้าจอให้สามารถมองเห็นได้ โดยที่ไม่ต้องก้มหรือเงยหน้าเพื่อมอง ระยะจากจอภาพถึงตาผู้ใช้ควรอยู่ระหว่าง 0.4-0.50 เมตร ส่วนคีย์บอร์ดและเมาส์ให้วางอยู่ในระดับต่ำลงเล็กน้อย ขณะพิมพ์งานจะได้ไม่ต้องยกไหล่มากเกินไป
– การจัดโต๊ะทำงานและสถานที่ทำงาน จัดโต๊ะหรือที่นั่งทำงานให้มีแสงสว่างเพียงพอ เก็บสายไฟที่รุงรังให้เรียบร้อย มีพื้นที่วางแขนหรือข้อมือ ทำความสะอาดบริเวณทำงาน จัดให้เรียบร้อย และหยิบของต่าง ๆ ใช้งานได้โดยสะดวก ช่วยส่งเสริมให้สมองปลอดโปร่งและการทำงานลื่นไหล
บริษัทจะช่วยพนักงานให้ห่างไกลจากออฟฟิศซินโดรมได้อย่างไร
นอกจากออฟฟิศซินโดรมส่งผลกระทบทั้งกับตัวคนทำงานเองแล้ว แน่นอนว่า ก็ส่งผลกระทบกับประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของบริษัท/องค์กรด้วย เพราะหากคนทำงานมีอาการออฟฟิศซินโดรมตั้งแต่อาการที่ไม่รุนแรงมากอย่างปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ ไปจนถึงปัญหาสุขภาพจิตที่ตามมา ก็ทำให้คนทำงานรู้สึกเหนื่อยล้า หมดกำลังใจ รู้สึกไม่อยากทำงาน หรือทำให้คิดงานที่สร้างสรรค์ไม่ค่อยออก
แล้วบทบาทของบริษัทหรือองค์กร สามารถทำอะไรได้บ้าง?
– สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานด้วยการยศาสตร์ (Ergonomic workplace) เลือกใช้เก้าอี้ออฟฟิศที่รองรับสรีระได้ดี (Ergonomic chair) เลือกใช้โต๊ะทำงานได้ความสูงที่พอดี อาจมีโต๊ะยืนทำงานเป็นตัวเลือกสำหรับปรับเปลี่ยนอิริยาบถการทำงาน
– จัดเวลา/สนับสนุนให้พักเบรก เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถจากการนั่งทำงานนาน ๆ อาจชักชวนกันทำกิจกรรมยืดเหยียดร่างกาย แข่งขันทำท่าแพลงก์ (Plank) ตั้งแต่ 1 นาที ขึ้นไป หรือมีมื้อว่างสุขภาพ เช่น ผลไม้ กาแฟดำ
– มีมุมพักผ่อนเปลี่ยนอิริยาบถในออฟฟิศ เช่น มุมโซฟาพักผ่อน มุมยืนทำกาแฟ สวนขนาดย่อมสุดอากาศ พื้นที่สำหรับบริหารร่างกาย ฯลฯ
– Stand-up meeting หรือการยืนประชุม อาจเป็นการสอบถามปัญหาหรืออัปเดตงานระหว่างวันง่าย ๆ โดยเลือกช่วงสายหรือบ่ายของวัน เพื่อให้เปลี่ยนอิริยาบถ
– จัดอบรมหรือจัดเซสชันเล็ก ๆ เพื่อให้ความรู้ ไม่ว่าจะเป็นวิธีนั่งทำงานที่ถูกต้อง ท่าบริหารร่างกายง่าย ๆ สำหรับทำทุกวัน ความรู้เรื่องสุขภาวะทั่วไปและการดูแลตัวเอง
– จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในออฟฟิศ เช่น การแข่งขันนับจำนวนก้าวเดินแบบทีมในแต่ละวัน กิจกรรมออกกำลังกายในออฟฟิศ กิจกรรมยืดเหยียดร่างกายที่บ้าน ฯลฯ
– สะกิดให้พนักงานเคลื่อนไหวร่างกาย ด้วยโปรแกรมสุขภาพ ใช้แอปฯ SAKID โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพพนักงาน “สะกิด” ให้พนักงานดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น ผ่านภารกิจดูแลสุขภาพต่าง ๆ เช่น เดินขึ้นบันได เดินให้ครบ 10,000 ก้าว ไปออกกำลังกาย ฯลฯ ไม่ว่าจะทำงานที่ออฟฟิศหรือ Remote-working บริษัทก็สามารถดูแลพนักงานได้
– มีสวัสดิการสุขภาพพนักงานต่าง ๆ ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและระดับความพึงพอใจในการทำงาน เช่น วันลาป่วย-ลาพักร้อนที่เหมาะสม วงเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลหรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดูแลตัวเอง (Well-being budget) ฟิตเนสฟรีหรือส่วนลดฟิตเนส ฯลฯ
สรุป
ปัญหาออฟฟิศซินโดรมไม่ใช่ปัญหาของคนทำงานเพียงฝ่ายเดียว เพราะส่งผลต่อประสิทธิภาพและ Proformance การทำงานของบริษัท/องค์กรโดยตรง การที่บริษัทมีสวัสดิการหรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้ออฟฟิศห่างไกลจากโรค “ออฟฟิศซินโดรม” จึงช่วยให้คนทำงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามมาซึ่งความพึงพอใจในการทำงานและผลลัพธ์การที่งานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
จากไอเดียแก้ปัญหาสำหรับองค์กรที่นำเสนอในบทความนี้ ก็มีทั้งวิธีที่ช่วยจัดการกับสาเหตุที่มาจากพฤติกรรมและปัจจัยภายนอก หากบริษัทของคุณต้องการเริ่มต้นช่วยส่งเสริมสุขภาวะที่ดีให้พนักงานห่างไกลออฟฟิศซินโดรม แอปฯ SAKID สามารถช่วยคุณได้ทันที ด้วยการ “สะกิด” มอบภารกิจดูแลสุขภาพประจำวันให้กับพนักงาน กระตุ้นให้พวกเขาใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้นด้วยคอยน์รางวัลที่สามารถแลกรางวัลจริง ๆ ได้
ทำความรู้จัก SAKID และฟีเจอร์ต่าง ๆ ได้ ที่นี่
บทความที่น่าสนใจ
รับมือกับ Brownout Syndrome: เคล็ดลับปลุกไฟในการทำงานอีกครั้ง
คุณรู้สึกท้อแท้ เบื่อหน่าย และสิ้นหวังกับการทำงานอยู่หรือเปล่า? ถ้าเป็นเช่นนั้น คุณไม่ได้เป็นคนเดียวที่เผชิญกับความรู้สึกเหล่านี้ เพราะอาการแบบนี้คือสัญญาณของภาวะ Brownout Syndrome ที่กำลังคุกคามพนักงานออฟฟิศจำนวนมากในปัจจุบัน หากคุณกำลังต่อสู้กับความเหนื่อยล้า ขาดแรงบันดาลใจ และรู้สึกหมดไฟในการทำงาน บทความนี้จะพาคุณทำความรู้จัก Brownout Syndrome ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น พร้อมแนะนำวิธีรับมือและจุดประกายในการทำงานอีกครั้ง เพื่อเป็นแนวทางดูแลสุขภาพจิตของคนทำงานอย่างเรา
WORKSHOP HAPPY FIT กินอยู่อย่างไร ร่างกายฟิต สุขภาพดี
กิจกรรม HAPPY FIT กินอยู่อย่างไร ร่างกายฟิต สุขภาพดี
วันที่ 22 สิงหาคม 2567 SAKID ได้จัดกิจกรรม HAPPY FIT กินอยู่อย่างไร ร่างกายฟิต สุขภาพดี กับ SAKID ที่บริษัท ทาทาสตีล จำกัด โดยจะมีกิจกรรมการวัดองค์ประกิบร่างกายเพื่อดูสุขภาพโดยรวมของพนักงาน และกิจกรรมWorkshop เกี่ยวกับการเลือกอาหารในชีวิตประจำวันโดยที่พนักงานออฟฟิศสามารถนำไปใช้ได้ การเลือกกินแบบ 2-1-1 เน้นโปรตีนและผัก คาร์โบไฮเดรตในสัดส่วนที่ถูกต้อง เพื่อรักษาการกินที่สมดุลเหมาะกับสภาวะร่างกายของแต่คนให้ร่างกายไม่เจ็บป่วยสร้างสุขภาพดีได้
PDCA คืออะไร รู้จักหลักการที่ทำให้งานของคุณมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทำงานแล้วเจอแต่ปัญหาซ้ำ ๆ จนบั่นทอนใจ แก้เท่าไหร่ก็ไม่จบเสียที ลองหันมาใช้ PDCA วิธีบริหารจัดการองค์กรที่ช่วยแก้ปัญหาอย่างตรงจุด แล้ว PDCA หมายถึงอะไรบ้าง?
แข่งขันลดน้ำหนักด้วย SAKID กับโครงการ MEA Fatty Model
จบไปแล้วสำหรับกิจกรรม MEA Fatty Model ที่แข่งขันลดน้ำหนักกับ SAKID application ตลอดระยะเวลา เม.ย. – ส.ค. 67 โดยคัดเลือกจากผู้ที่มีความเสี่ยงสูงคือดัชนีมวลกาย ≥25 kg/m2 มีการออกแบบภารกิจสุขภาพทั้งลดไขมัน เพิ่มผักใย และออกกำลังกายให้เหมาะสม พร้อมด้วยโค้ชนักกำหนดอาหารวิชาชีพดูแลเป็นรายบุคคลในการปรับการกิน จนทำให้การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก มวลไขมัน และไขมันในช่องท้องลดลง เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
แจกแจง “กิจกรรม 5 ส มีอะไรบ้าง” เพื่อการทำงานในองค์กรที่ดียิ่งขึ้น
เพราะสภาพแวดล้อมในที่ทำงานก็เป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มศักยภาพของคนในองค์กร ยิ่งสภาพแวดล้อมดี คนทำงานก็สุขภาพดีไปด้วย ลองหันมาใช้แนวคิด 5 ส. กัน
สร้าง empathic leader พนักงานดีใจ
คงได้ยินคำว่า Empathic Leader มากันบ้างแล้วใช่ไหมคะ ผู้นำที่มีความเข้าอกเข้าใจเป็นอย่างไรกันนะ…ยอมรับฟังและเข้าใจลูกน้องอย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่คิดตัดสินลูกน้อง วางใจเป็นกลางแบบนั้นเลยหรือไง แล้วระบบงานล่ะ อีกทั้งตัวเลขต่างๆ ที่ต้องทำให้ตามเป้าบริษัท ความเครียดของบอสก็เยอะกันแล้ว จะมาทำเป็นใจว่างๆ ฟังลูกน้องทั้งวันกันได้อย่างไร